ข้ามไปเนื้อหา

จอห์น อิสรัมย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จอห์น อิสรัมย์
John Isram
จอห์น กับ ผลงานเพลงชุด "บิดสุดขีด"
จอห์น กับ ผลงานเพลงชุด "บิดสุดขีด"
สารนิเทศภูมิหลัง
ชื่อเกิดอัศวิน อิสรัมย์ [1]
เกิด28 ตุลาคม พ.ศ. 2498
จังหวัดอุดรธานี ประเทศไทย
เสียชีวิต20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 (54 ปี)
อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา
คู่สมรสนางธารินี อิสรัมย์ [2]
อาชีพนักแสดง นักพากย์ นักแสดงผาดโผน นักแข่งรถจักรยานยนต์
ปีที่แสดงพ.ศ. 2523 - 2552

จอห์น อิสรัมย์ นักแข่งรถจักรยานยนต์ผาดโผน อดีตแชมเปียนรถจักรยานยนต์โมโตครอสคนแรกของประเทศไทย ในปีแรกที่มีการจัดการแข่งขัน เมื่อ พ.ศ. 2520 [3] และได้ร่วมแข่งขันจักรยานยนต์วิบากทั้งในประเทศและแถบเอเชีย [3]

ประวัติ

[แก้]

จอห์น อิสรัมย์ เกิดที่จังหวัดอุดรธานี [2] เริ่มต้นเข้าสู่วงการแข่งรถผาดโผนตั้งแต่อายุ 17-18 ปี [3] มีชื่อเสียงจากการได้ตำแหน่งแชมเปี้ยนรถจักรยานยนต์โมโตครอสคนแรกของประเทศไทย ช่วง พ.ศ. 2520ในสังกัดซูซูกิ และ ย้ายเข้าร่วมทีม ยามาฮ่า ในปี 2521

ได้แสดงภาพยนตร์ในปี พ.ศ. 2523 รับบทนำคู่กับอำภา ภูษิต ในเรื่อง แข่งรัก แข่งรถ กำกับโดยสมเดช สันติประชา หลังจากนั้นปฎิเสธบทพระเอก เช่น บทพระเอกหนังเรื่องดาวพระเสาร์จึงมี สรพง ชาตรีมาแสดงแทน ขอเล่นบทผู้ร้าย เนื่องจากแบ่งเวลาไปโชว์ผาดโผนการกุศลช่วยทุนการศึกษาเด็กยากจน ทุกพื้นที่ทั่วไทย และยัง ช่วยงานในหลวง ร.9 และองค์ราชินี สอนขี่ยุทธวิถีรบให้ทหารเสือ[4] ขณะกำลังมีชื่อเสียงเคยถ่ายภาพยนตร์โฆษณาน้ำมันเครื่องคาสตรอล [5] แสดงผาดโผนขี่จักรยานลุยไฟออกรายการโทรทัศน์ ตามไปดู ทางช่อง 9 และออกผลงานเพลง ชื่อชุด “บิดสุดขีด” กับค่ายนิธิทัศน์ [1] ได้รับพระราชทานดินหลวงที่ในหลวง ร.9 ปั้นจากพระหัตถ์(มือ)พระองค์เองมากับผู้บัญชาการและเหล่าทัพ เพื่อเป็นเกียรติแก่ตระกูล อิสรัมย์ สืบต่อไป

“ไม่รับสตั๊นแมน ไม่ใช่นักพาก” จอห์น อิสรัมย์โชว์ผาดโผนเพื่อการกุศลเสี่ยงตายเพื่อให้เด็กยากจนมีโอกาสมีทุนการศึกษา ไม่หักค่าใช้จ่ายแม้แต่บาทเดียว และ เปิดร้านนำเข้า จำหน่ายรถจักรยานยนต์วิบาก และเปิดสอนขับขี่รถจักรยานยนต์ผาดโผน [3] พร้อมกับรับงานแสดงตัวประกอบภาพยนตร์ เช่นเรื่อง คนเลี้ยงช้าง ของหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล และภาพยนต์ไทยหลายร้อยเรื่อง

ผลงานหนึ่งที่เป็นที่[ฮ่องกง]]ร่วมกับเจิ้ง อี้เจี้ยน (นักแสดงนำของภาพยนตร์เรื่องฟงอวิ๋น) โดยประลองความเร็วมอเตอร์ไซค์ของตนที่เมืองพัทยาในภาพยนตร์เรื่อง เร็วทะลุนรก (烈火戰車2極速傳說; The Legend of Speed) ในปี พ.ศ. 2542 กำกับโดยแอนดริว เลา (ผู้กำกับ สองคนสองคม)

ผลงานแสดงล่าสุดคือเรื่อง บางระจัน 2 ของธนิตย์ จิตนุกูล รับบทเป็นเนเมียวสีหบดี แม่ทัพพม่า [2] และได้รับคัดเลือกให้รับบท "คะหยิ่น" หัวหน้ากะเหรี่ยงในโครงการสร้างภาพยนตร์ เพชรพระอุมา ของหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล [6]

การเสียชีวิต

[แก้]

จอห์น อิสรัมย์มีอาการโรคหัวใจกำเริบ หลังจากเดินทางกลับจากถ่ายทำฉากแอ็คชั่นในภาพยนตร์เรื่องบางระจัน 2 ที่จังหวัดสระบุรี เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ขณะนำส่งโรงพยาบาลแปลงยาว ตำบลวังเย็น อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา เนื่องจากอาการกล้ามเนื้อหัวใจวายเฉียบพลัน [7] ญาตินำศพไปประกอบพิธีทางศาสนา และฝังที่สุเหร่าหนองมะนาว ตำบลท่าบุญมี อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี

ผลงานเพลง

[แก้]
  • บิดสุดขีด (สิงหาคม 2535)

อัลบั้มรวมเพลง

[แก้]
  • เพลินเพลงเพื่อชีวิต (มิถุนายน 2563)

ผลงานละคร

[แก้]
  • สืบลับรหัสรัก (2550) ช่อง 3

ผลงานภาพยนตร์

[แก้]
  • แข่งรถแข่งรัก (2523)
  • นักสืบฮาร์ด (2525)
  • ดาวพระเสาร์ (2525)
  • เสียงเพลงนักเลงโหด (2525)
  • ลูกสาวกำนัน ภาค 2 (2526)
  • เลขาคนใหม่ (2526)
  • มือปืน (2526)
  • เสือล่าสิงห์ (2527)
  • เหนือฟ้ายังมีเซียน (2529) (รับเชิญ)
  • ล่าด่วนนรก (2529)
  • คนเลี้ยงช้าง (2533) รับบท หาญ มือปืน/คนขับรถ
  • ปีศาจสงคราม (2533)
  • เพชรพระอุมา (2533)
  • เร็วทะลุนรก (2542) รับบท จอห์น อิสรัมย์
  • สนิมสร้อย (2546)
  • เกิดมาลุย (2547)
  • ฤทธิ์เหล็กไหล (2551) รับบท เที่ยง
  • บางระจัน 2 (2553) รับบท เนเมียวสีหบดี

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 หัวใจวายคร่าจอห์นนักบิดดัง เดลินิวส์, 21 พฤศจิกายน 2552
  2. 2.0 2.1 2.2 ใจวายคร่าชีวิต จอห์น อิสรัมย์ สิ้นตำนาน นักขี่จยย. ผาดโผน! ข่าวสด, 21 พฤศจิกายน 2552
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "เว็บไซต์ส่วนตัว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2009-11-21.
  4. http://www.thaifilmdb.com/th/pp02399
  5. ปิดตำนาน "บิดสุดขีด" ปิดตำนานนักบิดผาดโผนหนึ่งเดียวของไทย "จอห์น อิสรัมย์" โอเคเนชั่น
  6. เพชรพระอุมา (Update 2)
  7. “จอห์น อิสรัมย์”นักแข่งชื่อดังดับ เดลินิวส์, 20 พฤศจิกายน 2552

เชิงอรรถ

[แก้]


==แหล่งข้อมูลอื่น