เฉก ธนะสิริ
เฉก ธนะสิริ | |
---|---|
เกิด | 11 ตุลาคม พ.ศ. 2468[1][a] |
อาชีพ | แพทย์ นักเขียน |
คู่สมรส | แพทย์หญิง วิลิศ วีรานุวัตติ์[2] |
บิดามารดา |
|
นายแพทย์ เฉก ธนะสิริ (เกิด 11 ตุลาคม พ.ศ. 2468[1][2]) แพทย์ชาวไทย อดีตรองปลัดกรุงเทพมหานคร (นักบริหาร 10) เป็นผู้ก่อตั้งมูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์ไทยเดิม และอดีตนายกสมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทย ได้รับการเชิดชูเกียรติ รางวัลนราธิป ประจำปี พ.ศ. 2549 และรางวัลผู้สูงอายุแห่งชาติประจำปี พ.ศ. 2564 จากกรมกิจการผู้สูงอายุ
ประวัติ
[แก้]นายแพทย์ เฉก ธนะสิริ เกิดที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของหลวงจินดาสหกิจ (ละม้าย ธนะสิริ) กับนางประวัติ จินดาสหกิจ (สกุลเดิม สหัสสานนท์)[3] จบการศึกษาจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จบปริญญาตรีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ปริญญาโทจากคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อ พ.ศ. 2494 และศึกษาต่อด้านสาธารณสุขศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์ รัฐแมริแลนด์ สหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. 2496[4] สมรสกับแพทย์หญิง วิลิศ วีรานุวัตติ์ มีบุตรสาวชื่อ เฉลยลัคน์ (สมรสกับ กนก วงษ์ตระหง่าน)
นายแพทย์ เฉก รับราชการกองควบคุมกามโรคและคุดทะราด กรมอนามัย เป็นนายแพทย์อนามัยจังหวัดนครราชสีมา ระหว่าง พ.ศ. 2497–2506 เป็นผู้อำนวยการสำนักอนามัย (นักบริหาร 10) กรุงเทพมหานคร และเป็นรองปลัดกรุงเทพมหานคร (นักบริหาร 10) ระหว่าง พ.ศ. 2524-2529[5]
นายแพทย์เฉก เคยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[6] กรรมการอำนวยการสภาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการวางแผนสาธารณสุขแห่งชาติ กรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย นายกสมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทย นายกสมาคมศิษย์เก่าแพทย์ศิริราช และได้รับรางวัล “มหิดลทยากร” จาก สมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี พ.ศ. 2546
นายแพทย์เฉก เป็นที่รู้จักจากการเขียนหนังสือ อายุ 120 ปี ทำไมจะทำให้... ไม่ได้ ซึ่งเป็นหนังสือที่เขียนไว้เพื่อเป็นแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิตที่อายุยืน และได้รวบรวมวิธีคิด และวิธีปฏิบัติ เพื่อให้มีอายุ 120 ปี ตามเป้าหมายที่นายแพทย์เฉกตั้งเอาไว้ โดยหนังสือเล่มนี้มีที่มาจากการทำวิจัย และสำรวจผู้คนที่มีอายุยืนในประเทศไทย ในขณะที่นายแพทย์เฉก ยังเป็นแพทย์สาธารณสุขในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ[7]
ผลงานเขียน
[แก้]- หนังสือชุด "กินอยู่อย่างไรให้ปลอดภัยโรค"
- สมาธิกับคุณภาพชีวิต
- ธรรมชาติของชีวิต
- การเพิ่มประสิทธิภาพของชีวิต
- สุดยอดแห่งพลังชีวิต
- 22 วัน ผจญภัยในป่าดงดิบแอฟริกาและเกาะค้าทาสแซนซิบา[10]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2526 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[11]
- พ.ศ. 2520 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[12]
- พ.ศ. 2518 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[13]
- พ.ศ. 2511 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[14]
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ เคยบรรยายในงานสัมมนาที่โรงเรียนผู้นำ เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2552 ว่า เรียนโรงเรียนเทพศิรินทร์รุ่นเดียวกับรัชกาลที่ 8 และเกิดหลังวันประสูติ (20 กันยายน พ.ศ. 2468) ประมาณ 7–8 วัน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "คุณปู่ 5 แผ่นดิน นพ.เฉก ธนะสิริ "ผู้สูงอายุแห่งชาติ 64" ไร้โรค-แข็งแรง ตั้งเป้า 120 ปี". มติชนออนไลน์. 13 เมษายน 2021. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2022.
- ↑ 2.0 2.1 เฉก ธนะสิริ. 22 วัน ผจญภัยในป่าดงดิบแอฟริกาและเกาะค้าทาสแซนซิบา. กรุงเทพ : คราฟแมนเพรส, พ.ศ. 2538. 116 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-7315-93-9
- ↑ แม่เต๋อ (Ester) ประทีปะเสน หญิงสยามคนแรกไปอเมริกา
- ↑ เฉก ธนะสิริ. ทำอย่างไรชีวิตจะยืนยาวและมีความสุข. กรุงเทพฯ : เซ็ท เอน ชู้ท สตูดิโอ, พิมพ์ครั้งที่ 86 พ.ศ. 2548. 310 หน้า. ISBN 974-93534-6-3
- ↑ "ประกาศเชิดชูเกียรติ รางวัล "มหิดลทยากร"". สมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหิดล. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 มกราคม 2011.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ, เล่ม 90 ตอนที่ 171 ก ฉบับพิเศษ หน้า 4, 24 ธันวาคม 2516
- ↑ ""ผมจะมีอายุยืนให้ถึง 120 ปี" นพ.เฉก ธนะสิริ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 ตุลาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2023.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ เฉก ธนะสิริ (2009). เล่นกับตัวเองอย่างไร ให้สุขภาพ สุขใจ ปลอดโรคภัยเกิน 100 ปี (3 ed.). กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พิลลิเคชั่นส์. ISBN 978-974-9601-51-8.
- ↑ เฉก ธนะสิริ (2010). ทำอย่างไรจะปราศจากโรคและชะลอความชรา. กินอยู่อย่างไรให้ปลอดภัยโรค (5 ed.). กรุงเทพฯ: อินสปายร์. ISBN 978-974-9601-54-9.
- ↑ เฉก ธนะสิริ (1995). 22 วัน ผจญภัยในป่าดงดิบแอฟริกาและเกาะค้าทาสแซนซิบา (1 ed.). กรุงเทพฯ: คราฟแมนเพรส. ISBN 974-7315-93-9.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม 100 ตอนที่ 207 ง ฉบับพิเศษ หน้า 43, 31 ธันวาคม 2526
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม 95 ตอนที่ 34 ง ฉบับพิเศษ หน้า 35, 27 มีนาคม 2521
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลา และเหรียญจักรพรรดิมาลา (ในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๑๘ เหรียญจักรพรรดิมาลา), เล่ม 93 ตอนที่ 24 ง ฉบับพิเศษ หน้า 1488, 7 กุมภาพันธ์ 2519
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม 85 ตอนที่ 25 ง หน้า 888, 19 มีนาคม 2511
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2468
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักเขียนชาวไทย
- แพทย์ชาวไทย
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- บุคคลจากกรุงเทพมหานคร
- บุคคลจากโรงเรียนเทพศิรินทร์
- บุคคลจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- บุคคลจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- บุคคลจากคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยจอนส์ ฮอปคินส์
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- บทความเกี่ยวกับ นักเขียน ที่ยังไม่สมบูรณ์