ข้ามไปเนื้อหา

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แพรแถบย่อเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยจากลำดับศักดิ์สูง-ต่ำ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย คือ เหรียญ และตรา อันเป็นเครื่องประดับยศ เกิดขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงเรียกว่า "เครื่องราชอิสริยยศ" เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างเครื่องราชอิสริยยศขึ้นอีกหลายตระกูล และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้เปลี่ยนจากคำว่า "เครื่องราชอิสริยยศ" มาเป็นคำว่า "เครื่องราชอิสริยาภรณ์"[1] สำหรับพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และผู้กระทำคุณความดีให้แก่ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ทั้งที่เป็นบุรุษและสตรี โดยเครื่องราชอิสริยาภรณ์ มี 4 ประเภท ดังนี้

ประวัติ

[แก้]

เมื่อลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตกเริ่มเข้ามาคุกคามประเทศตะวันออกมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงเป็นชนวนให้คนรุ่นใหม่ในสยามประเทศเริ่มเคลื่อนไหวไปตามกระแสความเปลี่ยนแปลง เพื่อเตรียมปรับรับมือกับสิ่งใหม่ที่บรรดานักล่าอาณานิคมชาวตะวันตกนำเข้ามา ซึ่งก่อให้เกิดพัฒนาการอันเป็นพื้นฐานที่ดีต่อประเทศนานัปการ อาทิ การให้ความสนใจศึกษาเรื่องราวความเป็นมา ทั้งในด้านภาษา ศาสนา และศิลปะวิทยาการต่าง ๆ ของชาติตะวันตกเหล่านั้นอย่างจริงจัง

ผู้ที่เป็นแกนนำสำคัญก็คือ เจ้าฟ้ามงกุฎ ที่มีพระวิสัยทัศน์กว้างไกล เมื่อทรงขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงมีความพร้อมที่จะรับมือกับความเปลี่ยนแปลง ที่ดำเนินมาพร้อมกับการแสวงหาประโยชน์ อย่างผู้ที่ถือตนว่ามีพัฒนาการและอำนาจเหนือกว่าชาติทางแถบเอเชีย โดยได้โปรดให้ปรับเปลี่ยนธรรมเนียมแบบแผนหลาย ๆ อย่างให้เหมาะแก่กาลสมัย และสอดคล้องกับความเป็นสากลนิยม ตามแบบชาติตะวันตกที่เป็นมหาอำนาจอยู่ ณ เวลานั้น

จากเหตุการณ์ดังกล่าวนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอย่างหนึ่ง อันเป็นจุดกำเนิดของสิ่งประดับตกแต่งกับเสื้อที่เป็นเครื่องแสดงยศศักดิ์และบ่งบอกถึงฐานันดร หรือตำแหน่งหน้าที่ของผู้ที่ใช้ประดับอยู่ได้ โดยเครื่องประดับเสื้อเพื่อแสดงยศศักดิ์นี้ มีแบบอย่างมาจากชาวยุโรปเมื่อหลายร้อยปีก่อนที่มีความเป็นมาว่า แต่เดิมใช้เป็นเครื่องหมายในหมู่คณะพวกผู้ดี ที่ปฏิบัติกิจทางศาสนาเดียวกัน จนกระทั่งเมื่อเกิดสงครามครูเสดเพื่อแย่งชิงดินแดนปาเลสไตน์ ที่ชาวคริสต์ถือว่าเป็นถิ่นกำเนิดของพระเยซู ให้รอดพ้นจากการครอบครองของชาวมุสลิม บรรดากษัตริย์และผู้มียศศักดิ์ทั้งหลายในยุโรป ได้พากันรับอาสาไปเป็นทหารครูเสดกันหลายประเทศ พระสันตะปาปาแห่งกรุงโรมจึงคิดทำเครื่องหมาย ให้แก่บรรดาทหารอาสาหรือที่เรียกกันว่า อัศวินนักรบ ผู้มีความกล้าหาญเหล่านั้น ด้วยการใช้รูป “กางเขน” เพื่อแสดงถึงความเป็นพวก ฝ่าย หรือคณะเดียวกันให้ปรากฏ โดยมีการเรียกคณะของแต่ละคณะว่า “Order”

หลังสงครามยุติลง มีการนำเครื่องหมายกางเขนมาตกแต่งให้มีรูปแบบต่างกันไปตามชั้นยศ เป็นเครื่องหมายแสดงตำแหน่งหรือความกล้าหาญ หรือเป็นบำเหน็จความชอบที่กษัตริย์พระราชทานให้ สิ่งเหล่านั้นจึงกลายมาเป็น “เครื่องราชอิสริยาภรณ์” เพราะได้รับมอบจากกษัตริย์ โดยใช้คำ “Order” แทนความหมายว่า “ตระกูล” ของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ซึ่งเป็นเครื่องประดับอาภรณ์ที่ได้รับพระราชทาน อาทิ The Order of Aviz ของโปรตุเกส ที่เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลแรกและเก่าแก่ที่สุดในยุโรป มีมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 17 ก่อนที่อาณาจักรสุโขทัยจะเริ่มก่อตั้งขึ้น

ในเอเชีย สยามนับเป็นประเทศแรกที่มีการใช้เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามอย่างสากล ด้วยความใฝ่ใจศึกษาวัฒนธรรมและประเพณีตะวันตกของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังที่ได้กล่าวแล้วในตอนต้น จึงมีพระราชดำริจะสร้างเครื่องหมายแบบชาวตะวันตก จากแบบของสิ่งที่เป็นเครื่องหมายแทนพระองค์ ได้แก่ ลวดลายของตราพระราชลัญจกรไอราพต ซึ่งเป็นตราประทับบนหนังสือราชการ และจากแบบของสิ่งที่เป็นมงคลเดิมของไทย ได้แก่ พลอย 9 ชนิด หรือที่เรียกว่า นพรัตน์ มาประยุกต์เข้าด้วยกันกับตราประดับเสื้อเพื่อแสดงเกียรติยศ ที่ชาวตะวันตกเรียกว่า Star โดยได้ทรงบัญญัติคำว่า “ดารา” ขึ้นมาใช้เรียกส่วนประกอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย ตั้งแต่ชั้นที่ 2 เป็นต้นไปจนถึงชั้นสายสะพายและใช้มาตราบจนทุกวันนี้ แต่ยังคง ถือว่าเป็น “เครื่องราชอิสริยยศ” เพราะโดยมากสร้างขึ้นสำหรับพระราชทานแก่พระราชวงศ์ ส่วน “เครื่องสำคัญยศ” ที่เป็นของขุนนางมีไม่มากนัก และถือว่าเป็นต้นเค้าเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยปัจจุบัน เช่น ดารานพรัตน เป็นต้นเค้าของเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ ดาราช้างเผือก เป็นต้นเค้าของเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ฯลฯ

ชนิดของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]
ชื่อเครื่องราชอิสริยาภรณ์ วันสถาปนา แพรแถบย่อ ผู้สถาปนา หมายเหตุ อ้างอิง
สำหรับพระราชทานแด่ประมุขแห่งรัฐต่างประเทศ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นมงคลยิ่งราชมิตราภรณ์ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2505 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร [2]
สำหรับพระราชทานแด่พระบรมวงศานุวงศ์
เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2425 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว [3]
สำหรับพระราชทานแด่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และผู้กระทำคุณความดี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ พ.ศ. 2394 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว [4]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า พ.ศ. 2416 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว [5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2461 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว [6]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก พ.ศ. 2404 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว [7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ. 2412 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว [8]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร [9]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 [10]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นบำเหน็จในพระองค์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พ้นสมัยพระราชทาน [11]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์วัลลภาภรณ์ 22 มีนาคม พ.ศ. 2461 [12]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์วชิรมาลา 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 [13]
ลำดับเกียรติ[14] แพรแถบย่อ รายชื่อ อักษรย่อ
1
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นมงคลยิ่งราชมิตราภรณ์ ร.ม.ภ.
2
เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ ม.จ.ก.
3
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ น.ร.
4
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ ป.จ.ว.
5
เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์ (พ้นสมัยพระราชทาน) ร.ว.
6
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า ป.จ.
7
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 1 (เสนางคะบดี) ส.ร.
8
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก ม.ป.ช.
9
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นมหาวชิรมงกุฎ ม.ว.ม.
10
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นประถมาภรณ์ช้างเผือก ป.ช.
11
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นประถมาภรณ์มงกุฎไทย ป.ม.
12
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นปฐมดิเรกคุณาภรณ์ ป.ภ.
13
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ท.จ.ว.
14
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 2 (มหาโยธิน) ม.ร.
15
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นทวีติยาภรณ์ช้างเผือก ท.ช.
16
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย ท.ม.
17
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นทุติยดิเรกคุณาภรณ์ ท.ภ.
18
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้า ท.จ.
19
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 3 (โยธิน) ย.ร.
20
เครื่องราชอิสริยาภรณ์วัลลภาภรณ์ (พ้นสมัยพระราชทาน) ว.ภ.
21
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ต.จ.ว.
22
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 4 (อัศวิน) อ.ร.
23
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นตริตาภรณ์ช้างเผือก ต.ช.
24
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นตริตาภรณ์มงกุฎไทย ต.ม.
25
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นตติยดิเรกคุณาภรณ์ ต.ภ.
26
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ -
27
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นตติยจุลจอมเกล้า ต.จ.
28
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นจัตุรถาภรณ์ช้างเผือก จ.ช.
29
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นจัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย จ.ม.
30
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นจตุตถดิเรกคุณาภรณ์ จ.ภ.
31
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นตติยานุจุลจอมเกล้า ต.อ.จ.
32
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นจตุตถจุลจอมเกล้า จ.จ.
33
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นเบญจมาภรณ์ช้างเผือก บ.ช.
34
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นเบญจมาภรณ์มงกุฎไทย บ.ม.
35
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นเบญจมดิเรกคุณาภรณ์ บ.ภ.
36
เครื่องราชอิสริยาภรณ์วชิรมาลา (พ้นสมัยพระราชทาน) ว.ม.ล.

เหรียญราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

เหรียญราชอิสริยาภรณ์ มี ๔ ประเภท คือ เหรียญราชอิสริยาภรณ์อันเป็นบำเหน็จในความกล้า เหรียญราชอิสริยาภรณ์อันเป็นบำเหน็จในราชการ เหรียญราชอิสริยาภรณ์อันเป็นบำเหน็จในพระองค์ และเหรียญราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่ระลึก

เหรียญบำเหน็จกล้าหาญ

[แก้]
ลำดับที่ แพรแถบย่อ รายชื่อ อักษรย่อ
1(37)
เหรียญรามมาลาเข็มกล้ากลางสมร ร.ม.ก.
2(38)
เหรียญรามมาลา ร.ม.
3(39)

เหรียญกล้าหาญ ร.ก.
เหรียญดุษฎีมาลา เข็มกล้าหาญ ร.ด.ม.(ก)
4(40)


เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามอินโดจีน ช.ส.


เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา ช.ส.


เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี ช.ส.


เหรียญชัยสมรภูมิ การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม ช.ส.
5(41)
เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 ส.ช.๑
6(42)
เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 1 ส.ช. ๒/๑
7(43)
เหรียญราชนิยม (พ้นสมัยพระราชทาน) ร.น.
8(44)
เหรียญปราบฮ่อ (พ้นสมัยพระราชทาน) ร.ป.ฮ.
9(45)
เหรียญงานพระราชสงครามยุโรป (พ้นสมัยพระราชทาน)
10(46)
เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ้นสมัยพระราชทาน) พ.ร.ธ.
11(47)
เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 ส.ช. ๒/๒
12(48)
เหรียญศานติมาลา (พ้นสมัยพระราชทาน) ศ.ม.

เหรียญบำเหน็จในราชการ

[แก้]
ลำดับที่ แพรแถบย่อ รายชื่อ อักษรย่อ
1(49)

เหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการแผ่นดิน หรือเข็มศิลปวิทยา (ฝ่ายทหารและตำรวจ)
ร.ด.ม.(ผ)/ร.ด.ม.(ศ)

เหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการแผ่นดิน หรือเข็มศิลปวิทยา (ฝ่ายพลเรือน)
ร.ด.ม.(ผ)/ร.ด.ม.(ศ)
2(50)
เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามอินโดจีน
ช.ร.
เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามมหาเอเชียบูรพา
ช.ร.
3(51)
เหรียญราชการชายแดน
ช.ด.
4(52)
เหรียญทองช้างเผือก
ร.ท.ช.
5(53)
เหรียญทองมงกุฎไทย
ร.ท.ม.
6(54)
เหรียญทองดิเรกคุณาภรณ์
ร.ท.ภ.
7(55)
เหรียญเงินช้างเผือก
ร.ง.ช.
8(56)
เหรียญเงินมงกุฎไทย
ร.ง.ม.
9(57)
เหรียญเงินดิเรกคุณาภรณ์
ร.ง.ภ.
10(58)
เหรียญจักรมาลา
ร.จ.ม.
เหรียญจักรพรรดิมาลา
ร.จ.พ.
11(59)
เหรียญศารทูลมาลา (พ้นสมัยพระราชทาน)
ร.ศ.ท.
12(60)
เหรียญบุษปมาลา (พ้นสมัยพระราชทาน)
ร.บ.ม.
13(61)
เหรียญลูกเสือสรรเสริญ ชั้นที่ 1
14(62)
เหรียญลูกเสือสรรเสริญ ชั้นที่ 2
15(63)
เหรียญลูกเสือสรรเสริญ ชั้นที่ 3
16(64)
เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1
17(65)
เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 2
18(66)
เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 3
19(67)
เหรียญลูกเสือยั่งยืน

เหรียญบำเหน็จในพระองค์พระมหากษัตริย์

[แก้]
ลำดับที่ แพรแถบย่อ รายชื่อ อักษรย่อ
1(68)
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 4
ม.ป.ร.1-5
2(69)
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5
จ.ป.ร.1-5
3(70)
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6
ว.ป.ร.1-5
4(71)
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7
ป.ป.ร.1-5
5(72)
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8
อ.ป.ร.1-5
6(73)
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9
ภ.ป.ร.1-5
7(74)
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 10
ว.ป.ร.1-5
8(75)
เหรียญราชรุจิ รัชกาลที่ 5
ร.จ.ท.5 / ร.จ.ง.5
9(76)
เหรียญราชรุจิ รัชกาลที่ 6
ร.จ.ท.6 / ร.จ.ง.6
10(77)
เหรียญราชรุจิ รัชกาลที่ 7
ร.จ.ท.7 / ร.จ.ง.7
11(78)
เหรียญราชรุจิ รัชกาลที่ 9
ร.จ.ท.9 / ร.จ.ง.9
12(-)
เหรียญราชรุจิ รัชกาลที่ 10
ร.จ.ท.10 / ร.จ.ง.10

เหรียญที่พระราชทานเป็นที่ระลึก

[แก้]
ลำดับที่ แพรแถบย่อ รายชื่อ อักษรย่อ
1(79)
เหรียญสตพรรษมาลา เหรียญที่ระลึกสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 100 ปี ส.ม.
2(80)
เหรียญรัชฎาภิเศกมาลา เหรียญที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลสมัยพระราชพิธีรัชดาภิเษก พ.ศ. 2436 ร.ศ.
3(81)
เหรียญประพาสมาลา เหรียญที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการเสด็จพระราชดำเนินประพาสทวีปยุโรป ร.ป.ม.
4(82)
เหรียญราชินี เหรียญที่ระลึกสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น ส.ผ.
5(83)
เหรียญทวีธาภิเศก เหรียญที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงครองราชย์เป็นเวลายาวนานทวีคูณของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เนื่องในโอกาสพระราชพิธีทวีธาภิเษก พ.ศ. 2441 ท.ศ.
6(84)
เหรียญรัชมงคล เหรียญที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 40 ปี เสมอด้วยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ร.ร.ม.
7(85)
เหรียญรัชมังคลาภิเศก เหรียญที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลสมัยพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก พ.ศ. 2451 ร.ม.ศ.
8(86)
เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 ร.ร.ศ.๖
9(87)
เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 ร.ร.ศ.๗
10(88)
เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 ร.ร.ศ.๙
11(89)
เหรียญชัย
12(90)
เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี ร.ฉ.พ.
13(91)
เหรียญงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
14(92)
เหรียญที่ระลึกในการเสด็จพระราชดำเนินเยือนสหรัฐอเมริกาและทวีปยุโรป
15(93)
เหรียญรัชดาภิเษก พ.ศ. 2514
16(94)
เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร 28 ธันวาคม 2515
17(95)
เหรียญสนองเสรีชน ส.ส.ช.
18(96)
เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 5 ธันวาคม 2520
19(97)
เหรียญที่ระลึกสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี
20(98)
เหรียญที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลพระชนมพรรษาครบ 50 พรรษา 12 สิงหาคม 2525
21(99)
เหรียญที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เนื่องในโอกาสพระราชพิธีฉลองพระชนมายุ 7 รอบ 21 ตุลาคม 2527
22(100)
เหรียญที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 5 ธันวาคม 2530
23(101)
เหรียญที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร หาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก พ.ศ. 2531
24(102)
เหรียญที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 12 สิงหาคม 2535
25(103)
เหรียญที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลสมัยพระราชพิธีกาญจนาภิเษก พ.ศ. 2539
26(104)
เหรียญที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542
27(105)
เหรียญที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 12 สิงหาคม 2547
28(106)
เหรียญที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี พ.ศ. 2549
29(107)
เหรียญที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554
30(108)
เหรียญที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฏราชกุมาร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 28 กรกฎาคม 2555
31(109)
เหรียญที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ขณะดำรงพระอิสริยยศสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสพระราชพิธีฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558
32(-)
เหรียญที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 12 สิงหาคม 2559
33(-)
เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 10
34(-)
เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 4 พฤษภาคม พุทธศักราช 2562
35(-)
เหรียญที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565
36(-)
เหรียญที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567[15]
36(110)
เหรียญกาชาดสรรเสริญ
37(111)
เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
38(112)
เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 2 (เหรียญเงิน)
39(113)
เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 3 (เหรียญทองแดง)
40(-)
เหรียญกาชาดสดุดี ชั้นพิเศษ (เหรียญทอง)
41(-)
เหรียญกาชาดสดุดี ชั้นที่ 1 (เหรียญเงิน)
42(-)
เหรียญกาชาดสดุดี ชั้นที่ 2 (เหรียญบรอนซ์)

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไขเพิ่มเติม, เล่ม ๖, ตอน ๓๗, ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๓๒), หน้า ๓๑๒
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นมงคลยิ่งราชมิตราภรณ์ พ.ศ. ๒๕๐๕, เล่ม ๗๙, ตอน ๕๒ ก, ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๕, หน้า ๖๗๔
  3. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติสำหรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงษ์, เล่ม ๑๑, ตอน ๑๔, ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๓๗, หน้า ๑๐๗
  4. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์, เล่ม ๑๐, ตอน ๔๒, ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๖, หน้า ๔๕๙
  5. พระราชบัญญัติเครื่องราชอิศริยยศจุลจอมเกล้าสำหรับตระกูล ปีระกาเบญจศก จุลศักราช ๑๒๓๕
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติเครื่องราชอิศริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี, เล่ม ๓๕, ตอน ๐ก, ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๑, หน้า ๑๖๙
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติสำหรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก, เล่ม ๑๐, ตอน ๓๙, ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๓๖, หน้า ๔๒๕
  8. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎสยาม, เล่ม ๑๐, ตอน ๔๑, ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๖, หน้า ๔๔๕
  9. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ พ.ศ. ๒๕๓๔, เล่ม ๑๐๘, ตอน ๑๒๗ ก ฉบับพิเศษ, ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๔, หน้า ๑
  10. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติลูกเสือ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๐ กำหนดให้มีเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ ไว้สำหรับพระราชทานแก่ผู้ได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดีชั้นที่ ๑ และผู้มีอุปการคุณช่วยเหลือกิจการลูกเสือ, เล่ม ๑๐๔, ตอน ๒๔๕ ก ฉบับพิเศษ, ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๐, หน้า ๑
  11. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตรารัตนวราภรณ์, เล่ม ๒๘, ตอน ๐ก, ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๕๔, หน้า ๑๘๕
  12. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติตราวัลละภาภรณ์, เล่ม ๓๕, ตอน ๐ ก, ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๑, หน้า ๔๑๓
  13. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติตราวชิรมาลา รัตนโกสินทร ศก ๑๓๐, เล่ม ๒๘, ตอน ๐ก, ๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๕๔, หน้า ๗๔
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ลำดับเกียรติเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย เก็บถาวร 2011-11-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๐, ตอน ๒๙ง ฉบับพิเศษ, ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๖, หน้า ๑
  15. จัดจ้างทำแพรแถบเหรียญที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิม พระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๒๗ จำนวน ๓๖,๐๐๐ เมตร
  • หนังสือเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบรมราชาธิบายเรื่องเครื่องราชอิศริยาภรณ์ของกรุงสยาม เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ๒๔๖๓, ๒๓, ๑๕ หน้า
  • กองกษาปณ์ กรมธนารักษ์
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย เก็บถาวร 2007-12-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
  • สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, สำนักนายกรัฐมนตรี. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย. กรุงเทพฯ : จัดพิมพ์เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ วันที่ 12 สิงหาคม พุทธศักราช 2535, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2546. 411 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-7771-17-9