เด่น อยู่ประเสริฐ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เด่น อยู่ประเสริฐ
เด่น อยู่ประเสริฐ
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อเกิดเด่น อยู่ประเสริฐ
เกิด23 มีนาคม พ.ศ. 2512 (55 ปี)
ที่เกิดไทย
แนวเพลงแจ๊ส
อาชีพอาจารย์, นักดนตรี
เครื่องดนตรีเปียโน
ค่ายเพลงจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
อดีตสมาชิกเลบง

รองศาสตราจารย์ ดร.เด่น อยู่ประเสริฐ[1] (23 มีนาคม พ.ศ. 2512 - , กรุงเทพมหานคร) นักเปียโนแจ๊ส นักวิชาการ นักแต่งเพลง และวาทยกร เป็นผู้ได้รับรางวัลศิลปาธร สาขาดนตรี จัดโดยสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ประจำปี พ.ศ. 2552

ประวัติ[แก้]

เริ่มเรียนดนตรีที่โรงเรียนดนตรีสยามกลการ สถาบันดนตรียามาฮ่า และที่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ในปีพ.ศ. 2529 ได้รับทุนนักเรียนแลกเปลี่ยนจากสโมสรโรตารี่และได้เข้าศึกษาที่ Interlake High School, Bellevue, รัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา ต่อมาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาการแสดงเปียโนแจ๊สจาก วิทยาลัยศิลปะคอร์นิช[2] [3] ปริญญาโทสาขาดนตรีแจ๊สศึกษาจากมหาวิทยาลัยนอร์ทเท็กซัส และปริญญาเอก สาขาการประพันธ์เพลงและการสอนดนตรีแจ๊สจาก มหาวิทยาลัยนอร์ทเทิร์นโคโลราโดสหรัฐอเมริกา นับเป็นคนไทยคนเดียวที่ได้รับปริญญาเอกทางด้านดนตรีแจ๊ส[4]

ได้ศึกษาเปียโนแจ๊สกับ ศ.เดนา แลนดรี, ศ.แดน ฮาร์ลี, ศ.เดวิด แพก, และ ศ.แรนดี ฮาเบอร์สแตดท์ และศึกษาทางด้านการควบคุมและกำกับวงกับ ศ.ดร.แคนแนท ซิงเกอร์ตัน และ ศ.นิล สเลเตอร์ และศึกษาด้านการประพันธ์และการเรียบเรียงดนตรีกับ ร.อ.ต. ศ. (พิเศษ) ดร.แมนรัตน์ ศรีกรานนท์, ศ.ดร.อีวาน คอปลี, ศ.ดร.จีน เอท์เคน, ศ.ปารีส รัทเทอร์ฟอร์ด, ศ.เจมส์ แนบ, และ ราฟ ทาว์เนอร์[5]

เคยดำรงตำแหน่งเป็น รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการที่ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล และเคยเป็นผู้อำนวยเพลงวง UNC Jazz Lab Band II ที่ มหาวิทยาลัยนอร์ทเทิร์นโคโลราโด[6][7]

ปัจจุบัน รศ.ดร.เด่น อยู่ประเสริฐ ดำรงตำแหน่งเป็นคณบดีวิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต และเป็นผู้อำนวยเพลงวงแจ๊สออร์เคสตราแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต[8] ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองศาสตราจารย์ สาขาดุริยางคศิลป์ เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2565[9]

ผลงาน[แก้]

ได้รับรางวัลระดับนานาชาติ อาทิ รางวัลดนตรีแจ๊สหลุยส์อาร์มสตรอง, รางวัลนักเปียโนยอดเยี่ยมจากเทศการดนตรีแจ๊สที่วิทยาลัยซานดิเอโก และเทศการดนตรีแจ๊สไลโอนิล แฮมตัน, รางวัลนักดนตรียอดเยี่ยมจากเทศการดนตรีแจ๊สที่เมืองวิชิทา และเทศการดนตรีแจ๊สที่เมืองกรีลี, รางวัลการประพันธ์เพลงเดล ไดคินส์, รางวัลดาวน์บีทสำหรับวงดนตรียอดเยี่ยม[10] และได้รับทุนการศึกษาทางด้านดนตรีแจ๊สจากวิทยาลัยศิลปะคอร์นิช และมหาวิทยาลัยนอร์ทเท็กซัส นอกจากนี้ยังได้รับรางวัลคมชัดลึกอวอร์ด สาขาเพลงบรรเลงยอดเยี่ยม ประจำปี พ.ศ. 2551[11] และได้รับการประกาศเกียรติคุณเป็นศิลปินร่วมสมัย รางวัลศิลปาธร สาขาดนตรี ประจำปี พ.ศ. 2552[12][13]

ด้านการแสดงดนตรี ได้มีโอกาสร่วมแสดงกับนักดนตรีแจ๊สที่มีชื่อเสียงเช่น เดวิด ลิปแมน, นิโคลัส เพตัน, มาเรีย ชไนเดอร์, บอบ บรุคเมเยอร์, เดโบรา บราวน์, เคนนี เวียเลอร์, ไมค์ สเติร์น คริส มิน โดกี, ยอริส ทีป, เบนนี โกล์สัน และ เอริก มาเรียนทอล เด่นได้รับเชิญให้แสดงดนตรี ณ เทศการดนตรีแจ๊สนานาชาติไถจง 2008 ที่ไถวาน (Taichung Jazz Festival)[14]

ด้านการอำนวยเพลง เด่นได้รับหน้าที่เป็นผู้กำกับดนตรีและผู้อำนวยเพลง ในพิธีเปิดและปิดการแข่งขัน กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 2007 ครั้งที่ 24 (24th Universiade Bangkok 2007)[15]

ผลงานเพลง[แก้]

  • พ.ศ. 2538 - อัลบั้ม "เลบง" Stone Entertainment[16]
  • พ.ศ. 2542 - อัลบั้ม "The Music of His Majesty King Bhumibol Adulyadej"
  • พ.ศ. 2550 - อัลบั้ม เด่น อยู่ประเสริฐ
  • พ.ศ. 2551 - อัลบั้ม "Masterpiece" อัสนี-วสันต์ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
  • พ.ศ. 2552 - อัลบั้ม 'S Wonderful จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
  • พ.ศ. 2553 - อัลบั้ม Denny Euprasert Trio featuring Benny Golson and Joris Teepe

อ้างอิง[แก้]

  1. ชีวประวัติ เด่น อยู่ประเสริฐ
  2. "หนุ่มนักดนตรีแจ๊ส" แพรวสุดสัปดาห์ 16 กันยายน 2534 หน้า 36-39
  3. "ใจรักแจ๊ส ของ เด่น อยู่ประเสริฐ" แพรวสุดสัปดาห์ 16 สิงหาคม 2539 หน้า 96-99
  4. สูจิบัตรงาน เอกศิลปินน้อมใจถวายพระพรชัย "คีตราชนิพนธ์ ดนตรีในดวงใจ" ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย 21 ตุลาคม พ.ศ. 2550
  5. "Jazz: Dr. Den Euprasert" Luxury Magazine Issue 20, 2008 หน้า 30-31
  6. "Jazz Interview: Denny Euprasert" Jazz Life Vol. 2, พฤษภาคม 2550 หน้า 74-85
  7. UNT Jazz Alumni News
  8. เว็บไซต์วิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต
  9. ขอแสดงความยินดีแก่ ผู้ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รองศาสตราจารย์
  10. ""The Doctor of Swing," The Nation". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-25. สืบค้นเมื่อ 2008-08-28.
  11. Komchadluek Award
  12. สูจิบัตร รางวัลศิลปาธร ประจำปี พ.ศ. 2552
  13. "Bangkokbiznews". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-07. สืบค้นเมื่อ 2010-02-19.
  14. "Taichung Jazz Festival 2008". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-29. สืบค้นเมื่อ 2008-08-28.
  15. สูจิบัตรพิธีเปิดและปิดการแข่งขัน กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 2007 ครั้งที่ 24
  16. "เลบง งานแพลงของคนดนตรีรุ่นใหม่" เปรียว 10 กรกฎาคม 2539 หน้า 298-301

ดูเพิ่ม[แก้]