ทบิลีซี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ทบิลิซี)
ทบิลีซี

თბილისი
เมืองหลวง
Tbilisi, Georgia — View of Tbilisi.jpg
Tbilisi Kartlis Deda monument IMG 8855 1920.jpg
Tbilisi 1464.jpg
2014 Tbilisi, Widoki z Twierdzy Narikala (36).jpg
จากซ้ายไปขวา: ทิวทัศน์ของทบิลีซี, ทิวทัศน์เมื่อมองจากนารีกาลา, ประภาคารนารีกาลา, อนุสาวรีย์คาร์ตลิส เดดา, อะบานอตูบานี,
ธงของทบิลีซี
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของทบิลีซี
ตรา
Map
ทบิลีซีตั้งอยู่ในประเทศจอร์เจีย
ทบิลีซี
ทบิลีซี
พิกัด: 41°43′N 44°47′E / 41.717°N 44.783°E / 41.717; 44.783พิกัดภูมิศาสตร์: 41°43′N 44°47′E / 41.717°N 44.783°E / 41.717; 44.783
ประเทศ จอร์เจีย
ก่อตั้งค.ศ. 455[2]
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีกาคา กาลัดเซ[3]
พื้นที่[4]
 • เมืองหลวง504.2 ตร.กม. (194.7 ตร.ไมล์)
ความสูงจุดสูงสุด770 เมตร (2,530 ฟุต)
ความสูงจุดต่ำสุด380 เมตร (1,250 ฟุต)
ประชากร
 (ค.ศ. 2019)
 • เมืองหลวง1,171,100[1] คน
 • ความหนาแน่น3,194.38 คน/ตร.กม. (8,273.4 คน/ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล1,485,293 คน
เดมะนิมทบิลีเซียน
ทบิลีไซต์
เขตเวลาUTC+4 (เวลาจอร์เจีย)
รหัสพื้นที่+995 32
GRP[5]2019
 – ทั้งหมด23.1 พันล้านลารี
 – ต่อหัว19,470 ลารี
ดัชนีการพัฒนามนุษย์ (2019)0.834[6]สูงมาก
เว็บไซต์www.tbilisi.gov.ge

ทบิลีซี (จอร์เจีย: თბილისი [tʰbilisi] ( ฟังเสียง)) หรือชื่อเดิม ติฟลิส ซึ่งเรียกกันในช่วงก่อน ค.ศ. 1936[7] เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศจอร์เจีย ตั้งอยู่ริมแม่น้ำคูรา มีประชากรประมาณ 1.5 ล้านคน ทบิลีซีก่อตั้งขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 5 โดยพระเจ้าวาคตังที่หนึ่งแห่งไอบีเรีย และนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา นครได้ทำหน้าที่เป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรและสาธารณรัฐจอร์เจีย ระหว่าง ค.ศ. 1801–1917 นครกลายเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิรัสเซีย โดยทำหน้าที่เป็นนครอุปราชหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตอนเหนือและใต้ของดินแดนคอเคซัส

เนื่องจากมีที่ตั้งอยู่ระหว่างทวีปยุโรปกับทวีปเอเชีย และอยู่ใกล้กับทางสายไหม ทำให้ทบิลีซีกลายเป็นดินแดนกันชนของมหาอำนาจของโลก ส่วนในปัจจุบัน นครมีบทบาทสำคัญในฐานะศูนย์กลางการขนส่งและการค้า ประวัติศาสตร์ของทบิลีซีสะท้อนอยู่ภายใต้สถาปัตยกรรมของนคร ซึ่งเกิดจากการผสมผสานของสถาปัตยกรรมยุคกลาง ยุคฟื้นฟูคลาสสิก วิจิตรศิลป์ นวศิลป์ สตาลิน และสมัยใหม่

ประชากรในทบิลีซีมีภูมิหลังทางวัฒนธรรม ชาติพันธุ์ และศาสนาที่หลากหลาย โดยประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ สถานที่สำคัญอันเป็นจุดสนใจของนักท่องเที่ยว อาทิ ซาเมบาและซีโอนี จัตุรัสเสรีภาพ ถนนรุสตาเวลีและอักมาเชเนเบลี ประภาคารนารีกาลาที่สร้างในยุคกลาง โรงละครโอเปรามัวร์เทียม และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จอร์เจีย อุณหภูมิของนครในฤดูร้อนอยู่ที่ 20–32 องศาเซลเซียส ส่วนในฤดูหนาวอยู่ที่ -1 ถึง 7 องศาเซลเซียส

ประวัติ[แก้]

เมืองเก่าทบิลีซี

วาคตัง กอร์กาซาลี (Vakhtang Gorgasali) กษัตริย์จอร์เจียแห่งคาร์ตลี (ไอบีเรีย) ได้ก่อตั้งเมืองนี้ขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 4 ทบิลีซีเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรม สังคม และวัฒนธรรมในภูมิภาคคอเคซัส ในประวัติศาสตร์ เมืองนี้อยู่ในสายทางหนึ่งของเส้นทางสายไหม และปัจจุบันยังมีบทบาทสำคัญในฐานะศูนย์กลางการขนส่งและการค้า เนื่องจากความได้เปรียบทางยุทธศาสตร์ในแง่ที่ตั้งที่เป็นจุดตัดระหว่างทวีปเอเชียกับทวีปยุโรป

ทบิลีซีเป็นที่รู้จักในเรื่องการปฏิวัติกุหลาบ (Rose Revolution) ซึ่งเกิดขึ้นบริเวณจัตุรัสอิสรภาพ (Freedom Square) และสถานที่ใกล้เคียงหลังจากการเลือกตั้งรัฐสภาในปี ค.ศ. 2003 ได้นำไปสู่การลาออกของประธานาธิบดีเอดูอาร์ด เชฟเวิร์ดนาซี (Eduard Shevardnadze)

ภูมิประเทศ[แก้]

ทบิลีซี ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำคูรา (Kura) หรือเรียกว่าแม่น้ำมตควารี (Mtkvari) ในภาษาท้องถิ่น บางครั้งถูกอ้างถึงในชื่อว่า ติฟลิส (Tiflis) หรือ ติฟฟลิส (Tifflis) ซึ่งเป็นชื่อเรียกในยุคกลางที่ไม่ใช่ชื่อท้องถิ่นของเมืองนี้ กรุงทบิลีซีมีเนื้อที่ 372 ตารางกิโลเมตร (144 ตารางไมล์)

ภาพพาโนรามาของกรุงทบิลีซี

ภูมิอากาศ[แก้]

ข้อมูลภูมิอากาศของTbilisi
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 19.5
(67.1)
22.4
(72.3)
28.7
(83.7)
31.6
(88.9)
34.9
(94.8)
38.7
(101.7)
40.0
(104)
40.3
(104.5)
37.9
(100.2)
33.3
(91.9)
27.2
(81)
22.8
(73)
40.3
(104.5)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 5.9
(42.6)
7.1
(44.8)
12.2
(54)
19.3
(66.7)
23.1
(73.6)
27.5
(81.5)
31.0
(87.8)
30.2
(86.4)
26.1
(79)
19.4
(66.9)
12.7
(54.9)
7.8
(46)
18.6
(65.5)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 1.5
(34.7)
2.4
(36.3)
6.8
(44.2)
13.0
(55.4)
17.0
(62.6)
21.1
(70)
24.5
(76.1)
23.7
(74.7)
19.8
(67.6)
13.6
(56.5)
7.8
(46)
3.4
(38.1)
12.9
(55.2)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) -1.5
(29.3)
-0.8
(30.6)
3.0
(37.4)
8.1
(46.6)
12.1
(53.8)
16.0
(60.8)
19.4
(66.9)
18.6
(65.5)
15.0
(59)
9.4
(48.9)
4.5
(40.1)
0.5
(32.9)
8.7
(47.7)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) -24.4
(-11.9)
−14.8
(5.4)
−12.8
(9)
-3.8
(25.2)
1.0
(33.8)
6.3
(43.3)
9.3
(48.7)
8.9
(48)
0.8
(33.4)
-6.4
(20.5)
−7.1
(19.2)
−20.5
(-4.9)
−24.4
(−11.9)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 20
(0.79)
29
(1.14)
31
(1.22)
51
(2.01)
84
(3.31)
84
(3.31)
41
(1.61)
43
(1.69)
35
(1.38)
41
(1.61)
35
(1.38)
23
(0.91)
517
(20.35)
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 1 mm) 4.0 4.6 5.9 7.6 9.7 8.7 5.7 5.7 5.0 5.6 4.4 4.0 70.9
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 99.2 104.4 142.6 171.0 213.9 249.0 257.3 248.0 207.0 164.3 102.0 93.0 2,051.7
แหล่งที่มา: Pogoda.ru.net,[8] Hong Kong Observatory[9] for data of avg. precipitation days and sunshine hours, Weatherbase (extremes only)[10]

ประชากร[แก้]

เชื้อชาติหลักของกรุงทบิลีซี
ปี
ชาวจอร์เจีย
%
ชาวอาร์มีเนีย
%
ชาวรัสเซีย
%
ทั้งหมด
1801-3[11] 4,300 21.5% 14,860 74.3%
20,000
1864/65 winter[12] 14,878 24.8% 28,404 47.3% 12,462 20.7% 60,085
1864/65 summer[12] 14,787 20.8% 31,180 43.9% 12,142 17.1% 71,051
1876[13] 22,156 21.3% 37,610 36.1% 30,813 29.6% 104,024
1897[14] 47,133 29.5% 41,151 36.4% 44,823 28.1% 159,590
1926[15] 112,014 38.1% 100,148 34.1% 45,937 15.6% 294,044
1939[15] 228,394 44% 137,331 26.4% 93,337 18% 519,220
1959[15] 336,257 48.4% 149,258 21.5% 125,674 18.1% 694,664
1970[15] 511,379 57.5% 150,205 16.9% 124,316 14% 889,020
1979[15] 653,242 62.1% 152,767 14.5% 129,122 12.3% 1,052,734
2002 [16] 910,712 84.2% 82,586 7.6% 32,580 3% 1,081,679

ทบิลีซีมีประชากร 1,093,000 คน

ภาพของมัสยิดในทบิลีซี ต้นศตวรรษที่ 20

ประชากรของเมืองนี้มีความหลากหลาย เนื่องจากทบิลีซีเป็นที่อยู่ของผู้คนต่างวัฒนธรรม ต่างศาสนา และต่างชาติพันธุ์มาช้านาน แม้ว่าชาวทบิลีซีส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาคริสต์นิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ แต่เมืองนี้ก็เป็นหนึ่งในไม่กี่เมืองในโลกนี้ ที่สุเหร่ายิวและสุเหร่ามุสลิมตั้งอยู่ถัดจากกัน และมีโบสถ์เมเตคี (Metekhi) ตั้งอยู่ห่างออกไปไม่ถึงหนึ่งกิโลเมตร

กีฬา[แก้]

สโมสร กีฬา สนามกีฬา
เลโล รักบี้ เลโลสปอร์ตเซ็นเตอร์
วิสซอล โคเชบิ รักบี้ วิสซอลสปอร์ตเซ็นเตอร์
โลโกโมทิไว รักบี้ โลโกโมทิไวสปอร์ตเซ็นเตอร์
สโมสรฟุตบอลดีนาโมทบิลีซี ฟุตบอล บอริส ไปชัดเซ ดีนาโม อารีนา
สโมสรฟุตบอลทบิลีซีโลโกโมทิไว เอฟซี ฟุตบอล มิกเฮลเมสไคสเตเดียม
สโมสรฟุตบอลทบิลีซีไดนาโม บีซี บาสเกตบอล เวเรบาสเกตบอลฮอล
สโมสรบาสเกตบอลทบิลีซี บาสเกตบอล เวเรบาสเกตบอลฮอล
สโมสรบาสเกตบอลจอร์เจีย บาสเกตบอล เวเรบาสเกตบอลฮอล
สโมสรบาสเกตทบิลีซี บีซี บาสเกตบอล Vere Basketball Hall
สโมสรบาสเกตมาคาบิ บีซี บาสเกตบอล เวเรบาสเกตบอลฮอล

สื่อ[แก้]

หนังสือพิมพ์ที่วางขายในกรุงทบิลีซี ได้แก่ 24 Saati ("24 ชั่วโมง"), Rezonansi ("เสียงสะท้อน"), Alia ส่วนฉบับภาษาอังกฤษ ได้แก่ The Messenger (รายวัน), FINANCIAL, Georgia Today (รายสัปดาห์), The Georgian Times (รายสัปดาห์)

สถาปัตยกรรมและสถานที่สำคัญ[แก้]

โรงละครรัสทาเวลิ

จุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงในทบิลีซีได้แก่ มหาวิหารซาเมบา จัตุรัสอิสรภาพ มหาวิหารซิโอนี รัฐสภาจอร์เจีย ถนนรุสตาเวลี มตัตสมินดา (ภูเขาศักดิ์สิทธิ์) มหาวิหารคัชเวตี รวมทั้งพิพิธภัณฑ์และห้องภาพศิลปะอีกจำนวนมาก ทบิลีซียังเป็นที่พำนักของศิลปินที่มีชื่อเสียง เช่น นีโค ปิรอสมานี และลาโด กูเดียชวิลี

การคมนาคม[แก้]

อากาศยาน[แก้]

ท่าอากาศยานนานาชาติทบิลีซี
Searchtool.svg ดูบทความหลักที่ ท่าอากาศยานทบิลีซี

ท่าอากาศยานทบิลีซี อยู่ห่างจากกรุงทบิลีซี ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ไปประมาณ 17 กิโลเมตร มีขบวนรถไฟเชื่อมต่อระหว่าง สถานีรถไฟทบิลีซี กับสนามบิน ใช้เวลา 35 นาที ที่สนามบินมีผู้มาใช้บริการประมาณ 1.1 ล้านคน[17][18] สายการบินหลักคือ จอร์เจียแอร์เวย์[19]

รถไฟฟ้าใต้ดิน[แก้]

Searchtool.svg ดูบทความหลักที่ รถไฟฟ้าใต้ดินทบิลีซี

มีรถไฟฟ้าใต้ดินบริการในกรุงทบิลีซี เริ่มก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 1952 เสร็จเมื่อ ค.ศ. 1966 มีบริการทั้งหมด 2 เส้นทาง คือ สายอาคเมเทลิ-วาร์เคทิลิ และสายซาเบอร์ทาโล มีสถานีรถไฟ 22 สถานี ตัวรถไฟ 186 คัน ให้บริการตั้งแต่เวลา 6 นาฬิกา จนถึงเที่ยงคืน

รถราง[แก้]

ทบิลีซีมีระบบรถราง เปิดบริการตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1904 อย่างไรก็ตาม รถรางก็ปิดบริการในวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 2006[20][21] และมีการวางแผนสร้างรถรางแบบทันสมัยในเร็ว ๆ นี้[22][23]

การศึกษา[แก้]

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ[แก้]

เมืองพี่น้อง[แก้]

ทบิลีซีได้สถาปนาความสัมพันธ์กับเมืองพี่น้องดังต่อไปนี้[24]

เมืองที่ให้ความร่วมมือ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Population by regions". NATIONAL STATISTICS OFFICE OF GEORGIA. สืบค้นเมื่อ 15 January 2019.
  2. კონსპექტი საქართველოს ისტორიიდან შედგენილი ა. ქუთათელაძისგან. რვეული I. თბილისი, სტამბა წიგნების გამომცემელ ქართველთა ამხანაგობისა, 1900. გვერდი 38.
  3. "Mayor of Tbilisi". Tbilisi City Hall. สืบค้นเมื่อ 20 November 2017.
  4. "Statistics of Tbilisi Region". National Statistics Office of Georgia. สืบค้นเมื่อ 22 July 2018.
  5. https://www.geostat.ge/regions/
  6. https://globaldatalab.org/shdi/shdi/GEO/?interpolation=0&extrapolation=0&nearest_real=0&years=2019
  7. ทบิลีซี มีชื่อเดิมคือ ติฟลิส ซึ่งเป็นชื่อในภาษาเปอร์เซีย เยอรมัน ตุรกี และอื่น ๆ ในช่วงก่อน ค.ศ. 1936 ภาษารัสเซียก็ใช้ชื่อว่า "ทิฟลิส" เช่นกัน
  8. "Погода и Климат". Pogoda.ru.net. สืบค้นเมื่อ 2012-12-19.
  9. "Climatological Information for Tbilisi, Georgia" เก็บถาวร 2012-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – Hong Kong Observatory
  10. "Tbilisi, Georgia Travel Weather Averages". Weatherbase. สืบค้นเมื่อ 2012-12-19.
  11. Ronald Grigor Suny (1994). The making of the Georgian nation. Indiana University Press. pp. 116–. ISBN 978-0-253-20915-3. สืบค้นเมื่อ 16 November 2011.
  12. 12.0 12.1 Тифлис // Географическо-статистический словарь Российской империи.St. Petersburg, 1885, p. 133 (Note: this is a 'one-day census' of unknown scope and methodology). (รัสเซีย)
  13. Ronald Grigor Suny (1994). The making of the Georgian nation. Indiana University Press. p. 368. ISBN 978-0-253-20915-3. สืบค้นเมื่อ 29 December 2011. (one-day census of Tiflis)
  14. Первая всеобщая перепись населения Российской Империи 1897 г.. Изд. Центр. стат. комитета МВД: Тифлисская губерния. — St. Petersburg, 1905, pp. 74—75.(Note: the census did not contain a question on ethnicity, which was deduced from data on mother tongue, social estate and occupation)[1] (รัสเซีย)
  15. 15.0 15.1 15.2 15.3 15.4 Ethno-Caucasus, население Кавказа, республика Грузия, население Грузии (รัสเซีย)
  16. "Ethnic groups by major administrative-territorial units" (PDF). Web.archive.org. 2009-11-14. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-14. สืบค้นเมื่อ 2012-12-19.
  17. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-07-28. สืบค้นเมื่อ 2013-03-23.
  18. "tbilisiairport.com - Terminal features". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-29. สืบค้นเมื่อ 2013-03-23.
  19. "Head office เก็บถาวร 2013-04-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน." (direct image link เก็บถาวร 2012-03-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน) Georgian Airways. Retrieved on 6 October 2010.
  20. "Subways and Trams In Georgia: Tbilisi". 2010-12-24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-04. สืบค้นเมื่อ 2010-12-24.
  21. "georgiandaily.com – Nostalgic Tbilisi residents want their tramway back". 2010-12-24. สืบค้นเมื่อ 2010-12-24. -
  22. "Railway Gazette: Tbilisi tram design contract signed". 2010-12-24. สืบค้นเมื่อ 2010-12-24.
  23. "Trams to return? : by Salome Kobalava : Georgia Today on the Web". 2010-12-24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-19. สืบค้นเมื่อ 2010-12-24.
  24. 24.00 24.01 24.02 24.03 24.04 24.05 24.06 24.07 24.08 24.09 24.10 24.11 24.12 24.13 24.14 24.15 24.16 "Tbilisi Municipal Portal – Sister Cities". © 2009 – Tbilisi City Hall. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-24. สืบค้นเมื่อ 2009-06-16.
  25. "Bristol City – Town twinning". Bristol City Council. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-28. สืบค้นเมื่อ 2009-07-17.
  26. "Ankara Metropolitan Municipality: Sister Cities of Ankara". © 2007 Ankara Büyükşehir Belediyesi – Tüm Hakları Saklıdır.Kullanım Koşulları & Gizlilik. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-14. สืบค้นเมื่อ 2008-12-08.
  27. "Kraków otwarty na świat". www.krakow.pl. สืบค้นเมื่อ 2009-07-19.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]