โหวด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โหวด

โหวด หรือ "โบด" เป็นเครื่องดนตรีไทยภาคอีสานประเภทเครื่องเป่าหรือแกว่ง มีรูปร่างเป็นทรงกระบอกคล้ายกับบั้งไฟ ทำจากไม้กู่แคนซึ่งเป็นไม้ซางชนิดเดียวกับที่ใช้ทำแคนด้านบนมีชันโรง (ขี้สูด) มีลักษณะคล้ายกับเครื่องดนตรีกรีกโบราณ ที่เรียกว่า "Pan Pipe" ในสมัยโบราณมักจะใช้ผูกกับเชือกแล้วแกว่งให้เกิดเสียง โหวดเป็นเครื่องดนตรีประจำจังหวัดร้อยเอ็ด ผู้คิดค้นพัฒนาให้โหวดมีลักษณะแบบที่เห็นในปัจจุบันคือ นายทรงศักดิ์ ประทุมสินธุ์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้านอีสาน) ประจำปีพุทธศักราช 2562 ชาวจังหวัดร้อยเอ็ด อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยมหาสารคาม[ต้องการอ้างอิง] เครื่องดนตรีชนิดนี้ได้รับความนิยมในเพลงลูกทุ่งในช่วงหลัง นับตั้งแต่ช่วงปี 2540 เป็นต้นมา

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • Isanchula.com ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโหวด
  • MU103 ดนตรีวิจักษณ์ (Music Appreciation) บทที่ 2 เครื่องดนตรีไทย มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • โมเดล 3 มิติ ด้วย blender ดาวน์โหลด (.blend)