กองพันทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์ กองพลที่ 1 รักษาพระองค์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กองพันทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์ กองพลที่ 1 รักษาพระองค์
ตราราชการกองพันทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์ กองพลที่ 1 รักษาพระองค์
ประจำการ23 มิถุนายน พ.ศ. 2418
ประเทศ ไทย
เหล่า กองทัพบกไทย
รูปแบบกองพันทหารช่างรักษาพระองค์
ขึ้นกับกองพลที่ 1 รักษาพระองค์
กองบัญชาการเลขที่ 471 หมู่ 3 แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร
วันสถาปนา27 พฤษภาคม พ.ศ. 2496
ปฏิบัติการสำคัญยุทธการภูขวาง
อิสริยาภรณ์เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้น 1

กองพันทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์ กองพลที่ 1 รักษาพระองค์ มีต้นกำเนิดจากกองทหารอินยิเนียใน พ.ศ. 2418 โดยขึ้นตรงต่อกรมทหารมหาดเล็ก ผ่านการแปรสภาพหน่วยมาหลายครั้ง จนมาใช่ชื่อหน่วยในปัจจุบัน นับตั้งแต่ พ.ศ. 2496 เป็นต้นมา และจัดให้อยู่ในสายการบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2515 จนถึงปัจจุบัน หน่วยทหารหน่วยนี้เคยเข้าร่วมรบในสงครามอินโดจีน สงครามมหาเอเชียบูรพา เคยเข้าร่วมการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในยุทธการภูขวางใน พ.ศ. 2515 และมีบทบาทในภารกิจด้านการบรรเทาสาธารณภัยต่างๆ หลายครั้ง ปัจจุบันนี้มีที่ตั้งหน่วยอยู่ที่ เลขที่ 471 หมู่ 3 แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร

ลำดับการแปรสภาพหน่วย[แก้]

  • พ.ศ. 2418 กองทหารอินยิเนีย
  • พ.ศ. 2435 กองยุทธโยธา กรมยุทธภัณฑ์ [ขึ้นตรงต่อกรมยุทธนาธิการ]
  • พ.ศ. 2446 กองทหารช่าง กองบัญชาการทหารบกมณฑลกรุงเทพฯ (ขยายอัตรากำลังขึ้นเป็นกรมในปีเดียวกัน มี 2 กองร้อย)
  • พ.ศ. 2449 กองทหารช่างที่ 1 (รักษาพระองค์)
  • พ.ศ. 2451 กรมทหารช่างที่ 1 กองพลที่ 1 (รักษาพระองค์)
  • พ.ศ. 2453 กรมทหารช่างกองทัพ กองทัพที่ 1 (รัชกาลที่ 5 ทรงเป็นผู้บังคับการพิเศษ มีหน่วยขึ้นตรง 3 กองร้อย เฉพาะกองร้อยที่ 1 เป็นหน่วยทหารรักษาพระองค์)
  • พ.ศ. 2455 กรมทหารช่างกองทัพ กองทัพที่ 1 (รัชกาลที่ 6 ทรงเป็นผู้บังคับการพิเศษ มีหน่วยขึ้นตรง 4 กองร้อย)
  • พ.ศ. 2456 กรมทหารช่างกองทัพ กองพลที่ 2 (โอนสายการบังคับบัญชา)
  • พ.ศ. 2457 กรมทหารช่างกองทัพ กองพลที่ 2 (ปรับหน่วยขึ้นตรงเป็น 2 กองพัน)
  • พ.ศ. 2458 กรมทหารบกช่างที่ 1 กองพลที่ 2 (มีหน่วยขึ้นตรง คือ กองพันที่ 1 รักษาพระองค์ (ช่างสนาม) และกองพันที่ 2 (ช่างเครื่องสัญญา))
  • พ.ศ. 2467 กรมทหารบกช่างที่ 1 รักษาพระองค์ กองพลที่ 2
  • พ.ศ. 2470 กองพันทหารช่างที่ 1 กรมทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์ กองพลที่ 2 (มีหน่วยขึ้นตรง 3 กองร้อย)
  • พ.ศ. 2476 กองบังคับการทหารช่างและสื่อสาร มณฑลทหารบกที่ 5
  • พ.ศ. 2493 กองพันทหารช่างที่ 1 กรมทหารช่างที่ 1 กองทัพที่ 1
  • พ.ศ. 2496 กองพันทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์ กรมทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์ กองทัพที่ 1
  • พ.ศ. 2498 กองพันทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์ กองทัพที่ 1
  • พ.ศ. 2496 กองพันทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์ กองพลที่ 143
  • พ.ศ. 2515 กองพันทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2561 กองพันทหารช่างที่ 1 กองพลที่ 1 รักษาพระองค์
  • พ.ศ.2566 กองพันทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์ กองพลที่ 1 รักษาพระองค์

เครื่องแบบเต็มยศทหารรักษาพระองค์[แก้]

ทหารสังกัดกองพันทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์ แต่งกายเต็มยศทหารรักษาพระองค์ เข้าร่วมริ้วกระบวนเชิญพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

เครื่องแบบเต็มยศทหารรักษาพระองค์ดังต่อไปนี้ ใช้สำหรับผู้ที่อยู่ในหน่วยกรมทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์ กองพันทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์ กองพลที่ 1 รักษาพระอค์ และกองพันทหารช่างที่ 2 รักษาพระองค์ กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์

  • หมวกยอดมีพู่สีดำ ตราครุฑพ่าห์
  • เสื้อคอปิดสีขาว มีกระดุม 7 เม็ด ชายเสื้อด้านหลังมีดุมขนาดกลางข้างละ 1 เม็ด
  • แผงคอและข้อมือสักหลาดสีดำไม่ติดกับเสื้อ ปักลายช่อชัยพฤกษ์ปลายปลอกคอโดยรอบมีแถบดิ้นทอง 1 แถบติดกับเสื้อ กลางชายเสื้อเปิดถึงเอว ที่แนวตะเข็บหลังทั้ง 2 ข้าง มีช่อชัยพฤกษ์ปักบนสักหลาดสีดำข้างละ 3 ช่อด้วยดิ้นทองและดิ้นเงิน สำหรับนายทหารประทวน (ชั้นนายสิบและพลทหาร) เสื้อไม่เปิดหลังไม่มีลายช่อชัยพฤกษ์
  • กางเกงสักหลาดสีเทา (นายทหารสัญญาบัตร 2 แถบ นายทหารประทวน 1 แถบ)
  • แขนเสื้อด้านข้าง ปลอกข้อมือด้านนอกทั้ง 2 ข้าง โดยรอบทำด้วยสักหลาดสีดำปักลายช่อชัยพฤกษ์ เหนือช่อชัยพฤกษ์มีแถบ 3 แถบ ทำด้วยดิ้นทอง 2 แถบ ดิ้นเงินอยู่กลาง 1 แถบ ด้านบนเป็นสามเหลี่ยมปักอักษรพระปรมาภิไธยย่อ วปร. ภายใต้พระมหามงกุฎ ด้านข้างอักษรมีช่อชัยพฤกษ์ด้านละ 1 ช่อ ปักด้วยดิ้นเงินและดิ้นทอง
  • เข็มขัดหนังและคันชีพหนังสีน้ำตาล (นายทหารชั้นประทวนใช้สีดำ)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]