ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนกลับไปรุ่นที่ 3787671 โดย Lux2545.
บรรทัด 49: บรรทัด 49:


ครั้นแล้ว ทรงศึกษาที่[[คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช]] รุ่นที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2525 และสำเร็จหลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร จากประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2533 <ref>สกุลไทย : 16 มกราคม 2533 </ref>
ครั้นแล้ว ทรงศึกษาที่[[คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช]] รุ่นที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2525 และสำเร็จหลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร จากประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2533 <ref>สกุลไทย : 16 มกราคม 2533 </ref>

== พระองค์กับสาธารณะ ==
{{ไม่เป็นกลาง-ส่วน}}

[[Image:ac.vajiralongkorn.jpg|thumb|left|260px|พระฉายาลักษณ์ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ที่ถนนราชดำเนิน]]

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 122 ห้ามวิพากษ์วิจารณ์รัชทายาท ทว่า พระชนมชีพส่วนพระองค์ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในหมู่ชนอย่างกว้างขวาง แต่โดยความเงียบ<ref name = "BBC-17Dec">{{cite web
| url = http://www.bbc.co.uk/news/world-asia-pacific-12010706
| title = Wikileaks cable: 'Thai concerns about crown prince'
| first =
| last =
| author = Mike Wooldridge
| authorlink =
| coauthors =
| date = 17 December 2010
| month =
| year =
| work =
| publisher = BBC
| location =
| page =
| pages =
| at =
| language = English
| trans_title =
| format =
| doi =
| archiveurl =
| archivedate = 14 July 2011
| accessdate =
| quote =
| ref =
| separator =
| postscript =
}}</ref> วันที่ 10 มกราคม 2545 นิตยสาร "ฟาร์อิสเทิร์นอีโคโนมิกรีวิว" (Far Eastern Economic Review) ลงบทความว่า สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรงมีความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับ[[ทักษิณ ชินวัตร]] [[นายกรัฐมนตรีไทย|อดีตนายกรัฐมนตรี]] รัฐบาลไทยได้สั่งห้ามจำหน่ายนิตยสารดังกล่าว และระงับหนังสือเดินทางของ ชอวน์ คริสปิน (Shawn Crispin) กับ รอดนีย์ แทสเกอร์ (Rodney Tasker) ผู้สื่อข่าวของนิตยสาร โดยอ้างว่าเป็นภัยต่อความมั่นคง<ref>Duncan. McCargo, Media and Politics in Pacific Asia, page 146</ref> อย่างไรก็ดี ในปี 2553 หลังจากที่ทักษิณ ชินวัตรพ้นจากตำแหน่งไปโดยการรัฐประหารแล้ว [[เปรม ติณสูลานนท์|พลเอกเปรม ติณสูลานนท์]] องคมนตรี ยอมรับว่า ''"...แน่นอนว่า เจ้าฟ้าชายยังทรงรักษาสัมพันธภาพบางอย่างกับอดีตนายกฯ ทักษิณเอาไว้ พระองค์ทรงพบกับทักษิณเป็นช่วง ๆ..."''<ref>{{cite web
| url = http://www.guardian.co.uk/world/us-embassy-cables-documents/245161
| title = US embassy cables: Thai officials express concerns over crown prince
| first =
| last =
| author =
| authorlink =
| coauthors =
| date = 15 December 2010
| month =
| year =
| work =
| publisher = The Guardian
| location =
| page =
| pages =
| at =
| language = English
| trans_title =
| format =
| doi =
| archiveurl =
| archivedate = 14 July 2011
| accessdate =
| quote = Prem acknowledged Crown Prince Vajiralongkorn probably maintained some sort of relationship with fugitive former PM Thaksin, "seeing him from time to time."
| ref =
| separator =
| postscript =
}}</ref> วันที่ 12 ธันวาคม ปีเดียวกัน บิลาฮารี เคาสิกัน (Bilahari Kausikan) ข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศสิงคโปร์ แถลงว่า พระองค์ทรงติดการพนัน และมีอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร คอยสนับสนุนการเงินให้พระองค์<ref>{{cite news| url=http://www.smh.com.au/world/top-singapore-officials-trash-the-neighbours-20101211-18thg.html | work=The Sydney Morning Herald | first1=Philip | last1=Dorling | first2=Nick | last2=McKenzie | title=Top Singapore officials trash the neighbours | date=12 December 2010}}</ref> โอกาสเดียวกัน พลเอกเปรมเสริมว่า ''"...ทักษิณกำลังเสี่ยงที่จะทำลายตัวเอง เขาอาจคิดว่า เจ้าฟ้าชายจะทรงปฏิบัติกับเขาเหมือนดังเขาเป็นพระสหายหรือผู้สนับสนุน เพียงเพราะเขาส่งเสริมการเงินให้แก่พระองค์ แต่เจ้าฟ้าชายไม่ทรงชอบพระทัยความสัมพันธ์แบบนั้นสักเท่าไร"''<ref>{{cite web
| url = http://www.guardian.co.uk/world/us-embassy-cables-documents/245161
| title = US embassy cables: Thai officials express concerns over crown prince
| first =
| last =
| author =
| authorlink =
| coauthors =
| date = 15 December 2010
| month =
| year =
| work =
| publisher = The Guardian
| location =
| page =
| pages =
| at =
| language = English
| trans_title =
| format =
| doi =
| archiveurl =
| archivedate = 14 July 2011
| accessdate =
| quote = Thaksin ran the risk of self-delusion if he thought that the Crown Prince would act as his friend/supporter in the future merely because of Thaksin's monetary support; "he does not enjoy that sort of relationship."
| ref =
| separator =
| postscript =
}}</ref>

ในปี 2551 [[Ralph L. Boyce|ราล์ฟ แอล. บอยซ์]] (Ralph L. Boyce) นักการทูตชาวสหรัฐอเมริกา รายงานต่อรัฐบาลสหรัฐอเมริกาว่า สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เคยตรัสกับเขาเกี่ยวกับข่าวที่พระองค์มีความสัมพันธ์กับทักษิณ ชินวัตร ว่าพระองค์ปฏิเสธความสัมพันธ์กับทักษิณ มากกว่าจะเป็นไปตามข่าว บอยซ์กล่าวว่า<ref>{{cite journal
|quotes=
|author=ธนาพล อิ่วสกุล; ชัยธวัช ตุลาฑล
|date=มกราคม-มีนาคม 2554
|year=
|month=
|title=การ "เปลี่ยนผ่าน" รัชสมัยในสถานการณ์เปลี่ยนผ่านการเมืองไทย
|journal=ฟ้าเดียวกัน
|volume=
|issue=ปีที่ 9, ฉบับที่ 1
|pages=67
|publisher=
|location=
|issn=
|pmid=
|pmc=
|doi=
|bibcode=
|oclc =
|id=
|url=
|language=
|format=
|accessdate=
|laysummary=
|laysource=
|laydate=
}}</ref>

<blockquote>''"...[สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรง] เห็นเป็นเรื่องตลกร้าย ที่นายกรัฐมนตรีทักษิณสามารถทำตัวเป็นเผด็จการได้ ทั้งที่มาจากการเลือกตั้ง...ในช่วงแรก ๆ ของรัฐบาลทักษิณ ดูเหมือนเขาจะลงทุนอย่างหนักเพื่อสร้างความใกล้ชิดกับมกุฎราชกุมาร ทั้งสองมีเรื่องผิดใจกันอย่างสังเกตเห็นได้ในเวลาต่อมา เป็นเหตุให้มกุฎราชกุมารละทิ้งวังนนทุบรีที่ทักษิณซื้อและตกแต่งถวายให้ แล้วย้ายมาประทับ ณ วังศุโขทัยซึ่งตั้งอยู่ในย่านกลางเมือง''</blockquote>

<blockquote>''"มีเรื่องเล่ากันไปต่าง ๆ นานาเกี่ยวกับการพบปะระหว่างทักษิณกับมกุฎราชกุมาร เกี่ยวกับการพบปะระหว่างทักษิณกับมกุฎราชกุมารที่ลอนดอนเมื่อช่วงต้นปีนี้ [พ.ศ. 2551] ซึ่งเรื่องที่เราพิจารณาว่าน่าจะเป็นไปได้มากที่สุด คือ ทักษิณเข้าเฝ้ามกุฎราชกุมาร และเมื่อไม่ได้รับอนุญาต เขาจึงไปร่วมเข้าแถวรับเสด็จ ณ โรงแรมที่มกุฎราชกุมารประทับ และได้สนทนาอย่างไม่มีสาระสำคัญอะไรเพียงสี่สิบห้าวินาที"''</blockquote>

ปัญหาการสืบราชสันตติวงศ์หลังจากรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ก็เป็นที่กล่าวถึงมากในสังคม นักวิชาการตั้งข้อสังเกตว่า ตัวแปรสำคัญในเรื่องนี้มีอยู่สามสิ่ง คือ องคมนตรี, กองทัพ และความเหมาะสมของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ<ref>{{cite journal
|quotes=
|author=ธนาพล อิ่วสกุล; ชัยธวัช ตุลาฑล
|date=มกราคม-มีนาคม 2554
|year=
|month=
|title=การ "เปลี่ยนผ่าน" รัชสมัยในสถานการณ์เปลี่ยนผ่านการเมืองไทย
|journal=ฟ้าเดียวกัน
|volume=
|issue=ปีที่ 9, ฉบับที่ 1
|pages=54
|publisher=
|location=
|issn=
|pmid=
|pmc=
|doi=
|bibcode=
|oclc =
|id=
|url=
|language=
|format=
|accessdate=
|laysummary=
|laysource=
|laydate=
}}</ref> ในปี 2545 นิตยสาร "ดิอีโคโนมิสต์" (The Economist) ลงข้อความว่า ''"ผู้คนเคารพเจ้าฟ้าชายวชิราลงกรณ์น้อยมาก (กว่ากษัตริย์ภูมิพล) ชาวกรุงเทพมหานครพากันร่ำลือเรื่องชีวิตส่วนพระองค์อันมัวหมอง...ไม่มีผู้สืบราชบัลลังก์พระองค์ใดจะประสบความสำเร็จอย่างที่กษัตริย์ภูมิพลทรงได้รับมาในช่วงเวลาทรงราชย์หกสิบสี่ปี..."'' และรัฐบาลไทยได้สั่งห้ามจำหน่ายนิตยสารฉบับดังกล่าว ในปี 2553 "ดิอีโคโนมิสต์" ลงบทความว่า สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ นั้น ''"ทรงเป็นที่เดียดฉันท์และหวั่นเกรงอย่างกว้างขวาง"'' และ ''"ทรงผิดแปลกอย่างคาดไม่ถึง"'' และฉบับนี้ก็มิได้จำหน่ายในประเทศไทยเช่นกัน<ref>{{cite news| url=http://www.economist.com/opinion/displayStory.cfm?story_id=15718981&source=hptextfeature | work=The Economist | title=As father fades, his children fight | date=18 March 2010}}</ref> ครั้นวันที่ 1 เมษายน 2553 นิตยสารออนไลน์ "เอเชียเซนทิเนล" (Asia Sentinel) ลงว่า พระองค์ "ถือว่าทรงเอาแน่นอนไม่ได้ และทรงไม่สามารถปกครองได้โดยแท้"<ref>[http://www.asiasentinel.com/index.php?option=com_content&task=view&id=2377&Itemid=185 More Lèse majesté Charges in Thailand] Asia Sentinel, April 1, 2010</ref> เว็บไซต์นี้ถูกสกัดกั้นในประเทศไทยอย่างรวดเร็ว<ref>[http://fromtheold.com/thailand-grenade-attacks-and-online-censorship-amid-mounting-political-tension-2010033017483.html Thailand - Grenade attacks and online censorship amid mounting political tension] FromTheOld, March 30, 2010</ref> อนึ่ง มีผู้คนเห็นว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ชอบจะได้สืบราชสมบัติมากกว่า<ref>{{cite journal
|quotes=
|author=Shawn W. Crispin
|date=14 Mars 2008
|year=
|month=
|title=The politics of revenge in Thailand
|journal=Asian Times Online
|volume=
|issue=
|pages=54
|publisher=
|location=
|issn=
|pmid=
|pmc=
|doi=
|bibcode=
|oclc =
|id=
|url=
|language=
|format=
|accessdate=14 July 2011
|laysummary=
|laysource=
|laydate=
}}</ref> พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และองคมนตรีคนอื่น ๆ มีความเห็นค่อนข้างลบเกี่ยวกับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ส่วน ราล์ฟ แอล. บอยซ์ นักการทูตชาวสหรัฐอเมริกา เคยรายงานต่อรัฐบาลของตนว่า ''"...[พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ] ดูอึดอัดพระทัยอย่างเห็นได้ชัด ต่อคำถามธรรมดา ๆ เกี่ยวกับเจ้าฟ้าสิรินธร ซึ่งถูกมองว่าเป็นคู่แข่งของมกุฎราชกุมาร..."''<ref>{{cite journal
|quotes=
|author=ธนาพล อิ่วสกุล; ชัยธวัช ตุลาฑล
|date=มกราคม-มีนาคม 2554
|year=
|month=
|title=การ "เปลี่ยนผ่าน" รัชสมัยในสถานการณ์เปลี่ยนผ่านการเมืองไทย
|journal=ฟ้าเดียวกัน
|volume=
|issue=ปีที่ 9, ฉบับที่ 1
|pages=56-57
|publisher=
|location=
|issn=
|pmid=
|pmc=
|doi=
|bibcode=
|oclc =
|id=
|url=
|language=
|format=
|accessdate=
|laysummary=
|laysource=
|laydate=
}}</ref> ทั้งนี้ทั้งนั้น ตามกฎหมายไทยขณะนี้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะสืบราชบัลลังก์โดยชอบ นับแต่ทรงได้รับสถาปนาเป็นมกุฎราชกุมารเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2515 แล้ว<ref>{{cite journal
|quotes=
|author=ธนาพล อิ่วสกุล; ชัยธวัช ตุลาฑล
|date=มกราคม-มีนาคม 2554
|year=
|month=
|title=การ "เปลี่ยนผ่าน" รัชสมัยในสถานการณ์เปลี่ยนผ่านการเมืองไทย
|journal=ฟ้าเดียวกัน
|volume=
|issue=ปีที่ 9, ฉบับที่ 1
|pages=59
|publisher=
|location=
|issn=
|pmid=
|pmc=
|doi=
|bibcode=
|oclc =
|id=
|url=
|language=
|format=
|accessdate=
|laysummary=
|laysource=
|laydate=
}}</ref>

วันที่ 19 มกราคม 2552 [[Harry Nicolaides|แฮร์รี นิโคไลดส์]] (Harry Nicolaides) ชาวออสเตรเลีย ถูกศาลไทยจำคุกสามปี เพราะเผยแพร่หนังสือวิพากษ์วิจารณ์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ความตอนหนึ่งว่า ''"ถ้าเจ้าฟ้าชายทรงรักใคร่ชอบพออนุภรรยานางใด และต่อมาเธอทรยศพระองค์ เมื่อนั้นเธอและครอบครัวก็จะหายไปจากโลกนี้ สาบสูญไปทั้งชื่อเสียงเรียงนาม เทือกเถาเหล่ากอ และบรรดา เงื่อนเค้าร่องรอยเกี่ยวกับชีวิตของพวกเขา ตลอดกาล"'' และต่อมา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานอภัยโทษให้เขา<ref name=australian>[http://www.theaustralian.news.com.au/story/0,25197,24296244-5013404,00.html Thais detain Aussie writer], [[The Australian]], September 05, 2008</ref> <ref name=scotsman>[http://news.scotsman.com/world/Thai-court-jails--Australian.4892023.jp Thai court jails Australian novelist for three years over royal 'insult'], [[The Scotsman]], January 19, 2009</ref> <ref>[http://www.cnn.com/2009/WORLD/asiapcf/01/19/thai.jail/index.html?iref=topnews Author jailed for insulting Thai king], [[CNN]].com, January 19, 2009</ref>

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรงทราบปัญหาและข่าวที่กล่าวมาแล้วเป็นเบื้องต้นเป็นอย่างดี<ref>{{cite journal
|quotes=
|author=ธนาพล อิ่วสกุล; ชัยธวัช ตุลาฑล
|date=มกราคม-มีนาคม 2554
|year=
|month=
|title=การ "เปลี่ยนผ่าน" รัชสมัยในสถานการณ์เปลี่ยนผ่านการเมืองไทย
|journal=ฟ้าเดียวกัน
|volume=
|issue=ปีที่ 9, ฉบับที่ 1
|pages=59-60
|publisher=
|location=
|issn=
|pmid=
|pmc=
|doi=
|bibcode=
|oclc =
|id=
|url=
|language=
|format=
|accessdate=
|laysummary=
|laysource=
|laydate=
}}</ref> และทรงเคยให้สัมภาษณ์ในนิตยสาร "ดิฉัน" แก่ปีย์ มาลากุล ณ อยุธยา ผู้ใกล้ชิดพระองค์ ว่า<ref>{{cite journal
|quotes=
|author=ธนาพล อิ่วสกุล; ชัยธวัช ตุลาฑล
|date=15 สิงหาคม 2529
|year=
|month=
|title=
|journal=ดิฉัน
|volume=
|issue=
|pages=227
|publisher=
|location=
|issn=
|pmid=
|pmc=
|doi=
|bibcode=
|oclc =
|id=
|url=
|language=
|format=
|accessdate=
|laysummary=
|laysource=
|laydate=
}}</ref>

<blockquote>''"บางทีในชาติปางก่อน เราอาจไม่ได้ทำบุญมากพอ หรือบางทีในบางครั้งเราทำอะไรที่น่าตำหนิ เรายอมรับ...ถ้าหากสวรรค์คิดว่าเราไม่เหมาะสม หรือไม่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติในการทำหน้าที่ของเรา ก็หยุด และจบ ถ้าท่านคิดได้อย่างนี้ ท่านก็จะสบายใจ ท่านไม่ได้คิดเป็นอะไร หากสวรรค์ให้ท่านมีภารกิจต่อแผ่นดิน ก็ยอมรับ ถ้าเขาไม่ต้องการให้ทำงาน ก็โอเค"''</blockquote>

วันที่ 15 ธันวาคม 2553 [[อีริก จี. จอห์น]] (Eric G. John) เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย รายงานไปยังรัฐบาลสหรัฐอเมริกาว่า เขาได้เปรยกับพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ว่า ''"เวลานี้ เจ้าฟ้าชายทรงอยู่ที่ใด"'' พลเอกเปรมตอบว่า ''"คุณก็รู้ว่าทรงใช้ชีวิตส่วนพระองค์แบบไหน...เจ้าฟ้าชายพอพระทัยใช้เวลาลอบเสด็จไปยัง[[มึนเชิน]] เพื่อประทับอยู่กับภรรยาเก็บของพระองค์ มากกว่าจะประทับอยู่ในประเทศไทยกับพระวรชายาและพระโอรส"''<ref>{{cite web
| url = http://www.guardian.co.uk/world/us-embassy-cables-documents/245161
| title = US embassy cables: Thai officials express concerns over crown prince
| first =
| last =
| author =
| authorlink =
| coauthors =
| date = 15 December 2010
| month =
| year =
| work =
| publisher = The Guardian
| location =
| page =
| pages =
| at =
| language = English
| trans_title =
| format =
| doi =
| archiveurl =
| archivedate = 14 July 2011
| accessdate =
| quote = Vajiralongkorn's preference to spend time based out of Munich with his main mistress, rather than in Thailand with his wife and son
| ref =
| separator =
| postscript =
}}</ref> [[สิทธิ เศวตศิลา|พลอากาศเอกสิทธิ เศวตศิลา]] องคมนตรี ที่ร่วมวงสนทนา กล่าวเสริมว่า ''"...ข่าวเรื่องเมียน้อยของพระองค์ที่เป็นแอร์โฮสเตสมีอยู่เต็มเว็บไซต์ไปหมด...น่าเศร้าที่เดี๋ยวนี้ ท่านทูตไทยที่เยอรมนีต้องออกจากเบอร์ลินไปมึนเชินเพื่อไปเข้าเฝ้าพระองค์เป็นประจำ..."''<ref>{{cite web
| url = http://www.guardian.co.uk/world/us-embassy-cables-documents/245161
| title = US embassy cables: Thai officials express concerns over crown prince
| first =
| last =
| author =
| authorlink =
| coauthors =
| date = 15 December 2010
| month =
| year =
| work =
| publisher = The Guardian
| location =
| page =
| pages =
| at =
| language = English
| trans_title =
| format =
| doi =
| archiveurl =
| archivedate = 14 July 2011
| accessdate =
| quote = Information about his air hostess mistresses was widely available on websites; he lamented how his former aide, now Thai Ambassador to Germany, was forced to leave Berlin for Munich often to receive Vajiralongkorn.
| ref =
| separator =
| postscript =
}}</ref>

วันที่ 11 กรกฏาคม 2554 ศาลเมืองมึนเชินสั่งให้อายัดเครื่องบิน[[โบอิง 737]] ที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ใช้ประทับไปยังเมืองมึนเชิน (ซึ่งจอดอยู่ ณ เมืองมึนเชิน) เนื่องจากรัฐบาลไทยเป็นหนี้บริษัท วัลเทอร์เบา (Walter Bau AG) บริษัทก่อสร้างสัญชาติเยอรมนี เป็นจำนวนเงินมากกว่าสามสิบล้านยูโร และยังไม่ได้ชำระนานกว่ายี่สิบปี เจ้าพนักงานอายัดทรัพย์ของเยอรมนีซึ่งเข้าควบคุมบริษัทดังกล่าวแถลงว่า การอายัดนี้เป็นมาตรการสุดท้ายที่จะให้ได้ทรัพย์สินของรัฐบาลไทยมาใช้หนี้ หลังจากรัฐบาลผิดนัดเรื่อยมา<ref>{{cite web|url=http://www.bbc.co.uk/news/world-asia-pacific-14138273 |title=Germany Impounds Thai Prince Vajiralongkorn's Jet |publisher=[[BBC]] online |date=2011-07-13 |accessdate=2011-07-14}}</ref> นาย[[กษิต ภิรมย์]] รักษาการรัฐมนตรีว่าการ[[กระทรวงการต่างประเทศ]]ในขณะนั้นแถลงตอบโต้ว่า ''"ทางเจ้าทุกข์และศาลเยอรมนีสามารถอายัดทรัพย์สินของรัฐบาลไทยได้ แต่เครื่องบินลำนี้เป็นของส่วนพระองค์ ไม่เกี่ยวกับทรัพย์สินของรัฐบาลไทย เพราะฉะนั้นในแง่กฎหมาย เราถือว่าเป็นการอายัดทรัพย์สินส่วนบุคคล เป็นการผิดพลาดอย่างใหญ่หลวง [...] โดยเราได้ยื่นหลักฐานคือใบทะเบียนแสดงความเป็นเจ้าของว่าเป็นเครื่องบินของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ไม่ใช่ของรัฐบาลไทย"'' จากนั้นจึงดำเนินการให้คณะทำงานฝ่ายกฎหมายของไทยซึ่งประกอบด้วย สำนักงานอัยการสูงสุด และรองอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ เดินทางไปพบกับรัฐบาลเยอรมนี เพื่ออธิบายความผิดพลาดดังกล่าวและร้องขอให้ถอนอายัดโดยเร็ว<ref>{{cite web|url=http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=8&contentID=151183 |title='กษิต'โต้เยอรมนีส่งทีมกฎหมายบินด่วนให้ถอนอายัดเครื่องบิน |publisher=[[เดลินิวส์]] |date=2011-07-15 |accessdate=2011-07-15}}</ref>


== พระราชกิจ ==
== พระราชกิจ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:52, 16 มีนาคม 2555

แม่แบบ:กล่องข้อมูล เจ้านายหรือพระบรมวงศานุวงศ์

พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เป็นพระราชโอรสพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ[1] ทรงเป็นสยามมกุฎราชกุมารพระองค์แรก ในสมัยการปกครองระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทย[ต้องการอ้างอิง]

พระราชประวัติช่วงต้นพระชนมชีพ

พระราชสมภพ

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ มีพระนามเมื่อแรกประสูติว่า "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ บรมจักรยาดิศรสันตติวงศ เทเวศรธำรงสุบริบาล อภิคุณูประการมหิตลาดุลเดช ภูมิพลนเรศวรางกูร กิตติสิริสมบูรณ์สวางควัฒน์ บรมขัตติยราชกุมาร"[2] เป็นพระราชโอรสพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 เวลา 17 นาฬิกา 45 นาที ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต[2]

สมโภชเดือน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ขึ้น ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ในระหว่างวันที่ 14-15 กันยายน พ.ศ. 2495[3] โดยสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้าทรงเป็นประธานเจริญพระพุทธมนต์ในเย็นวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2495[ต้องการอ้างอิง]

เช้าวันรุ่งขึ้น (15 กันยายน) จึงมีพิธีสงฆ์และพิธีพราหมณ์ในห้องพิธี เริ่มด้วยพอถึงพระฤกษ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจรดพระกรรบิดกริบพระเกศา ทรงเจิม ทรงผูกด้ายพระขวัญ พระสงฆ์สวดชัยมงคลคาถา พราหมณ์ประกอบพิธีลอยกุ้ง ปลาทอง มะพร้าวเงิน มะพร้าวทองลงในพระขันสาคร แล้วพระสงฆ์ถวายอดิเรก ถวายพระพรลา พระมหาราชครูเชิญเสด็จขึ้นพระอู่และเห่กล่อมเปิดศิวาลัยไกรลาศตามประเพณีพิธีของพราหมณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงวางพระราชภัณฑ์ลงในพระอู่ตามพระราชประเพณีแล้ว พระมหาราชครูเชิญสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ ฯ ขึ้นพระอู่แล้ว พระบรมวงศานุวงศ์และข้าทูลละอองธุลีพระบาทเวียนเทียนครบรอบตามประเพณี สภาวัฒนธรรมแห่งชาติได้จัดขับไม้มโหรีขับกล่อมถวายพระพรในวาระนี้ด้วย ในการนี้มีการถ่ายทอดเสียงในพระราชพิธีทางวิทยุไปทั่วประเทศ[3][4][5]

สมเด็จพระยุพราช

เมื่อมีพระชนมายุครบ 20 ชันษา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โปรดให้สถาปนา สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ ขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2515 มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า "สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สิริกิตยสมบูรณสวางควัฒน์ วรขัตติยราชสันตติวงศ์ มหิตลพงศอดุลยเดช จักรีนเรศยุพราชวิสุทธิ สยามมกุฎราชกุมาร" [6][7]

การศึกษา

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรงสำเร็จการศึกษาขั้นต้นในระดับอนุบาล รุ่นที่ 2 จากโรงเรียนจิตรลดา แล้วจึงเสด็จฯ ไปทรงศึกษาต่อในระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนคิงส์มีด แคว้นซัสเซกส์ และในระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนมิลฟิลด์ แคว้นซอมเมอร์เซทประเทศอังกฤษ หลังจากนั้น ทรงศึกษาต่อวิชาทหารที่โรงเรียนคิงส์สกูล ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย เสร็จแล้ว ทรงการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีสาขาอัษรศาสตร์ (ด้านการทหาร) จากมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย

เมื่อนิวัติประเทศไทยทรงรับราชการทหารและศึกษาต่อที่โรงเรียนเสนาธิการทหารบก รุ่นที่ 46 เมื่อ พ.ศ. 2520 แล้วทรงผนวช เมื่อ พ.ศ. 2521

ครั้นแล้ว ทรงศึกษาที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช รุ่นที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2525 และสำเร็จหลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร จากประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2533 [8]

พระองค์กับสาธารณะ

พระฉายาลักษณ์ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ที่ถนนราชดำเนิน

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 122 ห้ามวิพากษ์วิจารณ์รัชทายาท ทว่า พระชนมชีพส่วนพระองค์ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในหมู่ชนอย่างกว้างขวาง แต่โดยความเงียบ[9] วันที่ 10 มกราคม 2545 นิตยสาร "ฟาร์อิสเทิร์นอีโคโนมิกรีวิว" (Far Eastern Economic Review) ลงบทความว่า สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรงมีความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี รัฐบาลไทยได้สั่งห้ามจำหน่ายนิตยสารดังกล่าว และระงับหนังสือเดินทางของ ชอวน์ คริสปิน (Shawn Crispin) กับ รอดนีย์ แทสเกอร์ (Rodney Tasker) ผู้สื่อข่าวของนิตยสาร โดยอ้างว่าเป็นภัยต่อความมั่นคง[10] อย่างไรก็ดี ในปี 2553 หลังจากที่ทักษิณ ชินวัตรพ้นจากตำแหน่งไปโดยการรัฐประหารแล้ว พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ องคมนตรี ยอมรับว่า "...แน่นอนว่า เจ้าฟ้าชายยังทรงรักษาสัมพันธภาพบางอย่างกับอดีตนายกฯ ทักษิณเอาไว้ พระองค์ทรงพบกับทักษิณเป็นช่วง ๆ..."[11] วันที่ 12 ธันวาคม ปีเดียวกัน บิลาฮารี เคาสิกัน (Bilahari Kausikan) ข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศสิงคโปร์ แถลงว่า พระองค์ทรงติดการพนัน และมีอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร คอยสนับสนุนการเงินให้พระองค์[12] โอกาสเดียวกัน พลเอกเปรมเสริมว่า "...ทักษิณกำลังเสี่ยงที่จะทำลายตัวเอง เขาอาจคิดว่า เจ้าฟ้าชายจะทรงปฏิบัติกับเขาเหมือนดังเขาเป็นพระสหายหรือผู้สนับสนุน เพียงเพราะเขาส่งเสริมการเงินให้แก่พระองค์ แต่เจ้าฟ้าชายไม่ทรงชอบพระทัยความสัมพันธ์แบบนั้นสักเท่าไร"[13]

ในปี 2551 ราล์ฟ แอล. บอยซ์ (Ralph L. Boyce) นักการทูตชาวสหรัฐอเมริกา รายงานต่อรัฐบาลสหรัฐอเมริกาว่า สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เคยตรัสกับเขาเกี่ยวกับข่าวที่พระองค์มีความสัมพันธ์กับทักษิณ ชินวัตร ว่าพระองค์ปฏิเสธความสัมพันธ์กับทักษิณ มากกว่าจะเป็นไปตามข่าว บอยซ์กล่าวว่า[14]

"...[สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรง] เห็นเป็นเรื่องตลกร้าย ที่นายกรัฐมนตรีทักษิณสามารถทำตัวเป็นเผด็จการได้ ทั้งที่มาจากการเลือกตั้ง...ในช่วงแรก ๆ ของรัฐบาลทักษิณ ดูเหมือนเขาจะลงทุนอย่างหนักเพื่อสร้างความใกล้ชิดกับมกุฎราชกุมาร ทั้งสองมีเรื่องผิดใจกันอย่างสังเกตเห็นได้ในเวลาต่อมา เป็นเหตุให้มกุฎราชกุมารละทิ้งวังนนทุบรีที่ทักษิณซื้อและตกแต่งถวายให้ แล้วย้ายมาประทับ ณ วังศุโขทัยซึ่งตั้งอยู่ในย่านกลางเมือง

"มีเรื่องเล่ากันไปต่าง ๆ นานาเกี่ยวกับการพบปะระหว่างทักษิณกับมกุฎราชกุมาร เกี่ยวกับการพบปะระหว่างทักษิณกับมกุฎราชกุมารที่ลอนดอนเมื่อช่วงต้นปีนี้ [พ.ศ. 2551] ซึ่งเรื่องที่เราพิจารณาว่าน่าจะเป็นไปได้มากที่สุด คือ ทักษิณเข้าเฝ้ามกุฎราชกุมาร และเมื่อไม่ได้รับอนุญาต เขาจึงไปร่วมเข้าแถวรับเสด็จ ณ โรงแรมที่มกุฎราชกุมารประทับ และได้สนทนาอย่างไม่มีสาระสำคัญอะไรเพียงสี่สิบห้าวินาที"

ปัญหาการสืบราชสันตติวงศ์หลังจากรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ก็เป็นที่กล่าวถึงมากในสังคม นักวิชาการตั้งข้อสังเกตว่า ตัวแปรสำคัญในเรื่องนี้มีอยู่สามสิ่ง คือ องคมนตรี, กองทัพ และความเหมาะสมของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ[15] ในปี 2545 นิตยสาร "ดิอีโคโนมิสต์" (The Economist) ลงข้อความว่า "ผู้คนเคารพเจ้าฟ้าชายวชิราลงกรณ์น้อยมาก (กว่ากษัตริย์ภูมิพล) ชาวกรุงเทพมหานครพากันร่ำลือเรื่องชีวิตส่วนพระองค์อันมัวหมอง...ไม่มีผู้สืบราชบัลลังก์พระองค์ใดจะประสบความสำเร็จอย่างที่กษัตริย์ภูมิพลทรงได้รับมาในช่วงเวลาทรงราชย์หกสิบสี่ปี..." และรัฐบาลไทยได้สั่งห้ามจำหน่ายนิตยสารฉบับดังกล่าว ในปี 2553 "ดิอีโคโนมิสต์" ลงบทความว่า สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ นั้น "ทรงเป็นที่เดียดฉันท์และหวั่นเกรงอย่างกว้างขวาง" และ "ทรงผิดแปลกอย่างคาดไม่ถึง" และฉบับนี้ก็มิได้จำหน่ายในประเทศไทยเช่นกัน[16] ครั้นวันที่ 1 เมษายน 2553 นิตยสารออนไลน์ "เอเชียเซนทิเนล" (Asia Sentinel) ลงว่า พระองค์ "ถือว่าทรงเอาแน่นอนไม่ได้ และทรงไม่สามารถปกครองได้โดยแท้"[17] เว็บไซต์นี้ถูกสกัดกั้นในประเทศไทยอย่างรวดเร็ว[18] อนึ่ง มีผู้คนเห็นว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ชอบจะได้สืบราชสมบัติมากกว่า[19] พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และองคมนตรีคนอื่น ๆ มีความเห็นค่อนข้างลบเกี่ยวกับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ส่วน ราล์ฟ แอล. บอยซ์ นักการทูตชาวสหรัฐอเมริกา เคยรายงานต่อรัฐบาลของตนว่า "...[พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ] ดูอึดอัดพระทัยอย่างเห็นได้ชัด ต่อคำถามธรรมดา ๆ เกี่ยวกับเจ้าฟ้าสิรินธร ซึ่งถูกมองว่าเป็นคู่แข่งของมกุฎราชกุมาร..."[20] ทั้งนี้ทั้งนั้น ตามกฎหมายไทยขณะนี้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะสืบราชบัลลังก์โดยชอบ นับแต่ทรงได้รับสถาปนาเป็นมกุฎราชกุมารเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2515 แล้ว[21]

วันที่ 19 มกราคม 2552 แฮร์รี นิโคไลดส์ (Harry Nicolaides) ชาวออสเตรเลีย ถูกศาลไทยจำคุกสามปี เพราะเผยแพร่หนังสือวิพากษ์วิจารณ์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ความตอนหนึ่งว่า "ถ้าเจ้าฟ้าชายทรงรักใคร่ชอบพออนุภรรยานางใด และต่อมาเธอทรยศพระองค์ เมื่อนั้นเธอและครอบครัวก็จะหายไปจากโลกนี้ สาบสูญไปทั้งชื่อเสียงเรียงนาม เทือกเถาเหล่ากอ และบรรดา เงื่อนเค้าร่องรอยเกี่ยวกับชีวิตของพวกเขา ตลอดกาล" และต่อมา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานอภัยโทษให้เขา[22] [23] [24]

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรงทราบปัญหาและข่าวที่กล่าวมาแล้วเป็นเบื้องต้นเป็นอย่างดี[25] และทรงเคยให้สัมภาษณ์ในนิตยสาร "ดิฉัน" แก่ปีย์ มาลากุล ณ อยุธยา ผู้ใกล้ชิดพระองค์ ว่า[26]

"บางทีในชาติปางก่อน เราอาจไม่ได้ทำบุญมากพอ หรือบางทีในบางครั้งเราทำอะไรที่น่าตำหนิ เรายอมรับ...ถ้าหากสวรรค์คิดว่าเราไม่เหมาะสม หรือไม่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติในการทำหน้าที่ของเรา ก็หยุด และจบ ถ้าท่านคิดได้อย่างนี้ ท่านก็จะสบายใจ ท่านไม่ได้คิดเป็นอะไร หากสวรรค์ให้ท่านมีภารกิจต่อแผ่นดิน ก็ยอมรับ ถ้าเขาไม่ต้องการให้ทำงาน ก็โอเค"

วันที่ 15 ธันวาคม 2553 อีริก จี. จอห์น (Eric G. John) เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย รายงานไปยังรัฐบาลสหรัฐอเมริกาว่า เขาได้เปรยกับพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ว่า "เวลานี้ เจ้าฟ้าชายทรงอยู่ที่ใด" พลเอกเปรมตอบว่า "คุณก็รู้ว่าทรงใช้ชีวิตส่วนพระองค์แบบไหน...เจ้าฟ้าชายพอพระทัยใช้เวลาลอบเสด็จไปยังมึนเชิน เพื่อประทับอยู่กับภรรยาเก็บของพระองค์ มากกว่าจะประทับอยู่ในประเทศไทยกับพระวรชายาและพระโอรส"[27] พลอากาศเอกสิทธิ เศวตศิลา องคมนตรี ที่ร่วมวงสนทนา กล่าวเสริมว่า "...ข่าวเรื่องเมียน้อยของพระองค์ที่เป็นแอร์โฮสเตสมีอยู่เต็มเว็บไซต์ไปหมด...น่าเศร้าที่เดี๋ยวนี้ ท่านทูตไทยที่เยอรมนีต้องออกจากเบอร์ลินไปมึนเชินเพื่อไปเข้าเฝ้าพระองค์เป็นประจำ..."[28]

วันที่ 11 กรกฏาคม 2554 ศาลเมืองมึนเชินสั่งให้อายัดเครื่องบินโบอิง 737 ที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ใช้ประทับไปยังเมืองมึนเชิน (ซึ่งจอดอยู่ ณ เมืองมึนเชิน) เนื่องจากรัฐบาลไทยเป็นหนี้บริษัท วัลเทอร์เบา (Walter Bau AG) บริษัทก่อสร้างสัญชาติเยอรมนี เป็นจำนวนเงินมากกว่าสามสิบล้านยูโร และยังไม่ได้ชำระนานกว่ายี่สิบปี เจ้าพนักงานอายัดทรัพย์ของเยอรมนีซึ่งเข้าควบคุมบริษัทดังกล่าวแถลงว่า การอายัดนี้เป็นมาตรการสุดท้ายที่จะให้ได้ทรัพย์สินของรัฐบาลไทยมาใช้หนี้ หลังจากรัฐบาลผิดนัดเรื่อยมา[29] นายกษิต ภิรมย์ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในขณะนั้นแถลงตอบโต้ว่า "ทางเจ้าทุกข์และศาลเยอรมนีสามารถอายัดทรัพย์สินของรัฐบาลไทยได้ แต่เครื่องบินลำนี้เป็นของส่วนพระองค์ ไม่เกี่ยวกับทรัพย์สินของรัฐบาลไทย เพราะฉะนั้นในแง่กฎหมาย เราถือว่าเป็นการอายัดทรัพย์สินส่วนบุคคล เป็นการผิดพลาดอย่างใหญ่หลวง [...] โดยเราได้ยื่นหลักฐานคือใบทะเบียนแสดงความเป็นเจ้าของว่าเป็นเครื่องบินของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ไม่ใช่ของรัฐบาลไทย" จากนั้นจึงดำเนินการให้คณะทำงานฝ่ายกฎหมายของไทยซึ่งประกอบด้วย สำนักงานอัยการสูงสุด และรองอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ เดินทางไปพบกับรัฐบาลเยอรมนี เพื่ออธิบายความผิดพลาดดังกล่าวและร้องขอให้ถอนอายัดโดยเร็ว[30]

พระราชกิจ

ทางราชการ

ด้านการบิน

  • 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 ทรงปฏิบัติหน้าที่ครูการบินเครื่องบินขับไล่แบบเอฟ-5 อี/เอฟ[6]
  • พ.ศ. 2552 ทรงปฏิบัติหน้าที่นักบินที่ 1 เครื่องบินโบอิ้ง 737 - 400 ในเที่ยวบินสายใยรักแห่งครอบครัว ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย และจัดหาอุปกรณ์ด้านการแพทย์ สำหรับโรงพยาบาลใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (เที่ยวบินที่ ทีจี 8870 (กรุงเทพมหานครถึงจังหวัดเชียงใหม่) และเที่ยวบินที่ ทีจี 8871 (จังหวัดเชียงใหม่ถึงกรุงเทพมหานคร))

ด้านการทหาร

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมที่ตั้งกองทหารหน่วยต่าง ๆ อยู่เสมอ จากการที่ได้ทรงศึกษาด้านวิชาทหารมานาน ทรงมีความรู้เชี่ยวชาญอย่างมาก และได้พระราชทานความรู้เหล่านั้นให้แก่ทหาร 3 เหล่าทัพ[ต้องการอ้างอิง]

ทรงปฏิบัติพระองค์เป็นแบบอย่างแก่นายทหาร[ต้องการอ้างอิง] เอาพระทัยใส่ในความเป็นอยู่ทุกข์สุขของทหารผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาอย่างทั่วถึง[ต้องการอ้างอิง] รวมทั้งพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เป็นทุนการศึกษาแก่บุตรของทหาร[เป็นใคร?][ต้องการอ้างอิง] สิ่งเหล่านี้ล้วนก่อให้เกิดความเทิดทูนและความจงรักภักดีแก่เหล่าทหารเป็นอย่างยิ่ง[ต้องการอ้างอิง]

ด้านการศึกษา

พระองค์พระราชทานพระราชานุญาตให้ใช้อาคารของกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ เป็นที่ตั้งของโรงเรียนอนุบาลชิ่อว่า โรงเรียนอนุบาลทหารมหาดเล็กราชวัลลภ โดยในระยะแรกได้จัดการเรียนการสอนเฉพาะชั้นอนุบาล ต่อมา โรงเรียนได้ย้ายไปที่จังหวัดนนทบุรี และได้รับพระราชทานชื่อใหม่ว่า โรงเรียนอนุราชประสิทธิ์[32]

นอกจากนี้ ยังพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์สมทบเป็นค่าก่อสร้างโรงเรียนมัธยมศึกษาที่ตั้งอยู่ในชนบทห่างไกลคมนาคมไม่สะดวก กระทรวงศึกษาธิการได้สนองพระราชประสงค์ด้วยการน้อมเกล้าฯ ถวายโรงเรียนในระดับมัธยมศึกษาจำนวน 6 โรงเรียน เป็นโรงเรียนในพระราชูปถัมภ์ ได้แก่ (1) โรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา อ.ปลาปาก จ.นครพนม (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา 1) [33], (2) โรงเรียนมัธยมจุฑาวัชร อ.ลานกระลือ จ.กำแพงเพชร [34] (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา 2), (3) โรงเรียนมัธยมวัชเรศร อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี [35] (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา 3) [36], (4) โรงเรียนมัธยมจักรีวัชร อ.รัตนภูมิ จ.สงขลา [37] (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี 2) [38], (5) โรงเรียนมัธยมวัชรวีร์ อ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา [39] (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี 3) [40] และ (6) โรงเรียนมัธยมบุษย์น้ำเพชร อ.เมือง จ.อุดรธานี (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี 1)[41]

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมเยาวชนในตำบลต่าง ๆ ทรงสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์เยาวชนตำบล[ต้องการอ้างอิง] รวมทั้ง ได้ทรงเป็นประธานงานวันเยาวชนแห่งชาติ วันที่ 20 กันยายน ของทุกปี[ต้องการอ้างอิง] และ ทรงเป็นประธานในพิธีปฏิญาณตนและสวนสนามของลูกเสือและเนตรนารี และสมาชิกผู้ทำประโยชน์[ต้องการอ้างอิง]

ด้านการแพทย์และสาธารณสุข

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ โปรดให้สร้างโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชขึ้น เพื่อให้การรักษาพยาบาลผู้เจ็บป่วยในถิ่นทุรกันดาร[ต้องการอ้างอิง]

ด้านศาสนา

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2509 ก่อนเสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ[ต้องการอ้างอิง]

นอกจากนี้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ มีพระราชศรัทธาออกบวชในพระพุทธศาสนา โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชโปรดให้จัดการพระราชพิธีทรงผนวช ณ พัทธสีมาวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (วาสนมหาเถร) เป็นพระราชอุปัธยาจารย์ ได้รับถวายพระสมณนามว่า "วชิราลงฺกรโณ" และได้ประทับอยู่ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ตลอดจนทรงลาสิกขาในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 [6]

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปปฏิบัติพระราชกิจทางพระพุทธศาสนาอย่างสม่ำเสมอ[ต้องการอ้างอิง] เช่น ทรงเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตามฤดูกาล เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่นวันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา และการถวายผ้าพระกฐินหลวงตามวัดต่าง ๆ เป็นต้น[ต้องการอ้างอิง]

ด้านการเกษตร

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงทำปุ๋ยหมักจากผักตบชวาและวัชพืชอื่น ๆ เป็นปฐมฤกษ์ เพื่อพระราชทานแก่เกษตรกร สำหรับนำไปใช้ในการเพาะปลูกเป็นการเพิ่มผลผลิต ที่บ้านแหลมสะแก ต.เดิมบาง อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2528[ต้องการอ้างอิง]

ด้านการต่างประเทศ

วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2554 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ โปรดให้ พล.อ.ท.ภักดี แสงชูโต นำผ้าห่มกันหนาว 20,000 ผืน ไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮะกุ พ.ศ. 2554 ที่ประเทศญี่ปุ่น โดยมีนายกษิต ภิรมย์ เป็นผู้รับมอบ[42]

ประสบการณ์ทางทหาร

[43]

  • เดือนมกราคม ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2519 ทรงเข้ารับการฝึกเพิ่มเติม และศึกษางานด้านการทหาร ณ เครือรัฐออสเตรเลีย
  • ทรงเข้ารับการฝึกหลักสูตรวิชาอาวุธพิเศษ การทำลายและยุทธวิธีรบนอกแบบ หลักสูตรต้นหนชั้นสูง หลักสูตรการลาดตระเวน และต้นหนชั้นสูง รวมทั้งหลักสูตรส่งทางอากาศ
  • พ.ศ. 2522 ถึงพ.ศ. 2523 ทรงเข้ารับการฝึกหลักสูตรการฝึกบินเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป แบบ ยู เอซ - 1 เอซ ของบริษัท เบลล์

รวมชั่วโมงบิน 54.36 ชั่วโมง

  • เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2523 ทรงเข้ารับการฝึกตามโครงการช่วยเหลือทางทหาร กองทัพบกสหรัฐอเมริกา รวม 6 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรอาวุธประจำกายและเครื่องยิงลูกระเบิด หลักสูตรการปฏิบัติการพิเศษ หลักสูตรการต่อต้านการก่อการร้าย หลักสูตรการสงครามแบบกองโจร หลักสูตรการฝึกการดำรงชีพ และหลักสูตรส่งทางอากาศ ( ทางบกและทางทะเล )
  • เดือนมิถุนายน ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2523ทรงเข้ารับการฝึกหลักสูตรการฝึกบินเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป แบบ ยู เอซ - 1 เอซ กับเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป แบบ ยู เอซ - 1 เอ็น ของบริษัทเบลล์ รวมชั่วโมงบิน 259.560 ชั่วโมง
  • เดือนกันยายน ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2523 ทรงเข้ารับการฝึกหลักสูตรการฝึกบินเฮลิคอปเตอร์โจมตี ติดอาวุธ แบบ ยู เอซ - 1 เอซ ของบริษัทเบลล์ จากกองทัพไทย รวมชั่วโมงบิน 54.50 ชั่วโมง
  • เดือนธันวาคม พ.ศ. 2523 ถึง พ.ศ. 2524ทรงเข้ารับการฝึกหลักสูตรการฝึกบินเครื่องบินปีกติดลำตัว แบบ Sial - Marchetti SF 120 MT รวมชั่วโมงบิน 172.20 ชั่วโมง
  • เดือนมีนาคม ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2524 ทรงเข้ารับการฝึกหลักสูตรการฝึกบินเครื่องบินปีกติดลำตัว แบบ Cessna T - 37 รวมชั่วโมงบิน 240 ชั่วโมง
  • เดือนตุลาคม ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2524 เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรกิจการทางทหารและตำรวจ ณ สหราชอาณาจักร ราชอาราจักรเบลเยียม ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สาธารณรัฐฝรั่งเศส และเครือรัฐออสเตรเลีย
  • เดือนตุลาคม พ.ศ. 2525 ถึง พ.ศ. 2526ทรงเข้ารับการฝึกหลักสูตรการฝึกบินเปลี่ยนเป็นเครื่องบินขับไล่ แบบ เอฟ - 5 ( พิเศษ ) รุ่นที่ 83 (พุทธศักราช 2526) เอ ที ดับบลิว และหลักสูตรเครื่องบินขับไล่ชั้นสูง รุ่นที่ 83 (พุทธศักราช 2526) เอ วี ดับบลิว ณ ฐานทัพอากาศวิลเลียมส์ มลรัฐอริโซนา สหรัฐอเมริกา รวนชั่วโมงบิน 2,000 ชั่วโมง
  • พ.ศ. 2532 ทรงผ่านการฝึกบินด้วยเครื่องบินใบพัด แบบมาร์คเคตตี้ของฝูงขั้นปลาย โรงเรียนการบิน กองทัพอากาศ และการฝึกบิน ด้วยเครื่องบินไอพ่น แบบ ที 33 และหลักสูตรนักบินขับไล่ไอพ่นสมรรถนะสูงกับเครื่องบิน ขับไล่ แบบ เอฟ 5 อี/เอฟ ของกองบิน 1 ฝูงบิน 102 โดยทรงทำชั่วโมงบิน 200 ชั่วโมง ในเบื้องต้น และทรงทำชั่วโมงบินสูงสุด 1,000 ชั่วโมง และทรงเข้าร่วมการแข่งขันการใช้อาวุธทางอากาศประจำปี ซึ่งทรงทำคะแนนได้สูงตามกติกา กองทัพอากาศได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเครื่องหมายความสามารถในการใช้อาวุธทางอากาศชั้นที่ 1 ประเภทอาวุธระเบิดสี่ดาว อาวุธจรวดสี่ดาว และอาวุธปืนสี่ดาว ในศกเดียวกัน [44]
  • เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2547 ทรงเข้ารับการฝึกหลักสูตรการในฐานะนักบินโบอิ้ง 737 - 400 จากบริษัท การบินไทย จำกัด ( มหาชน ) และทรงผ่านการตรวจสอบจากการขนส่งทางอากาศ กับทรงได้รับใบอนุญาตนักบินพาณิชย์เอก
  • เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2548 ทรงเข้ารับการฝึกหลักสูตรกัปตัน จากบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และทรงรับการทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายตำแหน่งนักบินที่ 1 ในพ.ศ. 2549 ทั้งนี้ ทรงปฏิบัติหน้าที่นักบินที่ 1 อย่างดีเยี่ยมสม่ำเสมอ รวมชั่วโมงบิน 3,000 ชั่วโมง

เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2552 กรมการขนส่งทางอากาศได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายใบรับรองในตำแหน่งครูฝึกภาคอากาศกับตำแหน่ง ครูฝึกเครื่องช่วยฝึกบิน สำหรับเครื่องบินโบอิ้ง 737 - 400 [45]

พระเกียรติยศ

ธงประจำพระองค์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[46]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

พระยศทหาร[48]

ครอบครัว

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงอภิเษกสมรสกับ

พระราชบุตร

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ มีพระราชธิดา ที่ประสูติแต่ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ 1 พระองค์ คือ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ประสูติเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2521 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต

มีโอรส 4 องค์ และพระธิดา 1 พระองค์ที่ประสูติแต่ สุจาริณี วิวัชรวงศ์ คือ [49]

และมีพระราชโอรสที่ประสูติแต่ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ 1 พระองค์ คือ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ

เหรียญที่ระลึก

เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร

ไฟล์:เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช.jpg
เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สำหรับบุรุษ

เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร มีลักษณะดังนี้[55]

ลักษณะ เป็นเหรียญเงิน รูปกลมแบน มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3.1 เซนติเมตร ด้านหน้ามีพระรูปของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ ทรงหันพระพักตร์ทางเบื้องขวา ริมขอบมีอักษรจารึกว่า "สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร" ด้านหลังมีอักษรพระนามาภิไธยย่อ "ว ก" เหนือพระนามาภิไธยย่อมีรูปจุลมงกุฎมีรัศมี ที่ริมขอบมีอักษรจารึกว่า "ที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร 28 ธันวาคม 2515"

แพรแถบย่อ

การประดับ ใช้ห้อยแพรแถบสีขาวริมเหลือง สำหรับบุรุษให้แพรแถบมีความกว้าง 3.1 เซนติเมตร สำหรับสตรีห้อยแพรแถบผูกเป็นรูปแมลงปอ ประดับได้อย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หากไม่ประดับอย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ สามารถห้อยคอหรือประดับด้วยวิธีอื่นๆตามสมควรโดยไม่มีแพรแถบก็ได้

ราชตระกูล

อ้างอิง

  1. ส.พลายน้อย. พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาแห่งราชสำนักสยาม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ:ฐานบุ๊คส์, 2554. หน้า 233
  2. 2.0 2.1 ส.พลายน้อย. พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาแห่งราชสำนักสยาม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ:ฐานบุ๊คส์, 2554. หน้า 234
  3. 3.0 3.1 ราชกิจจานุเบกษา, หมายกำหนดการ ที่ ๑๕/๒๔๙๕ พระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ ๒๔๙๕, เล่ม ๖๙, ตอน ๕๔ ง, ๙ กันยายน พ.ศ.๒๔๙๕, หน้า ๓๐๓๑
  4. . ประมวลพระบรมฉายาลักษณ์และพระราชประวัติ.
  5. ลาวัณย์ โซตามระ. สี่เจ้าฟ้า. กรุงเทพมหานคร: บริษัท กัตนา ดิสทริบิวชั่น จำกัด
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 พระราชประวัติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร. พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน ตอนว่าด้วยพระสูตร. กรุงเทพมหานคร: กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร, เล่ม 89, ตอน 200 ก ฉบับพิเศษ, 28 ธันวาคม พ.ศ. 2515, หน้า 1
  8. สกุลไทย : 16 มกราคม 2533
  9. Mike Wooldridge (17 December 2010). "Wikileaks cable: 'Thai concerns about crown prince'" (ภาษาEnglish). BBC. {{cite web}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า s: |trans_title=, |separator=, |month= และ |coauthors= (help)CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  10. Duncan. McCargo, Media and Politics in Pacific Asia, page 146
  11. "US embassy cables: Thai officials express concerns over crown prince" (ภาษาEnglish). The Guardian. 15 December 2010. Prem acknowledged Crown Prince Vajiralongkorn probably maintained some sort of relationship with fugitive former PM Thaksin, "seeing him from time to time." {{cite web}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า s: |trans_title=, |separator=, |month= และ |coauthors= (help)CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  12. Dorling, Philip; McKenzie, Nick (12 December 2010). "Top Singapore officials trash the neighbours". The Sydney Morning Herald.
  13. "US embassy cables: Thai officials express concerns over crown prince" (ภาษาEnglish). The Guardian. 15 December 2010. Thaksin ran the risk of self-delusion if he thought that the Crown Prince would act as his friend/supporter in the future merely because of Thaksin's monetary support; "he does not enjoy that sort of relationship." {{cite web}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า s: |trans_title=, |separator=, |month= และ |coauthors= (help)CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  14. ธนาพล อิ่วสกุล; ชัยธวัช ตุลาฑล (มกราคม–มีนาคม 2554). "การ "เปลี่ยนผ่าน" รัชสมัยในสถานการณ์เปลี่ยนผ่านการเมืองไทย". ฟ้าเดียวกัน (ปีที่ 9, ฉบับที่ 1): 67. {{cite journal}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า s: |laydate=, |laysource=, |month=, |laysummary= และ |quotes= (help)CS1 maint: date format (ลิงก์) CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  15. ธนาพล อิ่วสกุล; ชัยธวัช ตุลาฑล (มกราคม–มีนาคม 2554). "การ "เปลี่ยนผ่าน" รัชสมัยในสถานการณ์เปลี่ยนผ่านการเมืองไทย". ฟ้าเดียวกัน (ปีที่ 9, ฉบับที่ 1): 54. {{cite journal}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า s: |laydate=, |laysource=, |month=, |laysummary= และ |quotes= (help)CS1 maint: date format (ลิงก์) CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  16. "As father fades, his children fight". The Economist. 18 March 2010.
  17. More Lèse majesté Charges in Thailand Asia Sentinel, April 1, 2010
  18. Thailand - Grenade attacks and online censorship amid mounting political tension FromTheOld, March 30, 2010
  19. Shawn W. Crispin (14 Mars 2008). "The politics of revenge in Thailand". Asian Times Online: 54. {{cite journal}}: |access-date= ต้องการ |url= (help); Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า s: |laydate=, |laysource=, |month=, |laysummary= และ |quotes= (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  20. ธนาพล อิ่วสกุล; ชัยธวัช ตุลาฑล (มกราคม–มีนาคม 2554). "การ "เปลี่ยนผ่าน" รัชสมัยในสถานการณ์เปลี่ยนผ่านการเมืองไทย". ฟ้าเดียวกัน (ปีที่ 9, ฉบับที่ 1): 56–57. {{cite journal}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า s: |laydate=, |laysource=, |month=, |laysummary= และ |quotes= (help)CS1 maint: date format (ลิงก์) CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  21. ธนาพล อิ่วสกุล; ชัยธวัช ตุลาฑล (มกราคม–มีนาคม 2554). "การ "เปลี่ยนผ่าน" รัชสมัยในสถานการณ์เปลี่ยนผ่านการเมืองไทย". ฟ้าเดียวกัน (ปีที่ 9, ฉบับที่ 1): 59. {{cite journal}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า s: |laydate=, |laysource=, |month=, |laysummary= และ |quotes= (help)CS1 maint: date format (ลิงก์) CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  22. Thais detain Aussie writer, The Australian, September 05, 2008
  23. Thai court jails Australian novelist for three years over royal 'insult', The Scotsman, January 19, 2009
  24. Author jailed for insulting Thai king, CNN.com, January 19, 2009
  25. ธนาพล อิ่วสกุล; ชัยธวัช ตุลาฑล (มกราคม–มีนาคม 2554). "การ "เปลี่ยนผ่าน" รัชสมัยในสถานการณ์เปลี่ยนผ่านการเมืองไทย". ฟ้าเดียวกัน (ปีที่ 9, ฉบับที่ 1): 59–60. {{cite journal}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า s: |laydate=, |laysource=, |month=, |laysummary= และ |quotes= (help)CS1 maint: date format (ลิงก์) CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  26. ธนาพล อิ่วสกุล; ชัยธวัช ตุลาฑล (15 สิงหาคม 2529). ดิฉัน: 227. {{cite journal}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help); Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า s: |laydate=, |laysource=, |month=, |laysummary= และ |quotes= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  27. "US embassy cables: Thai officials express concerns over crown prince" (ภาษาEnglish). The Guardian. 15 December 2010. Vajiralongkorn's preference to spend time based out of Munich with his main mistress, rather than in Thailand with his wife and son {{cite web}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า s: |trans_title=, |separator=, |month= และ |coauthors= (help)CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  28. "US embassy cables: Thai officials express concerns over crown prince" (ภาษาEnglish). The Guardian. 15 December 2010. Information about his air hostess mistresses was widely available on websites; he lamented how his former aide, now Thai Ambassador to Germany, was forced to leave Berlin for Munich often to receive Vajiralongkorn. {{cite web}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า s: |trans_title=, |separator=, |month= และ |coauthors= (help)CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  29. "Germany Impounds Thai Prince Vajiralongkorn's Jet". BBC online. 2011-07-13. สืบค้นเมื่อ 2011-07-14.
  30. "'กษิต'โต้เยอรมนีส่งทีมกฎหมายบินด่วนให้ถอนอายัดเครื่องบิน". เดลินิวส์. 2011-07-15. สืบค้นเมื่อ 2011-07-15.
  31. ราชอาณาจักรสยาม ,พระราชภาระหน้าที่ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้าชายมหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร,http://www.kingdom-siam.org
  32. ประวัติโรงเรียนอนุราชประสิทธิ์, เข้าถึงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2554
  33. ประวัติโรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา1 นครพนม
  34. ประวัติโรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา ๒ กำแพงเพชร
  35. โรงเรียนมัธยมวัชเรศร
  36. โรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา 3 สุราษฎร์ธานี
  37. โรงเรียนมัธยมจักรีวัชร
  38. ประวัติโรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา
  39. โรงเรียนมัธยมวัชรวีร์
  40. โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๓ ฉะเชิงเทรา
  41. ประวัติโรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๑ อุดรธานี
  42. หนังสือพิมพ์สยามรัฐ ปีที่ 61 ฉบับที่ 21143 วันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 2554 หน้า 1, 12
  43. ราชอาณาจักรสยาม ,ราชการทหารของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้าชายมหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร,http://www.kingdom-siam.org
  44. สกุลไทย : 7 สิงหาคม 2533
  45. ราชอาณาจักรสยาม ,การศึกษาของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้าชายมหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร,http://www.kingdom-siam.org
  46. ราชอาณาจักรสยาม ,เครื่องราชอิสริยาภรณ์ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้าชายมหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร,http://www.kingdom-siam.org
  47. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๔, ตอน ๘๗ ง ฉบับพิเศษ, ๑๕ กันยายน พ.ศ.๒๕๑๐, หน้า ๒๒
  48. ราชอาณาจักรสยาม ,พระยศทหารของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้าชายมหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร,http://www.kingdom-siam.org
  49. Mom Sucharini Vivajrawongse (née Yuvadhida Polpraserth)
  50. HSH Prince Chudhavajra
  51. HSH Prince Vajaresra
  52. HSH Prince Chakrivajra
  53. HSH Prince Vajravira
  54. เจฟฟรี่ ไฟน์สโตน. จุฬาลงกรณราชสันตติวงศ์ พระบรมราชวงศ์แห่งประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: พิษณุโลกการพิมพ์,2532. หน้า 275 - 276
  55. http://www.thailaws.com/law/thaiacts/code576.pdf พระราชบัญญัติ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร พ.ศ.2539

ดูเพิ่ม

ก่อนหน้า พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ถัดไป
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร
สยามมกุฎราชกุมาร
(พ.ศ. 2515-ปัจจุบัน)
ยังอยู่ในตำแหน่ง