ข้ามไปเนื้อหา

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะสาธารณสุขศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Faculty of Public Health,
Mahasarakham University
ชื่อย่อสธ. / PH
คติพจน์ไทย: ปัญญาเพื่อสุขภาวะชุมชน
อังกฤษ: Wisdom of a Healthy Community
สถาปนาสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ
• 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 (25 ปี)
คณะสาธารณสุขศาสตร์
• 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 (21 ปี)
สังกัดการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม
คณบดีรศ.สุมัทนา กลางคาร
ที่อยู่
อาคารปฏิบัติการวิทยาศาสตร์และปลีคลินิก เลขที่ 41 หมู่ 20 ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150
สี  สีชมพูอมส้ม
สถานปฏิบัติโรงพยาบาลสุทธาเวช
เว็บไซต์publichealth.msu.ac.th

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (อังกฤษ: Faculty of Public Health, Mahasarakham University) เป็นหน่วยงานระดับคณะวิชาสังกัดมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก่อตั้งขึ้นเป็นลำดับที่ 14 ของมหาวิทยาลัยโดยเริ่มจากเมื่อปี พ.ศ. 2541 ในรูปแบบโครงการหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์ เปิดรับสมัครนิสิตเข้าศึกษาในหลักสูตร สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (ส.บ.) ต่อเนื่อง 2 ปี ภายใต้การดำเนินงานของคณะเภสัชศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็น สาขาสาธารณสุขศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2542 และสภามหาวิทยาลัยอนุมัติการจัดตั้งคณะสาธารณสุขศาสตร์ [a]ในวันที่ 17 กรกฎาคม 2546 และประกาศใช้ “ระเบียบมหาวิทยาลัยมหาสารคามว่าด้วย คณะสาธารณสุขศาสตร์” มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม 2546[b]

ประวัติ

[แก้]
อาคารปฏิบัติการวิทยาศาสตร์และปรีคลินิก

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้เริ่มก่อตั้งจากโครงการหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์ ในคณะเภสัชศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ในช่วงปี พ.ศ. 2540 - 2543 เพื่อพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพในระบบบริการสาธารณสุข หลังจากนั้นก็ได้ปรับปรุงและพัฒนาระบบการศึกษา อาคารสถานที่ บุคคลากร การวิจัย และพัฒนาหลักสูตรเพิ่มขึ้นอีก 6 หลักสูตร (ปริญญาตรี 4, ปริญญาโท 1, และปริญญาเอก 1 หลักสูตร) ในช่วงปี พ.ศ. 2544 - 2556 [1]: 6–11 

โครงการหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์ (ปี พ.ศ. 2540 - 2542)

มหาวิทยาลัยได้จัดทำแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระยะที่ 8 (พ.ศ. 2540 - 2544) โดยมีโครงการใหม่เป็นแผนงานพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ และเมื่อปี พ.ศ. 2540 มหาวิทยาลัยได้พัฒนาโครงการความร่วมมือจัดการศึกษาแบบบูรณาการหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต เพื่อพัฒนาศักยภาพกำลังคนในระบบบริการสาธารณสุขระดับชุมชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างกระทรวงสาธารณสุข (วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น) มีการยกร่างหลักสูตร สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต ขึ้น

ปี พ.ศ. 2541 โครงการหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์ เปิดรับสมัครนิสิตเข้าศึกษาในหลักสูตร สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (ส.บ.) ต่อเนื่อง 2 ปี ซึ่งได้เปลี่ยนเป็น สาขาสาธารณสุขศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2542

คณะเภสัชศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ (ปี พ.ศ. 2543 - เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2546)

ปี พ.ศ. 2543 มีการดำเนินการยกร่างหลักสูตร สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)

ปี พ.ศ. 2545 ได้จัดการศึกษาที่วิทยาเขตสารสนเทศนครพนม จังหวัดนครพนม โปรแกรมภาคพิเศษ (เสาร์–อาทิตย์) และเปิดรับนิสิตหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต รุ่นแรก รูปแบบโปรแกรมชุดวิชา (Module System)[c] ภายในวิทยาเขตหลัก

ปี พ.ศ. 2546 มหาวิทยาลัยมีความร่วมมือกับสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดนครราชสีมา ในโครงการ ความร่วมมือจัดการศึกษาแบบบูรณาการด้านสาธารณสุขศาสตร์ เพื่อพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพในระบบบริการสาธารณสุข มีนิสิตหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (ต่อเนื่อง 2 ปี) โปรแกรมภาคพิเศษ (เสาร์–อาทิตย์) รุ่นแรก และหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต โปรแกรมภาคพิเศษ รุ่นแรก

คณะสาธารณสุขศาสตร์ ( 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นมา)

ในปี พ.ศ. 2546 สภามหาวิทยาลัยอนุมัติการจัดตั้งคณะสาธารณสุขศาสตร์ (อังกฤษ: Faculty of Public Health) [d] และประกาศใช้ “ระเบียบมหาวิทยาลัยมหาสารคามว่าด้วย คณะสาธารณสุขศาสตร์[e]

มหาวิทยาลัยได้แต่งตั้ง ศาสตราจารย์ ดร.สมจิตต์ สุพรรณทัสน์ รักษาการตำแหน่งคณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ ตั้งแต่วันที่ 27 สิงหาคม 2546 และได้รับการแต่งตั้งเป็นคณบดีคนแรกของคณะตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2546 [f]

ปี พ.ศ. 2547 คณะได้ขยายศูนย์การศึกษาเพิ่มอีก 2 แห่ง มีการเรียนการสอนในศูนย์การศึกษารวม 5 แห่ง ได้แก่

คณะได้จัดทำหลักสูตรการศึกษาใหม่อีก 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต (นานาชาติ) และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (สาขาโภชนาการและการจัดการความปลอดภัยในอาหาร) จนในปี พ.ศ. 2548 จึงเปิดรับนิสิตสาธารณสุขศาสตร์ ระดับปริญญาตรี (ต่อเนื่อง 2 ปี) และระดับบัณฑิตศึกษา โดยจัดการเรียนการสอนที่ศูนย์การศึกษารวม 8 แห่ง

ปี พ.ศ. 2549 เป็นปีแรกที่คณะได้เปิดรับนิสิตหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต และ วิทยาศาสตรบัณฑิต (สาขาโภชนาการและความปลอดภัยในอาหาร) 4 ปี ระบบปกติและระบบพิเศษ และคณะยังได้เปิดรับนิสิตหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (เสาร์ – อาทิตย์) ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 ที่ศูนย์การศึกษาจังหวัดสระบุรี

ปี พ.ศ. 2551 สภามหาวิทยาลัยอนุมัติการเปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย) [g]

คณะได้เปิดรับนิสิตเพิ่มอีก 2 แห่ง คือ ศูนย์การศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี และศูนย์การศึกษาจังหวัดหนองคาย โดยได้ดำเนินการเปิดการสอนนิสิตระดับปริญญาตรี 3 หลักสูตร ระดับปริญญาโท 2 หลักสูตร (2 สาขาวิชา 3 กลุ่มวิชาหลัก) และระดับปริญญาเอก 1 หลักสูตร

ปี พ.ศ. 2555 คณะเปิดหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ภาษาไทย) และเปิดรับนิสิตรุ่นแรกในปีการศึกษา 2555 และได้ทำข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับต่างประเทศ โดยเน้นกลุ่มประเทศอาเซียน เช่น University of Community Health, Magway, ประเทศพม่า [2] และ University of Public Health ประเทศพม่า และสถาบันในประเทศเวียดนาม ลาว กัมพูชา เป็นต้น และมีการทบทวนการจัดการเรียนการสอนนอกที่ตั้งเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน

ปี พ.ศ. 2556 คณะได้ย้ายอาคารทำการมาที่อาคารใหม่ อาคารคณะสาธารณสุขศาสตร์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 คณะเปิดรับนิสิตระดับปริญญาตรี 3 หลักสูตร ปริญญาโท 1 หลักสูตร และปริญญาเอก 1 หลักสูตร ที่วิทยาเขตหลักและศูนย์การศึกษานอกวิทยาเขตหลัก 3 แห่ง คือ ศูนย์การศึกษาจังหวัดอุดรธานี อุบลราชธานี และนครราชสีมา

ตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นมา คณะสาธารณสุขศาสตร์ เลิกรับนิสิตในศูนย์การศึกษาต่างๆ ทั้งหมด ทั้งศูนย์นครราชสีมา อุดรธานีและอุบลราชธานี โดยมีผลตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไป

การบริหารและการจัดการ

[แก้]

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ดำเนินงานตามพันธกิจ 4 ประการ คือ [3][4]: 3 

  • ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานวิชาชีพสาธารณสุข
  • วิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพที่สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ
  • บริการวิชาการด้านสุขภาพร่วมกับชุมชนที่สอดคล้องกับภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น
  • ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ

คณะมีการบริหารงานโดยมีคณะกรรมการบริหารคณะ มีคณบดีเป็นผู้นำการบริหาร และรองคณบดีและผู้ช่วยคณบดีกำกับดูแลฝ่ายงาน ตามโครงสร้างองค์กร ดังนี้ [4][5]


โครงสร้างองค์กร - สำนัก / ฝ่าย / หลักสูตร
หลักสูตร - สาขาวิชา การวิจัยและพัฒนา สนับสนุนการศึกษา
  • วท.บ. สาขาอนามัยสิ่งแวดล้อม
  • วท.บ. สาขาโภชนศาสตร์ การกำหนดอาหาร และอาหารปลอดภัย
  • วท.บ. สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
  • วท.ม. สาขาวิชาชีวอนามัยและความปลอดภัย
  • ปร.ด. สาขาวิชาชีวอนามัยและความปลอดภัย
  • ส.บ. สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต
  • ส.ม. สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต
  • ส.ม. สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต
  • ฝ่ายพัฒนาวิจัยและบริการวิชาการ [h]
  • สำนักงานเลขานุการคณะ
  • ฝ่ายบรืหาร [i]
  • ฝ่ายบรืหารการศึกษา [i]
  • ฝ่ายพัฒนานิสิต [h]
  • ฝ่ายประกันคุณภาพ [h]

หลักสูตรการศึกษา

[แก้]

ปัจจุบันคณะสาธารณสุขศาสตร์ มีการเรียนการสอน 6 หลักสูตร 8 สาขาวิชา แบ่งเป็นระดับปริญญาตรี 4 สาขา ปริญญาโท 2 สาขา และปริญญาเอก 2 สาขา และสำนักงาน ก.พ. รับรอง [ก] ดังนี้ [1]: 11, 16  [6]: 7, 9 


หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม[7]
ระดับปริญญาบัณฑิต ระดับปริญญามหาบัณฑิต ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)

  • สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาโภชนศาสตร์ การกำหนดอาหาร และอาหารปลอดภัย
  • สาขาวิชาชีวอนามัยและความปลอดภัย

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (ส.บ.)

  • สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)

  • สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีทางสุขภาพและความปลอดภัย

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีทางสุขภาพและความปลอดภัย

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ส.ด.)

  • สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์


หมายเหตุ
สำนักงาน ก.พ. รับรอง :
วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ. อนามัยสิ่งแวดล้อม) [8]: 120 
สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (ส.บ. สาธารณสุขศาสตร์) [9]: 3 
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม. สาธารณสุขศาสตร์) [9]: 8 
สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ส.ด. สาธารณสุขศาสตร์) [9]: 8  [8]: 120 

การรับบุคคลเข้าศึกษา

[แก้]

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เปิดรับนิสิตระดับปริญญาตรี 3 หลักสูตร ระดับปริญญาโท 2 หลักสูตร และระดับปริญญาเอก 2 หลักสูตร

การรับเข้าศึกษาระดับปริญญาตรีทั้ง 7 หลักสูตร 3 วิธี ดังนี้

กีฬาโฮมหมอเกมส์

[แก้]

กีฬาโฮมหมอเกมส์ หรือ กีฬาสานสัมพันธ์นิสิตกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ[11] เป็นกิจกรรมที่สร้างความสัมพันธ์อันดีและความสามัคคีต่อกันระหว่างนิสิตในสายวิชาชีพเดียวกัน จัดโดยโดยสโมสรนิสิตคณะสาธารณสุขศาสตร์ สโมสรนิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ สโมสรนิสิตคณะเภสัชศาสตร์ สโมสรนิสิตคณะแพทยศาสตร์ และสโมสรคณะสัตวแพทยศาสตร์

กีฬาสานสัมพันธ์ดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อให้นิสิตตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกาย เป็นการสร้างความคุ้นเคยและความสัมพันธ์อันดีระหว่างนิสิตในสายวิชาชีพเดียวกัน เนื่องจากอนาคตต้องมีการทำงานร่วมกัน เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนิสิตในมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ อีกทั้งสอดคล้องกับนโยบายสร้างเสริมสุขภาพของมหาวิทยาลัยมหาสารคามอีกด้วย โดยในงานได้มีการเดินขบวนพาเหรดของสโมสรนิสิตแต่ละคณะ และการแข่งขันกีฬาประเภทต่างๆ ประกอบด้วย ฟุตซอล, บาสเกตบอล, วอลเลย์บอล, ตะกร้อ, เปตอง และกีฬฮาเฮ อาทิ ชักเย่อ, วิ่งกระสอบ เป็นต้น ซึ่งมีผู้เข้าร่วมโครงการกว่า 500 คน ประกอบด้วย นิสิต อาจารย์ ของคณะสาธารณสุขศาสตร์, คณะพยาบาลศาสตร์, คณะเภสัชศาสตร์, คณะแพทยศาสตร์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์

ทำเนียบคณบดี

[แก้]

รายนามคณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบันมีดังนี้


ทำเนียบคณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ลำดับที่ รายนาม ระยะเวลา (ปี พ.ศ.) อ้างอิง
1 ศาสตราจารย์ ดร. สมจิตต์ สุพรรณทัสน์ 2547 - 2550 [12]
2 ศาสตราจารย์ ดร. สมจิตต์ สุพรรณทัสน์ 2551 - 2554 [13]
3 รองศาสตราจารย์ ดร. สงครามชัย ลีทองดี 2555 - 2558 [14]
4
รองศาสตราจารย์ ดร. วิทยา อยู่สุข 2558 - 2563 [15]
5 รองศาสตราจารย์ ดร. สุมัทนา กลางคาร 2563 - ปัจจุบัน

กิจกรรมและโครงการที่สำคัญ

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

เชิงอรรถ

[แก้]
เชิงอรรถ
  1. สภามหาวิทยาลัยอนุมัติการจัดตั้งคณะสาธารณสุขศาสตร์ ในการประชุมครั้งที่ 6/2546 เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2546
  2. มหาวิทยาลัยให้ ระเบียบมหาวิทยาลัยมหาสารคามว่าด้วย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม 2546
  3. รูปแบบโปรแกรมชุดวิชา (Module System) เป็นการจัดการเรียนการสอนเป็นคราว ๆ คราวละหนึ่งรายวิชา หรือหลายรายวิชา ซึ่งอาจจัดเป็นชุดของรายวิชาที่มีเนื้อหาสัมพันธ์กัน
  4. สภามหาวิทยาลัยอนุมัติการจัดตั้งคณะสาธารณสุขศาสตร์ ในการประชุมครั้งที่ 6/2546 เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2546
  5. มหาวิทยาลัยให้ ระเบียบมหาวิทยาลัยมหาสารคามว่าด้วย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม 2546
  6. ศาสตราจารย์ ดร.สมจิตต์ สุพรรณทัสน์ ได้ดำรงตำแหน่งคณบดี 2 วาระต่อเนื่อง คือ 19 ธันวาคม 2546 - 18 ธันวาคม 2550 และ 19 ธันวาคม 2550 – 18 ธันวาคม 2554
  7. ในวันที่ 23 พฤษภาคม 2551 โดยประธานหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย) คนแรก คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีระศักดิ์ สืบเสาะ และหลักสูตรนี้ได้มีการปรับปรุงในปี พ.ศ. 2556 ปรับปรุงชื่อสาขาวิชาเป็น สาขาอนามัยสิ่งแวดล้อม
  8. 8.0 8.1 8.2 กำกับโดยผู้ช่วยคณบดี
  9. 9.0 9.1 กำกับโดยรองคณบดี

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (12 ตุลาคม 2558). รายงานผลการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน วงรอบปีการศึกษา 2557 (PDF) (Report). ศูนย์พัฒนาและประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. p. 36. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2561. {{cite report}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  2. MSU MOU - University of Community Health Magway, Mynmar ที่ยูทูบ, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับ University of Community Health Magway, Myanmar (ประเทศพม่า)
  3. "พันธกิจ". คณะสาธารณสุขศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ม.ป.ป. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-06. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  4. 4.0 4.1 แผนปฏิบัติการคณะสาธารณสุขศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 (RAR). คณะสาธารณสุขศาสตร์ (Report). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มีนาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2561. {{cite report}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  5. "โครงสร้างหน่วยงาน". คณะสาธารณสุขศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ม.ป.ป. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-06. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  6. ราชกิจจานุเบกษา ว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑, มาตรา เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๘๑ ก ประกาศใช้เมื่อ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๑. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2561.[ลิงก์เสีย]
  7. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, รายงานข้อมูลพื้นฐานประจำปี 2563 หน้า 133 เก็บถาวร 2021-04-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 31 มีนาคม 2564
  8. 8.0 8.1 คู่มือการรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรวิชาชีพของสถาบันการศึกษาที่ ก.พ. รับรอง (PDF). สำนักงาน ก.พ. กรกฎาคม 2560. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-02-14. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2561. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. 9.0 9.1 9.2 คู่มือการรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรวิชาชีพของสถาบันการศึกษาที่ ก.พ. รับรอง (PDF). สำนักงาน ก.พ. กรกฎาคม 2559. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-06-05. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2561. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. "เปิดรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี ประเภทโครงการคณะดำเนินการเอง ประจำปีการศึกษา 2560". คณะสาธารณสุขศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2560. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-06. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2561. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. ข่าวประชาสัมพันธ์ มมส. [http://www.web.msu.ac.th/ssystem/msuhotnews/detailnews.php?hm=&hotnewsid=6317&uf=&qu= มมส จัดการแข่งขันกีฬาโฮมหมอเกมส์ ครั้งที่ 8.] เก็บถาวร 2022-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้น 6 ตุลาคม 2565.
  12. "คำสั่งมหาวิทยาลัย เรื่องแต่งตั้งคณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ (อาจารย์สมจิตต์ สุพรรณทัสน์) (ลงวันที่ 26 ธ.ค 46 )". สภามหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 26 ธันวาคม 2546. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  13. "คำสั่งมหาวิทยาลัย เรื่องแต่งตั้งคณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ (ศ.สมจิตต์ สุพรรณทัสน์) (ลงวันที่ 6 ธ.ค 50)". สภามหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 6 ธันวาคม 2550. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  14. "คำสั่งมหาวิทยาลัย เรื่องแต่งตั้งคณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ (ผศ.สงครามชัย ลีทองดี) (ลงวันที่ 20 ธ.ค 54)". สภามหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  15. "คำสั่งมหาวิทยาลัย เรื่องแต่งตั้งคณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ (รศ.วิทยา อยู่สุข) (ลงวันที่ 18 มี.ค 59)". สภามหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 18 มีนาคม 2558. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]