สมเด็จพระราชินีฟารีดาแห่งอียิปต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระราชินีฟารีดาแห่งอียิปต์
สมเด็จพระราชินีแห่งอียิปต์
ประสูติ5 กันยายน พ.ศ. 2464
อะเล็กซานเดรีย รัฐสุลต่านอียิปต์
สวรรคต16 ตุลาคม พ.ศ. 2531 (67 ปี)
ไคโร ประเทศอียิปต์
พระราชสวามีพระเจ้าฟารูกแห่งอียิปต์ (2481–2491; หย่า)
พระราชบุตรเจ้าหญิงเฟริยาล
เจ้าหญิงเฟาซียะห์
เจ้าหญิงฟาดียะห์
ราชวงศ์มุฮัมมัดอะลี
พระราชบิดายูซุฟ ษูลฟิการ พาชา
พระราชมารดาซัยนับ ซัยยิด คานุม
ลายพระอภิไธย

สมเด็จพระราชินีฟารีดา (อาหรับ: الملكة فريده; พระราชสมภพ: 5 กันยายน พ.ศ. 2464 – สวรรคต: 16 ตุลาคม พ.ศ. 2531) หรือพระนามเดิม ซาฟินาซ ษูลฟิการ (อาหรับ: صافيناز ذوالفقار Sāfināz Dhū l-Fiqār) เป็นอดีตพระราชินีในพระเจ้าฟารูกแห่งอียิปต์

พระราชประวัติ[แก้]

พระประวัติตอนต้น[แก้]

สมเด็จพระราชินีฟารีดา เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2464[1] ณ เมืองอะเล็กซานเดรีย รัฐสุลต่านอียิปต์ ในครอบครัวขุนนางอียิปต์เชื้อสายเซอร์แคเซีย (Circassia)[2] เป็นธิดาของยูซุฟ ษูลฟิการ พาชา (Youssef Zulficar Pasha) เป็นรองประธานผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ผสมแห่งอะเล็กซานเดรีย[3] กับซัยนับ ซัยยิด คานุม (Zainab Said Khanum) นางสนองพระโอษฐ์ในสมเด็จพระราชินีนาซลี[4] และเป็นหลานตาของมุฮัมมัด ซัยยิด พาชา (Muhammad Said Pasha) อดีตนายกรัฐมนตรีอียิปต์ที่มีเชื้อสายตุรกี[5]

เบื้องต้นสมเด็จพระราชินีฟารีดาทรงเข้ารับการศึกษา ณ วิทยาลัยน็อทร์-ดาม เดอ ซียง (Collège Notre Dame de Sion) ซึ่งเป็นโรงเรียนคริสต์ศาสนาที่ดูแลโดยคณะนางชีชาวฝรั่งเศส[6]

อภิเษกสมรส[แก้]

พระเจ้าฟารูกทรงพบปะและมีปฏิสันถารกับสมเด็จพระราชินีฟารีดาครั้งแรกเมื่อคราวเสด็จประพาสลอนดอนในปี พ.ศ. 2480[2] จนนำไปสู่พระราชพิธีหมั้นช่วงฤดูร้อนภายในปีนั้น[2] ก่อนมีพระราชพิธีอภิเษกสมรสเมื่อวันที่ 20 มกราคมในปีถัดมา ณ พระราชวังกุบบาในไคโร[7] พระองค์ได้รับโปรดเกล้าพระราชทานพระนามใหม่ว่า "ฟารีดา" เพื่อให้สอดคล้องกับพระนามของกษัตริย์ฟุอาดตามพระราชนิยม ส่วนฉลองพระองค์ในพระราชพิธีดังกล่าวตัดเย็บโดยเฮาส์ออฟเวิร์ท (House of Worth) ในปารีส[8]

สมเด็จพระราชินีฟารีดา มีพระประสูติกาลเป็นพระราชธิดาทั้งสามพระองค์ ได้แก่:

  1. เจ้าหญิงเฟริยาล (17 พฤศจิกายน 2475 – 29 พฤศจิกายน 2552) เสกสมรสและหย่ากับฌ็อง-ปิแยร์ เปรร์ตอง (Jean-Pierre Perreten) มีพระธิดาเพียงคนเดียว
  2. เจ้าหญิงเฟาซียะห์ (7 เมษายน 2483 – 27 มกราคม 2548)
  3. เจ้าหญิงฟาดียะห์ (15 ธันวาคม 2480 – 26 ธันวาคม 2545) เสกสมรสกับปิแยร์ อะเล็กซีวิตช์ ออร์ลอฟฟ์ (Pierre Alexievitch Orloff) มีพระโอรสสองคน

แต่จากการที่พระองค์มิได้ประสูติกาลพระราชโอรสสมดั่งพระราชประสงค์ พระเจ้าฟารูกจึงทรงหย่ากับสมเด็จพระราชินีเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2491 หลังการหย่าพระเจ้าฟารูกจะทรงได้สิทธิ์ในการเลี้ยงดูพระราชธิดาพระองค์ใหญ่กับพระองค์รอง ส่วนสมเด็จพระราชินีฟารีดาทรงมีสิทธิ์ในการเลี้ยงดูพระราชธิดาพระองค์เล็ก[9]

สมเด็จพระราชินีฟารีดาขณะเสด็จเยือนศูนย์กลางวัฒนธรรมฝรั่งเศส

หลังทรงหย่าและการสวรรคต[แก้]

หลังสิ้นการหย่าเป็นต้นมา สมเด็จพระราชินีฟารีดายังคงประทับอยู่พระตำหนักในตำบลอัสซามาลิก (Zamalek) ที่ตั้งอยู่บนเกาะกลางแม่น้ำไนล์[10] ประเทศอียิปต์จนถึงปี พ.ศ. 2507[2] หลังจากนั้นได้ย้ายไปประทับอยู่ในประเทศเลบานอนเพื่อดูแลพระราชธิดาในสิบปีให้หลัง[11] ครั้นพระเจ้าฟารูกอดีตพระราชสวามีเสด็จสวรรคตในโรม พระองค์และพระราชธิดาทั้งสามพระองค์ได้เสด็จไปเคารพพระบรมศพ[12] ในช่วงปี พ.ศ. 2511–17 พระองค์ประทับในปารีส และนิวัตกลับมาตุภูมิช่วงรัฐบาลอันวัร อัสซาดาต ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี โดยหลังจากการหย่าพระองค์ก็มิได้เสกสมรสใหม่แต่อย่างใด[13] ช่วงปี พ.ศ. 2503 พระองค์สนพระทัยและมีผลงานจิตรกรรมการเขียน (painting) ซึ่งในฐานะศิลปินจึงทรงจัดนิทรรศการส่วนพระองค์ทั้งในยุโรปและอเมริกา และเคยจัดในไคโร ประเทศอียิปต์ครั้งหนึ่งเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2523[11]

สมเด็จพระราชินีฟารีดา ทรงเข้ารับถวายการรักษาในโรงพยาบาลเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2531 จากพระอาการประชวรด้วยมะเร็งเม็ดเลือดขาว, พระปับผาสะอักเสบ และพระยกนะอักเสบ[14] วันที่ 2 ตุลาคม พระองค์ได้รับการดูแลจากคณะแพทย์อย่างใกล้ชิดแต่ยังทรงอยู่ในพระอาการโคม่า และที่สุดในวันที่ 16 ตุลาคม พระองค์ได้สวรรคตด้วยมะเร็งเม็ดเลือดขาว สิริพระชนมายุ 67 พรรษา[14]

พระราชกรณียกิจ[แก้]

สมเด็จพระราชินีฟารีดาเป็นเจ้านายฝ่ายในที่ความสำคัญให้การประสูติกาลพระราชโอรสสืบราชสมบัติ และจากการรับวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามา บทบาทของสตรีเพศจึงเพิ่มสูงขึ้น พระองค์จึงมีบทบาทในฐานะผู้นำเพศหญิงในประเทศโดยทรงรับเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ในมูลนิธิเพื่อการกุศลต่าง ๆ อาทิ เป็นองค์นายิกาสภาเสี้ยววงเดือนแดงอียิปต์, เป็นประธานกิตติมศักดิ์สหภาพสตรี (Feminist Union) และองค์กรสตรียุคใหม่ (New Woman Alliance) รวมทั้งทรงอุปถัมภ์กิจการเนตรนารีอียิปต์ อันมีบทบาทสำคัญต่อกิจการในชุมชน[6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

  • อียิปต์: เครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งคุณธรรม ชั้นสูงสุด (19 มกราคม 2481)[15]
  • เซอร์เบีย เซอร์เบีย: เครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งนักบุญซาวา ชั้นที่ 1[15]
  • กรีซ กรีซ: เครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งความการุณย์ ชั้นที่ 1[15]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Consorts of Monogamous Egyptian Heads of State". Egy. สืบค้นเมื่อ 6 February 2013.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Hassan, Maher (20 January 2010). "Queen Farida, King Farouk's first wife". Egypt Independent. สืบค้นเมื่อ 6 February 2013.
  3. Charles Brice, William (1981). An Historical atlas of Islam. BRILL. p. 299. ISBN 90-04-06116-9. {{cite book}}: |access-date= ต้องการ |url= (help)
  4. Royal Ark
  5. Goldschmidt, Arthur (2000). Biographical dictionary of modern Egypt. Lynne Rienner Publishers. p. 178. ISBN 1555872298.
  6. 6.0 6.1 Raafat, Samir (March 2005). "Egypt's first ladies" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-09-07. สืบค้นเมื่อ 6 June 2009.
  7. "Queen Farida hides beauty with veil". The Pittsburgh Press. Cairo. UPI. 21 January 1938. สืบค้นเมื่อ 6 February 2013.
  8. Hargrove, Rosette (21 January 1938). "Dressed to the King's taste". The Telegraph Herald. Paris. สืบค้นเมื่อ 6 February 2013.
  9. "Ex-queen Farida of Egypt". The Indian Express. Cairo. 22 November 1948. สืบค้นเมื่อ 6 February 2013.
  10. "Former Queen pens message to Farouk". Reading Eagle. 20 January 1952. สืบค้นเมื่อ 6 February 2013.
  11. 11.0 11.1 Balouny, Lisette (31 May 1980). "Queen Farida living in dignified exile". The Day. Cairo. AP. p. 20. สืบค้นเมื่อ 6 February 2013.
  12. "Cold, lonely end comes to Farouk". Lodi News Sentinel. Rome. UPI. 20 March 1965. สืบค้นเมื่อ 6 February 2013.
  13. "Queen Farida of Egypt Dies at 68". The New York Times. 17 October 1988. สืบค้นเมื่อ 6 June 2009.
  14. 14.0 14.1 "Ex-Queen Farida of Egypt; First Wife of King Farouk". Los Angeles Times. 17 October 1988. สืบค้นเมื่อ 6 February 2013.
  15. 15.0 15.1 15.2 The Muhammad 'Ali Dynasty Royal Ark

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า สมเด็จพระราชินีฟารีดาแห่งอียิปต์ ถัดไป
นาซลี ซาบรี
สมเด็จพระราชินีแห่งอียิปต์
(พ.ศ. 2481–2491)
นาร์รีมาน ซาเดก