แอร์อินเดีย
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
![]() | |||||||
| |||||||
ก่อตั้ง | 15 ตุลาคม ค.ศ. 1932 (ในชื่อ ทาทาแอร์ไลน์) | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ท่าหลัก | |||||||
ท่ารอง | |||||||
เมืองสำคัญ | |||||||
สะสมไมล์ | Flying Returns | ||||||
พันธมิตรการบิน | สตาร์อัลไลแอนซ์ | ||||||
บริษัทลูก | |||||||
ขนาดฝูงบิน | 127 (+ 33 คำสั่ง) (ไม่รวมสายการบินลูก) | ||||||
จุดหมาย | 104 (ไม่รวมสายการบินลูก) | ||||||
บริษัทแม่ | NACIL | ||||||
สำนักงานใหญ่ | มุมไบ, อินเดีย | ||||||
บุคลากรหลัก | Arvind Jadhav, Chairman and Managing Director [1] Amod Sharma, Director [2] | ||||||
เว็บไซต์ | www.airindia.com |
แอร์อินเดีย (ฮินดี: एअर इंडिया) เป็นสายการบินแห่งชาติของประเทศอินเดีย สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองมุมไบ[3] เป็นสายการบินที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 16 ของทวีปเอเชีย ให้บริการใน 24 จุดหมายปลายทางทั่วโลก และมีข้อตกลงการบินร่วมอีกกว่า 13 สายการบิน[4]
ประวัติ[แก้]
แอร์อินเดียก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1932 โดย Jehangir Ratanji Dadabhoy Tata ภายใต้ชื่อในขณะนั้นว่า "ทาทาแอร์ไลน์" ซึ่งเป็นบริษัทหนึ่งในกลุ่มบริษัททาทากรุ๊ป โดยในวันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 1932 เป็นวันเริ่มให้บริการครั้งแรก โดยการขนส่งพัสดุไปรษณีย์ ระหว่างเมืองการาจีสู่เมืองมุมไบ โดยผ่านเมืองอาห์เมราบัด และบินกลับสู่เมืองมัทราส (เจนไน) ผ่านเมืองเบลลารี โดยนักบินอดีตทหารอากาศกองทัพสหราชอาณาจักร
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองสงบลง ธุรกิจการบินพาณิชย์ในอินเดียกลับมาให้บริการอีกครั้ง ทาทาแอร์ไลน์ถูกแปรรูปเป็นบริษัทมหาชนในวันที่ 29 กรกฎาคม ค.ศ. 1948 และเปลี่ยนชื่อเป็น "แอร์อินเดีย" ในปี ค.ศ. 1948 ภายหลังอินเดียได้รับเอกราช รัฐบาลอินเดียได้เข้ามาถือหุ้นในสายการบิน 51% ทำให้แอร์อินเดียมีสถานะเป็นสายการบินแห่งชาติอินเดีย โดยมีชื่อว่า "แอร์อินเดีย อินเตอร์แนชันแนล" และได้เริ่มเปิดเส้นทางการบินระหว่างประเทศขึ้น โดยในวันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 1948 ได้เปิดเส้นทางบินจากมุมไบสู่ลอนดอน ผ่านเมืองไคโรและเจนีวา โดยใช้เครื่องบิน ล็อกฮีด คอนสเตลเลชัน L-749A (VT-CQP) นับเป็นเที่ยวบินระยะไกลระหว่างประเทศเที่ยวแรก และในปี ค.ศ. 1950 เปิดเส้นทางสู่ไนโรบี โดยผ่านเมืองเอเดน
ต่อมาในวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1953 รัฐบาลอินเดียได้เข้าเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของสายการบิน ซึ่งรัฐบาลอินเดียพิจารณว่าเป็นธุรกิจที่สำคัญและต้องการที่จะเป็นผู้ควบคุมอุตสาหกรรมการบินอินเดียในขณะนั้น ขณะเดียวกันนั้นการบริการเที่ยวบินภายในประเทศของแอร์อินเดียได้ถูกโอนไปให้อินเดียนแอร์ไลน์ และในปี ค.ศ. 1954 ได้สั่งซื้อเครื่องบิน L-1049 ซูเปอร์คอนสเตลเลชัน และเปิดเส้นทางการบินสู่ กรุงเทพ ฮ่องกง และสิงคโปร์
ปี ค.ศ. 1960 แอร์อินเดียอินเตอร์แนชันแนลได้เข้าสู่ยุคไอพ่นเมื่อได้รับมอบเครื่องบิน โบอิง 707-420 และเปิดเส้นทางการบินสู่เมืองนิวยอร์กผ่านเมืองลอนดอน และเปลี่ยนชื่อเป็นแอร์อินเดียดังเช่นปัจจุบัน ในวันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 1962 และในวันที่ 11 มิถุนายน ปีเดียวกัน แอร์อินเดียเป็นสายการบินแรกในโลกที่ให้บริการโดยเครื่องบินไอพ่นทั้งหมด
อุบัติเหตุ[แก้]
- วันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 1985 แอร์อินเดีย เที่ยวบินที่ 182 ตกเพราะถูกวางระเบิด
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "Air India to launch IPO after 18 months". MoneyControl.com. 7 August 2009. สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2553.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Management of Air India". Air India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-11. สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2553.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Address & Contact Numbers within India เก็บถาวร 2010-04-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน." Indian Airlines. สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2553.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-02. สืบค้นเมื่อ 2010-03-12.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: แอร์อินเดีย |
![]() |
บทความเกี่ยวกับบริษัท ห้างหุ้นส่วน หรือองค์กรนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |