พายุไต้ฝุ่นมรกต (พ.ศ. 2552)
พายุไต้ฝุ่นมรกตขณะมีกำลังแรงสูงสุดเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2552 | |
ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา | |
---|---|
ก่อตัว | 2 สิงหาคม พ.ศ. 2552 |
สลายตัว | 11 สิงหาคม พ.ศ. 2552 |
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง | |
10-นาที ของเฉลี่ยลม (JMA) | |
ความเร็วลมสูงสุด | 130 กม./ชม. (80 ไมล์/ชม.) |
ความกดอากาศต่ำสุด | 945 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์) ; 27.91 นิ้วปรอท |
พายุไต้ฝุ่น | |
10-นาที ของเฉลี่ยลม (TMD) | |
ความเร็วลมสูงสุด | 130 กม./ชม. (80 ไมล์/ชม.) |
ความกดอากาศต่ำสุด | 945 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์) ; 27.91 นิ้วปรอท |
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 | |
1-นาที ของเฉลี่ยลม (SSHWS/JTWC) | |
ความเร็วลมสูงสุด | 150 กม./ชม. (90 ไมล์/ชม.) |
ความกดอากาศต่ำสุด | 954 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์) ; 28.17 นิ้วปรอท |
ผลกระทบ | |
ผู้เสียชีวิต | 789 ราย |
ความเสียหาย | $6.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าเงินปี พ.ศ. 2552 USD) |
พื้นที่ได้รับผลกระทบ | ฟิลิปปินส์, ไต้หวัน, ญี่ปุ่น, คาบสมุทรเกาหลี, จีน |
IBTrACS | |
ส่วนหนึ่งของ ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2552 |
พายุไต้ฝุ่นมรกต (อักษรโรมัน: Morakot)[nb 1] หรือที่ในประเทศฟิลิปปินส์เรียกว่า พายุไต้ฝุ่นกีโก (ตากาล็อก: Kiko)[nb 2] เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ที่เคลื่อนตัวพัดถล่มประเทศไต้หวัน พายุไต้ฝุ่นมรกตเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 13, พายุโซนร้อนลูกที่ 8 และพายุไต้ฝุ่นลูกที่ 4 ในฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2552 พายุได้สร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงในประเทศไต้หวัน เช่น คร่าชีวิตผู้คนไปประมาณ 673 ราย มีผู้สูญหายประมาณ 26 ราย และสร้างความเสียหายมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 110 พันล้านดอลลาร์ไต้หวันใหม่ (3.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เป็นต้น ก่อตัวขึ้นจากหย่อมความกดอากาศต่ำเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2552 พายุลูกนี้เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือก่อนที่จะเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตก และพัฒนาเป็นพายุโซนร้อน พายุค่อย ๆ ทวีกำลังแรงขึ้นเมื่อเคลื่อนตัวเข้าใกล้ประเทศไต้หวัน และทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 1 เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่นมรกตมีกำลังแรงสูงสุดด้วยความเร็วลมสูงสุด 1 นาทีที่ 150 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (90 ไมล์ต่อชั่วโมง) และด้วยความเร็วลมสูงสุด 10 นาทีที่ 130 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (80 ไมล์ต่อชั่วโมง)[nb 3] ความกดอากาศที่ 945 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.91 นิ้วของปรอท) ในวันที่ 7 สิงหาคม หลังจากนั้นพายุก็เคลื่อนตัวช้าลง และค่อย ๆ อ่อนกำลังลง จนขึ้นฝั่งตอนกลางของประเทศไต้หวันในช่วงบ่ายของวันนั้นโดยกลายเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง และในวันต่อมาพายุก็ค่อย ๆ เคลื่อนตัวผ่านประเทศไต้หวันก่อนที่จะเข้าสู่ช่องแคบของประเทศไต้หวัน และเคลื่อนตัวไปทางทิศเหนือก่อนจะขึ้นฝั่งประเทศจีนเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม หลังจากนั้นพายุก็เคลื่อนตัวไปทางทิศเหนือพร้อมกับอ่อนกำลังลงก่อนที่จะเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือในเวลาต่อมา พายุเริ่มเสื่อมถอยลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ และเศษซากของพายุที่เหลืออยู่ในทะเลจีนตะวันออกก่อนที่จะสลายตัวทางตอนเหนือของประเทศญี่ปุ่น
พายุไต้ฝุ่นมรกตได้ก่อให้เกิดฝนตกหนักโดยมีปริมาณน้ำฝนสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 2,777 มิลลิเมตร (109.3 นิ้ว) ซึ่งสูงกว่าสถิติเดิมอยู่ที่ประมาณ 1,736 มิลลิเมตร (68.35 นิ้ว) ที่พายุไต้ฝุ่นเฮิร์บก่อไว้ในปี พ.ศ. 2539 อย่างมาก พายุฝนฟ้าคะนองได้ทำให้เกิดโคลนถล่ม และน้ำท่วมรุนแรง ทั่วทางตอนใต้ของประเทศไต้หวัน ดินถล่มได้ฝังหมู่บ้านเซียวหลินทั้งหมด และคร่าชีวิตผู้คนไปกว่าประมาณ 400 ราย พายุที่เคลื่อนตัวช้ายังสร้างความเสียหายเป็นวงกว้างในประเทศจีนส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 8 ราย และสร้างความเสียหายมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ บ้านเรือนเกือบประมาณ 2,000 หลัง ได้รับความเสียหายอย่างหนัก และมีรายงานว่าบ้านเรือนอีกประมาณ 136,000 หลัง ได้รับความเสียหาย หลังจากที่พายุลูกนี้เกิดขึ้นรัฐบาลของประเทศไต้หวันถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักถึงความล่าช้าในการตอบสนองต่อภัยพิบัติ ในช่วงแรกได้ส่งทหารเพียงประมาณ 2,100 นาย ไปยังพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ และต่อมาจำนวนทหารที่เข้าไปช่วยเหลือผู้รอดชีวิตเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 46,000 นาย เจ้าหน้าที่กู้ภัยสามารถช่วยเหลือผู้รอดชีวิตได้หลายพันคนจากหมู่บ้านที่ถูกฝังอยู่ และเมืองที่ห่างไกลทั่วเกาะ ไม่กี่วันต่อมาประธานาธิบดีหม่า อิงจิ่ว ของประเทศไต้หวันได้ออกมาขอโทษต่อความล่าช้าในการตอบสนองของรัฐบาลต่อสาธารณชนเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม[1]
รัฐบาลของประเทศไต้หวันได้ประกาศว่าจะเริ่มแผนการฟื้นฟูพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายทางตอนใต้ของประเทศไต้หวันมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 100 พันล้านดอลลาร์ไต้หวันใหม่ (3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)[2] เป็นระยะเวลา 3 ปี ไม่กี่วันหลังจากที่พายุได้เคลื่อนตัวผ่านไป ความช่วยเหลือระหว่างประเทศก็เริ่มถูกส่งไปยังเกาะแห่งนี้ พายุไต้ฝุ่นมรกตยังทำให้เกิดน้ำท่วมรุนแรงในทางตอนเหนือของประเทศฟิลิปปินส์อีกด้วย ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนไปประมาณ 26 ราย เนื่องจากลมมรสุมทางตะวันตกเฉียงใต้ที่แรงขึ้น[3]
การถอนออกจากรายชื่อ
[แก้]หลังจากที่พายุลูกนี้ได้ก่อให้เกิดความเสียหาย และคร่าชีวิตผู้คนไปเป็นจำนวนมาก จึงทำให้ชื่อ มรกต ถูกถอนออกจากรายชื่อพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิกอย่างเป็นทางการในภายหลัง คณะกรรมการไต้ฝุ่นได้เลือกชื่อ อัสนี เป็นชื่อแทนในรายชื่อพายุหมุนเขตร้อนเริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2554 และถูกใช้เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2558
ดูเพิ่ม
[แก้]- ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2552
- รายชื่อของพายุมรกต
- พายุไต้ฝุ่นเซาเดโลร์ พ.ศ. 2558 เป็นพายุไต้ฝุ่นที่มีเส้นทางที่คล้ายกัน
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ "มรกต" เป็นชื่อพายุหมุนเขตร้อนในรายชื่อชุดที่ 3 ลำดับที่ 26 ของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกฝั่งเหนือ และส่งโดยประเทศไทย
- ↑ พายุไต้ฝุ่น "กีโก" (3 ถึง 9 สิงหาคม พ.ศ. 2552) จากรายงานของสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA)
- ↑ ความเร็วลมเฉลี่ยนี้ใช้ความเร็วลมเฉลี่ยใน 10 นาที เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอื่น ๆ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Staff Writer (2009-08-20). "Billions allocated for reconstruction in wake of typhoon Morakot". AsiaNews (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 21 August 2009.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "'Kiko' death toll rises to 10" (ภาษาอังกฤษ). ABS-CBN News. 2009-08-07. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 August 2009. สืบค้นเมื่อ 6 December 2009.
- ↑ "'Kiko' death toll rises to 10; 30K folks affected in Luzon" (ภาษาอังกฤษ). GMANews. 2009-08-07. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 September 2009. สืบค้นเมื่อ 6 December 2009.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- พายุหมุนเขตร้อนระบบดิจิทัล (Digital Typhoon) ข้อมูลของพายุไต้ฝุ่นมรกต (0908)
- สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ข้อมูลเส้นทางของพายุไต้ฝุ่นมรกต (0908)
- สำนักงานอุตุนิยมวิทยาไทย (TMD) ข้อมูลเส้นทางของพายุไต้ฝุ่นมรกต (0908)
- ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ข้อมูลเส้นทางของพายุไต้ฝุ่นมรกต (09W)
- พายุหมุนเขตร้อนระดับ 1
- พายุหมุนเขตร้อน
- พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง
- พายุไต้ฝุ่น
- ภัยธรรมชาติในปี พ.ศ. 2552
- ประเทศฟิลิปปินส์ในปี พ.ศ. 2552
- ประเทศไต้หวันในปี พ.ศ. 2552
- ประเทศญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2552
- ประเทศเกาหลีใต้ในปี พ.ศ. 2552
- ประเทศเกาหลีเหนือในปี พ.ศ. 2552
- ประเทศจีนในปี พ.ศ. 2552
- บทความพายุหมุนเขตร้อน
- พายุไต้ฝุ่นในประเทศฟิลิปปินส์
- พายุไต้ฝุ่นในประเทศไต้หวัน
- พายุไต้ฝุ่นในประเทศญี่ปุ่น
- พายุไต้ฝุ่นในประเทศเกาหลีใต้
- พายุไต้ฝุ่นในประเทศเกาหลีเหนือ
- พายุไต้ฝุ่นในประเทศจีน
- ภัยพิบัติในประเทศฟิลิปปินส์
- ภัยพิบัติในประเทศไต้หวัน
- ภัยพิบัติในประเทศญี่ปุ่น
- ภัยพิบัติในประเทศเกาหลีใต้
- ภัยพิบัติในประเทศเกาหลีเหนือ
- ภัยพิบัติในประเทศจีน