บ็อบบี ร็อบสัน
ข้อมูลส่วนตัว | |||
---|---|---|---|
ชื่อเต็ม | โรเบิร์ต วิลเลียม ร็อบสัน | ||
วันเกิด | 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1933 | ||
สถานที่เกิด | ซาคริสตัน มณฑลเดอแรม ประเทศอังกฤษ | ||
วันเสียชีวิต | 31 กรกฎาคม ค.ศ. 2009 | (76 ปี)||
สถานที่เสียชีวิต | เดอรัม ประเทศอังกฤษ | ||
ตำแหน่ง | กองหน้า | ||
สโมสรอาชีพ* | |||
ปี | ทีม | ลงเล่น | (ประตู) |
1950–1956 | ฟูลัม | 152 | (68) |
1956–1962 | เวสต์บรอมมิชอัลเบียน | 239 | (56) |
1962–1967 | ฟูลัม | 192 | (9) |
1967–1968 | แวนคูเวอร์รอยัลส์ | 0 | (0) |
รวม | 583 | (133) | |
ทีมชาติ | |||
1957–1962 | อังกฤษ | 20 | (4) |
จัดการทีม | |||
1968 | ฟูลัม | ||
1969–1982 | อิปสวิชทาวน์ | ||
1982–1990 | อังกฤษ | ||
1990–1992 | เปเอสเฟ ไอนด์โฮเฟิน | ||
1992–1994 | สปอร์ติกกลูบีดีปูร์ตูกาล | ||
1994–1996 | โปร์ตู | ||
1996–1997 | บาร์เซโลนา | ||
1998–1999 | เปเอสเฟ ไอนด์โฮเฟิน | ||
1999–2004 | นิวคาสเซิลยูไนเต็ด | ||
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น |
เซอร์ โรเบิร์ต วิลเลียม ร็อบสัน (อังกฤษ: Sir Robert William Robson) (18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1933 – 31 กรกฎาคม ค.ศ. 2009) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า เซอร์ บ็อบบี ร็อบสัน เป็นอดีตนักฟุตบอลและผู้จัดการทีมฟุตบอลชาวอังกฤษ
เขาเล่นฟุตบอลในตำแหน่งกองหน้า ในเวลาเกือบ 20 ปี เขาลงเล่นให้กับ 3 ทีม ได้แก่ ฟูลัม, เวสต์บรอมวิชอัลเบียน และแวนคูเวอร์รอยัลส์ เขาลงเล่นในนามทีมชาติอังกฤษ 20 นัด และยิงได้ 4 ประตู
เขาเป็นที่รู้จักจากการเป็นผู้จัดการทีมที่ประสบความสำเร็จทั้งกับทีมชาติและสโมสร เขาสามารถคว้าแชมป์ลีกได้ใน 2 ประเทศ คือเนเธอร์แลนด์ และโปรตุเกส และคว้าแชมป์ฟุตบอลถ้วยในอังกฤษและสเปน รวมทั้งยังสามารถนำทีมชาติอังกฤษเข้าถึงรอบรองชนะเลิศในฟุตบอลโลก 1990 และประสบความสำเร็จในการคุมทีมชาติไอร์แลนด์
เซอร์ บ็อบบี ร็อบสัน เสียชีวิตลงอย่างสงบในขณะที่มีอายุ 76 ปี ด้วยโรคมะเร็งที่บ้านของเขา เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม ค.ศ. 2009 หลังจากที่ป่วยมานานถึง 15 ปี
ประวัติ
[แก้]ร็อบสันเกิดที่มณฑลเดอแรม เขาเป็นลูกชายคนที่ 4 จาก 5 คน ของฟิลิปป์ และลิเลียน ร็อบสัน ในวัยเด็กพ่อของเขามักจะพาเขาไปชมเกมการแข่งขันของนิวคาสเซิลยูไนเต็ด ที่เซนต์เจมส์พาร์คอยู่เสมอ[1][2][3] ร็อบสันชื่นชอบ แจ็คกี มิลเบิร์น และเลน แช็คเลย์ตันมาก และยกย่องว่าเป็นฮีโร่ในวัยเด็กของเขา โดยทั้งสองเป็นนักฟุตบอลที่เล่นในตำแหน่งกองหน้า ซึ่งเป็นตำแหน่งเดียวกับที่เขาเล่นเมื่อตอนค้าแข้ง
สมัยเป็นนักเตะ
[แก้]ระดับสโมสร
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สถิติในฐานะผู้เล่น
[แก้]ระดับสโมสร | เกมลีก | ฟุตบอลถ้วย | ลีกคัพ | รวม | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ฤดูกาล | สโมสร | ลีก | ลงเล่น | ประตู | ลงเล่น | ประตู | ลงเล่น | ประตู | ลงเล่น | ประตู |
อังกฤษ | ลีก | เอฟเอคัพ | ลีกคัพ | รวม | ||||||
1950–51 | ฟูลัม | ดิวิชันหนึ่ง | 1 | 0 | - | - | 1 | 0 | ||
1951–52 | 16 | 3 | - | - | 16 | 3 | ||||
1952–53 | ดิวิชันสอง | 35 | 19 | 1 | 0 | - | 36 | 19 | ||
1953–54 | 33 | 13 | 1 | 1 | - | 34 | 14 | |||
1954–55 | 42 | 23 | 1 | 0 | - | 43 | 23 | |||
1955–56 | 25 | 10 | 2 | 0 | - | 27 | 10 | |||
1955–56 | เวสต์บรอมวิชอัลเบียน | ดิวิชันหนึ่ง | 10 | 1 | - | - | 10 | 1 | ||
1956–57 | 39 | 12 | 2 | 1 | - | 41 | 13 | |||
1957–58 | 41 | 24 | 7 | 3 | - | 48 | 27 | |||
1958–59 | 29 | 4 | 1 | 1 | - | 30 | 5 | |||
1959–60 | 41 | 6 | 3 | 0 | - | 44 | 6 | |||
1960–61 | 40 | 5 | 1 | 0 | - | 41 | 5 | |||
1961–62 | 39 | 4 | 4 | 0 | - | 43 | 4 | |||
1962–63 | ฟูลัม | 34 | 1 | 2 | 1 | 2 | 0 | 38 | 2 | |
1963–64 | 39 | 1 | 2 | 0 | 1 | 0 | 42 | 1 | ||
1964–65 | 42 | 1 | 2 | 0 | 3 | 1 | 47 | 2 | ||
1965–66 | 36 | 6 | - | 3 | 0 | 39 | 6 | |||
1966–67 | 41 | 0 | 3 | 0 | 3 | 0 | 47 | 0 | ||
รวม | อังกฤษ | 583 | 133 | 32 | 7 | 12 | 1 | 627 | 141 | |
สรุปรวม | 583 | 133 | 32 | 7 | 12 | 1 | 627 | 141 |
ระดับทีมชาติ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
บทบาทในฐานะผู้จัดการทีม
[แก้]การคุมทีมในช่วงแรก
[แก้]ใน ค.ศ. 1959 ร็อบสันได้เข้าดำรงตำแหน่งเป็นโค้ชให้กับทีมชาติอังกฤษ ร็อบสันดำรงตำแหน่งผู้จัดการทีมเป็นครั้งแรกในเดือนมกราคม ค.ศ. 1968 โดยเป็นผู้จัดการทีมของฟูลัม อดีตต้นสังกัดของเขาในสมัยค้าแข้ง ภายใต้การคุมทีมของเขาจาก 24 นัด ฟูลัมมีคะแนนเพียงแค่ 16 คะแนนเท่านั้น[4][5] ทำให้เขาไม่สามารถช่วยทีมให้รอดพ้นจากการตกชั้นสู่ดิวิชันสองได้[6] ซึ่งการตกชั้นเป็นเหตุผลที่ทำให้เขาถูกปลดออกจากตำแหน่งในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน[7]
หลังจากนั้นเขาก็ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้จัดการทีมของอิปสวิชทาวน์ ใน ค.ศ. 1969 และประสบความสำเร็จอย่างสูง โดยในฤดูกาล 1972-73 เขาพาทีมคว้าอันดับที่ 4 ในลีกได้สำเร็จ และยังพาทีมคว้าแชมป์ Texaco Cup อีกด้วย[8] ในฤดูกาล 1977-78 ซึ่งเป็นฤดูกาลที่ 9 ของเขากับทีม อิปสวิชจบฤดูกาลได้ต่ำกว่าอันดับที่ 6 ของตาราง แต่อย่างไรก็ตามเขาสามารถพาทีมคว้าแชมป์เอฟเอคัพได้ โดยในนัดชิงชนะเลิศอิปสวิชสามารถเอาชนะอาร์เซนอลไปได้ 1-0[9] ในอีก 3 ปีถัดมา เขาสามารถพาทีมคว้าแชมป์ยูฟ่าคัพได้สำเร็จ โดยการเอาชนะอาแซดอัลค์มาร์ด้วยสกอร์รวม 5-4[10]
ใน ค.ศ. 2002 การสร้างรูปปั้นขนาดเท่าตัวจริงของเขาเสร็จสิ้น โดยตั้งอยู่ที่พอร์ตแมนโรด สนามเหย้าของอิปสวิช
ผู้จัดการทีมชาติอังกฤษ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การคุมทีมอื่นๆในทวีปยุโรป
[แก้]ก่อนที่ฟุตบอลโลก 1990 จะเริ่มขึ้น สมาคมฟุตบอลอังกฤษหรือเอฟเอได้บอกกับร็อบสันว่าจะไม่ต่อสัญญาของเขาต่อไป หลังจากที่เขาพ้นจากตำแหน่งผู้จัดการทีมชาติอังกฤษ เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้จัดการทีมพีเอสวีไอน์โฮเฟน และคว้าแชมป์พรีเมียร์ดัตต์ได้ทั้ง 2 ฤดูกาลที่คุมทีม คือ ฤดูกาล 1990-91 และ 1991-92 แต่ไม่ประสบความสำเร็จในฟุตบอลถ้วยยุโรป ทำให้เขาต้องพ้นจากตำแหน่งเมื่อจบฤดูกาล[11]
เขาเข้ารับตำแหน่งผู้จัดการทีมสปอร์ติงลิสบอนในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1992 ซึ่งในขณะนั้น โชเซ มูริญโญ เป็นล่ามในภาษาโปรตุเกสให้กับเขา ร็อบสันพาทีมจบอันดับที่ 3 ในฤดูกาลแรก แต่ก็ถูกปลดในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1993
หลังจากที่ลิสบอนปลดร็อบสันออกจากตำแหน่งไม่นานนัก สโมสรฟุตบอลโปร์ตูก็ได้ประกาศแต่งตั้งให้เขาเป็นผู้จัดการทีมทันที โดยมีมูริญโญเป็นผู้ช่วยผู้จัดการทีม ภายใต้การคุมทีมของเขา ปอร์โตสามารถเอาชนะลิสบอนได้ในนัดชิงชนะเลิศโปรตุกีสคัพ ต่อมาปอร์โตก็สามารถคว้าแชมป์ลีกได้ 2 สมัยติดต่อกัน คือ ฤดูกาล 1994-95 และ 1995-96[12]
เขาได้รับต่อสัญญากับทีมใน ค.ศ. 1995 และประสบความสำเร็จอย่างสูงในการคุมปอร์โต[13]
ในช่วงฤดูร้อนปี ค.ศ. 1996 เขาได้รับโทรศัพท์จาก จวน กัลพาร์ท รองประธานสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา โดยได้สนทนากับลูอิช ฟีกู เพื่อที่จะเชื้อเชิญให้เขาเข้ารับตำแหน่งผู้จัดการทีม[14] จนในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1996 ร็อบสันได้รับการแต่งตั้งในคุมทีมบาร์เซโลนา โดยเขาได้ให้มูริญโญเป็นผู้ช่วยของเขาด้วย[15] ในการคุมทีมเขาได้เซ็นสัญญากับโรนัลโดด้วยค่าตัว 19.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[16] และในฤดูกาลเดียวร็อบสันสามารถพาทีมคว้าแชมป์สเปนิชคัพ, สเปนิชซูเปอร์คัพ และยูโรเปียนส์วินเนอร์คัพได้[17] โดยในฤดูกาลนี้เขาได้รับรางวัลผู้จัดการทีมยอดเยี่ยมแห่งปีของทวีปยุโรปด้วย
ในฤดูกาล 1997-98 ร็อบสันเข้ารับตำแหน่งผู้จัดการทีมทั่วไปของสโมสร และลูวี ฟัน คาล เข้ารับตำแหน่งเป็นผู้จัดการทีม แต่ร็อบสันอยู่ในตำแหน่งเพียงแค่ฤดูกาลเดียวเขาก็กลับไปรับตำแหน่งผู้จัดการทีมของเปเอสเฟ ไอนด์โฮเฟินอีกครั้ง ด้วยสัญญาระยะสั้นเพียง 1 ฤดูกาล คือ ฤดูกาล 1998-99[18] โดยจบฤดูกาลในอันดับที่ 3 ของตารางตามหลังเฟเยนูร์ด และวิลเลม II[19]
กลับคืนสู่เกาะอังกฤษ
[แก้]ภายหลังสัญญาระหว่างร็อบสันกับพีเอสวีหมดลง เขาได้กลับสู่อังกฤษอีกครั้ง และมีตำแหน่งในทีมชาติอังกฤษด้วย[20] แต่หลังจากนั้น รืด คึลลิต ผู้จัดการทีมนิวคาสเซิลยูไนเต็ด ได้ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่ง บอร์ดบริหารจึงตัดสินใจแต่งตั้งให้ร็อบสันดำรงตำแหน่งแทนในวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1999[21] และสโมสรก็ได้ทำให้ร็อบสันเกิดความไม่พอใจเป็นอย่างมากเนื่องจากให้เงินค่าซื้อขายเพียง 1 ล้านปอนด์เท่านั้น[22]
ในนัดแรกที่ร็อบสันคุมทีม เขาสามารถพาทีมถล่มเชฟฟิลด์เวนส์เดย์ไปได้อย่างขาดลอยถึง 8-0 และพาทีมจบในอันดับที่ 11 ในฤดูกาลแรก โดยจากการแข่ง 32 นัด นิวคาสเซิลสามารถเก็บชัยชนะได้ถึง 14 นัด ภายใต้การคุมทีมของเขา[22][23] หลังปี ค.ศ. 2000 เควิน คีแกน ได้ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งผู้จัดการทีมชาติอังกฤษ ทำให้มีการเจรจาให้ร็อบสันเข้ารับตำแหน่งแทนเป็นการชั่วคราว แต่ร็อบสันก็ได้ปฏิเสธที่จะเข้ารับตำแหน่ง[24] ในฤดูกาล 2001-02 นิวคาสเซิลภายใต้การคุมทีมของร็อบสันสามารถจบฤดูกาลได้ในอันดับที่ 4 ของตาราง[25] ในฤดูกาลถัดมานิวคาสเซิลจบฤดูกาลในอันดับที่ 3 ของตาราง พร้อมทั้งได้สิทธิ์ลงแข่งขันยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก รอบคัดเลือก เป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน[26] อย่างไรก็ตามเขาไม่สามารถพาทีมให้เขารอบต่อไปได้ ทำให้ต้องแข่งขันยูฟ่าคัพแทนในฤดูกาล 2003-04[27] โดยในฤดูกาล 2003-04 นิวคาสเซิลจบฤดูกาลในอันดับที่ 5 ของตาราง ห่างจากทีมอันดับที่ 4 เพียง 4 คะแนนเท่านั้น ทำให้ในฤดูกาล 2004-05 นิวคาสเซิลไม่สามารถแข่งขันยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกได้ แต่ต้องไปแข่งขันยูฟ่าคัพแทน[28]
เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 2004 เฟรดดี เชพเพิร์ด ประธานสโมสร ประกาศปลดร็อบสันออกจากตำแหน่ง เนื่องจากเริ่มฤดูกาลใหม่อย่างย่ำแย่ และขัดแย้งกับนักเตะ[29] โดยสโมสรได้ประกาศแต่งตั้ง แกรม ซูเนสส์ เข้าดำรงตำแหน่งแทนร็อบสัน
ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์
[แก้]ในวันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ. 2005 เขาได้ปฏิเสธข้อเสนอของฮาร์ทส์ที่ต้องการให้เขาดำรงตำแหน่งผู้จัดการทีม เนื่องจากเขาต้องการอาศัยอยู่ที่นิวคาสเซิล[30] ต่อมาในวันที่ 13 มกราคม ค.ศ. 2006 สตีฟ สตอนตัน เข้ารับตำแหน่งผู้จัดการทีมชาติไอร์แลนด์ โดยพร้อมกันนี้ได้แต่งตั้งให้ร็อบสันดำรงตำแหน่งที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ด้วย[31] และเขาก็ได้ประกาศรีไทร์จากวงการฟุตบอลด้วยเหตุผลด้านสุขภาพใน ค.ศ. 2007
ชีวิตนอกสนามฟุตบอล
[แก้]ชีวิตส่วนตัว
[แก้]ร็อบสันสมรสกับเอลซีตั้งแต่เดือนมิถุนายน ค.ศ. 1995[32] มีลูกชาย 3 คน คือ แอนดรูว์, พอล และมาร์ค[1][33]
ตั้งแต่ ค.ศ. 1992 เป็นต้นมา ร็อบสันจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาโรคมะเร็งอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งในบางครั้งนั้นต้องมีการผ่าตัดด้วย ทำให้ส่งผลต่อด้านการงานของเขาเป็นอย่างมาก ยกตัวอย่างสมัยที่เขาเป็นผู้จัดการทีมสโมสรฟุตบอลโปร์ตู เขาต้องพลาดการคุมทีมหลายเดือนในฤดูกาล 1995-96 เนื่องจากตรวจพบว่าเป็นมะเร็งผิวหนัง และเนื้องอกในปอดข้างขวา[34][35]
เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 2007 ร็อบสันเข้ารับการรักษาโรคมะเร็งอีกเป็นครั้งที่ 5 ต่อมาวันเสาร์ที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 2008 ในนัดชิงชนะเลิศฟุตบอลเอฟเอคัพที่สนามเวมบลีย์ ซึ่งปอร์ทสมัธเอาชนะคาร์ดิฟฟ์ซิตีไปได้ 1-0 โดยเขาเป็นผู้มอบถ้วยแชมป์ให้กับ โซล แคมป์เบลล์ กัปตันทีมปอร์ทสมัธ
การเสียชีวิต
[แก้]เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ร็อบสันเสียชีวิตลงอย่างสงบในขณะที่มีอายุ 76 ปี ด้วยโรคมะเร็ง[36]ที่บ้านของเขา หลังจากที่ป่วยมานานถึง 15 ปี หลังจากมีการเผยแพร่ข่าวการเสียชีวิตของเขาไปทั่วโลก ทำให้คนในแวดวงต่างๆเกิดความเศร้าโศกเสียใจเป็นอย่างมาก เซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน ผู้จัดการทีมแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ได้ออกมาสดุดีร็อบสันว่าเป็นยอดคนของวงการลูกหนัง โดยเฟอร์กูสันกล่าวว่า "ผมเสียใจมากต่อการจากไปของเพื่อนผู้ยิ่งใหญ่ ของบุคคลที่มหัศจรรย์ และเป็นคนที่มีความรู้ในเกมอย่างสูง" ส่วน กอร์ดอน บราวน์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ก็ร่วมกล่าวไว้อาลัยร็อบสันเช่นกัน โดยบราวน์กล่าวว่า "ผมรู้สึกเสียใจอย่างสุดซึ้งที่ได้ทราบข่าวการเสียชีวิตของ เซอร์ บ็อบบี้ ร็อบสัน ผมเคยได้พบกับบ็อบบี้ในหลายๆโอกาส เขาคือภาพรวมที่ชัดเจนสำหรับทุกๆเรื่องราวอันยอดเยี่ยมเกี่ยวกับฟุตบอลในประเทศนี้"[37]
กิจกรรมอื่นๆ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
มูลนิธิ เซอร์ บ็อบบี ร็อบสัน
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เกียรติยศ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สถิติในฐานะผู้จัดการทีม
[แก้]สถิติการคุมทีม
[แก้]ทีม | ประเทศ | ตั้งแต่ | ถึง | บันทึก | ||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
แข่ง | ชนะ | แพ้ | เสมอ | ชนะ % | ||||
ฟูลัม | มกราคม 1968 | พฤศจิกายน 1968 | 36 | 6 | 21 | 9 | 16.67 | |
อิปสวิชทาวน์[38] | มกราคม 1969 | สิงหาคม 1982 | 709 | 316 | 220 | 173 | 44.57 | |
ทีมชาติอังกฤษ[39] | 1982 | 1990 | 95 | 47 | 18 | 30 | 49.47 | |
เปเอสเฟ ไอนด์โฮเฟิน | 1990 | 1992 | 76 | 52 | 7 | 17 | 68.42 | |
สปอร์ติงลิสบอน | 1992 | 1994 | 59 | 34 | 12 | 13 | 57.63 | |
สโมสรฟุตบอลโปร์ตู | 1994 | 1996 | 120 | 86 | 11 | 23 | 71.67 | |
บาร์เซโลนา | 1996 | 1997 | 58 | 38 | 8 | 12 | 65.52 | |
เปเอสเฟ ไอนด์โฮเฟิน | 1998 | 1999 | 38 | 20 | 8 | 10 | 52.63 | |
นิวคาสเซิลยูไนเต็ด | กันยายน 1999 | สิงหาคม 2004 | 255 | 119 | 72 | 64 | 46.67 | |
ทั้งหมด | 1446 | 718 | 377 | 351 | 49.65 |
เกียรติยศจากการคุมทีม
[แก้]เกียรติยศ | ทีม | ปี |
---|---|---|
เท็กเซโกคัพ | อิปสวิชทาวน์ | 1973 |
เอฟเอคัพ | 1978 | |
ยูฟ่าคัพ | 1981 | |
Rous Cup | ทีมชาติอังกฤษ | 1986, 1988, 1989 |
เอเรอดีวีซี | เปเอสเฟ ไอนด์โฮเฟิน | 1991, 1992 |
คัพออฟโปรตุเกส | สโมสรฟุตบอลโปร์ตู | 1994 |
โปรตุกีสแชมเปียนชิพ | 1995, 1996 | |
สเปนิชซูเปอร์คัพ | บาร์เซโลนา | 1996 |
โกปาเดลเรย์ | 1997 | |
ยูโรเปียนคัพวินเนอร์คัพ | 1997 |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Sir Bobby: My fight against cancer". Daily Mail. 2007-05-05. สืบค้นเมื่อ 2007-05-15.
- ↑ "Robson: Dream to manage Newcastle". BBC Sport. 1999-09-30. สืบค้นเมื่อ 2007-06-13.
- ↑ Robson. Farewell but Not Goodbye. p. 15.
- ↑ Robson. Farewell but Not Goodbye. p. 299.
- ↑ "Final 1967/1968 English Division 1 (old) Table". Soccerbase. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-08. สืบค้นเมื่อ 2007-08-27.
- ↑ Robson. Farewell but Not Goodbye. p. 66.
- ↑ "Bobby Robson". Fulham F.C. สืบค้นเมื่อ 2007-05-16.
- ↑ "Bobby Robson". Pride of Anglia.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-16. สืบค้นเมื่อ 2007-05-16.
- ↑ "1978 - Osbourne's year". BBC Sport. 2001-05-10. สืบค้นเมื่อ 2007-05-16.
- ↑ "Ipswich thankful for Thijssen". UEFA. 2006-01-02. สืบค้นเมื่อ 2007-08-17.
- ↑ Robson. Farewell but Not Goodbye. pp. 150–53.
- ↑ "SPORTING LISBON — PORTO". footballderbies.com. สืบค้นเมื่อ 2007-06-19.
- ↑ Robson. Farewell but Not Goodbye. pp. 160–61.
- ↑ Robson. Farewell but Not Goodbye. p. 168.
- ↑ "Tactical masters fight for glory". BBC Sport. 2005-04-26. สืบค้นเมื่อ 2007-06-15.
- ↑ "Fast facts on Ronaldo". Sports Illustrated. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-25. สืบค้นเมื่อ 2007-08-31.
- ↑ "Managers — Bobby Robson (1996-97)". FC Barcelona. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-21. สืบค้นเมื่อ 2007-08-16.
- ↑ "Bobby Robson returns to PSV". BBC Sport. 1998-04-06. สืบค้นเมื่อ 2007-08-16.
- ↑ "Historie eredivisie competitie 1998-1999" (ภาษาดัตช์). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-05-07. สืบค้นเมื่อ 2007-08-17.
- ↑ "Robson: Dream to manage Newcastle". BBC Sport. 1999-08-30. สืบค้นเมื่อ 2007-08-17.
- ↑ "Robson takes Newcastle hotseat". BBC Sport. 1999-09-03. สืบค้นเมื่อ 2007-05-15.
- ↑ 22.0 22.1 Robson. "Going home". Farewell but Not Goodbye. p. 190.
- ↑ "England 1999/2000". rsssf.com. สืบค้นเมื่อ 2007-08-26.
- ↑ Brian McNally (2000-10-15). "Football: FA Warned: Hands off our Bobby". findarticles.com, originally Sunday Mirror. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-23. สืบค้นเมื่อ 2007-05-15.
- ↑ "FA Premier League 2001-2002". fchd.btinternet.co.uk. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-04. สืบค้นเมื่อ 2007-08-26.
- ↑ "FA Premier League - 2002-03". fchd.btinternet.co.uk. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-02. สืบค้นเมื่อ 2007-08-26.
- ↑ Michael Walker. "Newcastle pay price of failure | Football | The Guardian". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2008-09-13.
- ↑ "2003/2004 | Newcastle United | nufc.co.uk | Matches | Tables". Nufc.premiumtv.co.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-03. สืบค้นเมื่อ 2008-09-13.
- ↑ "Newcastle force Robson out". BBC Sport. 2004-08-30. สืบค้นเมื่อ 2007-05-14.
- ↑ "Robson rejects approach by Hearts". BBC Sport. 2005-06-07. สืบค้นเมื่อ 2007-05-15.
- ↑ "Republic appoint Staunton as boss". BBC Sport. 2006-01-13. สืบค้นเมื่อ 2007-05-14.
- ↑ "Bobby Robson diagnosed With Cancer for Fifth time". Medindia.net. 2007-05-07. สืบค้นเมื่อ 2009-07-31.
- ↑ "Sir Bobby Robson receives knighthood". BBC News. 2002-11-21. สืบค้นเมื่อ 2007-05-15.
- ↑ Robson. Farewell but Not Goodbye. pp. 162–68.
- ↑ "Robson discharged from hospital". BBC. 2006-08-07. สืบค้นเมื่อ 2007-05-13.
- ↑ Jonathan Stewart. "Football legend Sir Bobby Robson dies". 4ni.co.uk. สืบค้นเมื่อ 2009-07-31.
- ↑ Football honours Sir Bobby Robson BBC News 2009-08-01
- ↑ "Bobby Robson". Pride of Anglia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-16. สืบค้นเมื่อ 2008-02-14.
- ↑ "England Hall of Fame". FA.com. สืบค้นเมื่อ 2007-05-14.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Sir Bobby Robson - Daily Telegraph obituary
- The Sir Bobby Robson Foundation
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2476
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2552
- นักฟุตบอลชาวอังกฤษ
- ผู้จัดการทีมฟุตบอลชาวอังกฤษ
- ผู้จัดการทีมสโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลยูไนเต็ด
- บุคคลจากเทศมณฑลเดอรัม
- เสียชีวิตจากมะเร็งปอด
- ผู้รอดชีวิตจากมะเร็งลำไส้
- ผู้รอดชีวิตจากมะเร็งผิวหนัง
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ซีบีอี
- ผู้จัดการทีมสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา
- ผู้จัดการทีมในชุดชนะเลิศยูฟ่ายูโรปาลีก
- เซอร์
- ผู้จัดการทีมสโมสรฟุตบอลอิปสวิชทาวน์