ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
สังหารโหดศพลอยอืดติดริมฝั่งโขง
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 45: บรรทัด 45:
สุรชัยมักจะปรากฏตัวด้วยแฟชั่น หมวกเขียว-ดาวแดง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของการต่อสู้ของกลุ่ม[[คอมมิวนิสต์]] ซึ่งนายเทพไท เสนพงศ์ได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ว่า "“เหิมเกริม ท้าทายอำนาจรัฐ" หมวกดาวแดงของสุรชัยรุ่นล่าสุด มีการพิมพ์คำว่า "แดงสยาม"ที่หน้าหมวก ซึ่งลักษณะการแสดงออกทางสัญลักษณ์นี้ขัดแย้งกับกับวาทกรรม "การเรียกร้องประชาธิปไตย" แต่ใช้สัญลักษณ์คอมมิวนิสท์ในการต่อสู้
สุรชัยมักจะปรากฏตัวด้วยแฟชั่น หมวกเขียว-ดาวแดง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของการต่อสู้ของกลุ่ม[[คอมมิวนิสต์]] ซึ่งนายเทพไท เสนพงศ์ได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ว่า "“เหิมเกริม ท้าทายอำนาจรัฐ" หมวกดาวแดงของสุรชัยรุ่นล่าสุด มีการพิมพ์คำว่า "แดงสยาม"ที่หน้าหมวก ซึ่งลักษณะการแสดงออกทางสัญลักษณ์นี้ขัดแย้งกับกับวาทกรรม "การเรียกร้องประชาธิปไตย" แต่ใช้สัญลักษณ์คอมมิวนิสท์ในการต่อสู้


มีข่าวลือว่าพบศพนาย สุรชัย แซ่ด่าน และสหาย
== การเสียชีวิต ==

{{โครง}}สังหารโหดศพลอยอืดติดริมฝั่งโขง<br />
แต่ยังไม่แน่ชัดว่าเป็นเขาหรือไม่โปรดติดตามชมตอนต่อไป

== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
{{รายการอ้างอิง}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:38, 1 มกราคม 2562

สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์
ไฟล์:Surachaisaedan.jpg
เกิดสุรชัย แซ่ด่าน
24 ธันวาคม พ.ศ. 2485
จังหวัดนครศรีธรรมราช ประเทศไทย
เสียชีวิต28 ธันวาคม พ.ศ. 2561 (76 ปี)[1]
การศึกษาสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
พรรคการเมืองพรรคไทยรักไทย

สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ มีชื่อเดิมว่า สุรชัย แซ่ด่าน เป็นอดีตนักเคลื่อนไหว และอดีตนักโทษการเมืองคดีคอมมิวนิสต์คนสุดท้ายของประเทศไทย เป็นอดีตคณะทำงานพรรคไทยรักไทย จังหวัดนครศรีธรรมราช และเป็นอดีตแกนนำกลุ่มแดง

ประวัติ

นายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ ชื่อเดิม สุรชัย แซ่ด่าน (陳嘉前) เกิดเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2485 (81 ปี) ที่ตำบลท่าพญา อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นบุตรของนายยกย้วนและนางสมเช้า แซ่ด่าน จบการศึกษาจากสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ก่อนจะเข้าสู่แวดวงการเมืองเคยมีอาชีพซ่อมวิทยุและโทรทัศน์มาก่อน

สมรสกับภรรยาทั้งหมด 3 คน มีบุตรกับภรรยาคนแรก 3 คน เป็นชาย 2 หญิง 1 และบุตรชายอีก 1 คนกับภรรยาคนที่ 2[2]

บทบาทการเมือง

นายสุรชัย เดิมทีเป็นที่รู้จักดีในการเมืองช่วงหลังเหตุการณ์ 6 ตุลา จากการเป็นสมาชิกคนสำคัญของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ทื่เคลื่อนไหวแบบยุทธวิธีกองโจรในป่า ซึ่งต่อมาได้รับโทษถึงประหารชีวิตอันเนื่องจากคดีฆาตกรรมจากการปล้นรถไฟ โดยเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2521 ได้เกิดคดีฆาตกรรม ร.ต.อ. ไสว พลชนะ และปล้นรถไฟที่ สถานีรถไฟสุราษฎร์ธานี โดยปล้นเงินไปได้กว่า1ล้านสองแสนบาท แต่ต่อมาได้รับการพระราชทานอภัยโทษในปี พ.ศ. 2531

ต่อมา นายสุรชัยได้เข้าร่วมการเมืองในระบบรัฐสภาด้วยการเป็นสมาชิกพรรคความหวังใหม่ จากการชักชวนของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ และลงสมัครสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดนครศรีธรรมราช และผู้สมัคร ส.ส.พรรคไทยรักไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

นายสุรชัย เข้าร่วมการชุมนุมขับไล่ คมช. ที่ท้องสนามหลวง และต่อมาได้แยกตัวออกมาจัดตั้งกลุ่ม "แดงสยาม" ร่วมกับนายจักรภพ เพ็ญแข โดยมิได้ข้องเกี่ยวอะไรกับกลุ่ม นปช.อีกต่อไป

ในการขึ้นเวที นปช. เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2550 นายสุรชัย ได้กล่าวหมิ่นประมาทนายชวน หลีกภัย และศาลอาญามีคำพิพากษาปรับ 50,000 บาท จำเลยให้การรับสารภาพลดโทษเหลือ 25,000 บาท[3]

ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ตำรวจได้จับกุมตัวนายสุรชัย ตามหมายจับของศาลอาญาที่ 27/2554 ในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (กฎหมายอาญามาตรา 112 ในประเทศไทย) หลังจากการปราศรัยบริเวณใกล้ท้องสนามหลวง [4] ต่อมาเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 ศาลอาญา มีคำพิพากษา ให้จำคุก 7 ปี 6 เดือน จากคดีดังกล่าว[5] ต่อมาในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เขาจึงได้รับพระราชทานอภัยโทษ[6]และได้รับการปล่อยตัวออกมาในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2556 [7]

ปัจจุบันนายสุรชัย ได้จัดทำรายการ "ปฏิวัติประเทศไทย" แพร่ภาพผ่านยูทูป โดยนำเสนอข่าวสารและสาระตามแนวสถาบันกษัตริย์ เหตุการณ์ล่าสุด 29 มกราคม 2558 นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ คณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย ได้แจ้งเรื่องนี้ให้ ครม.จัดการ ข้อหากบฏต่อแผ่นดิน

เขาเป็นผู้ฝ่าฝืน คำสั่ง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 57/2557 จนกระทั่งศาลทหารออกหมายจับ

ผลงานเขียน

ตำนานนักสู้ สุรชัย แซด่าน เล่มที่ 1และ2 (ชื่อเดิม นักโทษประหารคนที่ 310) อัตชีวประวัติของสุรชัย ตั้งแต่สมัยที่ยังต่อสู้เคลื่อนไหวในพื้นที่ภาคใต้ การเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยและชีวิตในเรือนจำโดยสุรชัยใช้เวลาที่ถูกจำคุกในการเขียนหนังสือเล่มนี้[8]

การปราศรัย

หลังการสลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ พ.ศ. 2553 สุรชัยเริ่มเปิดเวทีปราศรัยที่ราชบุรีเป็นครั้งแรกที่ราชบุรีในวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 [9] จากนั้นก็ได้เดินทางปราศรัยตามคำเชิญทั่วประเทศ

วิธีปราศรัยของสุรชัยเป็นสิ่งที่สุรชัยเรียกว่าการพูดแบบเฉียดฉิว นั่นคือการที่สุรชัยใช้วาทกรรมเปรียบเปรยสังคมไทยเป็นปริศนาที่ทำให้ผู้ฟังต้องนำไปตีความ สุรชัยบอกในการปราศรัยเสมอว่าปัญหาของประเทศไทยนั้นมาจากชนชั้นสูง ดังนั้นการแก้ปัญหาของประเทศต้องใช้แนวทางปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประเทศใหม่ สุรชัยเน้นในการปราศรัยว่าการปฏิวัตินั้นเป็นสิ่งที่ดีทำให้ประเทศมีความเจริญขึ้น แตกต่างจากรัฐประหารที่ทำให้ประเทศตกต่ำลง โดยการปฏิวัติประเทศไทยเคยเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวคือการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 นอกนั้นเป็นการรัฐประหารทั้งสิ้น ทำให้นายสุรชัยเป็นแนวร่วมกับขบวนการล้มเจ้าในประเทศไทย อย่างชัดเจน

แฟชั่นหมวกดาวแดง

สุรชัยมักจะปรากฏตัวด้วยแฟชั่น หมวกเขียว-ดาวแดง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของการต่อสู้ของกลุ่มคอมมิวนิสต์ ซึ่งนายเทพไท เสนพงศ์ได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ว่า "“เหิมเกริม ท้าทายอำนาจรัฐ" หมวกดาวแดงของสุรชัยรุ่นล่าสุด มีการพิมพ์คำว่า "แดงสยาม"ที่หน้าหมวก ซึ่งลักษณะการแสดงออกทางสัญลักษณ์นี้ขัดแย้งกับกับวาทกรรม "การเรียกร้องประชาธิปไตย" แต่ใช้สัญลักษณ์คอมมิวนิสท์ในการต่อสู้

มีข่าวลือว่าพบศพนาย สุรชัย แซ่ด่าน และสหาย

แต่ยังไม่แน่ชัดว่าเป็นเขาหรือไม่โปรดติดตามชมตอนต่อไป

อ้างอิง