ข้ามไปเนื้อหา

ราชาธิปไตยแบบสืบสันตติวงศ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ราชาธิปไตยแบบสืบสันตติวงศ์ เป็นรูปแบบหนึ่งของระบอบการปกครองและการสืบทอดอำนาจซึ่งราชบังลังก์จะถูกส่งมอบผ่านจากสมาชิกคนหนึ่งของตระกูลผู้ปกครองไปยังสมาชิกอีกคนหนึ่งในตระกูลเดียวกัน หนึ่งในผู้ปกครองมาจากตระกูลเดียวกันที่ประกอบกันเป็นราชวงศ์

ตามประวัติศาสตร์ เป็นระบอบราชาธิปไตยที่พบเห็นกันเป็นเรื่องปกติอย่างมากและยังคงเป็นรูปแบบที่โดดเด่นในระบอบราชาธิปไตยที่ยังเหลืออยู่ มีจุดข้อดีคือความต่อเนื่องของการรวมศูนย์กลางของอำนาจและความมั่นคั่งและความสามารถในการคาดการณ์ที่สามารถคาดหมายที่จะควบคุมวิธีการของการจัดการปกครองและให้การอุปถัมภ์ หากพระมหากษัตริย์ทรงมีพระปรีชาสามารถ ไม่กดขี่ข่มเหง และดำรงไว้ซึ่งฐานันดรศักดิ์ที่เหมาะสม นอกจากนี้อาจจะให้ข้อเสนอที่เป็นปัจจัยที่มั่นคงของความเป็นที่นิยมชื่นชอบและความภักดีต่อตระกูลผู้ปกครอง[1] การตัดสินวินิจฉัยสิ่งที่ถือว่าเป็นการกดขี่ ทรงเกียรติ และกระแสนิยมจะยังคงอยู่ในขอบเขตของพระมหากษัตริย์ ข้อเสียที่สำคัญของระบอบราชาธิปไตยแบบสืบสันตติวงศ์จะเกิดขึ้น เมื่อทายาทผู้มีสิทธิโดยตรงอาจจะไม่มีความเหมาะสมทางร่างกายหรือทางอารมณ์ที่แปรปรวนในการปกครอง[2] ข้อเสียอื่น ๆ คือ ประชาชนไม่สามารถเลือกประมุขแห่งรัฐได้ ไม่ยินยอมที่จะมีการกระจัดกระจายความมั่นคั่งและอำนาจในวงกว้างของสังคมและความต่อเนื่องของโครงสร้างทางศาสนาและสังคม-เศรษฐกิจที่ล้าสมัย เพื่อสิทธิพิเศษส่วนใหญ่ของพระมหากษัตริย์ ตระกูล และผู้สนับสนุน[3]

ในระบอบราชาธิปไตยแบบสืบสันตติวงศ์ส่วนใหญ่ที่ยังเหลืออยู่ ลำดับการสืบสันตติวงศ์โดยทั่วไปแล้วจะใช้บางรูปแบบของสิทธิของบุตรหัวปี แต่ก็มีวิธีการอื่น ๆเช่น สิทธิตามอาวุโส และสิทธิการสืบทอดมรดกของตระกูล (Tanistry) (ซึ่งจะมีการเสนอชื่อทายาทผู้มีสิทธิโดยตรงจากท่ามกลางผู้คัดเลือกที่มีคุณสมบัติที่ดีพร้อม).

ผลการวิจัยได้แสดงให้เห็นว่าระบอบการปกครองแบบการสืบสันตติวงศ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูปแบบของสิทธิของบุตรหัวปี จะมีเสถียรภาพมากกว่ารูปแบบของการปกครองแบบอำนาจเบ็ดเสร็จที่มีการจัดเตรียมการสืบทอดแบบทางเลือก[4][5][6] [7][8][9]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Sharma, Urmila Sharma & S. K. (2000). Principles and Theory of Political Science. Atlantic Publishers & Dist. p. 412. ISBN 9788171569380. สืบค้นเมื่อ 18 February 2018.
  2. Flesch, Carl F. (2006). Who's Not Who and Other Matters. Pegasus Elliot Mackenzie Pu. p. 69. ISBN 9781843862444.
  3. Robertson, Geoffrey (25 September 2008). "A hereditary head of state and a system based on sexism and religious discrimination have no place in the 21st century". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 18 February 2018.
  4. Kurrild-Klitgaard, Peter (2000). "The constitutional economics of autocratic succession". Public Choice. 103 (1/2): 63–84. doi:10.1023/A:1005078532251. ISSN 0048-5829.
  5. Kurrild-Klitgaard, Peter (2004). "Autocratic succession". Encyclopedia of Public Choice. 103: 358–362. doi:10.1007/978-0-306-47828-4_39. ISBN 978-0-306-47828-4.
  6. Kokkonen, Andrej; Sundell, Anders (May 2014). "Delivering Stability—Primogeniture and Autocratic Survival in European Monarchies 1000–1800". American Political Science Review. 108 (2): 438–453. doi:10.1017/S000305541400015X. hdl:2077/38982. ISSN 0003-0554.
  7. Acharya, Avidit; Lee, Alexander (2019-11-01). "Path Dependence in European Development: Medieval Politics, Conflict, and State Building". Comparative Political Studies. 52 (13–14): 2171–2206. doi:10.1177/0010414019830716. ISSN 0010-4140. S2CID 29515121.
  8. Kokkonen, Andrej; Sundell, Anders (2019-06-11). "Leader Succession and Civil War". Comparative Political Studies. 53 (3–4): 434–468. doi:10.1177/0010414019852712. ISSN 0010-4140.
  9. "Tracking the "Arab Spring": Why the Modest Harvest?". Journal of Democracy. สืบค้นเมื่อ 2019-10-27.