ฌูเวา บือร์นาร์ดู วีไยรา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฌูเวา บือร์นาร์ดู วีไยรา
João Bernardo Vieira
ประธานาธิบดีกินี-บิสเซา
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม ค.ศ. 2005 – 2 มีนาคม ค.ศ. 2009
นายกรัฐมนตรีการ์ลุช โกมึช ฌูนีโยร์
อาริชตีดึช โกมึช
มาร์ตีญู อึนดาฟา กาบี
การ์ลุช กูไรยา
การ์ลุช โกมึช ฌูนีโยร์
ก่อนหน้าเอ็งรีกึ รอซา (รักษาการ)
ถัดไปไรมุงดู ปึไรรา (รักษาการ)
ดำรงตำแหน่ง
16 พฤษภาคม ค.ศ. 1984 – 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1999
ก่อนหน้าการ์เม็ง ปึไรรา
ถัดไปอังซูมาเน มาแน
ดำรงตำแหน่ง
14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1980 – 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1984
นายกรัฐมนตรีวิกโตร์ ซาอูดึ มารีอา
ก่อนหน้าลูวิช ดึ อัลไมดา กาบรัล
ถัดไปการ์เม็ง ปึไรรา
นายกรัฐมนตรีกินี-บิสเซา
ดำรงตำแหน่ง
28 กันยายน ค.ศ. 1978 – 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1980
ประธานาธิบดีลูวิช ดึ อัลไมดา กาบรัล
ก่อนหน้ากงช์ตังตีนู ไตไชรา
ถัดไปวิกโตร์ ซาอูดึ มารีอา
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด27 เมษายน ค.ศ. 1939(1939-04-27)
บิสเซา กินีของโปรตุเกส
เสียชีวิต2 มีนาคม ค.ศ. 2009(2009-03-02) (69 ปี)
บิสเซา กินี-บิสเซา
พรรคการเมืองไม่สังกัดพรรค
คู่สมรสอีซาแบล วีไยรา[1]

ฌูเวา บือร์นาร์ดู "นีนู" วีไยรา (โปรตุเกส: João Bernardo "Nino" Vieira; 27 เมษายน ค.ศ. 1939 – 2 มีนาคม ค.ศ. 2009) เป็นประธานาธิบดีแห่งประเทศกินี-บิสเซาระหว่าง ค.ศ. 1980–1999 และระหว่าง ค.ศ. 2005–2009 หลังการยึดอำนาจในปี ค.ศ. 1980 ประธานาธิบดีวีไยราได้ปกครองประเทศนานถึง 19 ปี และได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดีระบบหลายพรรคการเมืองในปี ค.ศ. 1994 ต่อมาได้ถูกขับไล่จากตำแหน่งแหน่งประธานาธิบดีในช่วงท้ายของสงครามกลางเมืองกินี-บิสเซาระหว่างปี ค.ศ. 1998–1999 และต้องลี้ภัยทางการเมือง ในปี ค.ศ. 2005 เขาก็ได้กลับมามีบทบาททางการเมืองอีกครั้งหลังชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปีนั้น ประธานาธิบดีวีไยราถูกสังหารโดยทหารจำนวนหนึ่งในวันที่ 2 มีนาคม ค.ศ. 2009 หลังเกิดเหตุการณ์ระเบิดลอบสังหารพลเอก บาติสตา ตักเม นา วาอี (Batista Tagme Na Waie) ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของประเทศกินี-บิสเซาได้ไม่นาน[2] ทางกองทัพกินี-บิสเซาได้ออกมาปฏิเสธความเกี่ยวข้องในการสังหารประธานาธิบดีวีไยราอย่างเป็นทางการ[3] หลังมีนายทหารหลายนายได้กล่าวอ้างความรับผิดชอบในเหตุการณ์ดังกล่าว[4]

วีไยรามักกล่าวถึงตนเองว่าเป็น "ของขวัญจากพระเจ้า" ซึ่งประทานแด่ประเทศกินี-บิสเซา เนื่องจากการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอย่างเหนียวแน่นและยาวนานของตนเอง

อ้างอิง[แก้]

  1. Latham, Brent (2009-03-02). "Guinea-Bissau President Vieira Leaves Legacy of Violence, Instability". Voice of America. สืบค้นเมื่อ 2009-03-02.
  2. "Guinea-Bissau president shot dead ", BBC, 2 March 2009
  3. "Guinea-Bissau president 'killed in clash between rival soldiers'", The Guardian, 2 March 2009>
  4. "President Joao Bernardo Vieira of Guinea-Bissau assassinated by army", Times Online, 2 March 2009