การตัดศีรษะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การตัดศีรษะ คือ การแยกศีรษะออกจากร่างกายโดยสิ้นเชิง ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความตายในที่สุด เพราะทำให้สมองขาดเลือดหล่อเลี้ยงอ็อกซิเจน และทำให้อวัยวะถูกพรากจากระบบประสาทอัตโนมัติอันจำเป็นต่อการทำงานของร่างกาย

ภาวะศีรษะถูกตัดโดยเจตนานั้น อาจเกิดขึ้นในการฆ่าแบบฆาตกรรมหรือการฆ่าเพื่อลงโทษ โดยอาจดำเนินการด้วยของมีคม เช่น มีด ขวาน หรืออุปกรณ์อย่างอื่น เช่น กิโยตีน[1] ส่วนภาวะศีรษะขาดโดยอุบัติเหตุนั้น อาจเป็นผลมาจากการระเบิด[2] อุบัติเหตุในอุตสาหกรรม การแขวนคอประหารอย่างไม่ถูกต้อง หรือความบาดเจ็บอย่างอื่นที่รุนแรง ในปัจจุบันกฎหมายของหลายประเทศ เช่น กาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย และเยเมน ให้ใช้การตัดศีรษะเป็นวิธีลงโทษประหารชีวิต แต่ในทางปฏิบัติแล้วซาอุดีอาระเบียเป็นแห่งเดียวที่ยังประหารชีวิตด้วยวิธีเช่นนี้เป็นปกติ[3] นอกจากนี้ ยังปรากฏภาวะศีรษะขาดจากการฆ่าตัวตายโดยแขวนคอ[4] โดยให้รถไฟทับ[5][6] หรือโดยใช้กิโยตีน[7]

น้อยครั้งที่คำนี้จะใช้หมายถึงการแยกศีรษะออกจากร่างกายศพ ซึ่งอาจทำเพื่อนำศีรษะไปใช้เป็นเครื่องประดับ หรือเพื่อเสียบประจาน หรือเพื่อให้กำหนดตัวผู้ตายได้ยาก หรือเพื่อเหตุผลประการอื่น ๆ ที่รู้ในวงจำกัด[8][9]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Definition of HEADSMAN". สืบค้นเมื่อ 25 February 2017.
  2. "Blows Head Off with Dynamite?". The Rhinelander Daily News. 2 April 1937. p. 7. สืบค้นเมื่อ 29 September 2014 – โดยทาง Newspapers.com. สิ่งพิมพ์เผยแพร่เข้าถึงแบบเปิด อ่านได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
  3. Weinberg, Jon (Winter 2008). "Sword of Justice? Beheadings Rise in Saudi Arabia". Harvard International Review. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 March 2014. สืบค้นเมื่อ 26 August 2017.
  4. Tracqui, A.; Fonmartin, K.; Géraut, A.; Pennera, D.; Doray, S.; Ludes, B. (1 December 1998). "Suicidal hanging resulting in complete decapitation: a case report". International Journal of Legal Medicine (ภาษาอังกฤษ). 112 (1): 55–57. doi:10.1007/s004140050199. ISSN 1437-1596. PMID 9932744. S2CID 7854416.
  5. Dinkel, Andreas; Baumert, Jens; Erazo, Natalia; Ladwig, Karl-Heinz (January 2011). "Jumping, lying, wandering: Analysis of suicidal behaviour patterns in 1,004 suicidal acts on the German railway net". Journal of Psychiatric Research. 45 (1): 121–125. doi:10.1016/j.jpsychires.2010.05.005. PMID 20541771.
  6. De Giorgio, Fabio; Polacco, Matteo; Pascali, Vincenzo L.; Oliva, Antonio (October 2006). "Death Due to Railway-Related Suicidal Decapitation". Medicine, Science and the Law (ภาษาอังกฤษ). 46 (4): 347–348. doi:10.1258/rsmmsl.46.4.347. ISSN 0025-8024. PMID 17191639. S2CID 41916384.
  7. "Guillotine death was suicide". BBC News. 24 April 2003. สืบค้นเมื่อ 26 September 2008.
  8. Francis Larson. Severed: a history of heads lost and heads found Liveright, 2014.
  9. Fabian, Ann (1 December 2014). "Losing our Heads (review of Larson's "Severed" Chronicle of Higher Education". สืบค้นเมื่อ 1 December 2014.