สุริยุปราคา 2 ตุลาคม พ.ศ. 2567

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุริยุปราคา 2 ตุลาคม พ.ศ. 2567
แผนที่
ประเภท
ประเภทวงแหวน
แกมมา–0.3509
ความส่องสว่าง0.9326
บดบังมากที่สุด
ระยะเวลา445 วินาที (7 นาที 25 วินาที)
พิกัด22°00′S 114°30′W / 22.0°S 114.5°W / -22.0; -114.5
ความกว้างของเงามืด266 กิโลเมตร
เวลา (UTC)
(P1) เริ่มอุปราคาบางส่วน15:42:46
(U1) เริ่มอุปราคาเงามืด16:50:24
บดบังมากที่สุด18:44:51
(U4) สิ้นสุดอุปราคาเงามืด20:39:56
(P4) สิ้นสุดอุปราคาบางส่วน21:46:47
แหล่งอ้างอิง
แซรอส144 (17 จาก 70)
บัญชี # (SE5000)9562

สุริยุปราคาวงแหวนจะเกิดขึ้นในวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2567 สุริยุปราคาเกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์ โคจรผ่านระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ โดยวิธีนั้นจะเห็นสุริยุปราคาแบบเต็มดวงและแบบบางส่วนเมื่อมองจากโลก สุริยุปราคาวงแหวนเกิดขึ้นเมื่อขนาดเชิงมุมปรากฏของดวงจันทร์ มีขนาดเล็กกว่าดวงอาทิตย์ โดยจะบดบังแสงส่วนมากจากดวงอาทิตย์ ทำให้ดวงอาทิตย์มีลักษณะเหมือนแผ่นวงแหวน สุริยุปราคาวงแหวนจะปรากฏสุริยุปราคาบางส่วนสามารถมองเห็นได้เหนือบริเวณรอบ ๆ ภูมิภาคนั้นกว้างหลายพันกิโลเมตร

การมองเห็น[แก้]

อุปราคาครั้งนี้มองเห็นได้ในส่วนเล็ก ๆ ใกล้กับปลายด้านใต้ของประเทศอาร์เจนตินา และประเทศชิลี ขณะที่เงามัวนั้นปกคลุมอยู่ในส่วนมากของมหาสมุทรแปซิฟิก โดยส่วนของเงามัว (สุริยุปราคาบางส่วน)

ภาพเคลื่อนไหวแสดงแนวคราส

อุปราคาที่เกี่ยวข้อง[แก้]

อุปราคาในปี พ.ศ. 2567[แก้]

สุริยุปราคา พ.ศ. 2565–2568[แก้]

อุปราคานี้เป็นสมาชิกของชุดเทอม โดยอุปราคาในชุดเทอมของสุริยุปราคาจะวนซ้ำโดยประมาณทุก ๆ 177 วัน 4 ชั่วโมง (เทอม) ที่การสลับโหนดของวงโคจรดวงจันทร์[1]

ชุดอนุกรมสุริยุปราคา ระหว่าง พ.ศ. 2565–2568
โหนดขึ้น   โหนดลง
119 30 เมษายน 2565

บางส่วน
124 25 ตุลาคม 2565

บางส่วน
129 20 เมษายน 2566

ผสม
134 14 ตุลาคม 2566

วงแหวน
139 8 เมษายน 2567

เต็มดวง
144 2 ตุลาคม 2567

วงแหวน
149 29 มีนาคม 2568

บางส่วน
154 21 กันยายน 2568

บางส่วน

แซรอส 144[แก้]

อุปราคาครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของวงรอบแซรอสที่ 144 ซึ่งวนซ้ำทุก ๆ 18 ปี 11 วัน 8 ชั่วโมง ประกอบด้วย 70 เหตุการณ์ โดยชุดนี้เริ่มต้นจากสุริยุปราคาบางส่วน (ครั้งที่ 1–8) ในวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2279 (ค.ศ. 1736) สุริยุปราคาวงแหวน (ครั้งที่ 9–47) เริ่มตั้งแต่วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2423 (ค.ศ. 1880) จนถึงวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 3108 (ค.ศ. 2565) จากนั้นเป็นสุริยุปราคาบางส่วนอีกครั้ง (ครั้งที่ 48–70) และชุดแซรอสนี้จบลงในสุริยุปราคาบางส่วน วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 3523 (ค.ศ. 2980) ซึ่งเป็นเหตุการณ์อุปราคาครั้งที่ 70 ของชุดแซรอสนี้ คราสวงแหวนนานที่สุดของแซรอสนี้อยู่ในวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2711 (ค.ศ. 2168) ที่ระยะเวลา 9 นาที 52 วินาที ทุกอุปราคาในชุดแซรอสนี้เกิดลงที่โหนดลงของดวงจันทร์[2]

ชุดเมตอน[แก้]

ชุดเมตอนการวนซ้ำของอุปราคาทุก ๆ 19 ปี (6939.69 วัน) สุดท้ายประมาณ 5 วัฏจักร โดยอุปราคาเกิดขึ้นในวันอันใกล้เคียงกันในปฏิทิน ในการเพิ่มขึ้นของตัวรองอนุกรมออคตอน ซึ่งวนซ้ำ 1/5 ของนั้นหรือทุก ๆ 3.8 ปี (1387.94 วัน) ทุกอุปราคาในตารางนี้เกิดขึ้นที่โหนดลงของดวงจันทร์

อ้างอิง[แก้]

  1. van Gent, R.H. "Solar- and Lunar-Eclipse Predictions from Antiquity to the Present". A Catalogue of Eclipse Cycles. Utrecht University. สืบค้นเมื่อ 6 October 2018.
  2. คลังชุดแซรอสของสุริยุปราคา เว็บไซต์อุปราคาของนาซา

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

สุริยุปราคา
สุริยุปราคาครั้งก่อนหน้า:
8 เมษายน 2567
(สุริยุปราคาเต็มดวง สุริยุปราคาเต็มดวง)
สุริยุปราคา 2 ตุลาคม พ.ศ. 2567 สุริยุปราคาครั้งถัดไป:
29 มีนาคม 2568
(สุริยุปราคาบางส่วน สุริยุปราคาบางส่วน)
สุริยุปราคาวงแหวนครั้งก่อนหน้า:
14 ตุลาคม 2566
สุริยุปราคาวงแหวน
สุริยุปราคาวงแหวน
สุริยุปราคาวงแหวนครั้งถัดไป:
17 กุมภาพันธ์ 2569