พ.ศ. 2552
หน้าตา
ศตวรรษ: | |
---|---|
ปี: |
ปฏิทินสุริยคติไทย | 2552 |
ปฏิทินกริกอเรียน | 2009 MMIX |
Ab urbe condita | 2762 |
ปฏิทินอาร์มีเนีย | 1458 ԹՎ ՌՆԾԸ |
ปฏิทินอัสซีเรีย | 6759 |
ปฏิทินบาไฮ | 165–166 |
ปฏิทินเบงกอล | 1416 |
ปฏิทินเบอร์เบอร์ | 2959 |
ปีในรัชกาลอังกฤษ | 57 Eliz. 2 – 58 Eliz. 2 |
พุทธศักราช | 2553 |
ปฏิทินพม่า | 1371 |
ปฏิทินไบแซนไทน์ | 7517–7518 |
ปฏิทินจีน | 戊子年 (ชวดธาตุดิน) 4705 หรือ 4645 — ถึง — 己丑年 (ฉลูธาตุดิน) 4706 หรือ 4646 |
ปฏิทินคอปติก | 1725–1726 |
ปฏิทินดิสคอร์เดีย | 3175 |
ปฏิทินเอธิโอเปีย | 2001–2002 |
ปฏิทินฮีบรู | 5769–5770 |
ปฏิทินฮินดู | |
- วิกรมสมวัต | 2065–2066 |
- ศกสมวัต | 1931–1932 |
- กลียุค | 5110–5111 |
ปฏิทินโฮโลซีน | 12009 |
ปฏิทินอิกโบ | 1009–1010 |
ปฏิทินอิหร่าน | 1387–1388 |
ปฏิทินอิสลาม | 1430–1431 |
ปฏิทินญี่ปุ่น | ศักราชเฮเซ 21 (平成21年) |
ปฏิทินจูเช | 98 |
ปฏิทินจูเลียน | กริกอเรียนลบ 13 วัน |
ปฏิทินเกาหลี | 4342 |
ปฏิทินหมินกั๋ว | ROC 98 民國98年 |
เวลายูนิกซ์ | 1230768000–1262303999 |
พุทธศักราช 2552 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2009 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีสุดท้ายในคริสต์ทศวรรษ 2000
- ปีฉลู เอกศก จุลศักราช 1371 (วันที่ 16 เมษายน เป็นวันเถลิงศก)
- ปีดาราศาสตร์สากล[1][2][3]
- ปีเส้นใยธรรมชาติสากล[4]
ผู้นำประเทศไทย
[แก้]- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (พ.ศ. 2489 – พ.ศ. 2559)
- นายกรัฐมนตรี : อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (17 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554)
เหตุการณ์
[แก้]มกราคม
[แก้]- 1 มกราคม -
- สาธารณรัฐสโลวาเกียเปลี่ยนมาใช้สกุลเงินยูโร
- เกิดเหตุเพลิงไหม้สถานบันเทิงซานติก้าผับ ซอยเอกมัย 9 กรุงเทพมหานคร เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 66 ราย
- สาธารณรัฐเช็คขึ้นเป็นประธานแห่งสภาสหภาพยุโรป ต่อจากฝรั่งเศส
- ออสเตรีย ญี่ปุ่น เม็กซิโก ตุรกีและยูกันดา ได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
- 2 มกราคม - กองทัพศรีลังกา สามารถยึดเมืองกัลลินอกชี ฐานปฏิบัติการโดยพฤตินัยของกองทัพพยัคฆ์ปลดปล่อยทมิฬอีแลม
- 3 มกราคม - กองทัพอิสราเอล เริ่มต้นการโจมตีภาคพื้นดินต่อฉนวนกาซา
- 6 มกราคม - รัสเซียกล่าวหาว่ายูเครนปิดกั้นท่อขนส่งแก๊สธรรมชาติหลักสามแห่งที่ส่งไปยังทวีปยุโรป ทำให้การขนส่งแก๊สธรรมชาติหยุดชะงัก[5]
- 13 มกราคม - กองทัพเอธิโอเปียสั่งถอนกำลังทหารของตนในโซมาเลีย ซึ่งได้ประจำการอยู่เป็นเวลานานกว่าสองปี[6]
- 15 มกราคม - เครื่องบินของสายการบินยูเอสแอร์เวย์ เที่ยวบินที่ 1549 ได้ร่อนลงที่แม่น้ำฮัดสัน หลังจากที่เครื่องขึ้นจากสนามบินลากวาร์เดียในนิวยอร์ก เนื่องจากมีนกบินเข้าไปในไอพ่น[7]
- 17 มกราคม - อิสราเอลประกาศหยุดยิงฝ่ายเดียวกับกลุ่มฮามาส และเป็นจุดสิ้นสุดของการสู้รบในฉนวนกาซาในวันรุ่งขึ้น[8] ส่วนกลุ่มฮามาสประกาศหยุดยิงฝ่ายเดียวในภายหลังเช่นกัน[9][10][11]
- 20 มกราคม - บารัก โอบามา สาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐคนที่ 44 และกลายเป็นชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกาคนแรกที่ดำรงตำแหน่งนี้[12]
- 21 มกราคม -
- อิสราเอลถอนตัวออกจากฉนวนกาซา และยุติสงครามสามสัปดาห์กับฮะมาสอย่างเป็นทางการ[13] อย่างไรก็ตาม การโจมตีทางอากาศสลับกันระหว่างทั้งสองฝ่ายยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในสัปดาห์ต่อมา[14][15][16]
- จู ไห่หยาง ตัดศีรษะ หยาง ซิน ที่เวอร์จิเนียเทค เป็นคดีฆาตกรรมในมหาวิทยาลัยครั้งแรก นับตั้งแต่เหตุกราดยิงที่มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียเทค[17]
- 26 มกราคม - เกิดสุริยุปราคาวงแหวนในประเทศอินโดนีเซีย[18][19]
กุมภาพันธ์
[แก้]- 2 กุมภาพันธ์ - ประธานาธิบดีแห่งอิหร่าน มาห์มูด อาห์มาดิเนจาด ประกาศจะส่งดาวเทียม "โอมิด" ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ[20]
- 7 กุมภาพันธ์ - เกิดเหตุไฟป่าในรัฐวิคตอเรีย ประเทศออสเตรเลีย มีผู้เสียชีวิต 173 คน บาดเจ็บมากกว่า 500 คน และมีผู้ไร้ที่อยู่อาศัยกว่า 7,500 คน
- 27 กุมภาพันธ์-1 มีนาคม - การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 14 ที่ชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
มีนาคม
[แก้]- 2 มีนาคม - โจเอา เบร์นาร์ดู วีเอรา ประธานาธิบดีแห่งกินี-บิสเซา ถูกลอบสังหารในบ้านพัก[21]
- 4 มีนาคม - ศาลอาญาระหว่างประเทศแจ้งดำเนินดคีประธานาธิบดีซูดาน นายอูมัร ฮะซัน อะห์มัด อัลบะชีร์ ในข้อหาอาชญากรรมสงคราม ในแคว้นดาฟูร์ นับเป็นประมุขแห่งรัฐคนแรกที่ถูกฟ้องร้องโดยศาลอาญาระหว่างประเทศ[22]
- 27 มีนาคม - เกิดเหตุเขื่อนซิตู กินตังแตก ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันในบริเวณชานกรุงจาการ์ตา มีผู้เสียชีวิต 99 ราย [23]
เมษายน
[แก้]- 1 เมษายน - อัลเบเนียและโครเอเชียเข้าร่วมกับองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ [24]
- 2 เมษายน - การประชุมจี-20 เพื่อหาข้อยุติในการแก้ไขปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก เริ่มขึ้น ณ กรุงลอนดอน
- 6 เมษายน - เกิดแผ่นดินไหว แมกนิจูด 6.3 ที่เมืองลากวีลา แคว้นอาบรุซโซ ประเทศอิตาลี ทำให้มีผู้เสียชีวิต 308 คน[25] บาดเจ็บมากกว่า 1,500 คน[26] และไร้ที่อยู่อาศัยมากกว่า 65,000 คน[25]
- 8 เมษายน - ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์อูฐในเมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ประสบความสำเร็จในการโคลนนิ่งอูฐเป็นครั้งแรกของโลก[27]
- 9 เมษายน - คิม จองอิล ปรากฏตัวแก่สาธารณะเป็นครั้งแรกในการประชุมของรัฐสภาประเทศเกาหลีเหนือ ตั้งแต่เขาถูกสงสัยว่าป่วยหนัก[28]
- 10 เมษายน - การจัดการประชุมสุดยอดอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา ที่เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี แต่ถูกเลื่อนออกไปเมื่อกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติได้เข้าปิดล้อมและบุกเข้าไปในสถานที่จัดประชุม นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตกรุงเทพมหานครและพื้นที่โดยรอบ[29][30]
- 21 เมษายน - หอสมุดดิจิทัลแห่งโลกเปิดตัวที่สำนักงานใหญ่ของยูเนสโก ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส[31]
- 25 เมษายน - เริ่มเกิดการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ข้ามประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา[32][33][34]
- 29 เมษายน - องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือได้ขับทูตรัสเซีย 2 คนออกจากสำนักงานใหญ่ขององค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือในกรุงบรัสเซลส์ เนื่องจากเรื่องอื้อฉาวในการสอดแนมเอสโตเนีย[35]
พฤษภาคม
[แก้]- 5 พฤษภาคม - เกิดความพยายามก่อรัฐประหารใกล้กับกรุงทบิลิซี เมืองหลวงของจอร์เจีย
- 18 พฤษภาคม - สงครามกลางเมืองศรีลังกาสิ้นสุดลงด้วยความพ่ายแพ้ทางทหารของกองทัพพยัคฆ์ปลดปล่อยทมิฬอีแลม[36][37]
- 23 พฤษภาคม - โนห์-มูเฮียน อดีตประธานาธิบดีแห่งเกาหลีใต้ ถึงแก่อสัญกรรมเพราะตกลงไปในหุบเขาบริเวณใกล้บ้านพักของเขาในจังหวัดยองซางใต้ โดยตำรวจท้องถิ่นพบจดหมายลาตายในเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในบ้านของเขา[38]
มิถุนายน
[แก้]- 1 มิถุนายน - เครื่องบินแอร์ฟรานซ์เที่ยวบิน 447 จากรีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิลถึงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ตกในมหาสมุทรแอตแลนติก มีผู้เสียชีวิตถึง 228 คน
- 11 มิถุนายน - องค์การอนามัยโลกประกาศเลื่อนขั้นความรุนแรงของการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เป็นขั้นระบาดทั่วโลก ซึ่งเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2511[39]
- 12 มิถุนายน - มาห์มูด อาห์มาดิเนจาดได้รับเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดีของอิหร่านสมัยที่สอง เกิดการประท้วงของกลุ่มผู้สนับสนุนผู้สมัครฝ่ายค้านอีกเป็นเวลาหลายวันต่อมา
- 25 มิถุนายน ซุปเปอร์สตาร์ชาวอเมริกัน Michael Jackson เสียชีวิต
- 14-28 มิถุนายน - การแข่งขันฟุตบอลคอนเฟเดอเรชันส์คัพ ณ สาธารณรัฐแอฟริกาใต้
- 21 มิถุนายน - กรีนแลนด์ได้รับอำนาจในการออกกฎหมาย กิจการศาล และการควบคุมทรัพยากรธรรมชาติ และประกาศให้ภาษากะลาลลิซุตเป็นภาษาราชการ นับเป็นอีกก้าวหนึ่งในการแยกตัวเป็นเอกราชจากเดนมาร์ก[40]
- 28 มิถุนายน - เกิดรัฐประหารในฮอนดูรัส ประธานาธิบดีมานูเอล ซาลายา ถูกขับไล่ออกจากตำแหน่งและเนรเทศ[41]
- 29 มิถุนายน-7 กรกฎาคม - การแข่งขันเอเชียนยูธเกมส์ ครั้งที่ 1 จัดขึ้นที่ประเทศสิงคโปร์
- 30 มิถุนายน - เครื่องบินแอร์บัส เอ 310 สายการบินเยเมเนีย เที่ยวบินที่ 626 ประสบอุบัติเหตุตกในมหาสมุทรอินเดีย ใกล้กับประเทศคอโมโรส ขณะที่กำลังเดินทางจากเมืองโมโรนี ประเทศคอโมโรส ไปยังเมืองซานา ประเทศเยเมน ทำให้มีผู้เสียชีวิต 152 คน และมีผู้รอดชีวิตเพียงคนเดียว[42] [43]
กรกฎาคม
[แก้]- 3 กรกฎาคม - ค้นพบไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ 3 ชนิดในประเทศออสเตรเลีย ได้แก่ Australovenator wintonensis, Wintonotitan wattsi และ Diamantinasaurus matildae[44]
- 4 กรกฎาคม - องค์การนานารัฐอเมริกันพักตำแหน่งของฮอนดูรัส หลังจากที่คณะรัฐประหารปฏิเสธที่จะคืนตำแหน่งในกับอดีตประธานาธิบดีมานูเอล ซาลายา[45][46]
- 5 กรกฎาคม - เกิดเหตุการณ์ก่อจลาจลในอุรุมชี เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ทางภาคตะวันตกของประเทศจีน มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 197 คน[47] มีผู้บาดเจ็บ 1,680 คน[48]
- 8-10 กรกฎาคม - การประชุมจี 8 ครั้งที่ 35 ซึ่งจัดขึ้น ณ เมืองลากวีลา แคว้นอาบรุซโซ ประเทศอิตาลี [49]
- 15 กรกฎาคม - เครื่องบินสายการบินแคสเปียนแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 7908 ประสบอุบัติเหตุตกใกล้กับเมืองกาซวิน ประเทศอิหร่าน มีผู้เสียชีวิต 168 คน[50]
- 22 กรกฎาคม - เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงซึ่งกินเวลานานที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 21 ในประเทศอินเดีย เนปาล บังกลาเทศ ภูฏาน ตอนเหนือสุดของประเทศพม่า เข้าสู่ประเทศจีนตอนกลาง ส่วนประเทศไทยจะเห็นเป็นสุริยุปราคาบางส่วน ระหว่างเวลา 7.00-9.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น[51]
สิงหาคม
[แก้]- 1-9 สิงหาคม - กีฬาเอเชียนมาร์เชียลอาร์ตสเกมส์ 2009 ครั้งที่ 1 โดยมีประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการแข่งขัน ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเทพมหานคร มีสนามกีฬาหลักอยู่ที่อินดอร์สเตเดียม หัวหมาก[52][53]
- 3 สิงหาคม - โบลิเวียกลายเป็นประเทศแรกในทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งประกาศให้สิทธิคนพื้นเมืองในการปกครองตนเอง[54]
- 4 สิงหาคม - เครื่องบินสายการบินบางกอกแอร์เวย์ เที่ยวบินที่ 266 ซึ่งมีเส้นทางจากจังหวัดกระบี่ ถึงเกาะสมุย ได้เกิดอุบัติเหตุลื่นไถลออกนอกรันเวย์ และพุ่งชนเข้ากับอาคารหอบังคับการบินหลังเก่าของท่าอากาศยานสมุย ทำให้มีผู้บาดเจ็บ 7 คนและเสียชีวิต 1 คน[55]
- 7 สิงหาคม – พายุไต้ฝุ่นมรกต เคลื่อนที่เข้าถล่มไต้หวัน ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่ และเป็นน้ำท่วมครั้งร้ายแรงที่สุดในรอบ 50 ปีของไต้หวัน มีผู้เสียชีวิตกว่า 700 ราย[56]
กันยายน
[แก้]- 2 กันยายน - เกิดแผ่นดินไหว แมกนิจูด 7.0 ที่จังหวัดชวาตะวันตก ประเทศอินโดนีเซีย เบื้องต้นมีผู้เสียชีวิต 79 รายและทำให้เกิดดินถล่มในหลายพื้นที่ของจังหวัด[57]
- 26 - 30 กันยายน พายุไต้ฝุ่นกิสนา (กฤษณา) พัดผ่านกรุงมะนิลาบนเกาะลูซอนทางตอนเหนือของ ประเทศฟิลิปปินส์ จากนั้นได้เพิ่มความรุนแรงเป็นพายุไต้ฝุ่น พัดถล่มเวียดนาม กัมพูชา ลาว และไทย ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อยประมาณ 700 ราย
- 29 กันยายน - เกิดแผ่นดินไหว แมกนิจูด 8.0 ใกล้หมู่เกาะซามัว ทำให้เกิดคลื่นสึนามิพัดถล่มเกาะซามัวและบริเวณโดยรอบ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 189 ราย[58]
- 30 กันยายน - เกิดแผ่นดินไหว แมกนิจูด 7.9 นอกชายฝั่งเกาะสุมาตราใกล้เมืองปาดัง ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อเวลา 17.16 น. ตามเวลาท้องถิ่น ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 1,100 ราย[59]
ตุลาคม
[แก้]- 2 ตุลาคม - คณะกรรมการโอลิมปิกสากลประกาศเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนประจำปี ค.ศ. 2016 ในการประชุมคณะกรรมการโอลิมปิกสากล สมัยที่ 121 ที่กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก โดยเมืองริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิลได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน
- 20 ตุลาคม - นักดาราศาสตร์ชาวยุโรปค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบใหม่เพิ่มอีก 32 ดวง[60]
- 22 ตุลาคม - ไมโครซอฟท์วางจำหน่ายวินโดวส์ 7[61]
- 23-25 ตุลาคม - การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 15 จัดขึ้นที่อำเภอชะอำ และอำเภอหัวหิน
พฤศจิกายน
[แก้]- 3 พฤศจิกายน - สาธารณรัฐเช็กเป็นประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปประเทศสุดท้ายที่ลงนามในสนธิสัญญาลิสบอน พร้อมกับอนุมัติเงื่อนไขในสนธิสัญญาสู่กฎหมายยุโรป[62]
- 13 พฤศจิกายน - องค์การนาซา ประกาศการค้นพบน้ำบนดวงจันทร์[63]
- 14 พฤศจิกายน-15 พฤศจิกายน - สิงค์โปร์เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปก) ครั้งที่ 21
ธันวาคม
[แก้]- 1 ธันวาคม - สนธิสัญญาลิสบอนมีผลบังคับใช้[64]
วันสำคัญทางศาสนาและพิธีกรรม
[แก้]- 26 มกราคม - วันตรุษจีน
- 9 กุมภาพันธ์ - วันมาฆบูชา
- 8 เมษายน - ปัสกา เริ่มต้นขึ้น
- 12 เมษายน - วันอีสเตอร์ในคริสต์ศาสนาตะวันตก
- 13-15 เมษายน - สงกรานต์
- 8 พฤษภาคม - วันวิสาขบูชา
- 11 พฤษภาคม - วันพืชมงคล
- 7 กรกฎาคม - วันอาสาฬหบูชา
- 8 กรกฎาคม - วันเข้าพรรษา
- 22 สิงหาคม - เดือนรอมะฎอน เริ่มต้นขึ้น
- 4 ตุลาคม - วันออกพรรษา
- 2 พฤศจิกายน - วันลอยกระทง
- 25 ธันวาคม - วันคริสต์มาสในคริสต์ศาสนาตะวันตก และโบสถ์ในนิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์เป็นส่วนใหญ่
วันเกิด
[แก้]- 17 กุมภาพันธ์ - ริรชา พรเดชาพิพัฒน์ (ชิกิต้า เบบีมอนสเตอร์) สมาชิกเกิร์ลกรุ๊ปวงเบบีมอนสเตอร์
- 21 กุมภาพันธ์ - จิรดา โมแรน นักแสดงหญิงลูกครึ่งไทย-อเมริกัน
- 19 มิถุนายน - ศักดิพัฒน์ รัตนกุล โดรัม เฮนเซ่น นักแสดงชายลูกครึ่งไทย-เดนมาร์ก
- 4 พฤษภาคม - เจ้าชายเฮนริกแห่งเดนมาร์ก พระโอรสใน เจ้าชายโจอาคิมแห่งเดนมาร์ก และพระชายาพระองค์ที่2 เจ้าหญิงมารีแห่งเดนมาร์ก
วันถึงแก่กรรม
[แก้]มกราคม
[แก้]- 3 มกราคม
- แพต ฮินเกิล นักแสดงชาวอเมริกัน (เกิด 19 กรกฎาคม 2467)
- หม่อมหลวงมานิจ ชุมสาย นักเขียน นักภาษาศาสตร์ นักประวัติศาสตร์ นักการศึกษาชาวไทย (เกิด 5 ตุลาคม 2451)
- 5 มกราคม - สมชาย สามิภักดิ์ นักแสดง (เกิด 2470) [65]
- 7 มกราคม
- ไมเคิล ไรท์ นักคิด นักประพันธ์ และคอลัมนิสต์ชาวอังกฤษ (เกิด 12 เมษายน 2483)
- พูนทรัพย์ ตราโมท ศิลปินรุ่นแรกของวงการละครวิทยุของประเทศไทย (เกิด 29 ตุลาคม 2460)
- 22 มกราคม - เนี่ย อู้เซ็ง นักเขียนนิยายกำลังภายในชาวจีน (เกิด 5 เมษายน 2469)
กุมภาพันธ์
[แก้]- 12 กุมภาพันธ์ - สุพจน์ ด่านตระกูล นักเขียนผู้ชำระประวัติศาสตร์ (เกิด 9 กันยายน 2466[66])
มีนาคม
[แก้]- 2 มีนาคม - โจเอา เบร์นาร์ดู วีเอรา ประธานาธิบดีแห่งประเทศกินี-บิสเซา (เกิด 27 เมษายน 2482)
- 7 มีนาคม - จาง จายอน นักแสดงหญิงชาวเกาหลีใต้ (เกิด ปี 2526)
- 15 มีนาคม - ณรงค์ วงษ์สวรรค์ ('รงค์ วงษ์สวรรค์) นักประพันธ์และศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2538 (เกิด 20 พฤษภาคม 2475)
- 22 มีนาคม - พระครูสังวรณกิจ (หลวงปู่ทิม อัตตสันโต) อดีตเจ้าอาวาสวัดพระขาว (เกิด 10 มีนาคม 2456)
- 23 มีนาคม - ราอูล มาเซียส นักมวยสากลชาวเม็กซิโก (เกิด 28 กรกฎาคม 2477)
- 28 มีนาคม - โมรีซ ฌาร์ นักแต่งเพลง ผู้อำนวยเพลงชาวฝรั่งเศส (เกิด 13 กันยายน 2467)
เมษายน
[แก้]- 7 เมษายน - จิตต์ จงมั่นคง ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (เกิด 1 มกราคม 2465)
- 13 เมษายน - โนริยูกิ โคมัตสุ นักมวยสากลชาวญี่ปุ่น (เกิด 21 เมษายน 2522)
- 16 เมษายน - แสนศักดิ์ เมืองสุรินทร์ (บุญส่ง มั่นศรี) อดีตนักมวยแชมป์โลกชาวไทย รุ่นไลท์เวลเตอร์เวท (เกิด 13 สิงหาคม 2495)
พฤษภาคม
[แก้]- 19 พฤษภาคม - โรเบิร์ท เอฟ. เฟอร์ชกอทท์ นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน (เกิด 4 มิถุนายน 2459)
- 23 พฤษภาคม - โนห์-มูเฮียน ประธานาธิบดีคนที่ 16 แห่งสาธารณรัฐเกาหลี (เกิด 6 สิงหาคม 2489)
- 31 พฤษภาคม - มิลล์วินา ดีน ผู้รอดชีวิตชาวอังกฤษรายสุดท้ายจากเหตุเรือไททานิกอับปางเมื่อปี พ.ศ. 2455 (เกิด 2 กุมภาพันธ์ 2455) [67]
มิถุนายน
[แก้]- 3 มิถุนายน
- เดวิด คาร์ราดีน นักแสดงชาวอเมริกัน (เกิด 8 ธันวาคม 2479)
- โกโก้ เทเลอร์ นักดนตรีหญิงชาวอเมริกัน (เกิด 28 กันยายน 2471) [68]
- 6 มิถุนายน - สัมพันธ์ พันธุ์มณี ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เกิด 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470)
- 8 มิถุนายน - โอมาร์ บองโก ประธานาธิบดีคนที่ 4 แห่งสาธารณรัฐกาบอง (เกิด 30 ธันวาคม 2478) [69]
- 16 มิถุนายน - แจ้ง คล้ายสีทอง ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (คีตศิลป์) (เกิด 10 มีนาคม 2478) [70]
- 20 มิถุนายน - มณี พยอมยงค์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ (เกิด 2 มีนาคม 2473)
- 25 มิถุนายน
- ฟาร์ราห์ ฟอว์เซตต์ นักแสดงหญิงชาวอเมริกัน (เกิด 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490) [71]
- ไมเคิล แจ็กสัน นักร้องชาวอเมริกัน (เกิด 29 สิงหาคม พ.ศ. 2501)
กรกฎาคม
[แก้]- 2 กรกฎาคม - สภา ศรีสวัสดิ์ (ดี๋ ดอกมะดัน) นักแสดงตลก (เกิด 19 เมษายน พ.ศ. 2494)[72]
- 6 กรกฎาคม - โรเบิร์ต แม็กนามารา นักบริหารธุรกิจชาวอเมริกัน และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแห่งสหรัฐอเมริกา (เกิด 9 มิถุนายน พ.ศ. 2459)
- 10 กรกฎาคม - พิมล แจ่มจรัส นักเขียน นักแปล ผลงานด้านประวัติศาสตร์ (เกิด พ.ศ. 2477)
- 17 กรกฎาคม - วอลเทอร์ ครองไคท์ ผู้ประกาศข่าวชาวอเมริกัน (เกิด 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459)[73]
- 31 กรกฎาคม - บ็อบบี ร็อบสัน นักฟุตบอลและผู้จัดการทีมฟุตบอลชาวอังกฤษ (เกิด 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2476)
สิงหาคม
[แก้]- 1 สิงหาคม - คอราซอน อากีโน ประธานาธิบดีคนที่ 11 ของประเทศฟิลิปปินส์ (เกิด 25 มกราคม พ.ศ. 2476)
- 4 สิงหาคม - สวัสดิ์ ตันติสุข ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (เกิด 24 เมษายน พ.ศ. 2468)
- 8 สิงหาคม - จอห์น ฮิวส์ ผู้กำกับและนักเขียนภาพยนตร์ชาวอเมริกา (เกิด 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493)[74]
- 13 สิงหาคม - เลส พอล นักประดิษฐ์และนักดนตรีชาวอเมริกา (เกิด 9 มิถุนายน พ.ศ. 2458) [75]
- 18 สิงหาคม - คิม แดจุง ประธานาธิบดีคนที่ 15 แห่งสาธารณรัฐเกาหลี (เกิด 6 มกราคม พ.ศ. 2467)
- 25 สิงหาคม - เอ็ดเวิร์ด เทด เคนเนดี้ วุฒิสมาชิกสหรัฐอเมริกาชาวอเมริกัน (เกิด 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2475)[76]
กันยายน
[แก้]- 11 กันยายน - โยชิโตะ อุสึอิ นักเขียนการ์ตูนชาวญี่ปุ่น (เกิด 21 มิถุนายน พ.ศ. 2501)
- 12 กันยายน - นอร์แมน บอร์ล็อก นักวิชาการการเกษตรชาวอเมริกัน (เกิด 25 มีนาคม พ.ศ. 2457)
- 14 กันยายน - แพทริก สเวซี นักเต้น นักแสดง ชาวอเมริกัน (เกิด 18 สิงหาคม พ.ศ. 2495)
ตุลาคม
[แก้]- 1 ตุลาคม - บัณฑิต ฤทธิ์ถกล ผู้กำกับและนักเขียนบทภาพยนตร์ (เกิด พ.ศ. 2494)
- 3 ตุลาคม - ฟาติมะห์ อัลชารีฟ ราชินีแห่งลิเบีย (ประสูติ พ.ศ. 2454)
- 10 ตุลาคม - สตีเฟน เกตลี นักร้องชาวไอร์แลนด์ (เกิด 17 มีนาคม พ.ศ. 2519)
- 12 ตุลาคม - สมบูรณ์ เวียงชัย (ซาไก จ๊อคกี้ยิม) นักมวยไทย (เกิด 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2533)
- 13 ตุลาคม - อัล มาร์ติโน นักร้องและนักแสดงชาวอเมริกัน (เกิด 7 ตุลาคม พ.ศ. 2470)
- 22 ตุลาคม - ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (เกิด 21 เมษายน พ.ศ. 2483)
พฤศจิกายน
[แก้]- 5 พฤศจิกายน - พล.อ.เสริม ณ นคร อดีตผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) (เกิด 2 มีนาคม พ.ศ. 2463)
- 10 พฤศจิกายน - โรแบร์ท เอนเคอ นักฟุตบอลชาวเยอรมัน (เกิด 24 สิงหาคม พ.ศ. 2520)
- 20 พฤศจิกายน - จอห์น อิสรัมย์ นักแสดงมอเตอร์ไซค์ผาดโผนชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2498)
- 24 พฤศจิกายน - สมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีคนที่ 25 ของประเทศไทย (เกิด 13 มิถุนายน พ.ศ. 2478)
- 29 พฤศจิกายน - เจ้าหญิงเฟริยาลแห่งอียิปต์ พระราชธิดาพระองค์แรกในพระเจ้าฟารุกที่ 1 แห่งอียิปต์ และสมเด็จพระราชินีฟารีดาแห่งอียิปต์ (ประสูติ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481)
ธันวาคม
[แก้]- 4 ธันวาคม - เอ็ดเวิร์ด ฟาตู นักมวยปล้ำชาวอเมริกันซามัว
- 5 ธันวาคม - พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิทธิ์นฤมล พระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 (ประสูติ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2464)
- 8 ธันวาคม - หลวงปู่จันทร์แรม เขมสิริ (พระครูเขมคุณโสภณ) (อดีตเจ้าอาวาส วัดเกาะแก้วธุดงคสถาน อ.บ้านด่าน จ.บุรีรัมย์) (เกิด 17 เมษายน พ.ศ. 2465)
- 20 ธันวาคม - บริตทานี เมอร์ฟี นักแสดง และนักร้องชาวอเมริกัน (เกิด 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520)
- 27 ธันวาคม - รุจน์ รณภพ ผู้กำกับ นักแสดงชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2474)
- 28 ธันวาคม - เดอะเรฟ นักดนตรี (เกิด 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524)
- 30 ธันวาคม - อับดูร์ราห์มาน วาฮิด อดีตประธานาธิบดีอินโดนีเซีย (เกิด 7 กันยายน พ.ศ. 2483)
บันเทิงคดีที่อ้างอิงถึงปีนี้
[แก้]เกมคอมพิวเตอร์
[แก้]- ร็อคแมน 2
- ฮาล์ฟไลฟ์ (พ.ศ. 2541)
- ไดโนไครซิส (พ.ศ. 2542)
- Metal Gear Solid 2: Sons of Liberty (พ.ศ. 2544)
- เลฟต์โฟร์เดด (พ.ศ. 2551)
- เรสซิเดนต์อีวิล 5 (พ.ศ. 2552)
ภาพยนตร์
[แก้]- พลิกเวลาผ่านรก (Freejack) (พ.ศ. 2535) ดำเนินเรื่องภายในปีนี้[77]
- 2009 ล่าทะลุแผ่นดินเดือด (2009 Lost Memories) (พ.ศ. 2545) ดำเนินเรื่องภายในปีนี้
- พลิกวิกฤต ขีดชะตาโลก (Children of Men) (พ.ศ. 2549) ตามเนื้อเรื่องของภาพยนตร์ ปีนี้เป็นปีที่ผู้หญิงทุกคนในโลกหยุดการตั้งครรภ์อย่างลึกลับ
- ไอ แอม เลเจนด์ ข้าคือตำนานพิฆาตมหากาฬ (I Am Legend) (พ.ศ. 2550) เริ่มเนื้อเรื่องในฤดูหนาวของปีนี้
- วันวิบัติอสูรกายถล่มโลก (Cloverfield) (พ.ศ. 2551): เริ่มดำเนินเรื่องใน วันที่ 22 พฤษภาคม ปีนี้
- อีเกิ้ล อาย แผนสังหารพลิกนรก (Eagle Eye) (พ.ศ. 2551) เหตุการณ์ในเนื้อเรื่องเริ่มตั้งแต่วันที่ 26 มกราคม-12 เมษายน 2552
- รหัสวินาศโลก (Knowing) (พ.ศ. 2552) ตามเนื้อเรื่องของภาพยนตร์ วันที่ 19 ตุลาคม 2552 เกิดการปะทุของดวงอาทิตย์ ทำลายสิ่งมีชีวิตทั้งหมดบนโลก
- แฮอุนแด มหาวินาศมนุษยชาติ (พ.ศ. 2552) เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ในเกาะสึจิชิม่า ญี่ปุ่น ทำให้เกิดคลื่นสึนามิขนาดมหึมาถล่มเมืองพูซานเกาหลีใต้
- ซัลลี่ ปาฏิหาริย์ที่แม่น้ำฮัดสัน (Sully) (พ.ศ. 2559) เล่าถึงเหตุการณ์ที่เชสลีย์ บี. ซัลเลนเบอร์เกอร์ กัปตันสายการบินยูเอสแอร์เวย์ เที่ยวบินที่ 1549 นำเครื่องลงจอดฉุกเฉินบนแม่น้ำฮัดสัน รัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในวันที่ 15 มกราคมของปีนี้
การ์ตูน
[แก้]- เดธโน้ต หลังจากข้ามเวลามาแล้ว
- มาครอส ยานมาครอสถือกำเนิด เริ่มออกเดินทาง และทำสงครามกับ เซ็นโทราตี้
- กันดั้ม ฉลองครบรอบ 30 ปี
- ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน เดอะมูฟวี่ ตอนที่ 13 ปริศนานักล่าทรชนทมิฬ
รางวัล
[แก้]- สาขาเคมี – เวกัฏรามัน รามกฤษณัน, โทมัส เอ. สไตรทซ์, อาดา อี. โยนาธ[78]
- สาขาวรรณกรรม – เฮอร์ทา มึลเลอร์[79]
- สาขาสันติภาพ – บารัก โอบามา
- สาขาฟิสิกส์ – ชาร์ลส์ เค. เกา, วิลลาร์ด บอยล์, จอร์จ อี. สมิธ[80]
- สาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ – เอลิซาเบ็ธ เอช. แบล็กเบิร์น, แครอล ดับเบิลยู. ไกรเดอร์, แจ็ค ดับเบิลยู. โซสตาก[81]
- สาขาเศรษฐศาสตร์ – เอลินอร์ ออสทรอม, โอลิเวอร์ อี. วิลเลียมสัน[82]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- หว่า แซ่อึ้ง, เลี๊ยกไฮ้ แซ่โอ้ว, ปฏิทิน 100 ปี เทียบ 3 ภาษา, (ไม่ทราบปีที่พิมพ์).
- ↑ ค.ศ. 2009 ปีแห่งดาราศาสตร์สากล เก็บถาวร 2011-11-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน กองยุโรปเพื่อไทย, 3 พ.ย. 2549
- ↑ "News Release - IAU0606: The International Astronomical Union announces the International Year of Astronomy 2009". International Astronomical Union. October 27, 2006. สืบค้นเมื่อ 2008-11-01.
- ↑ "The International Year of Astronomy 2009". IYA2009. สืบค้นเมื่อ 2008-11-01.
- ↑ Resolution 189 session 61 International Year of National Fibres, 2009 on 20 December 2006
- ↑ Gazprom says Ukraine blocked 3 key pipes to Europe รอยเตอร์, 6 ม.ค. 2552 (อังกฤษ)
- ↑ "Somali joy as Ethiopians withdraw". News article. BBC News. 2009-01-13. p. 2. สืบค้นเมื่อ 2009-01-25.
- ↑ Pilot praised for 'masterful' landing ซีเอ็นเอ็น, 16 ม.ค. 2552 (อังกฤษ)
- ↑ "Israel declares ceasefire in Gaza". BBC. January 17, 2009. สืบค้นเมื่อ January 17, 2009.
- ↑ Haaretz, January 18, 2009, [1] เก็บถาวร 2010-03-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ CNN January 18, 2009 [2]
- ↑ BBC January 18, 2009 [3]
- ↑ "D.C.'s Inauguration Head Count: 1.8 Million" (ภาษาอังกฤษ). 2009-04-08. สืบค้นเมื่อ 2009-04-08.
- ↑ "Last Israeli troops 'leave Gaza'". BBC News. January 21, 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 27, 2021. สืบค้นเมื่อ July 7, 2009.
- ↑ Yanir Yagna (February 28, 2009). "At least six Gaza rockets hit southern Israel". Haaretz. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 11, 2015. สืบค้นเมื่อ 2015-04-15.
- ↑ "Kassam rocket strikes Eshkol Region". The Jerusalem Post. February 26, 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 4, 2015. สืบค้นเมื่อ 2015-04-15.
- ↑ "'Five rockets' fired into Israel". BBC News. February 28, 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 28, 2009. สืบค้นเมื่อ February 28, 2009.
- ↑ "Killer decapitates Va. Tech student, police say - CNN.com". www.cnn.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 29, 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-01-29.
- ↑ Catalog of Solar Eclipses: 2001 to 2100
- ↑ สุริยุปราคา 26 มกราคม 2552 จาก สมาคมดาราศาสตร์ไทย
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-07. สืบค้นเมื่อ 2009-07-07.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-29. สืบค้นเมื่อ 2009-06-14.
- ↑ "VIDEO: ICC issues arrest warrant for Bashir". Reuters. 4 March 2009. สืบค้นเมื่อ 4 March 2009.
- ↑ Indonesian dam flood toll rises to 99, 151 missing เก็บถาวร 2009-03-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน RIA Novosti, 30 มี.ค. 2552 (อังกฤษ)
- ↑ Albania, Croatia join NATO military alliance เก็บถาวร 2009-04-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เอเอฟพีผ่านทางกูเกิลนิวส์, 1 พ.ค. 2552 (อังกฤษ)
- ↑ 25.0 25.1 "Pope visits Italian village hit hardest by earthquake" The Guardian 28 เมษายน 2552
- ↑ "Abruzzo in ginocchio, i morti sono 272 Ancora scosse. Venerdì i funerali di Stato". Corriere della Sera (ภาษาอิตาลี). Milan. 8 April 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-29.
- ↑ World's first cloned camel unveiled in Dubai (อังกฤษ) เทเลกราฟ, 14 เม.ย. 2552
- ↑ [4]
- ↑ "AP Top News at 4:00 a.m. EDT". Associated Press. 12 April 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-17. สืบค้นเมื่อ 2009-04-12.
- ↑ "AP Top News at 4:00 a.m. EDT". BBC News. 12 April 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-04-12.
- ↑ [5]เก็บถาวร 2009-04-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เก็บถาวร 2009-04-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน World Digital Library to launch at UNESCO (อังกฤษ) เอเอฟพีผ่านทางกูเกิลนิวส์.
- ↑ "Statement by WHO Director-General, Dr Margaret Chan 25 April 2009 — Swine influenza". World Health Organization. 2009-04-25. สืบค้นเมื่อ 2009-04-26.
- ↑ Deadly new flu strain erupts in Mexico, U.S.
- ↑ "Canadian Governments Confirm Six Cases of Swine Flu (Update2)". Bloomberg L.P. April 26, 2009. สืบค้นเมื่อ April 26, 2009.
- ↑ "NATO expels two Russians over Estonia spy scandal". Reuters. April 30, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-03. สืบค้นเมื่อ May 7, 2009.
- ↑ C. Bryson Hull and Ranga Sirilal. "Sri Lanka's long war reaches end, Tigers defeated". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-11. สืบค้นเมื่อ 2009-05-31.
- ↑ "Sri-Lanka-liberated-from-terror". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-15. สืบค้นเมื่อ 2009-06-15.
- ↑ "โอบามา-อาโซะ" ร่วมแสดงความเสียใจอดีตผู้นำโสมสิ้น เก็บถาวร 2010-10-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน หนังสือพิมพ์มติชนออนไลน์, 23 พ.ค. 2552
- ↑ "World now at the start of 2009 influenza pandemic". World Health Organization. 11 June 2009. สืบค้นเมื่อ 30 June 2009.
- ↑ BBC: Self-rule introduced in Greenland
- ↑ Honduran leader forced into exile
- ↑ Girl survives Yemen plane crash, จากบีบีซี นิวส์, 1 ก.ค. 2552, สืบค้นวันที่ 4 ก.ค. 2552 (อังกฤษ)
- ↑ Rescuers spot wreckage of plane that crashed, จากซีเอ็นเอ็น, 30 ก.ค. 2552, สืบค้นวันที่ 4 ก.ค. 2552 (อังกฤษ)
- ↑ New dinosaurs found in Australia, บีบีซี, 3 ก.ค. 2552,สืบค้นวันที่ 3 ก.ค. 2552 (อังกฤษ)
- ↑ http://www.reuters.com/article/newsOne/idUSN0211965120090705
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-07-11. สืบค้นเมื่อ 2009-07-07.
- ↑ Xinjiang riot hits regional anti-terror nerve. จาก China view, (18 ก.ค. 2552), สืบค้นวันที่ 25 ก.ค. 2552 (อังกฤษ)
- ↑ Number of injured in Urumqi riot increases to 1,680, จาก China view, (12 ก.ค. 2552), สืบค้นวันที่ 25 ก.ค. 2552 (อังกฤษ)
- ↑ G8 leaders 'hopeful on economy', จากบีบีซี, (8 ก.ค. 2552), สืบค้นวันที่ 12 ก.ค. 2552 (อังกฤษ)
- ↑ Scores killed in Iran plane crash, จากบีบีซี, (15 ก.ค. 2552), สืบค้นวันที่ 25 ก.ค. 2552 (อังกฤษ)
- ↑ อุปราคาในปี 2552 จาก สมาคมดาราศาสตร์ไทย
- ↑ เอเชียนมาร์เชียลอาร์ตสเกมส์ ครั้งที่ 1 เก็บถาวร 2009-06-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
- ↑ "มาร์เชียลอาร์ท" เปิดฉาก "จา พนม" นุ่งหนุมานจุดคบเพลิง เก็บถาวร 2011-08-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, จากเว็บไซต์ผู้จัดการ, (1 ส.ค. 2552), สืบค้นวันที่ 4 ส.ค. 2552
- ↑ "Evo inicia la implementación de la autonomía indígena con fiesta". La Razón. August 3, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-06. สืบค้นเมื่อ September 1, 2009. (สเปน)
- ↑ เครื่อง “บางกอกแอร์ฯ” ชนหอบังคับการบินเก่าสมุย กัปตันเสียชีวิต-ลูกเรือพร้อมผู้โดยสารรอด เก็บถาวร 2016-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, จากเว็บไซต์ผู้จัดการ, (4 ส.ค. 2552), สืบค้นวันที่ 4 ส.ค. 2552
- ↑ "Taiwan president under fire for go it alone handling of typhoon accepts US aid". Telegraph. August 16, 2009. สืบค้นเมื่อ August 16, 2009.
- ↑ "Korban Tewas Akibat Gempa Sudah 79 Orang" หนังสือพิมพ์ Kompas, 8 ก.ย. 2552
- ↑ "Tsunami alle Samoa Americane "Le vittime accertate sono 141"" (ภาษาอิตาลี). www.repubblica.it. 2009-09-29. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2552.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Indonesia quake deaths pass 1000". บีบีซี. 2009-10-01. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2552.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Maggie Fox; Jackie Frank (2009-10-19). "European scientists find trawl of 32 new planets". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2009-10-20.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-27. สืบค้นเมื่อ 2016-05-09.
- ↑ http://www.cnn.com/2009/WORLD/europe/11/03/czech.eu.lisbon.treaty/index.html
- ↑ "NASA's LCROSS Impacts Confirm Water in Lunar Crater" (Press release). NASA. 2009-11-13. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-21. สืบค้นเมื่อ 2009-11-21.
Preliminary data from NASA's Lunar Crater Observation and Sensing Satellite, or LCROSS, indicates the mission successfully uncovered water in a permanently shadowed lunar crater.
- ↑ BBC News
- ↑ ดารารุ่นใหญ่ สมชาย สามิภักดิ์ เสียชีวิตแล้วอย่างสงบด้วยวัย 82 ปี.จาก Sanook! News, สืบค้นวันที่ 8 มิ.ย. 2552.
- ↑ ประวัติย่อลุงสุพจน์ ด่านตระกูล.จากเว็บไซต์ฟ้าเดียวกัน,สืบค้นวันที่ 8 มิ.ย. 2552.
- ↑ ผู้รอดชีวิตรายสุดท้ายจาก'ไททานิก'เสียชีวิตแล้ว เก็บถาวร 2013-07-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.จากเว็บไซต์ไทยรัฐออนไลน์.
- ↑ ราชินีเพลงบลูส์ของสหรัฐเสียชีวิตแล้ว.จากเว็บไซต์ไทยรัฐออนไลน์.
- ↑ สเปน - ปธน.กาบอง ถึงอสัญกรรม เก็บถาวร 2016-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.จากเว็บไซต์ครอบครัวข่าว ดอตคอม,สืบค้นวันที่ 9 มิ.ย. 2552.
- ↑ ครูแจ้ง คล้ายสีทอง ศิลปินแห่งชาติสิ้นใจ เก็บถาวร 2014-04-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.จากเว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ ,สืบค้นวันที่ 16 มิ.ย. 2552.
- ↑ ย้อนชีวิตการแสดง 'ฟาร์ราห์ ฟอว์เซ็ตต์'.จากเว็บไซต์ข่าวไทยรัฐออนไลน์, สืบค้นวันที่ 26 มิ.ย. 2552.
- ↑ ตลกชื่อดัง"ดี๋ ดอกมะดัน"เสียชีวิตแล้ว เก็บถาวร 2016-04-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, จากเว็บไซต์ คมชัดลึก, สืบค้นวันที่ 2 ก.ค. 2552
- ↑ "ครอนไคท์"ตำนานผู้ประกาศข่าวสหรัฐเสียชีวิต เก็บถาวร 2016-04-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, จากเว็บไซต์คมชัดลึก, (18 ก.ค. 2552), สืบค้นวันที่ 18 ก.ค. 2552
- ↑ จอห์น ฮิวส์ ผู้กำกับหนังแนวตลกเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจล้มเหลว เก็บถาวร 2014-04-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, จาก PochNews.com, (8 ส.ค. 2552), สืบค้นวันที่ 8 ส.ค. 2552
- ↑ bituary: Les Paul, จากบีบีซี, (13 ส.ค. 2552), สืบค้นวันที่ 13 ส.ค. 2552
- ↑ วุฒิสมาชิกเอ็ดเวิร์ด เคนเนดี้ เสียชีวิตแล้วด้วยโรคมะเร็งในสมอง เก็บถาวร 2012-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, จาก MCot.net ,(26 ส.ค. 2552), สืบค้นวันที่ 27 ส.ค. 2552
- ↑ Crude futures: Park Slope 2009 according to Freejack (1992), จาก Crude Futures, 6 ก.พ. 2006, สืบค้นวันที่ 11 ก.ค. 2552 (อังกฤษ)
- ↑ "The Nobel Prize in Chemistry 2009". Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ 2009-10-07.
- ↑ "The Nobel Prize in Literature 2009". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2009-10-08.
- ↑ "The Nobel Prize in Physics 2009". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2009-10-06.
- ↑ "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 2009". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2552.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ http://nobelprize.org/nobel_prizes/economics/laureates/ รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์, สืบค้นวันที่ 23 ต.ค. 2552 (อังกฤษ)