ผู้ใช้:Wasin147/ทดลองเขียน4

พิกัด: 13°43′14″N 100°31′23″E / 13.720589°N 100.523095°E / 13.720589; 100.523095
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทดลองเขียน โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
ละติน: [SANDBOX] Bangkok Christian College
Bangkok Christian College
ไฟล์:BCClogo.png
ที่ตั้ง
ข้อมูล
ชื่ออื่นก.ท / BCC
ประเภทโรงเรียนเอกชน
คำขวัญอย่าให้ความชั่วชนะเราได้ แต่จงชนะความชั่วด้วยความดี (โรม 12:21)
ผู้ก่อตั้งคณะมิชชันนารีอเมริกันเพรสไบทีเรียน
ผู้อำนวยการอาจารย์วราภรณ์ ทรัพย์สมบูรณ์
ผู้อำนวยการ
อาจารย์จินตนา ปรีชาจารย์
ผู้จัดการ
ระดับปีที่จัดการศึกษาประถมศึกษาปีที่ 1-6 มัธยมศึกษาปีที่ 1-6
เพศโรงเรียนชายล้วน
จำนวนนักเรียน6,000 คน
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน ไทย ภาษาไทย
สหราชอาณาจักร ภาษาอังกฤษ
ญี่ปุ่น ภาษาญี่ปุ่น
จีน ภาษาจีนกลาง
สี  ม่วง   ทอง
เพลงม่วงทองผ่องอำไพ
มาร์ชกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
มาร์ช บีซีซี
สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน [1]
ดอกไม้ประจำโรงเรียนดอกชงโค
ต้นไม้ประจำโรงเรียนต้นกล้วยพัด
เว็บไซต์www.bcc.ac.th

โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย (อังกฤษ: Bangkok Christian College ย่อ: ก.ท, BCC) เรียกอย่างย่อว่า กรุงเทพคริสเตียน หรือ คริสเตียน เป็นโรงเรียนเอกชนชายล้วนขนาดใหญ่ ได้รับการสถาปนาขึ้นโดยคณะมิชชันนารีอเมริกันเพรสไบทีเรียน เมื่อปี พ.ศ. 2395 ปัจจุบันโรงเรียนมีอายุ 168 ปี ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 15 ไร่ 2 งาน 31 ตารางวา เป็นโรงเรียนราษฎรแห่งแรกของประเทศไทย เป็นโรงเรียนที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศไทย เป็นโรงเรียนโปรแตสแตนท์ที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศ และเป็นโรงเรียนเพียงแห่งเดียวในปัจจุบันที่ก่อตั้งขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ปัจจุบันโรงเรียนอยู่ภายใต้การควบคุมของ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน หรือ ส.ช. [2] โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยตั้งอยู่ เลขที่ 35 ถนนประมวญ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร[3] โรงเรียนมีศิษย์เก่าเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงหลายคน ทั้งองคมนตรี 4 คน นายกรัฐมนตรีไทย 2 คน รัฐมนตรีหลายกระทรวง นักร้อง นักแสดง ผู้จัดรายการหลายคน โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยเป็นโรงเรียนในเครือจตุรมิตร ซึ่งประกอบด้วย โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย, โรงเรียนเทพศิรินทร์, โรงเรียนอัสสัมชัญ และโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย


ประวัติ[แก้]

การก่อตั้งโรงเรียน[แก้]

ในช่วง พ.ศ. 2394 คณะมิชชันนารีอเมริกันเพรสไบทีเรียน (American Presbyterian) ได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ให้สามารถซื้อที่ดิน 2 แปลงที่ตำบลกุฎีจีน ใกล้วัดแจ้ง โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย เปิดสอนหนังสือให้แก่เด็กผู้ชายครั้งแรก บริเวณหมู่บ้านชาวมอญ เมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2395 โดยแหม่มมะตูน ในขณะนั้น ยังไม่มีการตั้งเป็นโรงเรียน จนกระทั่งวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2395 หมอเฮาส์ ได้เริ่มก่อตั้งโรงเรียนที่ตำบลกุฎีจีนแห่งแรก โดยเปิดโรงเรียนประจำในบริเวณสำนักงานคณะอเมริกันเพรสไบทีเรียน ซึ่งเป็นที่ดินที่ได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ข้างวัดแจ้ง โดยใช้ชื่อโรงเรียนว่า "โรงเรียนคริสเตียนบอยสกูลที่กุฎีจีน" ในเวลานั้น ถือว่าเป็นโรงเรียนประจำแห่งแรกของประเทศสยาม ซึ่งได้ใช้เทคโนโลยีการสอน และแบบแผนตามประเทศตะวันตก มีการตรจสุขภาพของเด็กนักเรียนทุกคนก่อนที่จะรับเข้าเป็นนักเรียน เพื่อป้องกันโรคติดต่อ โดยหมอเฮาส์ ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ทันสมัยมากในสมัยนั้น นอกจากจะมีการสอนให้อ่านและเขียน ยังมีการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ วิทยศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และศาสนา โดยมีซินแสกีเอ็ง ก๊วยเซียน เป็นอาจารย์ผู้สอน มีเยาวชนชาวจีนเพียง 8 คน ที่เข้ามาสมัครเป็นนักเรียน [4]

ในขณะนั้น เด็กส่วนใหญ่เกิดจากครอบครัวที่ไม่มีกำลังมาก ส่วนใหญ่จึงมีการเรียนการสอนเกิดขึ้นโดยพระสงฆ์ ภายในวัด โรงเรียนจึงได้เริ่มจ้างนักเรียนให้เข้ามาเรียน ด้วยเงิน 1 เฟื้อง (ปัจจุบัน อยู่ที่ประมาณ 0.125 บาท) โรงเรียนได้ให้สิ่งอำนวยความสะดวกแก่นักเรียนที่เข้ามาเรียน เช่น ที่พักอาศัย และในพ.ศ. 2399 ได้เริ่มมีนักเรียนไทยกลุ่มหนึ่ง เข้ามาเรียนที่โรงเรียน และมีบันทึกนักเรียนไทยไว้ทั้ง 5 คน ได้แก่

    • นร. เลขประจำตัว 1 พระยาอุตรกิจฯ
    • นร. เลขประจำตัว 2 หลวงวิจิตรฯ
    • นร. เลขประจำตัว 8 หลวงขบวนฯ
    • นร. เลขประจำตัว 29 ครูยวญ เตียงหยก
    • นร. เลขประจำตัว 31 นายเทียนสู่ กีระนันทน

ใน พ.ศ. 2405 คณะมิชชันนารี ได้ย้ายโรงเรียนจากกุฎีจีน ไปที่สำเหร่ ซึ่งอยู่ทางใต้ในฝั่งธนบุรี และมอบให้ศาสนทูตแมตตูน เป็นผู้อำนวยการ ในขณะเดียวกัน รัฐบาลไทยได้เปิดโรงเรียนของรัฐบาลแห่งหนึ่งที่ตำบลสวนอนันต์ ได้เชิญท่าน เอส.จี.แมคฟาแลนด์ หรือคุณพระอาจวิทยาคมเป็นผู้อำนวยการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การศึกษาเฉพาะบุคคลชั้นเจ้านาย ลูกท่านหลานเธอและบุตรข้าราชการผู้ใหญ่ในราชสำนักเท่านั้น ท่านผู้อำนวยการเห็นว่าภารกิจที่ได้รับมอบหมายนั้น ลำพังท่านเพียงผู้เดียวนั้นยากที่จะดำเนินไปสู่จุดมุ่งหมายได้ จึงเรียนเชิญอาจารย์จอห์น.เอ.เอกิ้น เข้ามาร่วมงาน กิจการของโรงเรียนราษฎร์แห่งแรกก็ได้ก้าวหน้าไปด้วยดี [5]

การรวมตัวของทั้งสองโรงเรียน[แก้]

ใน พ.ศ. 2431 หลังจากที่อาจารย์จอห์น.เอ.เอกิ้นร่วมงานกับอาจารย์เอส.จี.แมคฟาแลนด์ ได้ระยะหนึ่ง อาจารย์จอห์น เอ. เอกิ้น ก็ลาออกจากตำแหน่งครูรัฐบาลแต่ด้วยใจรักการศึกษา ท่านก็ได้จัดตั้งโรงเรียนส่วนตัวขึ้น ณ ตำบลวัดกุฎีจีน โดยใช้ชื่อโรงเรียนว่า บางกอกคริสเตียนไฮสกูล อีกทั้งยังได้เชิญอาจารย์และแหม่มเจ.บี.ดันแลป พร้อมด้วยน้องสาวของท่าน เข้ามาร่วมเป็นอาจารย์ในโรงเรียน ในปีนั้นอาจารย์จอห์น.เอ.เอกิ้น และคณะทั้งสามของท่านได้สมัครเข้าสังกัดของคณะเพรสไบทีเรียนแล้ว ศาสนทูตเอส.อาร์เฮ้าส์ ท่านศาสนทูตเจ.เอม.คัลเบริ์ทซัน ท่านศาสนทูตเอน.เจ.แมคโดนัล และท่านศาสนทูต เจ.แวนได๊ก์ ได้เดินทางกลับไปเยี่ยมบ้านเกิดของท่าน ณ สหรัฐอเมริกา ทำให้ทางฝ่ายมิชชันในกรุงเทพมหานคร ขาดผู้บริหารด้านการศึกษา ที่ประชุมจึงได้มีมติให้อาจารย์จอห์น เอ.เอกิ้น เป็นผู้ที่จะบริหารงานด้านการศึกษาของมิชชันต่อไป ดังนั้นท่านต้องแบกภารกิจเป็น 2 เท่าคือทั้งงานส่วนตัวที่"บางกอกคริสเตียนไฮสกูล" และโรงเรียนของคณะมิชชันที่สำเหร่ [6]

ใน พ.ศ. 2435 ท่านอาจารย์จอห์น.เอ.เอกิ้น ไม่ประสบความสำเร็จในการบริหารทั้งสองอย่างในเวลาเดียวกัน จึงตัดสินใจยกเลิกกิจการโรงเรียนบางกอกคริสเตียนไฮสกูล และมุ่งหน้าปรับปรุงกิจการส่วนรวมของคณะมิชชัน คือดำเนินการบริหารที่สำเหร่แต่เพียงอย่างเดียว เพื่อสร้างงานใหม่ที่ตำบลสำเหร่ โดยได้สร้างอาคารใหม่ใช้เป็นสถานศึกษาสำหรับนักเรียนชาย โรงเรียนบางกอกคริสเตียนไฮสกูล จึงรวมกับ โรงเรียนสำเหร่บอยสกูล เป็น "โรงเรียนสำเหร่บอยส์คริสเตียนไฮสกูล" ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ที่คริสตจักรที่ 1 สำเหร่ [7]

การย้ายโรงเรียนมาบนถนนประมวญ[แก้]

ใน พ.ศ. 2443 ทางคณะมิชชันนารีเล็งเห็นว่า หากจะขยายการศึกษาให้กว้างไกลออกไปแล้ว ที่ดินตรงตำบลสำเหร่ไม่เหมาะสม จึงมุ่งหมายไปยังที่ดินแปลงใหม่ ณ ฝั่งชายแม่น้ำเจ้าพระยาอันเป็นฝั่งกรุงเทพฯ ปัจจุบันและในที่สุดก็ได้ซื้อที่ดินแปลงหนึ่งที่บริเวณ ถนนประมวญ ตำบลสีลม อำเภอบางรัก จากเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ด้วยราคา 17,500 แต่ได้รับการลดราคาเนื่องจากถือว่าเป็นการบริจาคในการสร้างโรงเรียนจากพระยาสุรศักดิ์มนตรี 2,500 บาท และสร้างสถาบันการศึกษาขึ้นใหม่เรียกนามว่า "กรุงเทพคริสเตียนไฮสกูล" เปิดทำการสอนเป็นปฐมฤกษ์เมื่อ พ.ศ. 2466 [8]

ใน พ.ศ. 2456 มติจากบอร์ดนอกให้เปลี่ยนชื่อโรงเรียน จึงได้สั่งให้เปลี่ยนจากไฮสกูล เป็นคอลเล็จ (College) โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนไฮสกูล จึงเปลี่ยนมาเป็น "กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย" หรือ "Bangkok Christian College" มีชื่อย่อว่า "BCC" [9]

ใน พ.ศ. 2463 โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย เป็นโรงเรียนเอกชนแห่งแรกในประเทศไทย ที่ได้รับเกียรติในการรับรองวิทยฐานะ เทียบเท่าโรงเรียนรัฐบาล จากกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งได้ครบ 100 ปี ใน พ.ศ. 2563

ใน พ.ศ. 2484 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ย้ายไปเปิดการเรียนการสอน ในซอยพร้อมพงษ์ บนถนนสุขุมวิท บนที่ดินของคุณดำรงค์ จ่างตระกูล โดยไม่คิดค่าเช่า และยังเปิดรับนักเรียน ม.6 พิเศษ แบบสหศึกษาอีกด้วย ในช่วงนี้ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนกรุงเทพสเถียรวิทยาลัย" เป็นการชั่วคราว [10]

หลักสูตรการเรียน[แก้]

เนื้อหาควรมีการเพิ่ม**


สัญลักษณ์โรงเรียน[แก้]

ชื่อโรงเรียน[แก้]

โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ได้ทำการเปลี่ยนชื่อโรงเรียนมาถึง 5 ครั้ง

ในช่วงแรก โรงเรียนได้ใช้ชื่อว่า "โรงเรียนคริสเตียนบอลส์สกูลที่กุฎีจีน" โดยหลังจากที่โรงเรียนได้ย้ายไปตั้งถิ่นฐานที่ตำบลสำเหร่ ใน พ.ศ. 2402 ก็ได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น "สำเหร่ บอยส์สกูล" จนกระทั่ง พ.ศ. 2435 โรงเรียนสำเหร่บอยส์สกูล ได้มารวมกับโรงเรียนบางกอกคริสเตียนไฮสกูลของอาจารย์ จอห์น แอนเดอร์สัน เอกิ้น โรงเรียนจึงเปลี่ยนชื่อเป็น "สำเหร่บอยส์คริสเตียนไฮสกูล"

ในพ.ศ. 2445 โรงเรียนได้ย้ายจากฝั่งธนบุรี ไปฝั่งพระนคร บนถนนประมวญ ในตอนนั้น โรงเรียนได้เปลี่ยนชื่อเป็น "บางกอกคริสเตียนไฮสกูล" และได้เปลี่ยนเป็นชื่อปัจจุบัน "โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย" ในเวลาต่อมา

ในช่วงสงคราม โรงเรียนตกอยู่ในอำนาจของฝ่ายพันธมิตร ทหารญี่ปุ่น จึงมีการเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น "กรุงเทพสเถียรวิทยาลัย" เป็นการชั่วคราว

ความหมายของตราโรงเรียน[แก้]

กิจกรรม[แก้]

กีฬา[แก้]

โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย มีสนามฟุตบอลหลัก 1 สนาม, สนามฟุตซอล 7 สนาม (1 สนามหน้าอาคารอารีย์ เสมประสาท, 3 สนามใต้อาคารสิรินาถ, และอีก 3 สนาม บนชั้น 13 อาคาร จอห์น เอ. เอกิ้น), สนามบาสเกตบอลทั้งหมด 3 สนาม (โรงยิม 3 อาคารสิรินาถ, โรงยิมชั้น 15 อาคารจอห์น เอ. เอกิ้น, และลานจอดรถประตูสาทร), โรงยิมอเนกประสงค์สำหรับกีฬาแบตมินตัน มวยไทย และปิงปอง 2 แห่ง (โรงยิม 2 อาคารสิรินาถ, โรงยิมชั้น 14 อาคารจอห์น เอ. เอกิ้น), และสนามเปตองในลานชงโค

กิจกรรมนักเรียน[แก้]

เนื้อหาควรมีการเพิ่ม**

การเชียร์และแปรอักษร[แก้]

โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย เป็นโรงเรียนในเครือจตุรมิตรสามัคคี

กิจกรรมด้านวิชาการ[แก้]

เนื้อหาควรมีการเพิ่ม**

กิจกรรมด้านศาสนา[แก้]

โดยปกติแล้ว โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ได้จัดกิจกรรมทางด้านศาสนาอย่างบ่อยครั้ง ได้แก่ การนมัสการพระเจ้าเนื่องในโอกาสวันเปิดภาคเรียน, การนมัสการพระเจ้าเนื่องในโอกาสวัน ครบรอบการก่อตั้งโรงเรียน, การนมัสการพระเจ้าเนื่องในโอกาสวันคริสตมาส, พิธีนมัสการพระเจ้าและเชิดชูเกียรติครูเกษียณ ซึ่งในแต่ละกิจกรรม ทั้งนักเรียน ครู อาจารย์ และบุคลากร จะได้มีส่วนร่วมในพิธีการนมัสการ

พระมหากรุณาธิคุณ[แก้]

บูรพกษัตริยาธิราชและราชกุลแห่งบรมราชจักรีวงศ์ทรงมีคุณอันใหญ่หลวงต่อโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยมาโดยตลอด พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่4) มีพระบรมราชานุญาตให้คณะมิชชันนารีคณะอเมริกันเพรสไบธีเรียนมิชชั่นซื้อที่ดินในประเทศสยามไว้ 2 แห่ง และสร้าง โรงเรียนแห่งแรกที่ตำบลกุฎีจีน ฝั่งธนบุรี (อันเป็นต้นกำเนิดของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ในปัจจุบัน) เปิดทำการสอนครั้งแรกเมื่อ 30 กันยายน พ.ศ. 2395 ต่อมาได้เปิดดำเนินการสอนอีกแห่งที่ตำบลสำเหร่ ฝั่งธนบุรีเช่นกัน

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงสนับสนุนโครงการขยายการศึกษาของคณะอเมริกันเพรสไบทีเรียนมิชชั่นมายังฝั่งกรุงเทพฯ พระองค์พระราชทานเงินจำนวน 20 ชั่งเพื่อสมทบในกองทุนที่จัดซื้อที่ดินที่ ตำบลสีลม อำเภอบางรัก กรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. 2443 เพื่อสร้างโรงเรียนขนาดใหญ่ขึ้นใหม่ มีอาคารเรียน ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการที่ทันสมัย เริ่มทำการสอนเมื่อ พ.ศ. 2445 นอกจากนั้นพระองค์ยังพระราชทานนาฬิกาประดับพระปรมาภิไธยย่อ"จ.ป.ร."ไว้ที่สถาบันการศึกษาแห่งนี้

กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการสอนทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย จะเน้นหนักที่ภาษาอังกฤษโดยจะใช้ภาษาอังกฤษสอนในทุกรายวิชา (ยกเว้นวิชาภาษาไทย) นักเรียนจะต้องพูดภาษาอังกฤษทั้งในเวลาเรียนและเวลาที่อยู่ในโรงเรียน ที่เป็นเช่นนี้เพราะการปลูกฝังทักษะด้านภาษาอังกฤษให้แก่นักเรียน หากนักเรียนคนใดพูดภาษาไทยในเวลาดังกล่าวจะต้องถูกทำโทษโดยการให้อยู่เย็นและท่องงานตามที่อาจารย์มอบหมาย

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่6) มีพระบรมราชานุญาตให้โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย มีวิทยฐานเทียบเท่าโรงเรียนรัฐบาลเมื่อ พ.ศ. 2463 นับเป็นโรงเรียนแห่งแรกที่ได้รับเกียรตินี้ และแตรวง (วงดุริยางค์) ของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย เป็นตัวแทนของเขตพระนครใต้ เป็นกองเกียรติยศบรรเลงร่วมกับแตรวงโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยและวงดุริยางค์กองทัพบก บรรเลงนำขบวนพระบรมศพของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพ.ศ. 2469

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่7) มีพระมหากรุณาธิคุณต่อโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย โดยพระราชทานโต๊ะทรงพระอักษรประดับตราพระลัญจกร "วชิราวุธ" (โต๊ะทรงพระอักษรชุดนี้เป็นโต๊ะทรงพระอักษรในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวให้เป็นเกียรติแก่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย)

ราชสกุล"มหิดล"นับว่ามีความใกล้ชิดกับโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยอย่างยิ่ง ด้วยเหตุที่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เมื่อครั้งดำริพระอิสสริยยศเป็นกรมหลวงสงขลานครินทร์ พระองค์เสด็จเยี่ยมโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย เป็นประจำ ด้วยเหตุที่ทรงสนิทสนมกับมิชชันนารีที่บริหารโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยในสมัยอาจารย์ เอ็ม.บี.ปาล์มเมอร์ (M.B.Palmer) และ ดร.อี.เอ็ม.เท็ตต์ (E.M.Tate) ทรงสนพระทัยโครงการขยายการศึกษาของคณะมิชชันนารีและได้พระราชทานแนวพระราชดำริเกี่ยวกับแผนพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เอกสารแนวพระราชดำริปัจจุบันเก็บไว้ ณ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ

ทุกครั้งที่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม บรมราชชนก เสด็จเยี่ยมโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีจะโดยเสด็จด้วยทุกครั้งและทรงเป็นกันเองกับมิชชันนารี ทรงยินดีรับคำเชิญในการร่วมกิจกรรมของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย มาโดยตลอด ครั้งหนึ่งเมื่อสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนีเสด็จเยี่ยมโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ทอดพระเนตรเห็นความทรุดโทรมของสนามฟุตบอลโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย จึงได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 3,000 บาท เพื่อปรับปรุงสนามฟุตบอลโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ให้เป็นสนามฟุตบอลที่ทันสมัย ต่อมาเมื่อคณะศิษย์เก่าโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ซึ่งเป็นลูกศิษย์ท่านอาจารย์ ปาล์มเมอร์ ได้ร่วมกันสร้าง "อนุสรณ์ปาล์มเมอร์" ขึ้น และกราบทูลเชิญพระองค์เป็นองค์ประธานในการเปิดอนุสรณ์ปาล์มเมอร์ และทรงยินดีรับคำเชิญนี้ ภายหลังจากการเปิดอนุสรณ์ปาล์มเมอร์แล้ว พระองค์เสวยพระกระยาหารและทรงซักถามถึงความเป็นไปของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย และมีพระราชดำรัสขอให้โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยอย่าหยุดยั้งในการพัฒนาการศึกษาแก่เยาวชนของชาติ

ต่อมาคณะผู้ริหารโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย นำโดยอาจารย์อารีย์ เสมประสาท ได้นำคณะครูและนักเรียนเข้าเฝ้าสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ณ วังสระปทุม เมื่อวันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 เพื่อถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัยและพระองค์โปรดให้คณะครูและนักเรียนโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ถ่ายภาพร่วมกับพระองค์ด้วย ยังความปิติเป็นล้นพ้นแก่ชาวโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยทุกคน และเมื่อคราวที่พระองค์เจริญพระชนมายุครบ 93 พรรษา โปรดให้วงดุริยางค์โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย บรรเลงเพลงถวาย ณ วังสระปทุมในวันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2535 ด้วย

โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยได้พัฒนาอย่างยิ่งทั้งด้านการศึกษาและเทคโนโลยี ด้วยพระมหากรุณาธิคุณยิ่งแต่พระราชาองค์นั้น คือพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระราชดำริเสนอแนวทางในการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยแก่อาจารย์อารีย์ เสมประสาท ว่า

...ควรจะจัดโรงเรียนในลักษณะเดียวกันกับโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยในชนบทเพื่อขยายการศึกษาไปสู่ส่วนภูมิภาค...

อาจารย์อารีย์ เสมประสาท ได้รับใส่เกล้าใส่กระหม่อมเพื่อจะได้ดำเนินการต่อไป

ในพระราชวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงมีพระชนมพรรษา 60 พรรษา โรงเรียนกุรงเทพคริสเตียนวิทยาลัยได้สร้างอาคารศูนย์วิทยบริการซึ่งเป็นอาคารสูง 16 ชั้น อันเป็นอาคารที่มีความทันสมัยทั้งด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีก้าวล้ำไปสู่ศตวรรษที่ 21 ดังนั้นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จึงพระราชทานนามอาคารนี้ว่า "อาคารสิรินาถ"

โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ไม่หยุดยั้งโครงการพัฒนาการศึกษา ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลมหาราชาที่พระราชทานแนวพะราชดำริแก่คณะผู้บริหารโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยจึงได้วางแผนการศึกษาและดำเนินการโครงการต่างๆอันเป็นการก้าวล้ำไปสู่ศตวรรษหน้า

สมดังพระราชดำรัสของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย) ที่ทรงประทานให้แก่นักเรียนโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ที่สำเร็จการศึกษาเมื่อ พ.ศ. 2468 ว่า

"โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยมีแต่จะพัฒนาสืบไป"

ผู้อำนวยการ[แก้]

Note : ส่วนของผู้อำนวยการ จะต้องสืบค้นระยะเวลาการดำรงตำแหน่งเพิ่มเติม จาก Yearbook และหอประวัติศาสตร์โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย เพื่อนำมาอ้างอิง

ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง [11]
1 ศาสนาจารย์จอห์น แอนเดอร์สัน เอกิ้น พ.ศ. 2446-2451
2 ศาสนาจารย์ ดับบลิว. ยี. แมคครัวร์ พ.ศ. 2451-2462
3 ศาสนาจารย์ อาร์.โอ.แฟรงคลิน พ.ศ. 2462-2463
4 ศาสนาจารย์ เอ็ม. บี. ปาล์มเมอร์ พ.ศ. 2463-2481
5 อาจารย์มิส แอนนาเบล กอล์ท พ.ศ. 2451-2476
6 ดร. อี. เอ็ม. เท็ตต์ พ.ศ. 2481-2484
7 อาจารย์เจริญ วิชัย พ.ศ. 2484-2503
8 ศาสนาจารย์เล็ก ไทยง พ.ศ. 2503-2506
9 อาจารย์อารีย์ เสมประสาท พ.ศ. 2506-2521
10 ดร.สิงห์โต จ่างตระกูล พ.ศ. 2521-2535
11 อาจารย์บุญยเกียรติ นิลมาลย์ พ.ศ. 2535-2542
12 อาจารย์ประกอบ พรหมบุตร พ.ศ. 2542-2543
13 ดร.จารีต องคะสุวรรณ พ.ศ. 2543-2546
14 ดร.วรนุช ตรีวิจิตรเกษม พ.ศ. 2546-2559
15 อาจารย์ศุภกิจ จิตคล่องทรัพย์ พ.ศ. 2559-2562
16 อาจารย์วราภรณ์ ทรัพย์สมบูรณ์ พ.ศ. 2562-ปัจจุบัน

สถานที่ภายในโรงเรียน[แก้]

อาคารสามหลังแรก (พ.ศ. 2445 - พ.ศ. 2502)[แก้]

อาคารสามหลังแรกของโรงเรียน ประกอบไปด้วย อาคารเหนือเดิม ออฟฟิซ และ อาคารใต้เดิม โดยเรียงเป็นรูปตัว U มีอาคารออฟฟิซอยู่ตรงกลาง ปัจจุบัน คือที่ตั้งของหอธรรมในปัจจุบัน และลานหน้าอาคารอารีย์ เสมประสาท [12]

  • อาคารเหนือเดิม เป็นอาคารสองชั้น ชั้นล่างเป็นห้องเรียน ชั้นบนเป็นอาคารพักอาศัยของอาจารย์ชาวต่างชาติ อาจารย์เกลอร์ดนอกซ์ และห้องพักนักเรียนประจำ
  • อาคารออฟฟิซ เป็นอาคารสองชั้น เป็นชื่อเรียกที่ทำการหลักของโรงเรียนในสมัยนั้น โดยใช้ภาษาอังกฤษในการเรียก ชั้นล่าง เป็นห้องขายหนังสือ มีครัวอยู่ด้านหลัง ห้อง ม.7, ม.8 และชั้นบนเป็นที่พักของอาจารย์ใหญ่ อาจารย์เอ็ม. บี. ปาล์มเมอร์
  • อาคารใต้เดิม เป็นอาคารสองชั้น ชั้นล่างเป็นห้องเรียน, โรงสวด (หรือที่เรียกกันว่า Chapel) ชั้นบนเป็นอาคารพักอาศัยของอาจารย์ฝรั่ง มิส เอ. กอล์ต และห้องพักนักเรียนประจำ

ตึกเหนือ (พ.ศ. 2490 - พ.ศ. 2515) **ref[แก้]

เป็นอาคารเรียนสองชั้น ตั้งอยู่บริเวณทิสตะวันตกของโรงเรียน เป็นอาคารที่ได้แบบมาตรฐานที่สุดในยุคนั้น

ตึกเหนือ (พ.ศ. 2492 - พ.ศ. 2515) **ref[แก้]

เป็นอาคารเรียนสองชั้น ตั้งอยู่บริเวณทิศตะวันออกของโรงเรียน ขนานกับถนนสาทรเหนือ เป็นอาคารที่ได้แบบมาตรฐานที่สุดในยุคนั้น โดยมีลักษณะเหมือนกับตึกเหนือ

ตึกวิทยศาสตร์ (พ.ศ. ) **ref[แก้]

เป็นอาคารเรียนสี่ชั้น มีความสูงมากที่สุดในโรงเรียนในสมัยนั้น ตั้งอยู่ติดกับถนนสาทรเหนือ ปัจจุบันคือที่ตั้งของสระว่ายน้ำโรงเรียน

อาคาร เอ็ม บี ปาล์มเมอร์ สูง 4 ชั้น

อาคาร 1 (พ.ศ. ) **ref[แก้]

อาคาร 1 เป็นอาคารเรียนระดับชั้นประถมศึกษา สูง 4 ชั้น อาคารนี้ ได้ถูกรื้อถอนเมื่อปี พ.ศ. 2549 เพื่อนำมาสร้างอาคารจอห์น เอ. เอกิ้น

อาคาร เอ็ม บี ปาล์มเมอร์ หรือ อาคาร 2 (พ.ศ. 2509 - ปัจจุบัน) **ref** [แก้]

อาคารเอ็ม. บี. ปาล์มเมอร์ เป็นอาคารเรียนสมัยใหม่ สูง 4 ชั้น โดยได้นำงบประมาณการก่อสร้าง มาจากที่ดินบ้านกล้วย โดยอาคารนี้ เป็นการสร้างอาคารทั้งหมด 4 อาคาร ติดต่อกันเป็นทางยาว เมื่อสร้างเสร็จ ถูกขนานนามว่า เป็นอาคารที่มีความสวยงาม และทันสมัยที่สุดในประเทศไทย [13] เมื่อปี พ.ศ. 2552 ได้มีการเปลี่ยนชื่อจาก อาคาร 2 ซึ่งเป็นชื่อเรียกอาคารแบบเก่า เป็น อาคารเอ็ม. บี. ปาล์มเมอร์ เนื่องจากการทุบอาคาร 1 และการมาของอาคารจอห์น เอ. เอกิ้น และในปัจจุบัน อาคารเอ็ม. บี. ปาล์มเมอร์เป็นที่ตั้งของห้อง 00, ห้องส่งเสริมระเบียบวินัยมัธยมศึกษาตอนต้น, โรงอาหาร, ห้องเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1-3, ห้องเรียนโครงการ IEP , ห้องพักครูม.1-3, ห้องทดลองวิทยาศาสตร์, และห้องแนะแนว

หอธรรม โบสถ์ดีไซน์เรือโนอาห์

หอธรรม (พ.ศ. 2514 - ปัจจุบัน)[แก้]

เป็นหอประชุมที่เก่าแก่และใหญ่ที่สุดของโรงเรียน และยังเป็นสัญลักษณ์ของโรงเรียนอีกด้วย สร้างเมื่อปี 2511 แล้วเสร็จปี 2514 เพื่อใช้ในศาสนพิธีของโรงเรียน ซึ่งเป็นแบบคริสต์ศาสนานิกายโปรแตสแตนท์ และการประชุมสำคัญต่างๆ ของโรงเรียน รูปร่างของหอธรรมนั้น ผู้ออกแบบใช้แนวคิด "เรือโนอาห์" ซึ่งเป็นเรือที่ปรากฏอยู่ในพระคัมภีร์ทางคริสต์ศาสนาในส่วนพันธสัญญาเดิม ว่าด้วยเหตุการณ์น้ำท่วมโลก ที่พระผู้เป็นเจ้าบันดาลให้เกิดเพื่อล้างบรรดาความชั่วร้ายบนโลกอันเกิดขึ้น และพระผู้เป็นเจ้าได้สั่งให้โนอาห์ต่อเรือใหญ่สำหรับตนและครอบครัว อีกทั้งสัตว์น้อยใหญ่ อาศัยเรือนี้ในยามน้ำท่วมโลก เมื่อน้ำลด ผู้อยู่บนเรือโนอาห์จึงเป็นผู้รอดชีวิต และสืบเผ่าพันธุ์มาจนถึงทุกวันนี้ หอธรรมสามารถจุคนได้กว่า 1,500 คน ด้านหลังของหอธรรมเป็นที่ตั้งของห้องศาสนกิจ และห้องประชุม 5

อนึ่ง ไม้กางเขนของฝ่ายโปรแตสแตนท์ จะไม่มีรูปพระเยซูถูกตรึงบนกางเขน ต่างจากไม้กางเขนของฝ่ายโรมันคาทอลิก ด้วยฝ่ายโปรแตสแตนท์ถือเรื่องการไม่นับถือรูปเคารพใดๆ มีเพียงไม้กางเขนที่เป็นสัญลักษณ์ถึงการไถ่บาปของพระเยซูแก่ผู้คนชาวโลกเท่านั้น

อาคารอารีย์ เสมประสาท สูง 7 ชั้น

อาคารอารีย์ เสมประสาท (พ.ศ. 2525 - ปัจจุบัน)[แก้]

อาคารอารีย์ เสมประสาท หรือที่เรียกกันว่า "อาคารอารีย์" เป็นอาคารสูง 6 ชั้นครึ่ง ซึ่งสร้างมาเพื่อรองรับนักเรียนที่เพิ่มมากขึ้น และทดแทนอาคารเหนือ ซึ่งอยู่ต่ำกว่าถนน ทำให้น้ำท่วมเข้ามาในห้องเรียนได้ง่าย โดยอาคารอารีย์ เสมประสาทเป็นอาคารแห่งแรกในโรงเรียน ที่มีลิฟต์โดยสารสำหรับอาจารย์และบุคลากร ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของห้องเรียนของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 และ 2, ห้องพักครู, ห้องทดลองวิทยาศาสตร์, ห้องลูกเสือ, ห้องดนตรีไทย และห้องคอมพิวเตอร์

อาคารสิรินาถ สูง 16 ชั้น

อาคารสิรินาถ (พ.ศ. 2537 - ปัจจุบัน)[แก้]

อาคารสิรินาถ หรือ อาคารศูนย์วิทยบริการ เป็นอาคารเรียนยุคใหม่ ซึ่งมีความสูง 16 ชั้น เป็นที่ตั้งห้องเรียนของนักเรียนโครงการใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อการสอน (EIP) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6, ห้องพักครู, ห้องทดลองวิทยาศาสตร์, ห้องคอมพิวเตอร์, ห้องชุมนุมดนตรี, ลานกิจกรรม, ห้องสมุด ดร.สิงห์โต จ่างตระกูล(ห้องสมุดกลาง) และนอกจากนี้ ยังเป็นที่ตั้งของ ห้องฝ่ายบริหารโรงเรียน, ห้องประชาสัมพันธ์, ห้องการเงิน, ห้องทะเบียน , ห้องอัดเสียง , ห้องประชุมทั้ง 4 แห่ง, สระว่ายน้ำประจำโรงเรียน, ชุดพักอาศัย และห้องพักผู้บริหาร โดยภายในอาคาร มีลิฟต์โดยสารทั้งหมด 4 ตัว

อาคารบีซีซี 150 ปี (พ.ศ. 2545 - ปัจจุบัน)[แก้]

อาคารบีซีซี 150 ปี เป็นอาคารสูง 18 ชั้น ชั้นใต้ดิน 2 ชั้น ซึ่งสร้างขึ้นบนที่ดินสำนักงานสภาคริสตจักรในประเทศไทยเดิม โดยเป็นอาคารเดียวที่แยกตัวจากบริเวณโรงเรียน มีการสร้างสะพานลอยข้ามถนน เพื่ออำนวยความสะดวกกับนักเรียน อาคารนี้ เป็นที่ตั้งของห้องเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6, ห้องเรียนโครงการ IEP, ที่ทำการมัธยมศึกษา (ห้องประชาสัมพันธ์มัธยม), ห้องแนะแนวมัธยมศึกษา, ห้องส่งเสริมระเบียบวินัยมัธยมปลาย, ห้องพักครูของกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ, ห้องสมุดมัธยม, ห้องประชุม 6-7, ห้องทดลองวิทยาศาสตร์, ห้องคอมพิวเตอร์, ห้องศูนย์วิทยาการ, ห้องเรียนของกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ, ที่จอดรถใต้ดิน, ห้องเก็บอุปกรณ์สำหรับเชียร์และแปรอักษร และหอพักนักเรียนประจำ มีลิฟต์โดยสารทั้งหมด 6 ตัว

อาคารจอห์น เอ. เอกิ้น สูง 16 ชั้น อยู่ด้านหลังหอธรรม

อาคารจอห์น เอ. เอกิ้น (พ.ศ. 2552 - ปัจจุบัน) [แก้]

อาคารจอห์น เอ. เอกิ้น หรือที่เรียกสั้นๆกันว่า "อาคารเอกิ้น" เป็นอาคารเรียนสูง 16 ชั้น รวมชั้นลอย (ชั้นM) และชั้นใต้ดิน 2 ชั้น ซึ่งเป็นที่ตั้งของห้องเรียนนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่3-6 เปิดใช้ส่วนของห้องเรียนเมื่อ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดป้ายอาคารเมื่อวันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2553 อาคารนี้ถูกออกแบบมาให้มีความทันสมัย และสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างครบถ้วน มีห้องปฎิบัติการคอมพิวเตอร์และห้องทดลองวิทยศาสตร์ ที่ชั้น 7, ห้องสมุดปัญญาจารย์ ซึ่งตั้งอยู่ที่ชั้น 8, ห้องปฎิบัติการศิลปะและนาฎศิลป์ ตั้งอยู่ที่ชั้น9, ห้องประชุมใหญ่ ห้องภาพยนตร์ และโถงประชุมที่ชั้น 10 และ 11, โครงการหอประวัติศาสตร์โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย (BCC Inspiration Hall) ที่ชั้น 12, และ สนามฟุตซอล,สนามฟุตบอล,สนามบาสเกตบอล ตั้งอยู่ที่ชั้น13-15 ตามลำดับ โดยอาคารนี้มีลิฟต์โดยสารทั้งหมด 6 ตัว และลิฟต์บริการ (Service Lift) 1 ตัว

สถานที่อื่นๆภายในโรงเรียน[แก้]

ห้องสมุด[แก้]

ห้องสมุดโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ปัจจุบันมีสามแห่ง ได้แก่ อาคารจอห์น เอ.เอกิ้น (ห้องสมุดปัญญาจารย์), อาคารสิรินาถ (ห้องสมุด ดร.สิงห์โต จ่างตระกูล) และอาคารบีซีซี 150 ปี (ห้องสมุดมัธยม) ภายในแยกหมวดหมู่หนังสืออย่างชัดเจน รวมทั้งหนังสือพิมพ์และนิตยสารต่างๆ สำหรับนักเรียนเพื่อให้รับรู้ข่าวสารต่างๆ พร้อมด้วยระบบยืม-คืน คอมพิวเตอร์พร้อมอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสำหรับนักเรียนเพื่อใช้สืบค้นหาข้อมูลและหาความรู้ระหว่างช่วงเวลาพักและหลังเลิกเรียน ห้อง Conference Room ซึ่งจะเปิดสารคดีและภาพยนตร์ต่างๆในระหว่างเวลาพักและหลังเลิกเรียน มุมยืมซีดีภาพยนตร์และโปรแกรม มุมถ่ายเอกสาร พร้อมกล้องวงจรปิดภายในห้องสมุดเพื่อรักษาความปลอดภัยและป้องกันการขโมยหนังสือ

สนามฟุตบอล[แก้]

สนามฟุตบอลเดิม มีความยาวขนานกับถนนสาทรเหนือ ตั้งฉากกับถนนประมวญ ซึ่งอยู่ระหว่างอาคารเหนือ อาคารวิทยศาสตร์ และตึกใต้เดิม แต่หลังจากที่มีการสร้างอาคารเอ็ม. บี. ปาล์มเมอร์ สนามฟุตบอล ได้เปลี่ยนทิศทางมาตั้งฉากกับถนนสาทรเหนือ ขนานกับถนนประมวญ โดยเมื่อปี พ.ศ. 2553 โรงเรียนได้ปรับปรุงสนามฟุตบอลครั้งใหญ่ โดยเปลี่ยนจากสนามหญ้าดิน เป็นสนามหญ้าเทียม เนื่องจากสนามฟุตบอลดินเมื่อฝนตกสนามจะเต็มไปด้วยดินและโคลน เมื่อนักเรียนเข้าไปทำกิจกรรม หญ้าบางส่วนอาจมีความเสียหาย และใช้เวลานานในการปลูกหญ้า

ลานชงโค[แก้]

เป็นลานอเนกประสงค์ ตั้งอยู่ระหว่างอาคารเอ็ม บี ปาล์มเมอร์ และอาคารสิรินาถ ร่มรื่นด้วยต้นไม้ มีโต๊ะและเก้าอี้ไม้สำหรับนั่งพัก พร้อมด้วยเวทีเล็ก ซึ่งในเวลาพักจะมีการจัดกิจกรรมสำหรับนักเรียน มีสนามเปตองเล็กๆ ข้างๆลานชงโค ภายในลานชงโค มีสถาปัติยกรรมเซรามิค โดยอาจารย์แสงอรุณ รัตกสิกร ซึ่งเป็นเพียงหนึ่งในสามผลงาน ที่ยังเหลืออยู่ในภายในโรงเรียน

โรงอาหาร[แก้]

โรงอาหารโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน ตั้งอยู่ที่ชั้น 1 อาคารเอ็ม. บี. ปาล์มเมอร์ เป็นโรงอาหารเปิดโล่ง มีร้านอาหารร่วม 20 ร้าน ซึ่งมีทั้งข้าว, ก๋วยเตี๋ยว, เบเกอร์รี่, ผลไม้, เครื่องดื่ม และไอศกรีม

สวนน้ำตก[แก้]

เป็นสวนสวยที่ร่มรื่นด้วยต้นไม้และดอกไม้นานาชนิด ซึ่งถูกปรับปรุงจากบริเวณรกเดิม ให้มีความสวยงาม ตั้งอยู่ข้างโรงอาหาร

Book Store[แก้]

ร้านขายเครื่องเขียน และอุปกรณ์ประกอบการเรียนต่างๆ ตั้งอยู่ในลานชงโค

สะพานลอยเชื่อมอาคารบีซีซี 150 ปี[แก้]

เป็นทางเดินยกระดับซึ่งเชื่อมระหว่างอาคาร 2 ไปสู่อาคารบีซีซี 150 ปีซึ่งมี 3 ทางขึ้น-ลง เพื่อความสะดวกและปลอดภัยของนักเรียน

การย้ายที่ดินของโรงเรียน[แก้]

โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย เริ่มต้นจากการรวมของทั้งสองโรงเรียน ได้แก่ "โรงเรียนสำเหร่บอยสกูล" ของหมอเฮาส์ และ "บางกอกคริสเตียนไฮสกูลที่กุฎีจีน" ของอาจารย์จอห์น เอ. เอกิ้น

กุฎีจีน[แก้]

เมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2395 เป็นวันแรกที่มีการเรียนการสอนกับเด็กผู้ชาย โดยแหม่มแมตตูน ที่หมู่บ้านมอญ แต่ยังไม่นับเป็นโรงเรียน เนื่องจากเป็นการสอนในที่ส่วนตัว จากนั้น ในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2395 หมอเฮาส์ ได้เปิดโรงเรียนประจำสำหรับเด็กผู้ชาย ข้างวัดอรุณราชวราราม หรือ วัดแจ้ง ใช้ชื่อโรงเรียนว่า "โรงเรียนคริสเตียนบอยสกูลที่กุฎีจีน" โดยมีอาจารย์ซินแสกีเอง ก๊วยเซียน เป็นผู้สอนหนังสือให้แก่เด็กนักเรียนทั้ง 27 คน ที่เข้ามาเรียนในขณะนั้น และในเดือนธันวาคม ปีเดียวกัน แหม่มแมตตูน ที่เปิดสอนหนังสือให้แก่หมู่บ้านมอญ ได้ย้ายเข้ามาร่วมสอนหนังสือที่โรงเรียนคริสเตียนบอยสกูลที่กุฎีจีน [14]

ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2431 จอห์น เอ. เอกิ้น ได้เปิดโรงเรียนขอตัวเองขึ้นโดยใช้ชื่อว่า "บางกอกคริสเตียนไฮสกูล" ซึ่งเป็นการเช่นอาคารจากฝรั่งชาวยุโรปหลังหนึ่ง และได้นำเป็นที่สอนหนังสือกับเด็กมัธยมชาย [15]

สำเหร่[แก้]

ในปี พ.ศ. 2400 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้มิชชันนารีอเมริกัน ซื้อที่ดินในประเทศไทยได้เป็นครั้งแรก [16] โดยมีหมอเฮาส์ เป็นผู้อำนวยการ และ แหม่ม แมตตูน เป็นครูสอนนักเรียน และได้เพิ่มวิชาขับร้องเพลง เข้ามาในปีนี้ [17]


ประมวญ[แก้]

ใน พ.ศ. 2445 อาจารย์ จอห์น เอ. เอกิ้น ได้ย้ายโรงเรียนจากเดิม ที่สำเหร่คริสเตียนบอยสกูล ในฝั่งธนบุรี มาบนถนนประมวญ ฝั่งพระนคร เนื่องจากที่ดินบริเวณสำเหร่เดิม มีมลพิษทางอากาศจากโรงสี ที่ตั้งอยู่ข้างๆมาก และไม่สามารถทำการเรียนการสอนได้ โดยตั้งชื่อโรงเรียนนี้ว่า "โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนไฮสกูล" [18] การย้ายโรงเรียนมาที่ฝั่งพระนคร ทำให้โรงเรียนมีความเจริญก้าวหน้ามากมาย และยังได้สร้างอาคารเรียนที่รองรับนักเรียนได้มากถึง 150 คน ซึ่งคือตึก 3 ตึกแรกของโรงเรียน (ตึกเหนือเดิม ตึกออฟฟิซ และตึกใต้เดิม)

ซอยพร้อมพงษ์[แก้]

ในวันที่ 8 ธันวาคม 2484 ช่วงสงครามเอเชียบูรพา สถานที่ตั้งของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย บนถนนประมวญ ถูกยึดเป็นที่ตั้งกองทหารญี่ปุ่น ทำให้โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน จะต้องย้ายไปเปิดสอนที่ซอยพร้อมพงษ์ สุขุมวิท 39 เป็นการชั่วคราว พร้อมเปลี่ยนชื่อโรงเรียนจาก "กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย" เป็น "กรุงเทพสเถียรวิทยาลัย" โดยใช้การสะกดคำแบบเดิม ซึ่งปรากฎอยู่บนใบรับรองวิทยฐานะ ที่ออกโดยหน่วยงานกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2486 จนกระทั่งปี พ.ศ. 2488 เมื่อสถานการทุกอย่างสงบ จึงกลับไปใช้ที่ดินบริเวณถนนประมวญ และใช้ชื่อโรงเรียนเดิม ในขณะที่มีสงคราม สภาพแวดล้อม อาคาร ของโรงเรียน ได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก อาคารหลายอาคารมีความเสื่อมโทรม จึงพิจารณาสร้างอาคารใหม่ทั้งหมดในเวลาต่อมา [19]

มหาวิทยาลัย ณ บ้านกล้วย[แก้]

เมื่อต้นศตวรรษที่ 20 หลังจากคณะมิชชันนารีได้จัดตั้งโรงเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาสำเร็จแล้ว ทั้งหมดได้ความเห็นตรงกันที่จะให้จัดตั้งคอลเลจ หรือมหาวิทยาลัย ขึ้นในพระนคร เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระรัฐบาล โดยในระยะเริ่มต้น เจ้าหน้าที่กระทรวงให้ความสนับสนุนกับโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยกรุงเทพคริสเตียน และได้มีการจัดหาที่ดินเพื่อสร้างมหาวิทยาลัย และเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2469 ได้มีการซื้อที่ดินขนาด 80 ไร่ 2 งาน 25 วา จากเจ้าคุณ ที่บริเวณบ้านกล้วย โดยรวมเป็นเงินทั้งหมด 60,000 บาท แต่การเดินทางในสมัยนั้นยังไม่มีความสะดวก เนื่องจากยังไม่มีการสร้างถนนกรุงเทพ-สมุทรปราการ หรือที่เรียกในปัจจุบันว่า ถนนสุขุมวิท แต่เมื่อเวลาผ่านไป ได้มีการตัดถนนสุขุมวิทขึ้น ทำให้ที่ดินเข้าใกล้ความเจริญเป็นอย่างมาก โดยอยู่ใกล้ถนนสุขุมวิทเพียง 300 เมตร และรถไฟสายปากน้ำ 800 เมตร โดยพื้นที่มหาวิทยาลัยไม่โดนเวนคืนเลยแม้แต่คืบเดียว เมื่อมีความเจริญมากขึ้น อาจารย์เอ็ม. บี. ปาล์มเมอร์ ได้ขุดคูใหญ่รอบทั้งสี่ทิศ เพื่อไม่ให้มีผู้อื่นมาบุกรุกพื้นที่ได้ลงทุนและใช้งบประมาณมากมาย ในการถมดิน ให้มีความทันสมัย จนกลายเป็นสนามเด็กเล่นของนักเรียนในสมัยนั้น แต่เมื่อสงครามโลกสิ้นสุด รัฐบาลได้มีการเปลี่ยนคำพูด โดยการปฎิเสธการจัดตั้งโรงเรียนในระดับอุดมศึกษา เงินทุนทั้งหมดที่จะนำมาสร้างโรงเรียน ได้ถูกโอนย้ายไปให้มหาวิทยาลัยซิลลิแมน และขายที่ดิน บริเวณบ้านกล้วย เป็นจำนวนเงิน 22,000,000 บาท เพื่อนำมาพัฒนาอาคารเรียนแห่งใหม่ ปัจจุบันคืออาคาร เอ็ม. บี. ปาล์มเมอร์ [20]

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง[แก้]

นายกรัฐมนตรี

องคมนตรี

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

  • ศาสตราจารย์ ดร.ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ์

อัยการสูงสุด

สมาชิกวุฒิสภา

ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย

ด้านวิชาการ

นักธุรกิจ

นักกีฬา

บุคคลในวงการบันเทิง

อ้างอิง[แก้]

  1. https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=2924063597626779&id=557771550922674
  2. https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=2924063597626779&id=557771550922674
  3. โรงเรียนเก่าแก่ที่สุดของไทย ชาย-หญิง
  4. สุขุม, ประสงค์ (2003). 150 ปี จากกุฎีจีนถึงประมวญ มิชชันนารีกับการศึกษาไทย. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. p. 49-53.
  5. สุขุม, ประสงค์ (2003). 150 ปี จากกุฎีจีนถึงประมวญ มิชชันนารีกับการศึกษาไทย. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. p. 58-59.
  6. สุขุม, ประสงค์ (2003). 150 ปี จากกุฎีจีนถึงประมวญ มิชชันนารีกับการศึกษาไทย. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. p. 77.
  7. สุขุม, ประสงค์ (2003). 150 ปี จากกุฎีจีนถึงประมวญ มิชชันนารีกับการศึกษาไทย. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. p. 78-79.
  8. สุขุม, ประสงค์ (2003). 150 ปี จากกุฎีจีนถึงประมวญ มิชชันนารีกับการศึกษาไทย. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. p. 98-104.
  9. สุขุม, ประสงค์ (2003). 150 ปี จากกุฎีจีนถึงประมวญ มิชชันนารีกับการศึกษาไทย. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. p. 114-115.
  10. สุขุม, ประสงค์ (2003). 150 ปี จากกุฎีจีนถึงประมวญ มิชชันนารีกับการศึกษาไทย. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. p. 154.
  11. ผู้บริหารโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
  12. สุขุม, ประสงค์ (2003). 150 ปี จากกุฎีจีนถึงประมวญ มิชชันนารีกับการศึกษาไทย. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. p. 105-106.
  13. อรรฆภิญญ์, พิษณุ (2001). 150 ปี คบเพลิงบีซีซี. โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย. p. 160.
  14. อรรฆภิญญ์, พิษณุ (2001). "ภาคผนวก ฒ - เรื่องวัดเกิดโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย". 150 ปี คบเพลิงบีซีซี. โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย. p. 318-319.
  15. ประสงค์, สุขุม (2003). 150 ปี จากกุฎีจีน ถึงประมวญ. โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย. p. 77-78.
  16. ประสงค์, สุขุม (2003). 150 ปี จากกุฎีจีน ถึงประมวญ. โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย. p. 57-59.
  17. ประสงค์, สุขุม (2003). "สำเหร่". 150 ปี จากกุฎีจีน ถึงประมวญ. โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย. p. 65.
  18. อรรฆภิญญ์, พิษณุ (2001). "บุรุษอย่าง จอห์น เอ. เอกิ้น". 150 ปี คบเพลิงบีซีซี. โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย. p. 118.
  19. อรรฆภิญญ์, พิษณุ (2001). 150 ปี คบเพลิงบีซีซี. โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย. p. 252.
  20. อรรฆภิญญ์, พิษณุ (2001). 150 ปี คบเพลิงบีซีซี. โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย. p. 154-161.

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

13°43′14″N 100°31′23″E / 13.720589°N 100.523095°E / 13.720589; 100.523095