ข้ามไปเนื้อหา

สายยามาโนเตะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สายยามาโนเตะ
山手線
JY
รถจักร อี235 ซีรีส์ อีเอ็มยู มุ่งสู่ชินางาวะ และ ชิบูยะ
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งโตเกียว
ปลายทางชินางาวะ (วงกลม)
จำนวนสถานี30
การดำเนินงาน
รูปแบบระบบขนส่งขนาดใหญ่
ผู้ดำเนินงานบริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันออก
ศูนย์ซ่อมบำรุงสถานีซ่อมบำรุงทั่วไปโตเกียว (ใกล้กับสถานีรถไฟโอซากิ)
ขบวนรถอี235 ซีรีส์
ผู้โดยสารต่อวัน1,097,093 คน (2015)[1]
ประวัติ
เปิดเมื่อ1 มีนาคม ค.ศ. 1885 (139 ปี 216 วัน)
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง34.5 km (21.4 mi)
จำนวนทางวิ่ง2
รางกว้าง1,067 mm (3 ft 6 in)
ระบบจ่ายไฟ1,500 V DC จ่ายไฟฟ้าเหนือหัว
ความเร็ว90 กิโลเมตร/ชั่วโมง (55 ไมล์/ชั่วโมง)
แผนที่เส้นทาง

สายยามาโนเตะ (ญี่ปุ่น: 山手線โรมาจิYamanote-sen) เป็นเส้นทางรถไฟที่คับคั่งและสำคัญที่สุดสายหนึ่งของโตเกียว ดำเนินการโดยบริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันออก โดยมีเส้นทางการวิ่งเป็นวงกลมรอบเมืองโตเกียว เชื่อมต่อย่านการค้าและย่านธุรกิจที่สำคัญ ได้แก่ มารูโนอูจิ ยูรากูโจ/กินซะ อูเอโนะ อากิฮาบาระ ชินจูกุ ชิบูยะ และอิเกบูกูโระ มีจำนวนสถานีทั้งสิ้น 30 สถานี มีระยะทางทั้งหมด 34.5 กิโลเมตร สามารถเปลี่ยนเส้นทางได้หลากหลายสาย

แผนภาพเส้นทางและสถานี

การให้บริการ

[แก้]

รถไฟเริ่มให้บริการตั้งแต่เวลา 04:26 ถึง 01:18 ของวันถัดไป ระยะความถี่ขบวนรถไฟที่ 2 นาที ในชั่วโมงเร่งด่วน และ 4 นาที ในชั่วโมงปกติ ใช้เวลาวิ่งรอบวงกลมครบสาย 59 - 65 นาที รถไฟทุกขบวนจอดทุกสถานี

จำนวนผู้โดยสาร

[แก้]

เนื่องจากรถไฟสายยามาโนเตะตั้งอยู่ใจกลางเมืองโตเกียว เป็นจุดศูนย์กลางการเดินทางผ่านในพื้นที่ย่านการค้าที่สำคัญ ทำให้มีผู้โดยสารที่คับคั่งเป็นจำนวนมาก โดยช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990[2] มีผู้โดยสารเกินความจุของขบวนรถไฟที่รองรับการให้บริการมากกว่า 250% ขณะที่ในปี ค.ศ. 2018 จำนวนดังกล่าวได้ลดลงไปต่ำกว่า 150%[3] จากการเพิ่มความถี่ของขบวนรถไฟรวมถึงการเปิดสายใหม่ที่วิ่งขนานไปกับสายยามาโนเตะ เช่น สายอูเอโนะ–โตเกียว และโตเกียวเมโทรสายฟูกูโตชิง เพื่อบรรเทาความหนาแน่น

โดยในปี ค.ศ. 2018 ความหนาแน่นของจำนวนผู้โดยสารอยู่ที่ 1,134,963 คน–กม. / กม. ของเส้นทาง[4] และจากการประมาณการของจำนวนผู้โดยสารต่อวันของสายยามาโนเตะที่ประเมินในการสำรวจสำมะโนการขนส่งแห่งชาติของ MLIT ปี ค.ศ. 2015 อยู่ที่ประมาณ 4 ล้านคนต่อวัน[5]

ประวัติ

[แก้]
แนวเส้นทางของรถไฟสายยามาโนเตะก่อนเป็นวงกลม
รถไฟยามาโนเตะในปี ค.ศ. 1925

แรกเริ่มนั้นมีแผนจะเชื่อมต่อแนวเส้นทางรถไฟระหว่างสถานีชินางาวะของทางรถไฟสายหลักโทไกโดทางตอนใต้กับสถานีอูเอโนะของทางรถไฟสายหลักโทโฮกุทางตอนเหนือเข้าด้วยกัน แต่ตามบริเวณแนวเส้นทางดังกล่าวมีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นทำให้การสร้างนั้นมีความยากลำบาก จึงมีการตัดแนวเส้นทางอ้อมจากสถานีชินางาวะไปทางฝั่งตะวันตก ผ่านสถานีชินจูกุไปจนถึงสถานีอากาบาเนะแทน ซึ่งบริเวณพื้นที่แนวทางรถไฟนั้นมีประชากรอาศัยอยู่น้อย โดยแนวเส้นทางดังกล่าวมีชื่อเรียกว่า "สายชินางาวะ" เปิดเดินรถเมื่อวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 1885 ซึ่งผลจากการตัดแนวเส้นทางดังกล่าว ทำให้มีระยะทางมากกว่าเส้นทางจากชินางาวะ–อูเอโนะ ถึง 4 เท่า แต่การก่อสร้างนั้นรวดเร็วกว่าและมีค่าก่อสร้างที่ถูกกว่า และเนื่องจากแต่เดิมมีจุดประสงค์เพียงเป็นเส้นทางการขนส่งสินค้า ต่อมาในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1903 ได้เปิดเส้นทางสาขาจากสถานีอิเกบูกูโระถึงสถานีทาบาตะ มีชื่อเรียกว่า "สายโทชิมะ" ก่อนที่จะรวมทั้งสองสายเข้าด้วยกันแล้วเรียกว่า "สายยามาโนเตะ" ในวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 1909 หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1925 ทางรถไฟสายยามาโนเตะจึงเป็นทางรถไฟที่วิ่งเป็นวงกลมโดยสมบูรณ์ และแยกส่วนระหว่างสถานีอิเกบูกูโระ–สถานีอากาบาเนะออกในปี ค.ศ. 1927[6][7]

ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เกิดการแข่งขันกันระหว่างบริษัทเอกชนเพื่อสร้างทางรถไฟเชื่อมเขตชานเมืองที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วไปยังใจกลางเมือง กระทรวงการถไฟของญี่ปุ่นได้มีนโยบายไม่ให้ผู้ประกอบการเดินรถไฟเอกชนวางแนวเส้นทางเข้ามาภายในวงกลมของสายยามาโนเตะที่มีอยู่ก่อนแล้ว ด้วยสาเหตุนี้ทำให้หลายสถานีของยามาโนเตะกลายเป็นจุดเปลี่ยนสายทางรถไฟที่สำคัญกับรถไฟเอกชนจำนวนมาก เช่น ทางรถไฟโอดะกีว ทางรถไฟเคโอ และทางรถไฟเซบุ ที่มีสถานีปลายทางอยู่ที่ชินจูกุ เช่นเดียวกับรถไฟสายอื่นที่มีปลายทางสิ้นสุดที่สถานีใหญ่กับสายยามาโนเตะ เช่น สถานีอิเกบูกูโระ และสถานีชิบูยะ เป็นต้น[8][9]

ในวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 2020 ได้เปิดสถานีทาคานาวา เกตเวย์[10] เป็นสถานีที่ 30 ที่เปิดให้บริการสำหรับสายยามาโนเตะ และเคฮิง-โทโฮกุ อยู่ระหว่างสถานีชินางาวะกับสถานีทาบาจิ นอกจากนี้ยังเป็นสถานีรถไฟยามาโนเตะแห่งใหม่ล่าสุดนับตั้งแต่เปิดสถานีนิชินิปโปริ เมื่อปี ค.ศ. 1971[11][12]

รายชื่อสถานี

[แก้]
  • รายชื่อสถานีเรียงตามเข็มนาฬิกา จากสถานีชินางาวะ ถึงสถานีทาบะตะ, แต่ในความเป็นจริงจะเริ่มให้บริการและสิ้นซุดเส้นทางที่สถานีโอซะกิ
    • (ญี่ปุ่น: 外回りโรมาจิsotomawariทับศัพท์: ตามเข็มนาฬิกา) : ชินางาวะ → ชินจูกุ → อิเกบูกูโระ → ทาบาตะ → อูเอโนะ →โตเกียว → ชินางาวะ
    • (ญี่ปุ่น: 内回りโรมาจิuchimawariทับศัพท์: ทวนเข็มนาฬิกา) : ชินางาวะ → โตเกียว → อูเอโนะ → ทาบาตะ → อิเกบูกูโระ → ชินจูกุ → ชินางาวะ
  • ทุกสถานีตั้งอยู่ในเขตการปกครองพิเศษในโตเกียว ของ กรุงโตเกียว.
  • รถไฟทุกขบวนของสายยามาโนเตะจอดรับ - ส่งผู้โดยสารทุกสถานี
  • สถานีที่มีเครื่องหมาย " (R) " กำกับไว้แสดงว่าสถานีดังกล่าว สามารถเปลี่ยนเส้นทางไปสายเคฮิง-โทโฮกุได้
ชื่อเส้นทาง รหัส สถานี ชื่อญี่ปุ่น ระยะทาง (กิโลเมตร) เปลี่ยนเส้นทาง ที่ตั้ง
ระหว่าง
สถานี
รวมทั้งสิ้น
ยามาโนเตะ
SGWJY25
ชินางาวะ 品川 จาก
ทามาจิ

2.2
0.0 มินาโตะ
OSKJY24
โอซากิ 大崎 2.0 2.0 ชินางาวะ
JY23 โกทันดะ 五反田 0.9 2.9
JY22 เมงูโระ 目黒 1.2 4.1 โตคิว: สายเมงูโระ
โตเกียวเมโทร: สายนัมโบกุ (N-01)
รถไฟใต้ดินโทเอ: สายมิตะ (I-01)
EBSJY21
เอบิซุ 恵比寿 1.5 5.6 JR ตะวันออก: สายโชนัน-ชินจุกุ, สายไซเกียว
โตเกียวเมโทร: สายฮิบิยะ (H-02)
ชิบูยะ
SBYJY20
ชิบูยะ 渋谷 1.6 7.2 JR ตะวันออก: สายโชนัน-ชินจุกุ, สายไซเกียว
เคโอคอร์ป: สายอิโนกาชิระ
โตคิว: สายเดนเอโตชิ, สายโทโยโกะ
โตเกียวเมโทร: สายกินซะ (G-01), สายฮันโซมง (N-01), สายฟูกูโตชิง (F-16)
JY19 ฮาราจูกุ 原宿 1.2 8.4 โตเกียวเมโทร: สายชิโยดะ (สถานีศาลเจ้าเมจิ: C-03)
JY18 โยโยงิ 代々木 1.5 9.9 JR ตะวันออก: สายชูโอโซบุ
รถไฟใต้ดินโทเอ: โอเอโดะ (E-26)
SJKJY17
ชินจูกุ 新宿 0.7 10.6 JR ตะวันออก: สายหลักชูโอ, สายชูโอ (รถเร็ว), สายชูโอโซบุ, สายโชนัน-ชินจุกุ, สายไซเกียว
เคโอ: สายเคโอ, สายเคโอใหม่
รถไฟฟ้าโอะดะเกียว: สายโอะดะวะระ
เซบุ: สายชินจุกุ (สถานีเซบุชินจุกุ)
โตเกียวเมโทร: สายมะรุโนะอุชิ (M-08)
รถไฟใต้ดินโทเอ: สายชินจุกุ (S-01), สายโอเอะโดะ (E-27, สถานีชินจุกุ - นิชิงุชิ: E-01)
ชินจูกุ
JY16 ชินโอคูโบะ 新大久保 1.3 11.9  
JY15 ทากาดาโนบาบะ 高田馬場 1.4 13.3 เซบุ: สายชินจุกุ
โตเกียวเมโทร: สายโทไซ (T-03)
JY14 เมจิโระ 目白 0.9 14.2   โทชิมะ
IKBJY13
อิเกบูกูโระ 池袋 1.2 15.4 JR ตะวันออก: สายไซเกียว, สายโชนัน-ชินจุกุ
รถไฟเซบุ: สายอิเกะบุกุโระ
รถไฟโทบุ: สายโทโจ
โตเกียวเมโทร: สายมะรุโนะอุชิ (M-25), สายยูระกุโช (Y-09), สายฟุกุโตะชิน (F-09)
JY12 โอสึกะ 大塚 1.8 17.2 รถไฟใต้ดินโทเอ: สายโทเด็นอะระกะวะ (สถานีโอสึกะ-เอกิมาเอะ)
JY11 ซูงาโมะ 巣鴨 1.1 18.3 รถไฟใต้ดินโทเอ: สายมิตะ (I-15)
JY10 โคมาโงเมะ 駒込 0.7 19.0 โตเกียวเมโทร: สายนัมโบกุ (N-14)
JY09 ทาบาตะ 田端 1.6 20.6 JR ตะวันออก: สายเคฮินโทโฮกุ (R) คิตะ
โทโฮกุ
สายหลัก
JY08 นิชินิปโปริ 西日暮里 0.8 21.4 JR ตะวันออก: สายเคฮินโทโฮะกุ
โตเกียวเมโทร: สายชิโยดะ (C-16)
รถไฟใต้ดินโทเอ: นิปโปะริไลน์เนอร์ (02)
อารากาวะ
NPRJY07
นิปโปริ 日暮里 0.5 21.9 JR ตะวันออก: สายโจบัน, สายเคฮินโทโฮกุ
รถไฟฟ้าเคเซ: สายหลักเคเซ
รถไฟใต้ดินโทเอ: นิปโปริ -โทเนริไลน์เนอร์ (01)
JY06 อูงูอิซูดานิ 鶯谷 1.1 23.0 JR ตะวันออก: สายเคฮินโทโฮกุ ไทโต
UENJY05
อูเอโนะ 上野 1.1 24.1 JR ตะวันออก: โทโกุ ชิงกันเซ็ง, โจเอะสึ ชิงกันเซ็ง, ยามางาตะชิงกันเซ็ง, อะกิตะชิงกันเซ็ง, นางาโนะชิงกันเซ็ง, สายโจบัน, สายเคฮินโทโฮะกุ (R), สายอุสึโนะมิยะ (สายหลักโทโฮะกุ), สายทะกะซะกิ
รถไฟฟ้าเคเซ: สายหลัก (สถานีเคเซอุเอะโนะ)
โตเกียวเมโทร: สายกินซะ (G-16), สายฮิบิยะ (H-17)
JY04 โอกาชิมาจิ 御徒町 0.6 24.7 JR ตะวันออก: สายเคฮินโทโฮกุ
AKBJY03
อากิฮาบาระ 秋葉原 1.0 25.7 JR ตะวันออก: สายชูโอโซบุ, สายเคฮินโทโฮะกุ (R)
Metropolitan Intercity Railway Company: สึกุบะเอ็กซเพรส (01)
โตเกียวเมโทร: สายฮิบิยะ (H-15)
ชิโยดะ
KNDJY02
คันดะ 神田 0.7 26.4 JR ตะวันออก: สายชูโอ (รถเร็ว), สายเคฮินโทโฮะกุ
โตเกียวเมโทร: สายกินซะ (G-13)
TYOJY01
โตเกียว 東京 1.3 27.7 JR ตะวันออก: โทโฮะกุ ชิงกันเซ็ง, โจเอะสึ ชิงกันเซ็ง, ยะมะงะตะ ชิงกันเซ็ง, อะกิตะ ชิงกันเซ็ง, นะงะโนะ ชิงกันเซ็ง, สายเคฮินโทโฮะกุ (R), สายโทไกโด, สายชูโอ (รถเร็ว), สายโยะโกะซุกะ, สายเคโย, สายโซบุ (รถเร็ว)
JR ตอนกลาง: โทไกโด ชิงกันเซ็ง
โตเกียวเมโทร: สายมะรุโนะอุชิ (M-17)
โทไกโด
สายหลัก
JY30 ยูรากูโจ 有楽町 0.8 28.5 JR ตะวันออก:สายเคฮินโทโฮะกุ
โตเกียวเมโทร: สายยูระกุโช (Y-18), สายฮิบิยะ (สถานีฮิบิยะ: H-07), สายชิโยดะ (ฮิบิยะ: C-09)
รถไฟใต้ดินโทเอ: สายมิตะ (ฮิบิยะ: C-09)
SMBJY29
ชิมบาชิ 新橋 1.1 29.6 JR ตะวันออก: สายหลักโทไกโด, สายโยโกซูกะ, สายเคฮินโทโฮกุ
โตเกียวเมโทร: สายกินซะ (G-08)
รถไฟใต้ดินโทเอ: สายอาซากูซะ (A-10)
Tokyo Waterfront New Transit: ยูริกาโมเมะ (U-01)
มินาโตะ
HMCJY28
ฮามามาสึโจ 浜松町 1.2 30.8 JR ตะวันออก: สายเคฮินโทโฮกุ (R)
โตเกียวโมโนเรล: สายฮาเนดะ
รถไฟใต้ดินโทเอ: สายอาซากูซะ (สถานีไดมน}}: A-09), สายโอเอโดะ (ไดมอน: E-20)
JY27 ทามาชิ 田町 1.5 32.3 JR ตะวันออก: สายเคฮินโทโฮะกุ (R)
TGWJY26
ทาคานาวา เกตเวย์  高輪ゲートウェイ駅 1.3  33.6‬  JR ตะวันออก:สายเคฮินโทโฮะกุ
— ↓ วนกลับไปชินางาวะ (วงนอก) ↓ —

ขบวนรถไฟ

[แก้]

ปัจจุบันรถไฟสายยามาโนเตะให้บริการด้วยรถไฟรุ่น อี235 ซีรีส์ มีจำนวนทั้งหมด 50 ขบวน ขบวนละ 11 ตู้ เริ่มทดลองนำมาวิ่งครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 2015[13] โดยพบปัญหาการจุดปิดประตู ก่อนนำกลับมาให้บริการอีกครั้งในวันที่ 7 มีนาคม ค.ศ. 2016 ส่วนรถไฟรุ่นก่อนหน้า อี231–500 ซีรีส์ ปลดระวางเมื่อวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 2020[14] และศูนย์ซ่อมบำรุงตั้งอยู่ที่สถานีซ่อมบำรุงทั่วไปโตเกียว (ใกล้กับสถานีรถไฟโอซากิ)

ขบวนรถไฟในอดีต

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "路線別ご利用状況(2011~2015年度)" (PDF). JR East.
  2. "JR山手線上野-御徒町間が混雑率ワースト2位に-ワースト1位は総武線" (ภาษาญี่ปุ่น). หนังสือพิมพ์เศรษฐกิจอุเอโนะ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-04. สืบค้นเมื่อ 2023-07-21.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  3. "混雑率データ(平成30年度)(2011~2015年度)" (PDF). กระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยว. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-09-20. สืบค้นเมื่อ 2023-07-21.
  4. ""路線別ご利用状況(2014~2018年度)"" (PDF). JR East. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-07. สืบค้นเมื่อ 2023-07-21.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  5. "平成27年 大都市交通センサス 首都圈報告書" (PDF). กระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยว. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-25. สืบค้นเมื่อ 2023-07-21.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  6. "山手線". weblio Online (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2023-07-22.
  7. "The Yamanote Line". Medium. Joey. สืบค้นเมื่อ 2023-07-22.
  8. "Tokyo's Yamanote Line: More Than You Ever Wanted To Know". DeepJapan. jdlawrence. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-07-22. สืบค้นเมื่อ 2023-07-22.
  9. "13 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ "รถไฟสายยามาโนเตะ" เส้นเลือดเลี้ยงหัวใจกรุงโตเกียว". tsunaguJapan. Koji Shiromoto. สืบค้นเมื่อ 2023-07-22.
  10. "Introducing the newest stop on Tokyo's Yamanote Line: Takanawa Gateway". The Japan Times Online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-08. สืบค้นเมื่อ 2023-07-22.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  11. "New station to boost Shinagawa's international role". The Japan Times Online. MASAAKI KAMEDA (FYI). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-08. สืบค้นเมื่อ 2023-07-22.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  12. "New Yamanote Line station eyed". The Japan Times Online. Kyodo News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-11. สืบค้นเมื่อ 2023-07-22.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  13. "山手線新型車両、運転を中止 初日からトラブル相次ぐ". Chunichi Web. The Chunichi Shimbun. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-08. สืบค้นเมื่อ 2023-07-22.
  14. "3代目の「黄緑の山手線」が引退 再就職先ではまだまだ現役". tetsudo. สืบค้นเมื่อ 2023-07-22.