สุริยุปราคา 11 เมษายน พ.ศ. 2613

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุริยุปราคา 11 เมษายน พ.ศ. 2613
แผนที่
ประเภท
ประเภทเต็มดวง
แกมมา0.3651
ความส่องสว่าง1.0472
บดบังมากที่สุด
ระยะเวลา244 วินาที (4 นาที 4 วินาที)
พิกัด29°06′N 135°06′E / 29.1°N 135.1°E / 29.1; 135.1
ความกว้างของเงามืด168 กิโลเมตร
เวลา (UTC)
(P1) เริ่มอุปราคาบางส่วน23:57:32
(U1) เริ่มอุปราคาเงามืด00:55:37
(U2) เริ่มอุปราคาศูนย์กลาง00:57:23
บดบังมากที่สุด02:33:55
(U3) สิ้นสุดอุปราคาศูนย์กลาง04:10:17
(U4) สิ้นสุดอุปราคาเงามืด04:12:07
(P4) สิ้นสุดอุปราคาบางส่วน05:10:09
แหล่งอ้างอิง
แซรอส130 (55 จาก 73)
บัญชี # (SE5000)9665

สุริยุปราคาเต็มดวงจะเกิดขึ้นในวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2613 สุริยุปราคาเกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์ โคจรผ่านระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ โดยวิธีนั้นจะเห็นสุริยุปราคาแบบเต็มดวงและแบบบางส่วนเมื่อมองจากโลก สุริยุปราคาเต็มดวงเกิดขึ้นเมื่อขนาดเชิงมุมของดวงจันทร์ มีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ โดยจะบดบังแสงโดยตรงทั้งหมดจากดวงอาทิตย์ ทำให้เวลากลางวันเข้าสู่ความมืด สุริยุปราคาแบบเต็มดวงเกิดขึ้นในแนวแคบผ่านบนพื้นผิวโลก และสุริยุปราคาบางส่วนสามารถมองเห็นได้เหนือบริเวณรอบ ๆ ภูมิภาคนั้นกว้างหลายพันกิโลเมตร

การมองเห็น[แก้]

ประเทศไทยสามารถมองเห็นสุริยุปราคาครั้งนี้เป็นสุริยุปราคาเต็มดวงได้ เหตุการณ์จะเริ่มต้นในช่วงเช้าของวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2613 โดยสุริยุปราคาบางส่วนจะเริ่มตั้งแต่เวลาประมาณ 07:00 น. ซึ่งแนวคราสเต็มดวงจะทอดผ่านตอนบนของจังหวัดระนอง ส่วนมากของจังหวัดชุมพร และตอนล่างของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จากนั้นจะพาดผ่านอ่าวไทยตอนกลาง และแนวคราสเต็มดวงจะผ่านประเทศไทยอีกครั้ง โดยพาดผ่านตอนล่างของจังหวัดจันทบุรี และทั้งหมดของจังหวัดตราด ส่วนบริเวณอื่นของประเทศไทยสามารถเห็นได้เป็นสุริยุปราคาบางส่วน[1] โดยกรุงเทพมหานครดวงจันทร์บดบังดวงอาทิตย์ไป 95%

สุริยุปราคาครั้งนี้เริ่มเมื่อแนวคราสสัมผัสพื้นผิวโลก บริเวณมหาสมุทรอินเดีย ผ่านตอนใต้ของประเทศศรีลังกา บริเวณใต้สุดของประเทศพม่า ตอนบนของภาคใต้และตอนล่างของภาคตะวันออกของประเทศไทย ตอนกลางของประเทศกัมพูชา ส่วนใต้สุดของประเทศลาว และบางส่วนของชายฝั่งตอนกลางใต้และที่สูงตอนกลางของประเทศเวียดนาม จากนั้นแนวคราสจะพาดผ่านทะเลจีนใต้ ผ่านจุดใต้สุดของเกาะไต้หวัน นอกชายฝั่งทางใต้ของเกาะโอกินาวะ แล้วจึงผ่านจุดบดบังมากที่สุดในมหาสมุทรแปซิฟิก ห่างจากเกาะคีวชูไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 490 กม. จากนั้นแนวคราสจะพาดต่อไปในมหาสมุทรแปซิฟิก และไปสิ้นสุดลงในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก[1]

อุปราคาที่เกี่ยวข้อง[แก้]

สุริยุปราคา พ.ศ. 2612–2615[แก้]

อุปราคานี้เป็นสมาชิกของชุดเทอม โดยอุปราคาในชุดเทอมของสุริยุปราคาจะวนซ้ำโดยประมาณทุก ๆ 177 วัน 4 ชั่วโมง (เทอม) ที่การสลับโหนดของวงโคจรดวงจันทร์[2]

120 21 เมษายน 2612

บางส่วน
125 15 ตุลาคม 2612

บางส่วน
130 11 เมษายน 2613

เต็มดวง
135 4 ตุลาคม 2613

วงแหวน
140 31 มีนาคม 2614

วงแหวน
145 23 กันยายน 2614

เต็มดวง
150 19 มีนาคม 2615

บางส่วน
155 12 กันยายน 2615

เต็มดวง

แซรอส 130[แก้]

อุปราคาครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของวงรอบแซรอสที่ 130 ซึ่งวนซ้ำทุก ๆ 18 ปี 11 วัน ประกอบด้วย 73 เหตุการณ์ โดยชุดนี้เริ่มต้นจากสุริยุปราคาบางส่วนในวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 1639 (ค.ศ. 1096) ชุดแซรอสนี้มีสุริยุปราคาเต็มดวงซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2018 (ค.ศ. 1475) จนถึงวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2775 (ค.ศ. 2232) และชุดแซรอสนี้จบลงในสุริยุปราคาบางส่วน วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2937 (ค.ศ. 2394) คราสเต็มดวงนานที่สุดของแซรอสนี้อยู่ในวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2162 (ค.ศ. 1619) ด้วยเวลา 6 นาที 41 วินาที[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "TOTAL SOLAR ECLIPSE OF 2070 APRIL 11". NASA Eclipse Website. NASA. สืบค้นเมื่อ 3 December 2018.
  2. van Gent, R.H. "Solar- and Lunar-Eclipse Predictions from Antiquity to the Present". A Catalogue of Eclipse Cycles. Utrecht University. สืบค้นเมื่อ 6 October 2018.
  3. http://eclipse.gsfc.nasa.gov/SEsaros/SEsaros130.html
สุริยุปราคา
สุริยุปราคาครั้งก่อนหน้า:
15 ตุลาคม 2612
(สุริยุปราคาบางส่วน สุริยุปราคาบางส่วน)
สุริยุปราคา 11 เมษายน พ.ศ. 2613 สุริยุปราคาครั้งถัดไป:
4 ตุลาคม 2613
(สุริยุปราคาวงแหวน สุริยุปราคาวงแหวน)
สุริยุปราคาเต็มดวงครั้งก่อนหน้า:
31 พฤษภาคม 2611
สุริยุปราคาเต็มดวง
สุริยุปราคาเต็มดวง
สุริยุปราคาเต็มดวงครั้งถัดไป:
23 กันยายน 2614