เครื่องราชอิสริยาภรณ์ญี่ปุ่น
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ญี่ปุ่น แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ เครื่องราชอิสริยาภรณ์กับเหรียญอิสริยาภรณ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]มีทั้งหมด 7 ลำดับชั้น พ้นสมัยพระราชทาน 1 ลำดับชั้นและยังพระราชทาน 6 ลำดับชั้นมีดังต่อไปนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันสูงส่งยิ่งดอกเบญจมาศ
[แก้]เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันสูงส่งยิ่งดอกเบญจมาศ (ญี่ปุ่น: 大勲位菊花章; โรมาจิ: ไดกุนอิ คิกกะโช อังกฤษ: Supreme Order of the Chrysanthemum) เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสุงสุดของญี่ปุ่นมอบเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีและเป็นเกียรติยศแก่ผู้มีคุณูปการต่อญี่ปุ่น
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดอกคิริ
[แก้]เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดอกคิริ (ญี่ปุ่น: 桐花章 อังกฤษ: Order of the Paulownia Flowers) เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์รองจากเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันสูงส่งยิ่งดอกเบญจมาศมอบแก่รัฐบุรุษ อดีตนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีอาวุโส นักการทูต และตุลาการที่มีผลงานโดดเด่น มอบในฐานะประสบความสำเร็จอย่างโดดเด่นเป็นระยะเวลายาวนานหลายปี ทั้งในกิจการสาธารณะและกิจการทางการเมือง
เครื่องราชอิสริยาภรณ์เหยี่ยวทองคำ
[แก้]เครื่องราชอิสริยาภรณ์เหยี่ยวทองคำ (ญี่ปุ่น: 金鵄勲章 (kinshi kunsyou) อังกฤษ: Order of the Golden Kite) เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์รองจากเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันสูงส่งยิ่งดอกเบญจมาศและมีศักดิ์เท่ากับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดอกคิริมอบให้แก่บุคลากรทางการทหารเท่านั้น ปัจจุบันพ้นสมัยการพระราชทานแล้ว มีทั้งหมด 7 ลำดับชั้นดังนี้
- ชั้นที่ 1 โคอิคคิว คินชิคุนโช
- ชั้นที่ 2 โคนิคิว คินชิคุนโช
- ชั้นที่ 3 โคซังคิว คินชิคุนโช
- ชั้นที่ 4 โคชิคิว คินชิคุนโช
- ชั้นที่ 5 โคโกะคิว คินชิคุนโช
- ชั้นที่ 6 โคโรขุคิว คินชิคุนโช
- ชั้นที่ 7 โคนะนะคิว คินชิคุนโช
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย
[แก้]เครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย (ญี่ปุ่น: 旭日章 Kyokujitsu-shō ?, อังกฤษ: Order of the Rising Sun) เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ลำดับที่ 3 ของประเทศญี่ปุ่นมอบแก่บุคคลทั่วไปมีทั้งหมด 8 ลำดับชั้นดังนี้
- ชั้นที่ 1 เคียวกุจิสึ ไดจูโช
- ชั้นที่ 2 เคียวกุจิสึ จูโกโช
- ชั้นที่ 3 เคียวกุจิสึ ชูจุโช
- ชั้นที่ 4 เคียวกุจิสึ โชจูโช
- ชั้นที่ 5 เคียวกุจิสึ โซโกโช
- ชั้นที่ 6 เคียวกุจิสึ ทันโกโช
- ชั้นที่ 7 เซโชะกุ โดโยโช
- ชั้นที่ 8 ฮะกุโชะกุ โดโยโช
เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงคลรัตน์
[แก้]เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงคลรัตน์ (ญี่ปุ่น: 瑞宝章 ซุยโฮ-โช) เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ลำดับที่ 4 ของประเทศญี่ปุ่นแต่เดิมมีทั้งหมด 8 ลำดับชั้นแต่ในปัจจุบันมีทั้งหมด 6 ลำดับชั้นดังนี้
- ชั้นที่ 1 ซูโฮ ไดจูโช
- ชั้นที่ 2 ซูโฮ จูโกโช
- ชั้นที่ 3 ซูโฮ ชูจุโช
- ชั้นที่ 4 ซูโฮ โชจุโช
- ชั้นที่ 5 ซูโฮ โซโกโช
- ชั้นที่ 6 ซูโฮ ตันโกโช
เครื่องราชอิสริยาภรณ์วัฒนธรรม
[แก้]เครื่องราชอิสริยาภรณ์วัฒนธรรม เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ลำดับที่ 5 ของประเทศญี่ปุ่นมอบแก่ผู้มีผลงานดีเด่น ทำประโยชน์แก่วงการศิลปวัฒนธรรมของญี่ปุ่น
เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนมงกุฎ
[แก้]เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนมงกุฎ เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ลำดับที่ 6 ของประเทศญี่ปุ่นมอบแก่พระราชวงศ์ที่เป็นสตรีหรือสตรีผู้ทำคุณประโยชน์แก่ญี่ปุ่นแต่เดิมมีทั้งหมด 8 ลำดับชั้นแต่ต่อมาในปี พ.ศ. 2546 ชั้นที่ 7 และ 8 ถูกยกเลิกไปปัจจุบันมีทั้งหมด 6 ลำดับชั้นดังนี้
- ชั้นที่ 1 โฮกัง ไดจูโช
- ชั้นที่ 2 โฮกัง โบตันโช
- ชั้นที่ 3 โฮกัง ฮะกุโชโช
- ชั้นที่ 4 โฮกัง ฟุจิฮะนะโช
- ชั้นที่ 5 โฮกัง เคียวฮะโช
- ชั้นที่ 6 โฮกัง วะโกจูโช
อิสริยาภรณ์
[แก้]เหรียญเกียรติยศ
[แก้]เหรียญเกียรติยศ เป็นอิสริยาภรณ์ของประเทศญี่ปุ่นเพื่อมอบแก่บุคคลผู้ประสบความสำเร็จในด้านต่าง ๆ แบ่งเป็น6ประเภทดังนี้
ประเภท
[แก้]แถบสีแดง
[แก้]มอบครั้งแรกในปี พ.ศ. 2425 มอบแก่บุคคลผู้เสี่ยงตนในการช่วยชีวิตผู้อื่น
แถบสีเขียว
[แก้]มอบครั้งแรกในปี พ.ศ. 2425 เดิมมอบให้แก่ "เด็ก, ลูกหลาน, ภรรยา และคนรับใช้ สำหรับความกตัญญูและความขยันหมั่นเพียรอันน่ายกย่อง ในขณะที่ตัวของพวกเขาก็เป็นแบบอย่างของประชาชน"
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ในปี พ.ศ. 2493 เหรียญนี้ก็ถูกระงับการมอบ ต่อมาในปี พ.ศ. 2498 เหรียญนี้ก็ถูกแทนที่ด้วยเหรียญเกียรติยศแถบสีเหลือง จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2546 เหรียญเกียรติยศแถบสีเขียวก็ถูกฟื้นฟูขึ้นมาเพื่อมอบแก่บุคคลที่มีความกระตือรือร้นในการให้บริการสังคม
แถบสีเหลือง
[แก้]มอบครั้งแรกในปี พ.ศ. 2430 (ยกเลิกในภายหลัง); มอบแก่บุคคลที่มีความขยันหมั่นเพียร ในขณะที่การมีส่วนร่วมในกิจกรรมระดับมืออาชีพของพวกเขากลายเป็นแบบอย่างของประชาชน
แถบสีม่วง
[แก้]มอบครั้งแรกในปี พ.ศ. 2498 มอบแก่บุคคลที่ได้สนับสนุนต่อการพัฒนาและการปรับปรุงทางวิชาการและศิลปะจนประสบความสำเร็จ
แถบสีน้ำเงิน
[แก้]มอบครั้งแรกในปี พ.ศ. 2425 มอบแก่บุคคลที่ได้ทำผลงานสำคัญในพื้นที่พัฒนาสังคมและสวัสดิการหรือการบริการสาธารณะ
แถบสีน้ำเงินเข้ม
[แก้]มอบครั้งแรกในปี พ.ศ. 2462 มอบแก่บุคคลที่ใจกว้างต่อการช่วยเหลือทางด้านการเงินสำหรับความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน