เตอร์กิชแอร์ไลน์
| |||||||
ก่อตั้ง | 20 พฤษภาคม 1933 | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
AOC # | TQKF144F | ||||||
ท่าหลัก | อิสตันบูล-นานาชาติ | ||||||
เมืองสำคัญ | เอเซนโบกา อิสตันบูล-ซาบีฮา เกิกเชน | ||||||
สะสมไมล์ | Miles & Smiles | ||||||
พันธมิตรการบิน | สตาร์อัลไลแอนซ์ | ||||||
ขนาดฝูงบิน | 340 (ไม่รวมของเอเจ็ต) | ||||||
จุดหมาย | 288 | ||||||
สำนักงานใหญ่ | ท่าอากาศยานอาทาทืร์ค อิสตันบูล, ประเทศตุรกี | ||||||
บุคลากรหลัก | Ahmet Bolat (ประธาน) Bilal Ekşi (CEO) | ||||||
รายได้ | 18.426 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2022)[1] | ||||||
รายได้จากการดำเนินงาน | 3.193 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2022)[1] | ||||||
รายได้สุทธิ | 2.725 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2022)[1] | ||||||
สินทรัพย์ | 30.944 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2022)[1] | ||||||
ส่วนของผู้ถือหุ้น | 9.742 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2022)[1] | ||||||
พนักงาน | 37,670 คน (2020)[2] | ||||||
เว็บไซต์ | www |
เตอร์กิชแอร์ไลน์ (ตุรกี: Türk Hava Yolları; อังกฤษ: Turkish Airlines) เป็นสายการบินประจำชาติและสายการบินที่ใหญ่ที่สุดประเทศตุรกี[3] โดยมีฐานการบินหลักในท่าอากาศยานอิสตันบูล โดยทำการบินสู่จุดหมายปลายทาง 288 แห่งในทวีปยุโรป เอเชีย แอฟริกา อเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ ทำให้เป็นสายการบินที่ใหญ่ที่สุดในโลกตามจำนวนจุดหมายปลายทาง[4][5][6] เตอร์กิชแอร์ไลน์เป็นสมาชิกของพันธมิตรสายการบินสตาร์อัลไลแอนซ์
ประวัติ
[แก้]ช่วงแรก
[แก้]เตอร์กิชแอร์ไลน์ก่อตั้งขึ้นในวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1933 ในชื่อเตอร์กิชสเตทแอร์ไลน์ (ตุรกี: Devlet Hava Yolları)[7] โดยเป็นสายการบินภายในประเทศในสังกัดกระทรวงกลาโหมตุรกี[8] เริ่มแรกสายการบินมีเครื่องบินประจำการห้าลำ; เคอร์ทิสส์ คิงเบิร์ดจำนวน 2 ลำ, ยุงเคิร์ส เอฟ 13 จำนวน 2 ลำ และตูโปเลฟ อาน-9 จำนวน 1 ลำ[8] ในปี 1935 สายการบินได้โอนไปอยู่ในสังกัดกระทรวงโยธาธิการ และได้เปลี่ยนชื่อเป็น เจเนอรัลดีเร็กเทอเรตออฟสเตทแอร์ไลน์ ในปี 1938 ได้โอนไปอยู่ในสังกัดกระทรวงคมนาคม[9]
ช่วงหลังสงคราม
[แก้]ในช่วงต้นปี 1945 เตอร์กิชได้เริ่มประจำการเครื่องบินดักลาส ดีซี-3 และดักลาส ซี-47 สกายเทรนหลายลำ ซึ่งเป็นการเปิดทางให้เตอร์กิชแอร์ไลน์เติบโตได้มาก[8] โดยได้เริ่มทำการบินเส้นทางบินระหว่างประเทศครั้งแรกในเส้นทางอังการา–อิสตันบูล–เอเธนส์ในปี 1947 และต่อมาได้เพิ่มเส้นทางบินสู่นิโคเซีย เบรุต และไคโร โดยที่ยังให้บริการการบินภายในประเทศเป็นหลักจนถึงต้นทศวรรษ 1960[10]
ในปี 1956 รัฐบาลตุรกีได้ปรับโครงสร้างสายการบินใหม่โดยใช้ชื่อ เทอร์ก ฮาวา โยเลรึ อา.โอ. (ตุรกี: Türk Hava Yolları A.O.) หรือรู้จักกันในชื่อ เตเฮเย[8] มีการวางทุนจดทะเบียนอยู่ที่ 60 ล้านลีรา สายการบินได้เข้าร่วมสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ และต่อมาในปี 1957 บริติชโอเวอร์ซีย์แอร์เวย์คอร์ปอเรชัน (บีโอเอซี) เริ่มให้การสนับสนุนด้านเทคนิคหลังจากได้รับสัดส่วนการถือหุ้น 6.5 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจะถือหุ้นเป็นเวลาประมาณ 20 ปี
เตอร์กิชแอร์ไลน์ได้เริ่มนำเครื่องบินวิกเกอร์ส ไวคานท์, ฟอกเกอร์ เอฟ-27 และดักลาส ดีซี-3เข้าประจำการช่วงปลายทศวรรษ 1950 และต้นทศวรรษ 1960 สายการบินให้บริการเครื่องบินไอพ่นลำแรก ซึ่งคือแมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-9 ในปี 1967 และตามด้วยโบอิง 707 จำนวน 3 ลำในปี 1971
1980-1990s
[แก้]ในช่วงทศวรรษ 1980 และ 1990 เตเฮเยต้องประสบกับชื่อเสียงด้านลบ ทั้งการบริการที่ย่ำแย่เมื่อเทียบกับคู่แข่งและเที่ยวบินที่ล่าช้า โดยมีเที่ยวบินมากถึง 47 เที่ยวบินจาก 100 เที่ยวบินที่ไม่ออกเดินทางตรงเวลา[11] นอกจากนี้ยังมีเหตุการณ์ปล้นจี้เครื่องบินและประสบอุบัติเหตุถึงเจ็ดครั้งระหว่างปี 1974 - 1983 ซึ่งรวมเที่ยวบินที่ 981 ในปี 1974 ซึ่งเป็นอุบัติเหตุทางการบินที่ร้ายแรงที่สุดของสายการบินและในโลก ณ ขณะนั้น โดยความผิดพลาดในการออกแบบประตูห้องบรรทุกสินค้าของเครื่องบินส่งผลให้ประตูบรรทุกสินค้าชำรุดเสียหายและเปิดออกระหว่างบิน จนเครื่องเสียการควบคุมและตกลงใกล้กับแอร์เมนอนวิลล์ ประเทศฝรั่งเศส ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 346 คน
ช่วงที่ประเทศตุรกีได้จัดตั้งรัฐบาลใหม่ในปี 1983 รัฐบาลได้เห็นความสำคัญในเตเฮเยและได้พัฒนาโครงสร้างและอัตลักษณ์ของสายการบินใหม่เพื่อให้มีความทันสมัยมากขึ้น โดยเตอร์กิชจะเป็นหนึ่งในสายการบินที่มีอายุเฉลี่ยน้อยที่สุดในโลก นอกจากนี้แล้วยังมีการพัฒนาด้านความปลอดภัยให้รัดกุมยิ่งขึ้น จนสามารถเทียบเท่าเอ็ลอัลได้[10]
ในปี 1984 เตเฮเยได้สร้างศูนย์ซ่อมบำรุงแห่งใหม่ที่ท่าอากาศยานเยซิลคอย ซึ่งสามารถทำการบำรุงรักษาเครื่องบินหลายประเภท โดยได้มีเจ้าหน้าที่ด้านเทคนิคประจำการอยู่คิดเป็น 1 ใน 4 ของพนักงานทั้งหมด 6,000 คนของสายการบิน ตามรายงานของแอร์ทรานส์ปอร์ตเวิล์ด ในปี 1984 บริษัทได้เพิ่มทุนเป็น 60 พันล้านลีรา เนื่องจากถูกจัดเป็นวิสาหกิจทางเศรษฐกิจของรัฐ สายการบินได้เพิ่มทุนอีกครั้งเป็น 150 พันล้านลีราในอีกสามปีต่อมา
กิจการองค์กร
[แก้]สำนักงานใหญ่
[แก้]เตอร์กิชมีสำนักงานใหญ่ใกล้กับท่าอากาศยานนานาชาติอาทาทืร์ค[12]
บริษัทลูก
[แก้]เตอร์กิชแอร์ไลน์มีบริษัทลูกดังนี้:
สายการบินลูก
[แก้]- แอร์แอลเบเนีย - (ถือหุ้น 49%) สายการบินประจำชาติประเทศแอลเบเนีย
- เอเจ็ต หรือชื่อเดิม อานาโดลูเจ็ต - สายการบินต้นทุนต่ำระดับภูมิภาค มีฐานหลักที่อังการาและอิสตันบูล-ซาบีฮา เกิกเชน
- ซันเอกซ์เพรส - (ถือหุ้น 50%) สายการบินต้นทุนต่ำ เป็นการทำกิจการร่วมค้ากับลุฟท์ฮันซ่า มีฐานที่อิซมีร์และอันทัลยา
- เตอร์กิชคาร์โก - สายการบินขนส่งสินค้า
บริษัทลูกอื่นๆ
[แก้]- เตอร์กิชเทคนิค
- เตอรืกิชโดแอนด์โค
- เตอร์กิชกราวด์เซอร์วิส
- เตอร์กิชแอร์ไลน์ไฟล์ทอคาเดมี
- เตเฮเย เดสเต็กฮิสเมตรีรึ เอเฌ
- โอแปต (ถือหุ้น 50%)
- เตอร์กิชอินจินเซนเตอร์ (ถือหุ้น 49%)
- ทีซีไอเคบินอินทีเรีย (ถือหุ้น 30%)
- ทีเอสไอเอวิเอชันซีตส์ (ถือหุ้น 45%)
- เตอร์กิชนาแซลเซนเตอร์ (ถือหุ้น 40%)
- บมจ. แทกซ์ฟรีโซน (ถือหุ้น 30%)
- วีเวลิ์ดเอกซ์เพรส (ถือหุ้น 45%)
ผลประกอบการ
[แก้]ผลประกอบการของเตอร์กิชแอร์ไลน์ ในช่วงปี 2015-2022 มีดังนี้:
2015 | 2016 | 2017 | 2018 | 2019 | 2020 | 2021 | 2022 | |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
รายได้ (ล้านดอลลาร์สหรัฐ) | 10,522 | 9,792 | 10,958 | 12,855 | 13,229 | 6,734 | 10,686 | 18,426 |
กำไร/ขาดทุน สุทธิ (ล้านดอลลาร์สหรัฐ) | 1,069 | −77 | 223 | 753 | 788 | −836 | 959 | 2,725 |
จำนวนผู้โดยสาร (ล้านคน) | 61.2 | 62.8 | 68.6 | 75.1 | 74.3 | 27.9 | 44.7 | 71.8 |
อัตราการบรรทุกผู้โดยสาร (%) | 78 | 74 | 79 | 82 | 81.6 | 71.0 | 67.9 | 80.1 |
จำนวนสินค้า (ตัน) | 720 | 876 | 1,123 | 1,412 | 1,543 | 1,487 | 1,879 | 1,678 |
จำนวนอากาศยาน (ณ สิ้นปี) | 299 | 334 | 329 | 332 | 350 | 363 | 370 | 394 |
จำนวนจุดหมายปลายทาง (แห่ง) | 284 | 295 | 300 | 306 | 321 | 324 | 333 | 342 |
หมายเหตุ/อ้างอิง | [13][14][15] | [16] | [17] | [18] | [19] | [20] | [21] | [22] |
รางวัล
[แก้]เตอร์กิชแอร์ไลน์ได้รับเลือกให้เป็นสายการบินที่ดีที่สุดในยุโรปโดยสกายแทรกซ์[23]
จุดหมายปลายทาง
[แก้]ณ เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2023 เตอร์กิชแอร์ไลน์ให้บริการเที่ยวบินสู่ 288 จุดหมายปลายทางใน 118 ประเทศทั่วโลก[24]
ข้อตกลงการบินร่วม
[แก้]ณ เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2023 เตอร์กิชแอร์ไลน์ได้ทำข้อตกลงการบินร่วมกับสายการบินต่างๆ ดังต่อไปนี้:
- อีเจียนแอร์ไลน์
- เอเจ็ต[25]
- แอร์อัลเบเนีย
- แอร์อัลจีเรีย
- แอร์อัสตานา
- แอร์บอลติก[26]
- แอร์แคนาดา
- แอร์ไชนา
- แอร์ยูโรปา
- แอร์อินเดีย
- แอร์มอลตา
- แอร์มอลโดวา
- แอร์นิวซีแลนด์
- แอร์เซอร์เบีย[27]
- ออล นิปปอน แอร์เวย์
- เอเชียน่าแอร์ไลน์
- อาเบียงกา
- อาเซอร์ไบจานแอร์ไลน์
- อาซูลบราซิลเลียนแอร์ไลน์
- บางกอกแอร์เวย์ส
- บาติกแอร์ มาเลเซีย[28]
- เบลาเวีย[29][30]
- โคปาแอร์ไลน์[31]
- โครเอเชียแอร์ไลน์
- อียิปต์แอร์
- เอธิโอเปียนแอร์ไลน์
- สายการบินเอทิฮัด
- อีวีเอแอร์
- ฟินน์แอร์[32]
- การูดาอินโดนีเซีย
- โกว์ลีญัสอาแอเรียส[33]
- กัลฟ์แอร์[34]
- ฮาวาเอียนแอร์ไลน์
- ฮ่องกงแอร์ไลน์
- ไอซ์แลนด์แอร์[35]
- อินดีโก[36]
- เจ็ตบลู
- คูเวตแอร์เวย์
- ล็อตโปแลนด์
- ลุฟท์ฮันซ่า[37][38]
- ลักซ์แอร์
- มาเลเซียแอร์ไลน์[39]
- เมียทมองโกเลียแอร์ไลน์[40]
- มิดเดิลอีสต์แอร์ไลน์
- โอมานแอร์
- ปากีสถานอินเตอร์เนชันแนลแอร์ไลน์
- ฟิลิปปินส์แอร์ไลน์
- รัวยาแลร์มาร็อก
- รอยัลบรูไนแอร์ไลน์
- รอยัลจอร์แดเนียน
- รวันแอร์
- สแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์ซิสเต็ม
- สิงคโปร์แอร์ไลน์
- ตัปปูร์ตูกัล
- ทารูม[41]
- การบินไทย
- ยูเครนอินเตอร์เนชันแนลแอร์ไลน์
- ยูไนเต็ดแอร์ไลน์
- อูย์เตร์
- อุซเบกิสถานแอร์เวย์[42][43]
ข้อตกลงระหว่างสายการบิน
[แก้]ณ เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2023 เตอร์กิชแอร์ไลน์ได้มีข้อตกลงระหว่างสายการบินต่างๆ ดังต่อไปนี้:
ฝูงบิน
[แก้]ณ เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2023 เตอร์กิชแอร์ไลน์มีเครื่องบินประจำการในฝูงบินดังนี้:[46][47][48]
เครื่องบิน | ประจำการ | คำสั่งซื้อ | ผู้โดยสาร | หมายเหตุ | ||
---|---|---|---|---|---|---|
C | Y | รวม | ||||
แอร์บัส เอ319-100 | 6 | — | — | 132 | 132 | |
แอร์บัส เอ320-200 | 18 | — | — | 150 | 150 | |
— | 159 | 159 | ||||
แอร์บัส เอ320นีโอ | 9 | — | — | 186 | 186 | รวมเครื่องบินที่ให้บริการกับเอเจ็ต |
แอร์บัส เอ321-200 | 72 | — | 20 | 158 | 178 | |
16 | 164 | 180 | ||||
— | 194 | 194 | ||||
แอร์บัส เอ321นีโอ | 55 | 37 | 20 | 162 | 182 | รวมเครื่องบินที่ให้บริการกับเอเจ็ต[49] ส่งมอบภายในปี 2023 จัดเรียงที่นั่งแบบแอร์บัสเคบินเฟลกซ์[50] |
แอร์บัส เอ330-200 | 13 | — | 30 | 190 | 220 | จะส่งเครื่องบินเช่าคืนให้แก่ผู้ให้เช่า |
22 | 228 | 250 | ||||
24 | 255 | 279 | ||||
แอร์บัส เอ330-300 | 36 | — | 28 | 261 | 289 | |
40 | 265 | 305 | ||||
แอร์บัส เอ350-900 | 15 | 22 | 32 | 297 | 329 | คำสั่งซื้อหกลำโอนย้ายมาจากแอโรฟลอต โดยสามลำใช้การจัดเรียงที่นั่งเดิมของสายการบิน[51] |
28 | 288 | 316 | ||||
โบอิง 737-800 | 85 | — | 16 | 135 | 151 | รวมเครื่องบินที่ให้บริการกับเอเจ็ต |
12 | 153 | 165 | ||||
— | 189 | 189 | ||||
โบอิง 737-900อีอาร์ | 15 | — | 16 | 135 | 151 | |
16 | 153 | 169 | ||||
โบอิง 737 แมกซ์ 8 | 30 | 25 | 16 | 135 | 151 | รวมเครื่องบินที่ให้บริการกับเอเจ็ต[52] |
โบอิง 737 แมกซ์ 9 | 5 | — | 16 | 153 | 169 | [53] |
โบอิง 777-300อีอาร์ | 33 | — | 49 | 300 | 349 | สามลำปล่อยเช่าให้กับอินดีโก[54] |
28 | 372 | 400 | ||||
โบอิง 787-9 | 21 | 12 | 30 | 270 | 300 | เดิมจะส่งมอบภายในปี 2022 ถูกเลื่อนจากปัญหาการควบคุมคุณภาพการผลิต[55][56] |
ฝูงบินของเตอร์กิชแอร์ไลน์คาร์โก | ||||||
แอร์บัส เอ310-300F | 2 | — | สินค้า
|
เช่าจากยูเอสแอลแอร์ไลน์คาร์โก[57] | ||
แอร์บัส เอ330-200F | 12 | — | สินค้า
|
|||
โบอิง 747-400BCF | 2 | — | สินค้า
|
|||
โบอิง 777F | 8 | — | สินค้า
|
|||
รวม | 437 | 96 |
เตอร์กิชแอร์ไลน์มีอายุฝูงบินเฉลี่ย 8.5 ปี
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "Turkish Airlines Financial Statements 2022" (PDF). Turkishairlines.com. 31 December 2022. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 7 March 2023. สืบค้นเมื่อ 1 March 2023.
- ↑ "Turkish Airlines". Forbes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 November 2022. สืบค้นเมื่อ 16 July 2020.
- ↑ "Turkish Airlines orders ten incremental A350-900s - ch-aviation". web.archive.org. 2023-09-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-09-09. สืบค้นเมื่อ 2023-11-26.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "Network" (PDF). Investor.turkishairlines.com. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 9 August 2020. สืบค้นเมื่อ 26 September 2017.
- ↑ "Turkish Airlines' net profit triples in 9-month". Anadolu Agency. 7 November 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 November 2018. สืบค้นเมื่อ 9 November 2018.
- ↑ Cebeci, Uğur (21 August 2019). "Yeni uçuşlar yakında". www.hurriyet.com.tr (ภาษาตุรกี). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 August 2019. สืบค้นเมื่อ 23 August 2019.
- ↑ "DHY timetable October 15, 1955". www.timetableimages.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 October 2019. สืบค้นเมื่อ 16 October 2019.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 "Turkish Airlines – History". Turkishairlines.com. 17 February 1977. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 May 2016. สืบค้นเมื่อ 23 May 2016.
- ↑ "History of Turkish Airlines". Seatmaestro. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 April 2015. สืบค้นเมื่อ 24 April 2015.
- ↑ 10.0 10.1 "History of Turkish Airlines Inc. (Türk Hava Yollari A.O.)". FundingUniverse.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 November 2007. สืบค้นเมื่อ 24 April 2015.
- ↑ Şekerli 2021, p. 863.
- ↑ "Get in touch". Turkish Airlines. Archived from the original on 8 June 2019. Retrieved 9 June 2019. TURKISH AIRLINES HEADQUARTERS Turkish Airlines General Management Building, Ataturk Airport, Yesilkoy 34149 Istanbul Turkey – Map Archived 8 June 2019 at the Wayback Machine
- ↑ "Independent Auditors 2015" (PDF). Turkish Airlines. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 3 April 2016. สืบค้นเมื่อ 24 March 2016.
- ↑ "Fact Sheet 2015" (PDF). Turkish Airlines. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 3 April 2016. สืบค้นเมื่อ 24 March 2016.
- ↑ "December 2015 traffic" (PDF). Turkish Airlines. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2016. สืบค้นเมื่อ 24 March 2016.
- ↑ "THY 2016 Annual Report" (PDF). Investor.turkishairlines.com. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 11 April 2018. สืบค้นเมื่อ 11 April 2018.
- ↑ "Turkish Airlines Annual Report 2017" (PDF). Turkish Airlines. สืบค้นเมื่อ October 11, 2023.
- ↑ "Turkish Airlines Annual Report 2018" (PDF). Turkish Airlines. สืบค้นเมื่อ October 11, 2023.
- ↑ "Turkish Airlines Annual Report 2019" (PDF). Turkish Airlines. สืบค้นเมื่อ October 11, 2023.
- ↑ "Turkish Airlines Annual Report 2020" (PDF). Turkish Airlines. สืบค้นเมื่อ October 11, 2023.
- ↑ "Turkish Airlines Annual Report 2021" (PDF). Turkish Airlines. สืบค้นเมื่อ October 11, 2023.
- ↑ "Turkish Airlines Annual Report 2022" (PDF). Turkish Airlines. สืบค้นเมื่อ October 11, 2023.
- ↑ "World's Best Airlines 2023 by Region". SKYTRAX (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Turkish Airlines Flights and Destinations - FlightConnections". www.flightconnections.com (ภาษาอังกฤษ). 2023-11-26.
- ↑ "AnadoluJet". AirMundo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 February 2023. สืบค้นเมื่อ 3 March 2023.
- ↑ "THY ve AİRBALTİC ortak uçuş anlaşması imzaladı". www.dunya.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 May 2023. สืบค้นเมื่อ 2 May 2023.
- ↑ "Turkish Airlines Codeshare Flights". Turkish Airlines. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 November 2022. สืบค้นเมื่อ 29 April 2021.
- ↑ Ltd. 2019, UBM (UK). "Malindo / Turkish Airlines launches codeshare partnership from Sep 2017". Routesonline.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 April 2019. สืบค้นเมื่อ 23 January 2019.
- ↑ Blachly, Linda (8 May 2018). "Airline Routes-May 8, 2018". Air Transport World. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 May 2018.
Turkish Airlines and Belavia Belarusian Airlines signed a codeshare agreement, starting May 1, on Istanbul Ataturk-Minsk services operated by both airlines.
- ↑ Liu, Jim (3 May 2018). "Turkish Airlines / Belavia begins codeshare partnership from May 2018". Routesonline. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 May 2018. สืบค้นเมื่อ 3 May 2018.
- ↑ "Acuerdo de código compartido con Turkish". Copaair.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 November 2017. สืบค้นเมื่อ 23 January 2019.
- ↑ "Finnair And Turkish Airlines Launch Codeshare Partnership". Simple Flying. 25 September 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 March 2023. สืบค้นเมื่อ 30 September 2021.
- ↑ "Turkish Airlines, Brazilian budget carrier GOL ink codeshare deal". Daily Sabah. 19 April 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 April 2022. สืบค้นเมื่อ 8 June 2022.
- ↑ "Gulf Air, Turkish Airlines ink codeshare deal". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 October 2017. สืบค้นเมื่อ 10 October 2017.
- ↑ "Türk Hava Yolları, Icelandair ile Ortak Uçuş Anlaşması İmzaladı. - Hava Sosyal Medya". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 June 2023. สืบค้นเมื่อ 4 June 2023.
- ↑ "Indigo signs codeshare agreement with Turkish Airlines". Moneycontrol.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 December 2018. สืบค้นเมื่อ 23 January 2019.
- ↑ "Lufthansa codeshare partners". lufthansa.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 June 2020. สืบค้นเมื่อ 1 June 2020.
- ↑ "Lufthansa Group and Star Alliance partners". lufthansa.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 June 2020. สืบค้นเมื่อ 1 June 2020.
- ↑ Liu, Jim (26 November 2019). "Turkish Airlines extends Malaysia Airlines codeshare to Oceania from Nov 2019". Routesonline. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 December 2019. สืบค้นเมื่อ 16 December 2019.
- ↑ "TURKISH AIRLINES / MIAT MONGOLIAN BEGINS CODESHARE SERVICE IN JAN 2023". Aeroroutes. 9 January 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 January 2023. สืบค้นเมื่อ 10 January 2023.
- ↑ Bobon, Gabriel (29 July 2020). "Turkish Airlines și TAROM semnează acord de codeshare pe ruta Istanbul – București". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 August 2020. สืบค้นเมื่อ 29 July 2020.
- ↑ Liu, Jim (2 April 2018). "Turkish Airlines / Uzbekistan Airways begins codeshare service from late-March 2018". Routesonline. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 April 2018. สืบค้นเมื่อ 2 April 2018.
- ↑ Liu, Jim (20 November 2018). "Uzbekistan Airways plans Turkish Airlines codeshare expansion in W18". Routesonline. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 November 2018. สืบค้นเมื่อ 20 November 2018.
- ↑ https://www.emirates.com/tr/english/travel-partners/
- ↑ "Our Airline Partners | Loganair". www.loganair.co.uk. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 March 2020. สืบค้นเมื่อ 11 December 2020.
- ↑ "Meet our fleet". เตอร์กิชแอร์ไลน์. สืบค้นเมื่อ 26 November 2023.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Cargo Aircrafts". www.turkishcargo.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Turkish Airlines Fleet Details and History". Planespotters.net (ภาษาอังกฤษ). 2023-11-26.
- ↑ "THY'den 20 Airbus A321neo siparişi daha". Anadolu Agency. 1 December 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 January 2016. สืบค้นเมื่อ 23 January 2022.
- ↑ "Airbus delivers the first A321neo in Cabin Flex configuration to Turkish Airlines". Airbus (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 September 2020. สืบค้นเมื่อ 5 September 2019.
- ↑ Lukas Souza (18 May 2022). "Turkish Airlines Orders 6 More Airbus A350-900s". Simple Flying. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 May 2022. สืบค้นเมื่อ 17 June 2022.
- ↑ Uğur Cebeci (2 April 2022). "THY yeniden kurgulanıyor". Hürriyet. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 April 2022. สืบค้นเมื่อ 4 April 2022.
- ↑ Tolga Özbek (15 January 2022). "THY 25'inci 737 MAX'i aldı, teslimat tamamlandı". Tolgaozbek.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 January 2022. สืบค้นเมื่อ 31 March 2022.
- ↑ Gaurav Joshi (1 February 2023). "IndiGo's Boeing 777 On Wet Lease Starts Commercial Service". Simple Flying. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 February 2023. สืบค้นเมื่อ 2 March 2023.
- ↑ Türk Hava Yolları 2018, p. 17.
- ↑ Güntay Şimşek (2 January 2023). "THY 2023'te yüzde 17 büyüyecek". Habertürk (ภาษาตุรกี). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 January 2023. สืบค้นเมื่อ 11 January 2023.
- ↑ "Hava kargoda fiyatlar 3 kat arttı". HaberAero. 14 April 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 April 2020. สืบค้นเมื่อ 31 March 2022.