ข้ามไปเนื้อหา

ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะ

พิกัด: 35°45′55″N 140°23′08″E / 35.76528°N 140.38556°E / 35.76528; 140.38556
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะ

成田国際空港

นาริตะ โคะกุไซ คูโก
มุมมองทางอากาศของท่าอากาศยาน ปี 2008
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานสาธารณะ
เจ้าของ-ผู้ดำเนินงานนาริตะ อินเตอร์เนชันแนล แอร์พอร์ต คอร์เปอเรชัน (NAA)
พื้นที่บริการเขตอภิมหานครโตเกียว
ที่ตั้งนาริตะ จังหวัดชิบะ ประเทศญี่ปุ่น
เปิดใช้งาน20 พฤษภาคม 1978; 46 ปีก่อน (1978-05-20)
ฐานการบิน
ฐานปฏิบัติ
เหนือระดับน้ำทะเล41 เมตร / 135 ฟุต
พิกัด35°45′55″N 140°23′08″E / 35.76528°N 140.38556°E / 35.76528; 140.38556
เว็บไซต์www.narita-airport.jp/en
แผนที่
แผนที่
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
ฟุต เมตร
16R/34L 13,123 4,000[1] ยางมะตอย
16L/34RA 8,202 2,500 ยางมะตอย
ทางวิ่ง C โครงการ
สถิติ (2020)
ผู้โดยสาร32,705,995
สินค้า2,356,119 ตัน
เที่ยวบิน165,264

ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะ (ญี่ปุ่น: 成田国際空港) เป็นสนามบินนานาชาติ ตั้งอยู่ที่เมืองนาริตะ จังหวัดชิบะ ประเทศญี่ปุ่น ดำเนินการโดย บริษัทท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะ ซึ่งแปรสภาพมาจาก องค์การบริหารงานท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียวแห่งใหม่

ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะเป็นสนามบินหลักที่ให้บริการผู้โดยสารระหว่างประเทศที่เดินทางเข้าและออกจากประเทศญี่ปุ่น และเป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างทวีปเอเชียและอเมริกา เป็นสนามบินที่รองรับเที่ยวบินสำหรับผู้โดยสารมากอันดับ 2 ของญี่ปุ่น (รองจากสนามบินฮะเนะดะ) เป็นสนามบินที่รองรับการขนส่งทางอากาศเป็นอันดับ 1 ของญี่ปุ่นและอันดับ 3 ของโลก

ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะเป็นท่าอากาศยานหลักของสายการบินเจแปนแอร์ไลน์ สายการบินออล นิปปอน แอร์เวย์ และสายการบินนอร์ธเวสต์แอร์ไลน์ และยังเป็นท่าอากาศยานรองของสายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ อีกด้วย

ท่าอากาศยานานาชาตินาริตะ เคยใช้ชื่อว่า ท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียวแห่งใหม่ (新東京国際空港 Shin-Tōkyō Kokusai Kūkō; New Tokyo International Airport) จนกระทั่ง ค.ศ. 2004 ถึงแม้สนามบินนาริตะจะให้บริการผู้โดยสารที่เดินทางเข้าออกเมืองโตเกียวเป็นหลัก แต่ตัวสนามบินเองไม่ได้อยู่ในโตเกียว (การเดินทางจากนาริตะไปยังใจกลางเมืองโตเกียวใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงโดยรถไฟที่เร็วที่สุด) ส่วนสนามบินฮะเนะดะ หรือ ท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียว ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงโตเกียว และเป็นสนามบินที่รองรับผู้โดยสารมากเป็นอันดับ 1 ของญี่ปุ่นและอันดับ 4 ของโลก ให้บริการผู้โดยสารในประเทศเป็นหลัก

ความขัดแย้ง[แก้]

เป็นความขัดแย้งระหว่างชุมชนเกษตรกรในเมืองซันริซูกะ (ปัจจุบันคือเมืองนาริตะ) กับรัฐบาลญี่ปุ่น สาเหตุจากการตัดสินใจของรัฐบาลในก่อสร้างท่าอากาศยานในเมืองซันริซูกะโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้อยู่อาศัย เพราะรัฐบาลญี่ปุ่นมองว่าพื้นที่ซันริซูกะยังเป็นการทำเกษตรกรรมที่ไม่ได้มีรายได้สูง การเวนคืนที่ดินน่าจะทำได้ง่าย [3] นำไปสู่การประท้วงและเดินขบวนขัดขวางการสร้างอย่างรุนแรง แม้กระทั้งการบุกยึดหอบังคับการบินและการลอบวางระเบิด [4]

การคมนาคม[แก้]

สนามบินนาริตะมีรถไฟสองขบวน ของทาง เคเซ (Keisei) และ เจอาร์ (JR) และสายที่สามอยู่ระหว่างการก่อสร้างแล้วเสร็จปี 2553 นอกจากรถไฟแล้วยังมีบริการแท็กซี่และรถเมล์

อาคารผู้โดยสารและสายการบิน[แก้]

ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะมีอาคารผู้โดยสาร 2 หลัง แต่ละหลังมีสถานีรถไฟใต้ดินแยกจากกัน และไม่มีทางเดินเท้าเชื่อมถึงกัน การเดินทางระหว่างอาคารทั้งสองจะใช้ชัทเทิลบัส และรถไฟ

อาคารผู้โดยสาร 1[แก้]

อาคารทิศเหนือ[แก้]

สายการบิน จุดหมายปลายทาง
การูดาอินโดนีเซีย เดนปาร์ซา/บาหลี, จาร์ตาต้า-ซูกาโน่ฮัตต้า
แอโรฟลอต มอสโก-เชเรเมเตียโว
แอร์โรเม็กซิโก เม็กซิโกซิตี้
แอร์คาลิน นูเมอา
แอร์ฟรานซ์ ปารีส
อลิตาเลีย มิลาน-มัลเปนซา, โรม-ฟิอูมิชิโน
บริติชแอร์เวย์ ลอนดอน-ฮีทโธรว์
เดลตาแอร์ไลน์ แอตแลนต้า,ปักกิ่ง-แคปิตอล, ดีทรอยต์,กวม, ฮ่องกง,ฮอนโนลูลู, ลอสแองจาลิส,มะนิลา,มินนีแอโพลิส/เซน. พอล, นิวยอร์ก-เจเอฟเค, พอร์ตแลนด์ (โออาร์), ไซปัน, ซารฟรานซิสโก, ซีแอตเทิส/แทกโคม่า, เซี่ยงไฮ้-ผู่ตง, สิงคโปร์, ไทเป-เทาหยวน

เฉพาะฤดูกาล: โคโรว-เกาะปาโลว์

เคแอลเอ็ม อัมสเตอร์ดัม
โคเรียนแอร์ ปูซาน, เจจู, ลอสแอนเจลิส, โซล,ลอสแองจาลิส
ทรานส์แอร์โรว์ เฉพาะฤดูกาล:มอสโก-โดโมเดโดโว,เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก
เวียดนามแอร์ไลน์ ท่าอากาศยานนานาชาตินอยไบฮานอย, โฮจิมินห์ซิตี
เวอร์จิ้นกาแลคติก ลอนดอน-ฮีทโธรว์

อาคารทิศใต้[แก้]

สายการบิน จุดหมายปลายทาง
แอร์ปูซาน ปูซาน
แอร์นิวซีแลนด์ โอ๊กแลนด์, เฉพาะฤดูกาล:ไครส์เชริต์
แอร์แคนาดา โตรอนโต-แพร์สัน, แวนคูเวอร์
แอร์ไชนา ปักกิ่ง, เฉิงตู, ฉงชิง, ต้าเหลียน, เซี่ยงไฮ้-ผู่ตง, เซินเจิ้น,อู่ฮั่น
ออลนิปปอนแอร์เวย์ กรุงเทพมหานคร,กรุงเทพ-สุวรรณภูมิ, ปักกิ่ง-แคปิตอล, ชิคาโก้-โอแฮลร์, นิวเดลี,แฟรงเฟิรต,หังโจว, จาร์กาต้า-ซูกาโน่ ฮัตต้า, ลอนดอน-ฮีตโธรว์, ลอสแองจาลิส,มะนิลา, มิวนิก,นิวยอร์ก-เจเอฟเค, โอกินาวะ, โอซากี-อิตามิ, ปารีส-ชาลส์เดอโกล, ชิงเต่า, ซานฟรานซิลโก,ซานโจส์(CA), ซัปโปโร-ชิโตะเซะ

, ซิแอตเทล/ทาโคม่า,เซี่ยงไฮ-ผู่ตง, เสินหยาง, สิงคโปร์, วอชิงตัน-ดูเลส

ออลนิปปอนแอร์เวย์ (Air Central) นาโงยา, เซนได
ออลนิปปอนแอร์เวย์ (Air Japan) กรุงเทพ-สุวรรณภูมิ,ต้าเหลียน, โฮจิมินต์ซีตี้, ฮ่องกง,ฮอนโนลูลู,สิงคโปร์, ไทเป-เถาหยวน
ออลนิปปอนแอร์เวย์ (Ibex Airlines) ฮิโรชิมะ, โคมัตสุ, โอซะกะ-อิตะมิ, ซัปโปโร-ชิโตเสะ, เซนได
ออลนิปปอนแอร์เวย์ (Air Nippon) เฉิงตู,ฟูกุโอกะ,กวางโจว, มุมไบ, นิงาตะ, โอซาก้า-อิตามิ,เซียะเหมียน, ย่างกุ้ง
เอ็กนิสแอร์เวย์ อูลานบาตาร์
เอมิเรตส์ ดูไบ
เอทิฮัดแอร์เวย์ อาบูดาบี
เอเชียนาแอร์ไลน์ โซล
ออสเตรียนแอร์ไลน์ เวียนนา
อีวีเอแอร์ ไทเป
อียิปต์แอร์ ไคโร
เอเดลเวอิสแอร์ เฉพาะฤดูกาล:ซูริค
ลุฟท์ฮันซา แฟรงค์เฟิร์ต, มิวนิก
เอ็มไอเอทีมองโกเลียนแอร์ไลน์ โซล-อินชอน, อูลานบาร์ตาร์
กาตาร์แอร์เวย์ โดฮา
สแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์ซิสเต็ม โคเปนเฮเกน
สิงคโปร์แอร์ไลน์ ลอสแอนเจลิส, สิงคโปร์
สวิสอินเตอร์เนชันแนลแอร์ไลน์ ซูริค
การบินไทย กรุงเทพมหานคร, ภูเก็ต
สายการบินตุรกี อิสตันบูล
ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ กรุงเทพ-สุวรรณภูมิ, ชิคาโก้-โอแฮลร์, เดนเวอร์,กวม,ฮ่องกง, ฮอนโนลูลู,ฮุสตัน-อินตอร์คอนติเนตอล, ลอสแองจาลิส, เนวาร์ก,ซานฟรานซิสโก, ซีแอตเทล/ทาโคม่า, โซลอินชอน, สิงคโปร์,วอชิงตัน-ดูเลส
อุซเบกิสถานแอร์เวย์ ทาชเคนต์
ยาคุตสค์แอร์เวย์ Charter:ยาคุตสค์
อาคาร 2
ทางเดินภายในอาคาร
ระบบเชื่อมต่อระหว่างสองอาคาร
บริเวณเช็คอิน, อาคาร 1 ฝั่งทิศใต้
ด้านนอกอาคาร 1 กับอาคารกลางฝั่งทิศเหนือ

อาคารผู้โดยสาร 2[แก้]

สายการบิน จุดหมายปลายทาง
บริชติชแอร์เวย์ ลอนดอน-ฮีตโธรว์
คาเธย์แปซิฟิก ฮ่องกง, ไทเป
ไชนาแอร์ไลน์ ฮอนโนลูลู, ไทเป
ไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์ ปักกิ่ง, นานจิง, เซี่ยงไฮ้, ซีอาน
ไชนาเซาเทิร์นแอร์ไลน์ ชางชุน, ต้าเหลียน, กวางโจว,เซนหยาง
อีสตาร์เจ็ต โซล-อินชอน
ฟินแอร์ เฮลซิงกิ
แจแปนแอร์ไลน์ กรุงเทพ-สุวรรณภูมิ, ปักกิ่ง-แคปิตอล, บอสตัน,ปูซาน, ชิคาโก้-โอแฮลร์,ต้าเหลียน,นิวเดลี,แฟรงเฟิรต์,ฟูกุโอกะ,กวม,กวางโจว, ฮานอย, เฮลซิงกิ,โฮจิมินต์ซิตี้, ฮ่องกง, ฮอนโนลูลู, จาร์กาต้า-ซูกาโน่ฮัตต้า,เกาสง,กัวลาลัมเปอร์,ลอนดอน-ฮีตโธรว์, ลอสแองจาลิส,มะนิลา, มอสโก-โดโมเดโดโว,นาโกย่า-เซ็นแทรร์, นิวยอร์ก-เจเอฟเค,โอซาก้า-อิตามิ, ปารีส-ชาลส์เดอโกล, ซานอิเดโก้,ซัปโปโร-ชิโตเซะ, โซล-อินชอน, เซี่ยงไฮ้-ผู่ตง,สิงคโปร์, ซิตนีย์, ไทเป-เถาหยวน,แวนคูเวอร์
แจแปนแอร์ไลน์ (Japan Transocean Air) โอกินาวะ
แจแปนแอร์ไลน์(JAL Express) นาโกย่า-เซ็นแทรร์, โอซาก้า-อิตามิ
เจ็ตสตาร์เจแปน ฟูกุโอกะ,คาโกชิมะ,มัตสึมายะ,โอกิตะ, โอกินาวะ, โอซาก้า-คันไซ, ซัปโปโร-ชิโตเซะ
เจจูแอร์ โซล-อินชอน
ไทยแอร์เอเชียเอกซ์ กรุงเทพ-ดอนเมือง
มาเลเซียแอร์ไลน์ กัวลาลัมเปอร์,ลอสแองจาลิส
ปากีสถานอินเตอร์เนชั่นแนลแอร์ไลน์ ปักกิ่ง, อิสลามาบาด, การาจี, ละฮอร์
ฟิลิปปินส์แอร์ไลน์ เซบู, มะนิลา
แควนตัส เพิร์ธ, ซิดนีย์
เจ็ตสตาร์แอร์เวย์ แครนส์, โกล คอสต์, มะนิลา , ดาร์วิน
สกู้ต สิงคโปร์,ไทเป-เถาหยวน,ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง
เอส7แอร์ไลน์ คาปารอปสกี้ วลาดีวอสต๊อก
สกายมาร์คแอร์ไลน์ อาซาชิคาว่า, ฟูกุโอกะ, โกเบ, โอกินาวะ,ซัปโปโร-ชิโตเซะ

เฉพาะฤดูกาล: คาโกชิมะ

ศรีลังกาแอร์ไลน์ โคลัมโบ
แอร์เอเชียเจแปน ปูชาน,ฟูกุโอกะ,โอกินาวะ, ซัปโปโร-ชิโตเซะ,โซล-อินชอน
แอร์มาเก๊า มาเก๊า
แอร์อินเดีย เดลี, มุมไบ
แอร์นิวกินี พอร์ตโมเลสบี้
แอร์ทาฮิติ นัว พาพิเต้
อเมริกันแอร์ไลน์ ชิคาโก, ดาลัส/ฟอร์ตเวริค์, ลอสแอนเจลิส, นิวยอร์ก

สายการบินขนส่งสินค้า[แก้]

สายการบิน จุดหมายปลายทาง
Aeroflot-Cargo
Air France Cargo ปารีส-Charles de Gaulle
Air Hong Kong ฮ่องกง
ANA & JP Express
Cathay Pacific
Euro Cargo Air [planned] [1] เก็บถาวร 2019-08-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
FedEx Express Memphis
KLM Cargo
Korean Air Cargo
Lufthansa Cargo
MASkargo กัวลาลัมเปอร์, ปีนัง
Nippon Cargo Airlines
Northwest Cargo
Polar Air Cargo
Singapore Airlines Cargo
UPS Airlines

อ้างอิง[แก้]

  1. Narita's 4,000-เมตร (13,123-ฟุต) main runway shares the record for longest runway in Japan with one at Kansai International Airport that opened in 2007.
  2. "NARITA AIRPORT TRAFFIC STATISTICS -2022(JAN-DEC)" (PDF; 578 KB). naa.jp (ภาษาอังกฤษ). Narita International Airport Corporation. 2023-01-26. สืบค้นเมื่อ 2023-02-09.
  3. "[Wingtips เล่าเรื่องการบิน] รู้จักกับ "Sanrizuka" ความขมขื่นเบื้องหลังการก่อสร้างสนามบินนาริตะ สนามบินระดับโลกที่มีไร่นาขวางรันเวย์ มีเวลาห้ามเครื่องบินขึ้นลง หลายๆคนที่ติดตามการไลฟ์ผ่านเฟสบุ๊คของคุณ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าร". www.blockdit.com. สืบค้นเมื่อ 18 March 2023.
  4. "成田空港~その役割と現状~ | 成田国際空港株式会社". www.naa.jp. สืบค้นเมื่อ 18 March 2023.

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]