ดิอิมพอสซิเบิ้ล
![]() | ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ดิอิมพอสซิเบิ้ล | |
---|---|
![]() | |
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ชื่อเล่น | ดิอิม |
แนวเพลง | ป็อป, แจ๊ซ-ร็อก |
ช่วงปี | 2509 - 2520 |
ค่ายเพลง | นิธิทัศน์ โปรโมชั่น |
สมาชิก | วินัย พันธุรักษ์ (กีตาร์, ร้องนำ) เศรษฐา ศิระฉายา (กีตาร์, ร้องนำ) พิชัย ทองเนียม (เบส) |
อดีตสมาชิก | เรวัต พุทธินันทน์ (คีย์บอร์ด, ร้องนำ) - (เสียชีวิต) สุเมธ แมนสรวง (ออร์แกน, (ร้องนำ) สมชาย กฤษณเศรณี (เบส) ไพฑูรย์ วาทยะกร (เบส) สิทธิพร อมรพันธ์ (กีตาร์) - (เสียชีวิต) ปราจีน ทรงเผ่า (ทรอมโบน) - (เสียชีวิต) ยงยุทธ มีแสง (ทรัมเปต) ปรีดิ์เทพ มาลากุล ณ อยุธยา (กลอง) อนุสรณ์ พัฒนกุล (กลอง) - (เสียชีวิต) |
ดิอิมพอสซิเบิ้ล (อังกฤษ: The Impossible) หรือชื่อเรียกสั้นๆ ว่า ดิอิม เป็นวงดนตรีสตริงคอมโบวงแรกๆ ของไทย มีชื่อเสียงในยุค 60s - 70s ก่อนจะยุบวงในปี พ.ศ. 2520 แต่ผลงานเพลงของวงยังได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน
ประวัติ[แก้]
ดิอิมพอสซิเบิ้ลตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2509 มีสมาชิกรุ่นแรกประกอบด้วย วินัย พันธุรักษ์, อนุสรณ์ พัฒนกุล, สุเมธ แมนสรวง และพิชัย ทองเนียม และได้นักร้องนำคือ เศรษฐา ศิระฉายา ใช้ชื่อวงว่า Holiday J-3 ต่อมาเปลี่ยนเป็น จอยท์ รีแอ็กชั่น เล่นดนตรีเพลงสากลที่มีชื่อเสียง เช่น เพลงของคลิฟ ริชาร์ด เอลวิส เพรสลีย์ บางเพลงนำทำนองเพลงต่างประเทศที่เป็นที่นิยม มาแต่งเนื้อร้องเป็นภาษาไทย เช่นเดียวกับวงอื่นๆ ในยุคเดียวกัน เช่น ซิลเวอร์แซนด์ รอยัล สไปรท์ส เล่นดนตรีตามไนท์คลับต่างๆ
วงจอยท์ รีแอ็กชั่น เข้าร่วมการประกวดวงสตริงคอมโบ จัดโดยสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อปี พ.ศ. 2512 ได้รับรางวัลชนะเลิศ 3 ปีติดต่อกัน [1] ในช่วงปี 2512 - 2515 วงจอยท์ รีแอ็กชั่น เปลี่ยนชื่อเป็น ดิอิมพอสซิเบิ้ล (The Impossibles) ชื่อนี้ตั้งโดยเศรษฐา ตามชื่อภาพยนตร์การ์ตูนทางโทรทัศน์ จากสหรัฐอเมริกา คือเรื่อง The Impossibles (1966) [2][3]
ต่อมาในช่วง พ.ศ. 2533 ทางวงได้กลับมาออกอัลบั้มอีกครั้งกับนิธิทัศน์ โปรโมชั่น โดยเป็นการนำเอาเพลงในอดีตของวงกลับมาบรรเลงใหม่และเพิ่มเพลงใหม่ลงไปในอัลบั้ม
ผลงาน[แก้]
สตูดิโออัลบั้ม[แก้]
- เป็นไปไม่ได้ (พ.ศ. 2512)
- หมื่นไมล์แค่ใจเอื้อม (พ.ศ. 2516)
- Hot pepper (พ.ศ. 2518)
- ผมไม่วุ่น (พ.ศ. 2520)
อัลบั้มพิเศษ[แก้]
- กลับมาแล้ว (พ.ศ. 2533)
ผลงานการแสดงดนตรี[แก้]
(จากการบันทึกของสมาชิกวงพิชัย ทองเนียม และปราจีน ทรงเผ่า หนังสือ รวมบทเพลง The Impossibles)[4]
ช่วงปี 2509 - 2512 (ยุคเริ่มต้น)[แก้]
- Holiday Carden ถนนเพชรบุรีตัดใหม่(ชื่อวง Holiday J-3)
- Wachington Bar ถนนเพชรบุรีตัดใหม่(ชื่อวง Joint Reaction)
- Progress Bar ถนนเพชรบุรีตัดใหม่(ชื่อวง The Impossibles)
- Las Vegas Bar ถนนเพชรบุรีตัดใหม่(ชื่อวง The Impossibles)
ช่วงปี 2512 - 2517 (หลังชนะการประกวดสตริงคอมโบชิงถ้วยพระราชทานปีแรก)[แก้]
- The Fire Cracker Club โรงแรม First ประตูน้ำ
- The impossibles Cafe ศูนย์การค้าประตูน้ำ ปทุมวัน
- ศาลาแดง ฮอลล์ ตรงข้างสวนลุมพินี (สลับกับวงวิชัย อิ้งอัมพร)
- Hawaiian Hut Ala Moana Hotel Honolulu Hawai U.S.A. - การแสดงต่างประเทศครั้งแรก
- The Den โรงแรมอินทรา ประตูน้ำ กรุงเทพฯ
ช่วงปี พ.ศ. 2517 (ทัวร์ยุโรปครั้งแรก ค.ศ. 1974)[แก้]
- Europa Hotel - Gothenberg Sweden
- Norrköping - Sweden
- Monday Club - Stockholm Sweden
- Hesperia Hotel - Helsinki Finland
- Rainbow Club - Oslo Norway
- Noimalman - Stockholm Sweden
- Borsen Club - Stockholm Sweden
- Sundsvall - Sweden
- Grand Central Hotel - Gävle Sweden
- Hotel Jonkoping -Sweden
- New Yaki Club - Gothenberg Sweden
- แอน แอน ครับ - โรงแรมมณเฑียร สุรวงศ์ (กลับเมืองไทยชั่วคราว)
ช่วงปี พ.ศ. 2518 - 2519 (ทัวร์ยุโรปครั้งที่สอง ค.ศ. 1975 - 1976)[แก้]
- Tragarn Restaurant - Gothenberg Sweden
- Hesperia Hotel - Helsinki Finland
- Malibu Club Basle - Switzerland
- New Yaki Club - Gothenberg Sweden
- Grinderwald - Switzerland
- Mascot Club Zurich - Switzerland
- Babalu Club Bern - Switzerland
- แอน แอน คลับ โรงแรมมณเฑียร สุรวงศ์ (กลับเมืองไทย 2519|1976)
- ประกาศยุบวงในเดือนเมษายน 2519 ขณะเล่นที่ แอน แอน คลับ
- หลังประกาศยุบวงยังได้กลับมาวงตัวไปแสดงที่ ไต้หวัน ช่วง 1 มิถุนายน - 4 กันยายน 2519 Majestic Club Majestic Hotel - Taipei Taiwan
- ตุลาคม 2519 กลับเมืองไทย เล่นส่งท้าย (ประมาณ 14 วัน) คืนละ 3 แห่ง ที่ แมนฮัตตัน คลับ สุขุมวิท, ทอปเปอร์คลับ ตึกนายเลิศ, เดอะ ฟอกซ์ ศูนย์การค้าเพลินจิต
เพลงประกอบภาพยนตร์[แก้]
- เริงรถไฟ-เพลงประกอบภาพยนตร์โทน (2512)
- ปิดเทอม-เพลงประกอบภาพยนตร์โทน (2512)
- ชื่นรัก-เพลงประกอบภาพยนตร์โทน (2512)
- รักกันหนอ-จากภาพยนตร์เรื่อง รักกันหนอ (2513) ทำนองเพลงญี่ปุ่น Good Night Baby - King Tones 1969
- เจ้าพระยา-จากภาพยนตร์เรื่อง หนึ่งนุช (2514)
- ลำนำรัก-จากภาพยนตร์เรื่อง หนึ่งนุช (2514)
- ระเริงชล-จากภาพยนตร์เรื่อง หนึ่งนุช (2514)
- ล่องวารี-จากภาพยนตร์เรื่อง หนึ่งนุช (2514)
- เริงทะเล-จากภาพยนตร์เรื่อง ชื่นชีวาฮาวาย (2514)
- ไม่มีวันที่เราจะพรากจากกัน-จากภาพยนตร์เรื่อง ไม่มีวันที่เราจะพรากจากกัน (2514)
- ไปตามดวง-จากภาพยนตร์เรื่อง ดวง (2514)
- หนาวเนื้อ-จากภาพยนตร์เรื่อง ดวง (2514)
- ผม-จากภาพยนตร์เรื่อง ดวง (2514)
- โลกของเรา-จากภาพยนตร์เรื่อง สะใภ้หัวนอก (2514)
- น้ำผึ้งพระจันทร์(ร้องโดยชรินทร์ นันทนาคร)-จากภาพยนตร์เรื่อง น้ำผึ้งพระจันทร์ (2514)
- ใจหนุ่มใจสาว-จากภาพยนตร์เรื่อง น้ำผึ้งพระจันทร์ (2514)
- มันไหนล่ะ-จากภาพยนตร์เรื่อง สายชล (2514)
- จันทร์เพ็ญ-จากภาพยนตร์เรื่อง จันทร์เพ็ญ (2514)
- ดีด สี ตี เป่า-จากภาพยนตร์เรื่อง จันทร์เพ็ญ (2514)
- ความหวัง-จากภาพยนตร์เรื่อง จันทร์เพ็ญ (2514)
- หาดสีทอง-จากภาพยนตร์เรื่อง จันทร์เพ็ญ (2514)
- สายใยชีวิต-จากภาพยนตร์เรื่อง จันทร์เพ็ญ (2514)
- ระเริงชล-จากภาพยนตร์เรื่อง ระเริงชล (2514)
- จูบฟ้า ลาดิน-จากภาพยนตร์เรื่อง ระเริงชล
- มิสเตอร์สโลลี่-จากภาพยนตร์เรื่อง ระเริงชล (2514)
- ข้าวเปลือก-จากภาพยนตร์เรื่อง ระเริงชล
- ค่าของคน-จากภาพยนตร์เรื่อง ค่าของคน (2514)
- ค่าของรัก-จากภาพยนตร์เรื่อง ค่าของคน (2514)
- ค่าของเงิน-จากภาพยนตร์เรื่อง ค่าของคน (2514)
- รอรัก-จากภาพยนตร์เรื่อง เจ้าลอย (2514)
- หนึ่งในดวงใจ-จากภาพยนตร์เรื่อง เจ้าลอย (2514) ทำนองเพลงสากล One Toke Over The Line - Brewer and Shipley 1971
- เดอะทีนเอจ-จากภาพยนตร์เรื่อง สวนสน (2514)
- ทะเลไม่เคยหลับ-จากภาพยนตร์เรื่อง สวนสน (2514)
- ครองจักรวาล-จากภาพยนตร์เรื่อง สวนสน (2514)
- โลกมายา-จากภาพยนตร์เรื่อง สาวกอด (2515)
- โอ้รัก-จากภาพยนตร์เรื่อง โอ้รัก (2515) ทำนองเพลงสากล A Place to Hideaway - The Carpenters 1971
- หัวใจเหิร-จากภาพยนตร์เรื่อง สองสิงห์สองแผ่นดิน (2515)
- ยอดเยาวมาลย์-จากภาพยนตร์เรื่อง ภูกระดึง (2515)
- ไม่มีคำตอบจากสวรรค์-จากภาพยนตร์เรื่อง ไม่มีคำตอบจากสวรรค์ (2516)
- ทอง-จากภาพยนตร์เรื่อง ทอง (2516)
- ข้าวนอกนา-จากภาพยนตร์เรื่อง ข้าวนอกนา (2518)
- ชีวิตคนดำ-จากภาพยนตร์เรื่อง ข้าวนอกนา (2518)
- เกลียดคนสวย-จากภาพยนตร์เรื่อง ข้าวนอกนา (2518)
- ตัดเหลี่ยมเพชร-จากภาพยนตร์เรื่อง ตัดเหลี่ยมเพชร (2518)
- แล้วเธอจะรู้-จากภาพยนตร์เรื่อง ตัดเหลี่ยมเพชร (2518)
- ราตรีที่แสนเหงา-จากภาพยนตร์เรื่อง ตัดเหลี่ยมเพชร (2518)
- The Great Friday(บรรเลง)-จากภาพยนตร์เรื่อง ตัดเหลี่ยมเพชร (2518)
- ดับสุริยา-จากภาพยนตร์เรื่อง ดับสุริยา (2519)
- คมกุหลาบ-จากภาพยนตร์เรื่อง คมกุหลาบ (2519)
- ในช่วงปี 2517 บริษัทศรีกรุงภาพยนตร์ ได้จัดสร้างภาพยนตร์เรื่องเป็นไปไม่ได้ โดยมีรงค์ วงษ์สวรรค์ เป็นผู้เขียนเรื่องและบทภาพยนตร์ มีเพลงประกอบที่สำคัญคือ เพลงเป็นไปไม่ได้ กังวลทะเล ผมเป็นโคบาลไทย และเพลงกุลา(ผลงานของสุรชัย จันทิมาธร) แต่งานสร้างประสบความล้มเหลว ไม่สามารถสร้างให้จบได้
ผลงานภาพยนตร์[แก้]
- โทน (2512)
- รักกันหนอ (2514)
- หนึ่งนุช (2514)
- ดวง (2514)
- ค่าของคน (2514)
- สะใภ้หัวนอก (2514)
- สวนสน (2515)
- ระเริงชล (2515)
- ลานสาวกอด (2515)
- จันทร์เพ็ญ (2515)
- สายชล (2516)
- ฝ้ายแกมแพร (2518)
- พ่อม่ายทีเด็ด (2520)
- มนต์รักแม่น้ำมูล (2520)
- คนละทาง (2520)
- รักคุณเข้าแล้ว (2520)
- คู่ทรหด (2520)
- แผลเก่า (2520)
- เมืองอลเวง (2520)
- ทรามวัยใจเด็ด (2520)
- ชื่นชีวานาวี (2520)
- วัยเสเพล (2520)
- เก้าล้านหยดน้ำตา (2520)
- 123 ด่วนมหาภัย (2520)
- พ่อครัวหัวป่าก์ (2521)
- คนหลายเมีย (2521)
- รักเต็มเปา (2521)
- คู่รัก (2521)
- 4 อันตราย (2521)
- เพลงรักเพื่อเธอ (2521)
- ใครว่าข้าชั่ว (2521)
- รักเธอเท่าช้าง (2521)
- อีโล้นซ่าส์ (2521)
- โก๋บ้านนอกกี๋บางกอก (2521)
- รักระแวง (2521)
- หอหญิง (2521)
- กาม (2521)
- แตกหนุ่มแตกสาว (2521)
- ลืมเสียเถิดอย่าคิดถึง (2521)
- ยิ้มสวัสดี (2521)
- หัวใจกุ๊กกิ๊ก (2521)
- ผ้าขี้ริ้วหัวเราะ (2521)
- สิงห์สะเปรอะ (2521)
- จำเลยรัก (2521)
- ตึ่งนั้ง (2521)
- แผ่นเสียงตกร่อง (2522)
- ฐานันดร 4 (2522)
- บี้ บอด ใบ้ (2522)
- มนุษย์ 100 คุก (2522)
- นักรักรุ่นกระเตาะ (2522)
- กามเทพหลงทาง (2522)
- น้ำใต้ศอก (2522)
- ชื่นรัก (2522)
- ร้ายก็รัก (2522)
- ลูกทาส (2522)
- รักประหาร (2522)
- อยู่อย่างเสือ (2522)
- พลิกล็อก (2522)
- พ่อกระดิ่งทอง (2522)
- สมบัติเจ้าคุณปู่ (2522)
- วิมานไฟ (2522)
- แดร๊กคูล่าต๊อก (2522)
- ผมรักคุณ (2522)
- ฝนตกแดดออก (2523)
- เดิมพันชีวิต (2523)
- ผีหัวขาด (2523)
- ผิดหรือที่จะรัก (2523)
- ลูกทุ่งดิสโก้ (2523)
- บัวสีน้ำเงิน (2523)
- ถึงอย่างไรก็รัก (2523)
- ทหารเกณฑ์ ภาค 1 (2523)
- กิ่งทองใบตำแย (2523)
- จากครูด้วยดวงใจ (2523)
- ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน (2523)
- เมียสั่งทางไปรษณีย์ (2523)
- หยาดพิรุณ (2523)
- พ่อจ๋า (2523)
- อาอี๊ (2523)
- รุ้งเพชร (2523)
- ยอดตาหลก (2523)
- ทหารเกณฑ์ ภาค 2 (2523)
- สุดทางรัก (2524)
- สิงห์คะนองปืน (2524)
- ดอกฟ้าและโดมผู้จองหอง (2524)
- หาเมียให้ผัว (2524)
- พ่อปลาไหล (2524)
- รักครั้งแรก (2524)
- กามนิต วาสิฎฐี (2524)
- ยอดรักผู้กอง (2524)
- เขยขัดดอก (2524)
- จู้ฮุกกรู (2524)
- คำอธิษฐานของดวงดาว (2524)
- แม่กาวาง (2524)
- ทหารเรือมาแล้ว (2524)
- หญิงก็มีหัวใจ (2524)
- พระเอกรับจ้าง (2525)
- เพชฌฆาตหน้าเป็น (2525)
- ยอดเยาวมาลย์ (2525)
- กระท่อมนกบินหลา (2525)
- รักข้ามรุ่น (2525)
- ตามรักตามฆ่า (2525)
- มนต์รักก้องโลก (2526)
- พระจันทร์สีเลือด (2526)
- พระจันทร์เปลี่ยนสี (2526)
- ล่าข้ามโลก (2526)
- สงครามเพลง (2526)
- รักกันวันละนิด (2526)
- ทุ่งปืนแตก (2526)
- เงิน เงิน เงิน (2526)
- แม่ยอดกะล่อน (2526)
- ผู้ยิ่งใหญ่ทั้ง 9 (2526)
- ไอ้แก้วไอ้ทอง (2526)
- แม่ดอกกระถิน (2526)
- ดวงนักเลง (2526)
- 7 พระกาฬ (2526)
- เห่าดง (2526)
- มหาเฮง (2526)
- มดตะนอย (2527)
- เสือลากหาง (2527)
- สัจจะมหาโจร (2527)
- แล้วเราก็รักกัน (2527)
- อีแต๋น ไอเลิฟยู (2527)
- ลูกสาวคนใหม่ (2527)
- เด็กปั๊ม (2527)
- ถล่มเจ้าพ่อ (2527)
- เลดี้ฝรั่งดอง (2527)
- รักสุดหัวใจ (2527)
- หลานสาวเจ้าสัว (2528)
- หยุดโลกเพื่อเธอ (2528)
- รักคือฝันไป (2528)
- ครูสมศรี (2529)
- เจ้าสาวมะลิซ้อน (2529)
- แม่ดอกรักเร่ (2529)
- เฮงได้ เฮงดี รักนี้ (2530)
- พรหมจารีสีดำ (2530)
- ก้อ...โอเคนะ (2530)
- พ่อมหาจำเริญ (2531)
- คนกลางเมือง (2531)
- ครูไหวใจร้าย (2533)
- ห้าวเล็ก ๆ (2533)
- วิมานมะพร้าว (2534)
- ตุ๊ ต๊ะ ต๋อม แต๋ม สุภาพบุรุษตัว ต. (2537)
- มัจจุราชตามล่าข้าไม่สน (2541)
- โคลนนิ่ง คนก๊อปปี้คน (2542)
- เก๋า เก๋า (2549)
- คู่แรด (2550)
- บิ๊กบอย (2553)
- ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๓ ยุทธนาวี (2554)
- ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๔ ศึกนันทบุเรง (2554)
เพลงที่มีชื่อเสียง[แก้]
- เป็นไปไม่ได้
- เริงทะเล
- ชื่นรัก
- ทะเลไม่เคยหลับ
- โอ้รัก
- ไหนว่าจะจำไม่ได้
- คอยน้อง
- หนาวเนื้อ
- หนึ่งในดวงใจ
- จูบฟ้า ลาดิน
- ชั่วนิจนิรันดร
- ขาดเธอ ขาดใจ
- ทัศนาจร
- ชาวดง
- นกขมิ้น
- ข้าวนอกนา
- เกลียดคนสวย
- ชีวิตคนดำ
- ผมไม่วุ่น
- ฯลฯ
สิ่งสืบเนื่อง[แก้]
- วง ดิ อิมพอสซิเบิ้ล ถูกนำมาทำเป็นภาพยนตร์ เก๋า..เก๋า โดยเป็นเนื้อเรื่องเมื่อวงพอสซิเบิ้ลได้เจออุปกรณ์วิเศษคล้ายไมโครโฟนจึงพาข้ามมาปรากฏตัวในปี พ.ศ. 2549 [5]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ รู้ไปโม้ด.. มติชน
- ↑ http://www.oknation.net/blog/kilroy/2007/06/02/entry-2
- ↑ en:The Impossibles (TV series)
- ↑ หนังสือรวมบทเพลง The Impossibles โดยปราจีน ทรงเผ่า,พ.ศ. 2544
- ↑ Thai Film News, เก๋า เก๋า The Possible, วิทยา ทองอยู่ยง
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- ดิอิมพอสซิเบิ้ล
- ดิ อิมพอสสิเบิ้ล ตอน1 ตอน2 ตอน3 ตอน4ตอน5ตอนจบ
- หนังสือรวมบทเพลง The Impossibles อีกหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์วงการดนตรีไทย, 2544,จัดทำโดย ปราจีน ทรงเผ่า,โรงพิมพ์ บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พลับลิชชิ่ง, ISBN 974-272-389-3