ซีซีทีวี 4

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
CCTV-4
ประเทศจีน จีน
พื้นที่แพร่ภาพทั่วโลก
ประวัติ
เริ่มออกอากาศ1 ตุลาคม พ.ศ. 2535 (31 ปี)
ลิงก์
เว็บไซต์http://cctv4.cntv.cn
ออกอากาศ
เคเบิลทีวี
ทรูวิชั่นส์ช่อง 786
เคเบิลทีวีท้องถิ่นทั่วประเทศไม่ระบุ
ทีวีดาวเทียม
ซีทีเอชช่อง 270
พีเอสไอช่อง 221 (เร็วๆนี้)

ซีซีทีวี-4 (จีนตัวย่อ: 中国中央电视台中文国际频道; จีนตัวเต็ม: 中國中央電視臺中文國際頻道; พินอิน: Zhōngguó zhōngyāng diànshìtái zhōngwén guójì píndào) เป็นสถานีโทรทัศน์ภาคภาษาจีนกลางออกอากาศทั่วโลก ของสถานีโทรทัศน์ซีซีทีวี หรือสถานีโทรทัศน์กลางบนแผ่นดินจีน มีบริษัทซีทีวีโกลเด้นบริดจ์อินเตอร์แนชั่นแนลมีเดีย เป็นผู้ผลิตเนื้อหาให้สถานี เป็นหนึ่งในห้าช่องรายการระดับนานาชาติของ CCTV นอกเหนือจากการออกอากาศในประเทศจีน เช่น CCTV-News, CCTV-E, CCTV-F และ CCTV-العربية (อาหรับ) ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2535 เพื่อขยายผู้ชมไปทั่วโลก ตามนโยบายของสถานี จากเดิมจะออกอากาศเฉพาะประเทศจีน ช่องรายการนี้ประกอบไปด้วย สารคดี, ละคร, เพลง, กีฬา และ การ์ตูน

รายการประจำของสถานี[แก้]

รายการในวาระพิเศษที่สำคัญ[แก้]

เพลงประจำสถานี[แก้]

เพลงประจำสถานี เป็นเพลงบรรเลงไม่มีเนื้อร้อง มีจังหวะเพลงพื้นบ้านจีน ผสมดนตรีสากล ประกอบศิลปวัฒนธรรมของจีน โดยจะออกอากาศก่อนการเริ่มออกอากาศภาคเช้าหรือบางเวลาในการออกอากาศของสถานี ซึ่งใช้ตั้งแต่ปรับภาพลักษณ์สถานีเมื่อปี 2550 จนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2552 และได้กลับมาใช้อีกในปัจจุบัน เพลงนี้ยังออกอากาศทาง CCTV-9 แต่ตัดทอนให้สั้นลง

กราฟิกบอกช่อง[แก้]

  • ปี 2538-2539 จะเป็นรูปลูกโลกและดาวเทียม และจะมีคำว่า 中国中央电视台 国际频道 (ในสมัยก่อนยังไม่มีคำว่า 中文)
  • ปี 2539 เป็นภาพอัตลักษณ์สถานี มีพิ้นหลังเป็นสีฟ้า
  • ปี2549-2553 เป็นอักษรจีน 4 ตัวคือ 中文国际 เป็นกล่องสี่เหลี่ยม และแสดงโลโก้
  • ปี2549-2553 แบบที่ 2 เป็นภาพศิลปะจีนและต้นไผ่ และปรากฏอักษรจีน 4 ตัวคือ 中文国际 เป็นกล่องสี่เหลี่ยมในลักษณะปั้มตรายาง อินเตอร์ลูดนี้ใช้ในช่วงเปิดสถานี
  • ปี2553-2556 เป็นอักษรจีน 4 ตัวคือ 中文国际 เป็นกล่องสี่เหลี่ยม และมีคำด้านล่างว่า 中国中央电视台 中文国际频道
  • ปี2557-ปัจจุบัน (ไม่ทราบรายละเอียด)

สีประจำสถานี[แก้]

ซีซีทีวี 4 ใช้สีแดง เป็นสีประจำสถานี (สำหรับสีน้ำเงินจะใช้ในช่วงการไว้อาลัย เช่น เหตุการณ์แผ่นดินไหวในมลฑลเสฉวน 2551 และเหตุการณ์แผ่นดินไหวในมลฑลชิงไห่ 2553)

เหตุการณ์สำคัญ[แก้]

สัญญาณดาวเทียมขัดข้อง[แก้]

ในช่วงเที่ยงของวันที่ 1 พฤศจิกายน 2552 ขณะที่กำลังออกอากาศรายการเซาเบี่ยนญ่าโจรว สัญญาณดาวเทียมได้ขัดข้องกลางคืน และกลับมาเป็นปกติดอีก แต่ก็ขัดข้องอีกครั้งจนสัญญาณได้กลับมาเป็นปกติอีก

การจบรายการกลางคืน[แก้]

ในคืนวันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน 2552 รายการจียื่อกวนฉุได้จบกลางคืน โดยไม่ได้กล่าวปิดรายการ เนื่องจากเวลาในการออกอากาศมีจำกัด

การคลาดเคลื่อนของผังรายการ อันเนื่องมาจากรายการพิเศษ[แก้]

วันที่ 17 พฤศจิกายน 2552 ในช่วงเช้า รายการ ถ่านสัวฟ้าเสี้ยน ถูกงดออกอากาศ เนื่องจากมีเหตุการณ์ที่ บารัก โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้เยือนประเทศจีน และเข้าพบ หู จิ่นเทา ประธานาธิบดีของจีน ทำให้ซีซีทีวีต้องจัดรายการสดออกอากาศ รายการจบเวลา 10.34 น. ซึ่งทำให้เวลา 10.45 น. ต้องออกอากาศรายการไคว่เล่อคว่านยี่ (โดยปกติเป็นการรีรันรายการ กั๋วบาวดางอาน)

วันที่ 20 ธันวาคม 2552 รายการ ชินเหวินเหลี่ยนโป จึงเพิ่มเวลาในการออกอากาศ เป็น 45 นาที ในกรณีพิเศษ เนื่องจากมีภาพบรรยากาศงานครบรอบ 10 ปี มาเก๊าส่งมอบคืนให้กับโปรตุเกส จนทำให้รายการ จงกั๋วเหวินยี่ (ช่วงรีรีน) ต้องงดออกอากาศ แต่จะออกอากาศภาพทัศนียภาพที่สวยงามจากประเทศจีน และตามด้วยรายการ กั๋วบาวดางอาน แทน

วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2554 รายการ ซินเหวินเหลี่ยนโป เลื่อนเวลาออกอากาศเป็นเวลา 00.08 น. (เวลาไทย)

เกร็ดข้อมูล[แก้]

  • การออกอากาศข่าวกีฬาของสถานี ใช้ภาพข่าวจาก ซีซีทีวี-5
  • ตามข้อบังคับของสถานี รายการทุกรายการต้องมีอักษรบรรยายภาษาจีน เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ชาวจีนที่พิการทางหูทั่วโลก
  • อย่างไรก็ดี การปรับผังรายการขึ้นอยู่กับการถ่ายทอดสดสำคัญๆต่างๆ
  • การซื้อโฆษณา อาจมีบริษัทต่างชาติแฝงตัวซื้อโฆษณาในสถานี เช่น โมบิล ซัมซุง และบริษัทอื่นๆ
  • การโฆษณาในรายการจะโฆษณาก่อน/หลังเนื้อรายการ
  • ตัววิ่งข่าว ใช้แบบขึ้นทีละข่าว ต่อจากนั้นเป็นแบบอักษรวิ่งแบบเดิม
  • สตูดิโอรายการข่าวของสถานี คล้ายกับของช่อง 9
  • ภาพทัศนียภาพในประเทศจีนที่ออกอากาศหลังละครและรายการพิเศษเป็นสัญลักษณ์ประจำสถานี
  • วีดิทัศน์เพลงชาติจีนนำไปใช้ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2540 รวมแล้วเป็นเวลา 12 ปี จึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ทั้งสิ้น และยังได้ใช้ร่วมกับช่องของซีซีทีวีทุกช่อง
  • ในปัจจุบัน ข่าวเบรกออกอากาศ 15 นาทีต่อช่วง ไม่เหมือนกับเมื่อก่อนที่ออกอากาศ 10-20 นาที
  • ข่าวของสถานี จะทำงานในรูปของฝ่ายข่าวของสถานีซึ่งใช้ชื่อว่าจงกั๋วซินเหวิน
  • นอกจากนี้ ซีซีทีวี 4 ยังให้เวลาสำหรับการออกอากาศสปอตของรัฐบาลและหน่วยงานที่ไม่แสวงหาผลกำไร โดยต้องแจ้งต่อซีซีทีวี 4 ล่วงหน้า
  • การดึงสัญญาณช่องซีซีทีวี 4 มาออกอากาศทางเคเบิลทีวีในแต่ละประเทศ จะต้องเสียภาษีให้กับรัฐบาลจีน[ต้องการอ้างอิง]
  • เพลงชาติจีนมักถูกนำไปแทรกตามรายการต่างๆ ในเดือนกันยายน 2552 เป็นต้นมา ซึ่งโดยปกติจะพบเห็นเฉพาะช่วงเปิดสถานีภาคเช้า (ภายหลังเลิกใช้ในช่วงเปิดสถานี)
  • โดยปกติ รายการจะไม่โฆษณาเกินเวลา แต่รายการจียื่อกวนฉุ มีโฆษณาเกินกว่าเวลาที่กำหนด
  • หลังวันที่ 1 มกราคม 2553 ซีซีทีวี 4 จะไม่มีการโฆษณาเพื่อการค้าในทุกรายการ ซึ่งคล้ายคลึงกับทีวีไทย (ยกเว้นรายการที่ได้รับยกเว้นคือ จงกั๋วซินเหวิน เซาเบี่ยนจงกั๋ว และ ไฮ้เฉียเลียงอัน จะถูกลดโฆษณา หรืออาจจะเป็นโฆษณาสาธารณะก็ได้)

ผลกระทบของสถานี ต่อกฎหมายระหว่างประเทศ[แก้]

  • บ่อยครั้งที่ซีซีทีวี 4 จะถูกตัดสัญญาณโดยผู้ให้บริการในบางประเทศ (รวมถึงประเทศไทย) โดยเฉพาะช่วงที่ออกอากาศโฆษณาสุรา หรือมีโฆษณาที่สุราเข้าไปเกี่ยวข้อง (หรือบางครั้ง ท้ายโฆษณาสุราจะแสดงโลโก้) โดยอ้างมีข้อจำกัดทางกฎหมาย เช่นของทรูวิชันส์ (ออกอากาศช่อง 94) จะเป็นภาพคำว่า Intermission ยกเว้นโฆษณาที่ตอนท้ายจะแสดงโลโก้

ผู้ประกาศข่าว ผู้รายงานข่าว และผู้ดำเนินรายการ[แก้]

ในปัจจุบัน[แก้]

ในอดีต[แก้]

ผู้ดำเนินรายการ[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]