แอร์นิวซีแลนด์
แอร์นิวซีแลนด์ เป็นสายการบินแห่งชาติของประเทศนิวซีแลนด์ ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1940 (พ.ศ. 2483) มีท่าอากาศยานหลักคือท่าอากาศยานนานาชาติออกแลนด์ ให้บริการไปยังจุดหมายปลายทางในเอเชีย ยุโรป อเมริกาเหนือ และโอเชียเนีย ซึ่งเป็นจุดหมายหลักของสายการบิน สายการบินเป็นหนึ่งในสมาชิกของพันธมิตรสายการบินสตาร์อัลไลแอนซ์[1]
![]() | ||||
| ||||
ก่อตั้ง | 26 เมษายน พ.ศ. 2483; 81 ปี (ในชื่อว่า TEAL) | |||
---|---|---|---|---|
เริ่มดำเนินงาน | 1 เมษายน พ.ศ. 2508; 56 ปี (ในชื่อว่า Air New Zealand) | |||
ท่าหลัก | ท่าอากาศยานนานาชาติออกแลนด์
ท่าอากาศยานนานาชาติไครสต์เชิร์ช ท่าอากาศยานเวลลิงตัน | |||
เมืองสำคัญ | ควีนส์ทาวน์ ซิดนีย์ | |||
สะสมไมล์ | แอร์พอยต์ | |||
ห้องรับรอง | โครู เลานจ์ | |||
พันธมิตรการบิน | สตาร์อัลไลแอนซ์ | |||
ขนาดฝูงบิน | 103 | |||
จุดหมาย | 51 | |||
บริษัทแม่ | รัฐบาลนิวซีแลนด์ (สัดส่วน 73.72%) | |||
สำนักงานใหญ่ | อ็อคแลนด์, นิวซีแลนด์ | |||
บุคลากรหลัก | Greg Foran (ประธานบริหาร) | |||
เว็บไซต์ | http://www.airnewzealand.com |
ประวัติ[แก้]
ในปี พ.ศ. 2483 TEAL หรือ Tasman Empire Airways Limited ได้ถูกก่อตั้งขึ้น[2] เที่ยวบินแรกของสายการบินออกเดินทางจาก อ๊อคแลนด์ไปซิดนีย์และเวลลิงตัน ต่อมา จึงได้เพิ่มเที่ยวบินไปยังฟิจิ ซามัว ตาฮิติ และหมู่เกาะคุก[3] รัฐบาลออสเตรเลียได้ทำการซื้อหุ้นส่วนของ TEAL ไปทั้งหมด 50% ในปี 2496 ส่วนที่เหลืออีก 50% ก็ตกเป็นของรัฐบาลนิวซีแลนด์ ในปีพ.ศ. 2504 สายการบินนี้ได้กลายเป็นของรัฐบาลนิวซีแลนด์โดยสมบูรณ์ TEAL ได้เปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการว่า Air New Zealand
เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2508 สายการบินได้ซื้อเครื่องบินดักลาส ดีซี-8 ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2508 ซึ่งใช้สำหรับเส้นทางที่ยาวกว่าไปยังโฮโนลูลูและลอสแอนเจลิส จากนั้นในปี 2524 แอร์นิวซีแลนด์ก็ได้ซื้อ โบอิ้ง 747 แอร์นิวซีแลนด์ ซื้อ แอนเสต ออสเตรเลีย ในปี 2000 ภายหลัง แอนเสต ก็เลิกกิจการไป
เส้นทางการบิน[แก้]
แอร์นิวซีแลนด์ให้บริการปลายทางภายในประเทศ 20 แห่งและปลายทางระหว่างประเทศ 30 แห่งในสิบแปดประเทศและเขตแดนทั่วเอเชีย อเมริกาเหนือ และโอเชียเนีย
แอร์นิวซีแลนด์ดำเนินการเส้นทางเสรีภาพสี่เส้นทางที่ห้า (เช่น ระหว่างสองปลายทางที่ไม่ใช่ของนิวซีแลนด์) สายการบินดำเนินการเที่ยวบินรายสัปดาห์จากราโรตองกาไปซิดนีย์และลอสแอนเจลิส นอกเหนือจากเที่ยวบินที่ต่อเครื่องผ่านโอ๊คแลนด์[4] ในปี 2555 หลังจากได้รับสัญญาจากรัฐบาลออสเตรเลีย สายการบิน แอร์นิวซีแลนด์ ได้เปิดตัวบริการสัปดาห์ละสองครั้งจากซิดนีย์และบริสเบนไปยังเกาะนอร์ฟอล์กด้วยเครื่องบินแอร์บัส เอ320
ฝูงบิน[แก้]
แอร์นิวซีแลนด์ มีเครื่องบินประจำการอยู่ในฝูงบินทั้งหมด 106 ลำ ดังนี้
เครื่องบิน | ประจำการ | คำสั่งซ้อ | ผู้โดยสาร | หมายเหตุ | ||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
B | P | S | E | ทั้งหมด | ||||
แอร์บัส เอ320-200 | 1 | — | — | — | — | 168 | 168 | การจัดเรียงสำหรับเที่ยวบินระหว่างประเทศ[5] |
17 | 171 | 171 | การจัดเรียงสำหรับเที่ยวบินภายในประเทศ[6] | |||||
แอร์บัส เอ320นีโอ | 6 | — | — | — | — | 165 | 165 | แทนที่ แอร์บัส เอ 320-200 รุ่นเก่า กำหนดส่งมอบภายในปี 2564.[7][8][9][10] |
แอร์บัส เอ321นีโอ | 7 | 7[11] | — | — | — | 214 | 214 | |
เอทีอาร์ 72-600 | 29 | — | — | — | — | 68 | 68 | |
โบอิ้ง 777-300 อีอาร์ | 7 | — | 44 | 54 | 60 | 184 | 342 | ทั้งหมดถูกจัดเก็บแล้ว จะถูกแทนที่ด้วย โบอิ้ง 787-10s ภายในปี 2570.[12] |
โบอิ้ง 787-9 | 14[13] | — | 27 | 33 | 39 | 176 | 275 | ผู้เริ่มให้บริการ[14] |
18 | 21 | 42 | 221 | 302 | ||||
โบอิ้ง 787-10 | — | 8[15] | รอการประกาศต่อไป | กำหนดส่งมอบใปี 2567. | ||||
บอมบาร์ดิเอร์ แดช 8 -300 | 23 | — | — | — | — | 50 | 50 | |
ทั้งหมด | 106 | 15 |
ข้อมูล ณ กรกฎาคม พ.ศ. 2564
การบริการ[แก้]
ห้องโดยสาร[แก้]
ชั้นประหยัด[แก้]
ที่นั่งชั้นประหยัดมีให้บริการบนเครื่องบินทุกลำโดยจะมีการจัดเรียงที่นั่งแบบ 3-3-3 บนโบอิ้ง 787, 3-4-3 บนโบอิ้ง 777-200 และ 300 อีอาร์ ที่นั่งมีความกว้างประมาณ 790 -880 มิลลิเมตร สามารถเอนเบาะที่นั่งได้ประมาณ 152 มิลลิเมตร ที่นั่งชั้นประหยัดทุกที่นั่งได้มีการติดตั้งหน้าจอความบันเทิงไว้ทุกที่นั่ง โดยหน้าจอจะมีขนาด 9 ถึง 10 นิ้ว
ชั้นประหยัด สกายเคาช์[แก้]
ที่นั่งชั้นประหยัด สกายเคาช์ มีให้บริการในเครื่องบิน โบอิ้ง 787-9, โบอิ้ง 777-200ER และ โบอิ้ง 777-300ER โดยเป็นชุดที่นั่งชั้นประหยัดสามที่นั่งแถวริมหน้าต่างของห้องโดยสารที่มีพนักวางแขนที่สามารถหดกลับเข้าไปในที่นั่งด้านหลัง และที่พักขาแบบเต็มที่สามารถปรับยกขึ้นเองทีละตัวและแบบแมนนวล เพื่อสร้างพื้นผิวเรียบที่ยื่นออกไปทางด้านหลังของที่นั่งด้านหน้า ที่นั่งชั้นนี้ได้รับการออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับครอบครัว เพื่อใช้เป็นพื้นที่สำหรับเล่นที่ราบเรียบ และสำหรับคู่รักที่ซื้อเบาะนั่งตรงกลางในราคาตัวละ 25% ก็สามารถใช้เป็นเบาะนอนราบได้[16][17]
ที่นั่งชั้นประหยัด สกายเคาช์ แต่ละที่นั่งมีสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานเหมือนกับที่นั่งชั้นประหยัดแบบมาตรฐาน ที่นั่งชั้นนี้มีให้บริการเฉพาะในเส้นทางที่มีระยะเวลานานกว่า 6 ชั่วโมงเท่านั้น ในกรณีที่เครื่องบินถูกใช้ในเส้นทางที่สั้นกว่า ที่พักขาจะถูกล็อกและที่นั่งชั้นสกายเคาช์จะทำหน้าที่เป็นที่นั่งชั้นประหยัดแบบปกติ
ชั้นประหยัดพรีเมียม[แก้]
ที่นั่งชั้นประหยัดพรีเมียมจะอยู่ในโซนเฉพาะในห้องโดยสาร ซึ่งใช้ห้องสุขาร่วมกับห้องโดยสาร ธุรกิจพรีเมียร ซึ่งมีอยู่ในเครื่องบินโบอิ้ง 777-200ER, โบอิ้ง 787-9 และโบอิ้ง 777-300ER บางลำ ห้องโดยสารมีไฟส่องสว่าง การรับประทานอาหารและไวน์ที่คัดสรร และปลั๊กไฟในบริเวณที่นั่ง เช่นเดียวกับห้องโดยสารชั้นธุรกิจพรีเมียร์ ที่นั่งที่ได้รับการตกแต่งใหม่นั้นกว้างขึ้นด้วยการปรับเอนได้ขนาด 9 นิ้ว และที่พักขาที่ขยายได้ โดยมีการจัดเรียงที่นั่งแบบ 2-4-2 ในโบอิ้ง 777 และรูปแบบ 2-3-2 ในโบอิ้ง 787-9 ระยะห่างระหว่างที่นั่งประมาณ 41 นิ้ว (1,000 มม.)
ชั้นธุรกิจพรีเมียร[แก้]
ที่นั่งชี้นธุรกิจพรีเมียร์ เป็นชั้นโดยสารสูงสุดที่มีในเที่ยวบินของ แอร์นิวซีแลนด์ โดยมีให้เลือกทั้งโบอิ้ง 777 และโบอิ้ง 787 ที่นั่งได้รับการกำหนดค่าในรูปแบบรูปแฉกแนวตั้งในรูปแบบ 1-2-1 บน 777 และ 1-1-1 บน 787 ทำให้ผู้โดยสารทุกคนสามารถเข้าถึงทางเดินได้โดยตรง เบาะนั่งแต่ละที่นั่งเป็นหนังกว้าง 22 นิ้ว (560 มม.) และที่พักเท้าแบบอัตโนมัติที่สามารถใช้เป็นเบาะสำหรับแขกได้ เบาะนั่งสามารถปรับเป็นเตียงนอนราบแบบเต็มความยาวได้ (79.5 นิ้วหรือ 2,020 มม.)
ห้องรับรอง[แก้]
แอร์นิวซแลนด์ เลานจ์ เป็นชื่อสำหรับเครือข่ายห้องรับรองของสายการบินทั่วโลกของ แอร์นิวซีแลนด์ สมาชิกของโปรแกรม แอร์นิวซีแลนด์ โครู สามารถเข้าใช้ห้องรับรองและรับบริการจอดรถ ช่องเช็คอินพิเศษ ปริมาณสัมภาระเช็คอินเพิ่มเติม และที่นั่งที่สำรองไว้
การลงทะเบียนเช็คอิน[แก้]
แอร์นิวซีแลนด์ ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเช็คอินให้มีความทันสมัยมากขึ้น โดยมีการเช็คอินอยู่ 3 แบบ ได้แก่
- การลงทะเบียนผ่านเคาน์เตอร์เช็คอินที่สนามบิน
- การลงทะเบียนผ่านซุ้มเช็คอินด้วยตนเองที่สนามบิน โดยจะมีการบริการเพียงบางสนามบินเท่านั้น
- การลงทะเบียนทางออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน Air NZ
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "Member Airline Details". www.staralliance.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Tasman Empire Airways Limited (TEAL) | Teal Motor Lodge | Gisborne New Zealand Accommodation | Book Direct and Save". www.teal.co.nz.
- ↑ http://www.teal.co.nz/teal/TEAL+2.htm
- ↑ "Air New Zealand renews agreements to operate long haul Cook Islands services - Media releases 2014 - Media Releases - Media Centre - Company Information - Air New Zealand". web.archive.org. 2014-12-14.
- ↑ "Airbus A320 (International)". Air New Zealand. สืบค้นเมื่อ 4 November 2016.
- ↑ "Airbus A320 (NZ Domestic)". Air New Zealand. สืบค้นเมื่อ 4 November 2016.
- ↑ Bradley, Grant (2 June 2014). "Air NZ buys planes worth $1.6b". New Zealand Herald. สืบค้นเมื่อ 2 June 2014.
- ↑ Bradley, Grant (6 June 2017). "Air New Zealand to go shopping for new ultra-long range planes". The New Zealand Herald.
- ↑ "Air NZ commits to taking seven more A321neos". Flight Global. 24 August 2018. สืบค้นเมื่อ 24 August 2018.
- ↑ "Air New Zealand to defer Airbus A320neo family aircraft deliveries". Australian Aviation (ภาษาอังกฤษ). 2019-03-28. สืบค้นเมื่อ 2020-01-03.
- ↑ Hilsz-Lothian, Aaron (2018-11-05). "Air New Zealand takes delivery of their first Airbus A321neo". SamChui.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-01-03.
- ↑ "Air NZ to retire all Boeing 777s - it's largest jet". สืบค้นเมื่อ 25 October 2021.
- ↑ Mrcaviation (2019-10-28). "3rd Level New Zealand: Air New Zealand Boeing 787-9 ZK-NZR delivered and enters service". 3rd Level New Zealand. สืบค้นเมื่อ 2020-01-03.
- ↑ "Air New Zealand shows off stunning, all-black Dreamliner".
- ↑ "Air New Zealand announces multi-billion-dollar investment in new fuel-efficient Boeing 787-10 Dreamliners - Media releases | Air New Zealand". www.airnewzealand.co.nz. สืบค้นเมื่อ 2019-05-26.
- ↑ "Economy Skycouch™ - The long haul experience - Onboard your flight - Experience | Air New Zealand". www.airnewzealand.co.nz.
- ↑ "Air New Zealand | Book Air NZ Flights with Confidence". www.airnewzealand.co.nz.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: แอร์นิวซีแลนด์ |
- เว็บไซต์ของแอร์นิวซีแลนด์ (อังกฤษ)