สุริยุปราคา 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุริยุปราคา 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
สุริยุปราคาเต็มดวง 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
ประเภท
แกมมา0.0696
ความส่องสว่าง1.0799
บดบังมากที่สุด
ระยะเวลา398 วินาที (6 นาที 38.8 วินาที)
สถานที่เอเชียแปซิฟิค
พิกัด24°12′36″N 144°06′24″E / 24.21000°N 144.10667°E / 24.21000; 144.10667
ความกว้างของเงามืด258.4 กิโลเมตร
เวลา (UTC)
บดบังมากที่สุด02:35:21
แหล่งอ้างอิง
แซรอส136
บัญชี # (SE5000)9528

สุริยุปราคาเต็มดวง 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ โดยมีจุดเริ่มต้นในวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 (ตามเวลา UTC) แล้วข้ามเข้าสู่วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 เงามืดได้เริ่มพาดผ่านบริเวณตอนเหนือของประเทศอินเดีย ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นจากเส้นขอบฟ้า เข้าสู่ ประเทศเนปาล ประเทศบังคลาเทศ ประเทศภูฐาน และ ประเทศพม่า ก่อนที่จะเข้าสู่ตอนกลางของประเทศจีน โดยเงามืดพาดผ่านเมืองสำคัญของประเทศจีนเป็นจำนวนมาก และ พาดผ่านลงสู่ที่บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกจนสิ้นสุดเมื่อดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าเหนือมหาสมุทรแปซิฟิก ปรากฏการณ์ครั้งนี้เป็นการเกิดสุริยุปราคาที่บงบังดวงอาทิตย์ได้นานมากกว่า 6 นาที 39 วินาที ยาวนานที่สุดตั้งแต่การเกิดสุริยุปราคาเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 และนับว่ายาวนานที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 21[1] ประเทศที่เป็นสุริยุปราคาบางส่วน เช่น ไทย ลาว พม่า ไต้หวัน เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น


สุริยุปราคาบางส่วนในไทย[แก้]

การเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง 22 กรกฎาคม 2552 ประเทศไทยสามารถเห็นได้เพียงบางส่วนเท่านั้น โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคอีสาน เริ่มสัมผัสในเวลา 7:02 น. (จังหวัดแม่ฮ่องสอน) บดบังมากที่สุดประมาณ 69% (จังหวัดเชียงราย) และสิ้นสุดเวลา 09:19 น. (จังหวัดอุบลราชธานี) [2]

สุริยุปราคาครั้งนี้ได้มีกิจกรรมจัดดูตามจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ เช่น กรุงเทพมหานครมี 3 จุด คือ โรงเรียนเทพศิรินทร์, วงเวียน 22 กรกฎาคม และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[3] แต่ทัศนียภาพส่วนใหญ่ถูกบดบังด้วยเมฆฝน ท้องฟ้าปิดจึงทำให้ไม่สามารถมองเห็นได้ เว้นแต่พื้นที่ภาคเหนือบางส่วน[4]

รูปภาพ[แก้]

เต็มดวง[แก้]

บางส่วน[แก้]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]