ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชาย เมืองสิงห์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: เพิ่มข้อความไม่เป็นวิกิขนาดใหญ่
บรรทัด 114: บรรทัด 114:
=== ผลงานการแสดง ภาพยนตร์ และ ละครโทรทัศน์ ===
=== ผลงานการแสดง ภาพยนตร์ และ ละครโทรทัศน์ ===


* มือเสือ (2506)
* คู่วุ่นวัยหวาน (2529)
* เทพบุตร 12 คม (2507)
* หัวใจเดียวกัน (2529)
* เงิน เงิน เงิน (2508)
* วงศาคณาญาติ (2530)
* โสนน้อยเรือนงาม (2509)
* ปัญญาชนก้นครัว (2530)
* วิมานสีทอง (2514)
* หวานมันส์ฉันคือเธอ (2530)
* กุหลาบไฟ (2516)
* คำมั่นสัญญา (2530)
* ไอ้ฟ้าผ่า (2522)
* รักจ๋ามาแล้วจ๊ะ (2530)
* มนต์เพลงนักเลงบ้านนอก (2537)
* รักใคร่ (2530)
* ด้วยเกล้า (2530)
* กะเหรี่ยงตกดอย (2530)
* ความรักเหมือนยาขม (2530)
* อีก 10 วัน โลกจะแตก (2530)
* เธอกับเขา และรักของเรา (2530)
* เพลงรักเพลงปืน (2530)
* ผู้พันเรือพ่วง (2530)
* อะไรจะขนาดนั้น (2531)
* คืนปล่อยผี (2531)
* เพราะว่า..ฉันรักเธอ (2531)
* กลิ่นสีและกาวแป้ง (2531)
* หวานมันส์ฉันคือเธอ 2 (2531)
* บุญชู ผู้น่ารัก (2531)
* ตลาดพรหมจารี (2531)
* เท่แต่ห้าแต้ม (2531)
* ผิดฝาไม่ผิดตัว (2531)
* คู่รัก (2531)
* น.ส.บังอร (2531)
* ตะลุยโรงหมอ (2531)
* กะเหรี่ยงลอยฟ้า (2531)
* คุณจ่าเรือแจว (2531)
* บุญชู ผู้น่ารัก (2531)
* คุณนายแจ๋วแหวว (2531)
* กลิ่นสีและกาวแป้ง (2531)
* สบายกว่ากันเยอะเลย (2531)
* มันโผล่ขึ้นมาหยอก (2531)
* ตะลุยโรงหมอ (2531)
* วิวาห์ไฟ (2531)
* ตลาดพรหมจารี (2531)
* ทองประกายแสด (2531)
* พ่อปลาไหล แม่พังพอน (2531)
* ความรัก (2531)
* ยิ้มให้กันดีกว่า (2531)
* กลิ่นสี 2 ตอนจีบสาว จิ๊จ๊ะ (2533)
* คู่วุ่นอลเวง (2533)
* บุญชู 2 น้องใหม่ (2533)
* ครูไหวใจร้าย (2533)
* พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ (2533)
* ผลุบโผล่ (2533)
* ห้าวเล็ก ๆ (2533)
* เศรษฐีใหม่ (2533)
* อีลุ่ยฉุยแฉก (2533)
* กลิ่นสีและกาวแป้ง 2 (2533)
* ส.อ.ว.ห้อง 2 รุ่น 44 (2533)
* หมู่ขุนทอง (2533)
* ใช่แล้วหลุดเลย (2533)
* เว่อร์บริสุทธิ์ (2533)
* เทวดาตกสวรรค์ (2533)
* ขอชื่อสุธีสามสี่ชาติ (2533)
* บุญชู 5 เนื้อหอม (2533)
* ฉลุยโครงการ 2 (2533)
* เช้งกะเด๊ะส์ (2533)
* 3 กบาล (2533)
* บัณฑิต 7 วัด (2533)
* แฝดแบบว่า (2533)
* บ้านผีปอบ 3 (2533)
* ผีแม่ม่าย 2 (2533)
* มันลุกขึ้นมาอ้อน (2533)
* บุญชู 6 โลกนี้ดีออกสุดสวยน่ารักน่าอยู่ ถ้าหงุ่ย (2534)
* บ้านผีปอบ 4 (2534)
* ผีหนีหลุม (2534)
* ไอ้คุณผี (2534)
* ปอบหยิบ (2534)
* มันโผล่มาตามนัด (2534)
* ตัณหาพระจันทร์ 2 (2534)
* หลวงตา 3 สีกาข้างวัด (2534)
* อยากบอกให้รู้ว่ารัก (2534)
* ขบวนการอาจารย์โกย (2534)
* บุญมีไอ้หมาวัด (2534)
* บ้านผีปอบ 6 (2534)
* ต้องปล้น (2534)
* เดี๋ยวเล็ก เดี๋ยวใหญ่ (2534)
* วิถีคนกล้า (2534)
* สองโทน (2534)
* ขบวนการอาจารย์โกย (2534)
* ปอบผีทะเล้น ตอน กลิ้ง..งาบ..งาบ (2534)
* ทะนง (ระห่ำสะท้านโลก) (2534)
* กะหัง (2534)
* บุญเพิ่มพลเมืองดี (2535)
* เพียงเรามีเรา (2535)
* หอ หึ หึ (2535)
* อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป (2535)
* โรงเรียนกำจัดปอบ (2535)
* ตามล่าแต่หาไม่เจอ (2535)
* บ้านผีปอบ 7 (2535)
* บุญตั้งไข่ (2535)
* แจ๊คพ็อตคนจะรวยช่วยไม่ได้ (2535)
* ผู้ใหญ่หลี พ่อหนูหล่อ (2535)
* จะใหญ่จะย่อก็พ่อเรา (2535)
* เพราะฉะนั้น นั่นน่ะซี (2535)
* ปลุกผีมาจี้ปอบ (2535)
* สัญญาใจ แม่นาคพระโขนง (2535)
* เฉิ่มเฉิ่มแล้วก็ฉ่ำ (2535)
* สยองก๋อยส์ (2535)
* ไอ้เคี้ยมจอมโหด (2535)
* จะกู่รักกอดน้องให้ก้องโลก (2535)
* บุญชู 7 รักเธอคนเดียวตลอดกาลใครอย่าแตะ (2536)
* สตึไม่เต็มสตังค์ (2536)
* ความรักของคุณฉุย ภาค 2 ปัญญาชนคนกะลิง (2536)
* เธอของเรา ของเขา หรือของใคร (2536)
* ลูกบ้าเที่ยวล่าสุด (2536)
* กอดคอกันแหวว (2536)
* กวนโอ๊ย (2536)
* กองร้อย 501 ริมแดง (2536)
* คู่หูคู่ฮา (2536)
* ผ่าโลกเพลงลูกทุ่ง (2536)
* ชะแว้บแอบปิ๊ง (2536)
* แดร็กคูล่ากับปอบ (2536)
* ผีแม่ม่าย 3 (2536)
* ศพ 5 ปี (2536)
* อาจารย์เฮง (2537)
* บุญชู 8 เพื่อเธอ (2538)
* มนต์รักลูกทุ่ง (2538)
* มนต์รักลูกทุ่ง (2538)
* สวรรค์บ้านทุ่ง (2541)
* สวรรค์บ้านทุ่ง (2541)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:20, 19 กรกฎาคม 2563

ชาย เมืองสิงห์
สมเศียร พานทอง
สมเศียร พานทอง
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด24 ตุลาคม พ.ศ. 2482 (84 ปี)
สมเศียร พานทอง
คู่สมรสสมจิตร มุกดา
อาชีพนักร้อง นักแต่งเพลง
ปีที่แสดง2504-ปัจจุบัน
สังกัดวงดนตรีจุฬารัตน์

ชาย เมืองสิงห์ มีชื่อจริงว่า สมเศียร พานทอง เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง นักร้อง-นักแต่งเพลงลูกทุ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2538 ชาย เมืองสิงห์ เป็นนักร้องที่มีลีลาการร้องเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง และแต่งเพลงได้เหมือนน้ำตกที่ไหลพรั่งพรูจากหน้าผาไม่มีวันเหือดแห้ง เพลงที่สร้างชื่อเสียงให้แก่ ชาย เมืองสิงห์ คือ “เพลงมาลัยดอกรัก”และอีกมากมายหลายเพลง นอกจากนั้นเขาก็ยังได้ประพันธ์เพลงลูกทุ่งเอาไว้ประมาณ 1,000 เพลง ซึ่งก็มีทั้งที่เอาไว้สำหรับขับร้องเองและให้ผู้อื่นร้องมากกว่า และหลายเพลงก็ติดอันดับยอดนิยม เพลงลูกทุ่งของชาย เมืองสิงห์ มีเสน่ห์และแสดงความเป็นลูกทุ่งที่ชัดเจนเป็นเอกลักษณ์ด้วยการผสมผสานเสียงดนตรีไทยและดนตรีพื้นบ้าน กลายเป็นเพลงลูกผสมพันทางที่ฟังสนุกสนานกลมกลืนได้อย่างไพเราะ ด้วยความเป็นอัจฉริยะและความรู้ความสามารถ ทำให้ได้รับการขนานนามให้เป็น “ลูกทุ่งสามสมัย” คือ คงความยอดนิยมไว้ได้ทุกยุคทุกสมัย ชาย เมืองสิงห์ ได้รับรางวัลเกียรติคุณในฐานะศิลปินดีเด่นหลายรางวัล มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่ยอมรับในวงการลูกทุ่งเป็นอย่างยิ่ง

ประวัติ

ชาย เมืองสิงห์ มีชื่อจริงว่า สมเศียร พานทอง เกิดวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2482 [1]ที่อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี จบการศึกษาชั้นประถม 4 จากโรงเรียนวัดหัวว่าว จบชั้นมัธยมปลายจากจากโรงเรียนสิงหะวัฒนพาหะ (โรงเรียนสิงห์บุรี) ในจังหวัดบ้านเกิดในปี 2499 ก่อนจะเข้ามาเรียนต่อที่โรงเรียนเพาะช่างที่กรุงเทพฯ ในระหว่างนั้น เนื่องจากเป็นคนที่ชอบการร้องเพลง เมื่อเงินไม่พอใช้ก็จะอาศัยไปร้องเพลงเชียร์รำวง แต่เมื่อเรียนได้ถึงชั้นปีที่ 4 เขาก็ต้องเลิกเรียน เพราะทางบ้านประสบปัญหาทางด้านการเงินอย่างหนัก ชาย เมืองสิงห์ ที่ตัดสินใจสู้ชีวิตอยู่ในเมืองกรุง จึงต้องออกหางานทำ ซึ่งงานที่ว่าที่สุดยอดนักร้องลูกทุ่งเคยทำมาก็อย่างเช่นรับจ้างตากผัก เพื่อนำมาทำเป็นผักกาดกระป๋อง , กรรมกรตอกเสาเข็ม , รับจ้างเขียนป้าย และวาดรูป ต่อมาได้รับการอุปถัมภ์จาก อารมณ์ คงกะพัน ผู้กว้างขวางที่ขายของอยู่แถวตลาดพลู ที่คอยช่วยเหลือและผลักดันให้ชาย เมืองสิงห์ เข้าประกวดร้องเพลงตามที่ต่างๆ เช่น ผับ สถานบันเทิง ต่างๆ

เข้าวงการ

พอถึงปี 2504 ชาย เมืองสิงห์ มีโอกาสพบกับครูมงคล อมาตยกุล หัวหน้าวงจุฬารัตน์ จึงได้ขอสมัครเป็นนักร้องในวง แต่ครูมงคลยื่นเงื่อนไขว่าจะรับเขามาร่วมวง ก็ให้ไปแหล่สดๆแข่งกับพร ภิรมย์ นักร้องดังในวงจุฬารัตน์ และนักร้องลูกทุ่งชั้นแนวหน้าของประเทศในยุคนั้น ซึ่งชาย เมืองสิงห์ ก็ฝ่าด่านหินนั้นมาได้ด้วยการมาแหล่สดๆออกอากาศโต้กับพร ภิรมย์ ซึ่งด้วยน้ำเสียงที่แปลกเป็นเอกลักษณ์ และไหวพริบปฏิภาณที่ยอดเยี่ยมทำให้เขาได้รับการชื่นชมจากแฟนเพลงที่ฟังรายการ จนครูมงคล ต้องยอมรับเขาเข้าร่วมวงตามที่ประกาศเอาไว้ รวมทั้งตั้งชื่อให้เขาว่าชาย เมืองสิงห์ ก่อนจะผลักดันให้มีโอกาสบันทึกเสียงผลงานเพลงของตัวเอง ซึ่งชาย เมืองสิงห์ ก็ไม่ได้ทำให้ใครผิดหวัง เมื่อเขามีชื่อเสียงขึ้นมาอย่างรวดเร็ว จากคุณสมบัติที่กล่าวมาแล้ว บวกกับความสามารถด้านการแสดงหน้าเวที ขณะเดียวกัน จากหน้าตาที่หล่อเหลาไม่เบาของเขา จึงทำให้เขาได้รับฉายาว่า “อเลน เดอลอง เมืองไทย” ต่อมา คณะตลกเมืองไทยก็ตั้งฉายาให้เขาว่า “ แมน ซิตี้ไลอ้อน “ ตามชื่อที่ถอดความมาจากภาษาอังกฤษ และฉายานี้ก็ยิ่งทำให้เขาเป็นที่ชื่นชอบของผู้คนมากขึ้นไปอีก แม้ในกลุ่มคนที่ไม่ฟังเพลงในแนวของเขา

ชาย เมืองสิงห์ อยู่กับวงจุฬารัตน์ 5 ปี พอถึงปี 2510 ก็ออกมารับงานร้องเพลงทั่วไปเอง ในปีต่อมาก็ตั้งวงดนตรีเล็กๆชื่อ “วงหลังเขาประยุกต์ “ ต่อมาขยายวงและเปลี่ยนชื่อเป็น “ จุฬาทิพย์ “ เพื่อรำลึกถึงวงที่ทำให้เขาโด่งดัง ซึ่งในช่วงที่ทำวงนี้ ชาย เมืองสิงห์ ได้ปลุกปั้นให้ลูกวงของเขาโด่งดังขึ้นมาในระดับแนวหน้าในภายหลังหลายคน เช่น โชคดี พักภู่ , เพชร โพธิ์ทอง , ระพิน ภูไท , ดี๋ ดอกมะดัน , ดู๋ ดอกกระโดน , สีหนุ่ม เชิญยิ้ม , หนุ่ม เมืองไพร , ดาวไทย ยืนยง , ถนอม จันทรเกตุ

กลับมาอีกครั้ง

ชาย เมืองสิงห์ ทำวงอยู่ 10 ปี ก็ยุบวงไป เพราะมรสุมชีวิต ทั้งปัญหาครอบครัว และพ่อแม่เสียชีวิต เขาจึงห่างหายจากวงการเพลงไปนาน เมื่อผันตัวไปเป็นเกษตรกรทำไร่นาสวนผสมที่บ้านเกิดนานถึง 10 ปี จนได้รางวัลเกษตรกรดีเด่นของจังหวัด

ต่อมาเมื่อมีการจัดงาน กึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทยครั้งที่ 1 ในปี 2532 ชาย เมืองสิงห์ ได้รับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีถึง 4 รางวัล ชาย เมืองสิงห์จึงกลับเข้าสู่วงการเพลงลูกทุ่งไทยอีกครั้ง โดยมีการนำเอาทั้งเพลงเก่าและเพลงใหม่มาบันทึกเสียงจวบจนถึงทุกวันนี้ [2]

ในปลายปี 2557 ชาย เมืองสิงห์ ได้สร้างความฮือฮาเมื่อได้นำเอาเพลง “เมียพี่มีชู้” หนึ่งในเพลงที่โด่งดังที่สุดของตัวเอง มาเรียบเรียงและขับร้องใหม่เป็นดนตรีลูกทุ่งร่วมสมัยมากขึ้น ในสังกัดอาร์สยาม ในเครือของอาร์เอส โดยมีนักร้องลูกทุ่งร่วมสมัยมาร่วมร้องด้วย คือ จ๊ะ อาร์สยาม และใบเตย อาร์สยาม[3][4][5]

ผลงานการแต่งเพลง

ชาย เมืองสิงห์ ยังมีความสามารถด้านการแต่งเพลงชนิดที่หาตัวจับได้ยากคนหนึ่ง เขามีเพลงที่แต่งไว้มากมายถึงราว 1 พันเพลง และเพลงที่เขาแต่งไว้ร้องเอง หรือแต่งให้นักร้องคนอื่นร้อง ก็ได้รับความนิยมจากแฟนเพลงหลายสิบเพลง เช่น

  • ทำบุญร่วมชาติ
  • มาลัยน้ำใจ
  • พ่อลูกอ่อน
  • เสน่ห์นางไพร
  • ลูกสาวใครหนอ
  • มาลัยดอกรัก
  • แก่นแก้ว
  • หยิกแกมหยอก
  • พระรถเมรี
  • มนต์เมืองสิงห์
  • สิบห้าหยกๆ
  • เรือล่มในหนอง
  • แม่ขนตางอน
  • จุ๋มจิ๋ม
  • เมียพี่มีชู้
  • มันยกร่อง
  • จำมํ่า
  • แม่ยอดยาหยี
  • ฝนตกบ้านน้อง ฟ้าร้องบ้านพี่

The Man City Lion Project

การกลับมาครั้งยิ่งใหญ่ของ ชาย เมืองสิงห์ กับ ค่ายอาร์สยาม ในโปรเจกต์พิเศษ The Man City Lion Project ซึ่งมีเพลงที่ชายเมืองสิงห์ ขับร้อง แต่งเนื้อร้อง ทำนอง และเรียบเรียง รวมกันทั้งหมด 14 เพลง

เพลงที่ ชื่อเพลง นักร้อง หมายเหตุ
1 เมียพี่มีชู้ ชาย เมืองสิงห์
ใบเตย อาร์สยาม
จ๊ะ อาร์สยาม
ขับร้อง / คำร้อง /ทำนอง
2 ชะทิงนองนอย ชาย เมืองสิงห์
จินตหรา พูนลาภ อาร์สยาม
ขับร้อง / คำร้อง /ทำนอง
3 ลั่นทม ปาน ธนพร คำร้อง /ทำนอง
4 เมรี กระแต อาร์สยาม
กระต่าย อาร์สยาม
คำร้อง /ทำนอง
5 มาลัยน้ำใจ แจ๊ค ธนพล อาร์สยาม
แคท รัตกาล อาร์สยาม
คำร้อง /ทำนอง
6 มาลัยดอกรัก ชาย เมืองสิงห์
นฤพนธ์ พานทอง
ขับร้อง / คำร้อง /ทำนอง
7 16 หย่อนๆ ลูกตาล อาร์สยาม คำร้อง /ทำนอง
8 จับปลาสองมือ ยิ้ม อาร์สยาม คำร้อง /ทำนอง
9 ผีเข้าผีออก ชาย เมืองสิงห์
แมงปอ ชลธิชา อาร์สยาม
ขับร้อง / คำร้อง /ทำนอง
10 กุหลาบในใจน้อง หญิง ธิติกานต์ อาร์สยาม -
11 ฉันรักเธอ บิว กัลยาณี อาร์สยาม คำร้อง /ทำนอง
12 น้ำนิ่งไหลลึก เด่น อาร์สยาม คำร้อง /ทำนอง
13 ปากหวาน หนู มิเตอร์ อาร์สยาม คำร้อง /ทำนอง
14 พี่ไปหลายวัน กุ้ง สุธิราช อาร์สยาม
วิรดา วงศ์เทวัญ อาร์สยาม
-

ผลงานการแสดง ภาพยนตร์ และ ละครโทรทัศน์

  • มือเสือ (2506)
  • เทพบุตร 12 คม (2507)
  • เงิน เงิน เงิน (2508)
  • โสนน้อยเรือนงาม (2509)
  • วิมานสีทอง (2514)
  • กุหลาบไฟ (2516)
  • ไอ้ฟ้าผ่า (2522)
  • มนต์เพลงนักเลงบ้านนอก (2537)
  • มนต์รักลูกทุ่ง (2538)
  • สวรรค์บ้านทุ่ง (2541)
  • พ่อ ตอน เพลงของพ่อ (2542)
  • มนต์เพลงลูกทุ่งเอฟเอ็ม (2545)
  • หัวใจไกลปืนเที่ยง (2545)
  • ลิเก๊ ลิเก (2546)
  • กระสือวาเลนไทน์ (2549)
  • เดี๋ยวจัดให้ (2549)
  • ถอดซิมถิ่มฮัก (2549)
  • หัวใจที่สาม (2549)
  • ขออภัยในบางลีลา (2549)
  • ฉันเหงาเขามัน (2549)
  • เหลือรูปไม่เหลือใจ (2549)
  • เพื่อนรัก (2549)
  • คนนี้อ้ายจอง (2549)
  • ผีเสื้อสมุทร (2549)
  • หนุมานคลุกฝุ่น (2551)
  • เพลงรักข้ามภพ (2553)

เพลงประกอบละคร

  • เพลง "อายผี" ประกอบละครเรื่อง หัวใจไกลปืนเที่ยง (พ.ศ. 2545)
  • เพลง "ชีวิตลิเก" ประกอบละครเรื่อง ลิเก๊ ลิเก 1 (พ.ศ. 2546)
  • เพลง "ไหว้ครู" ประกอบละครเรื่อง ลิเก๊ ลิเก 2 (พ.ศ. 2546)

เกียรติยศ

  • โล่พระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี งานกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทยครั้งที่ 1 ในปี 2532 จากการแต่งและร้องเพลง พ่อลูกอ่อน และ ทำบุญร่วมชาติ รวม 4 รางวัล
  • โล่พระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี งานกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทยครั้งที่ 2 ในปี 2534 จากการแต่งและร้องเพลง ลูกสาวใครหนอ รวม 2 รางวัล
  • รางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะนักร้องและนักแต่งเพลงที่ใช้ภาษาไทยดีเด่น ของมหาวิทยาลัยมหิดลร่วมกับราชบัณฑิตยสถาน ปี 2534
  • ได้รับการยกย่องเป็นผู้ที่มีผลงานดีเด่นทาง ด้านวัฒนธรรม (สาขาศิลปะและการช่างฝีมือ) ประจำภาคกลางตอนบน ปี 2535
  • รางวัลเกียรติคุณพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวานกึ่งศตวรรษสืบสานคุณค่าวัฒนธรรมไทย ภาคพิเศษ ปี 2537 จากเพลงทุกข์ร้อยแปด
  • ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นักร้อง – นักแต่งเพลง ปี 2538

สังคมนิยม

  1. ยืนยง โอภากุล (หรือ แอ๊ด คาราบาว) นักร้องนำวงคาราบาว ได้แต่งเพลงเชิดชูให้กับ ชาย เมืองสิงห์ ในเพลง เดอะแมนซิตี้ไลอ้อน (ในอัลบั้ม เดอะแมนซิตี้ไลอ้อน เมื่อปี พ.ศ. 2539) [6]

อ้างอิง

  1. ประวัติ "ชาย เมืองสิงห์" ศิษย์เอกวงดนตรี "จุฬารัตน์"
  2. ประวัติชาย เมืองสิงห์
  3. หน้า 33 บันเทิง, 'ใบเตย' - 'จ๊ะ อาร์สยาม' ร่วมฟีทฯ 'ชาย เมืองสิงห์' ในเพลง 'เมียพี่มีชู้' . เดลินิวส์ฉบับที่ 23,776: วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 แรม 11 ค่ำ เดือน 12 ปีมะเมีย
  4. น้ำหมากกระจาย !!! mv เมียพี่มีชู้ ชายเมืองสิงห์ feat ใบเตย-จ้ะ
  5. ‘ชาย เมืองสิงห์’ฟิเจอริ่ง‘จ๊ะ-ใบเตย-กระแต-จินตหรา-หญิง’
  6. ฟังเพลง เดอะแมนซิตี้ไลอ้อน

แหล่งข้อมูลอื่น