การปฏิวัติฮังการี ค.ศ. 1848

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การปฏิวัติฮังการี ค.ศ. 1848
ส่วนหนึ่งของ การปฏิวัติ ค.ศ. 1848

ซานโดร์ แปเตอฟี ขับร้องเพลงชาติท่ามกลางฝูงชนเมื่อวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 1848 วาดโดยมิฮาย ซิตชี
วันที่15 มีนาคม ค.ศ. 1848 – 4 ตุลาคม ค.ศ. 1849
(1 ปี 6 เดือน และ 19 วัน)
สถานที่
ผล

ออสเตรีย-รัสเซียชนะ; การปฏิวัติถูกปราบปราม

คู่สงคราม
  • หน่วยทหารปฏิวัติจากบรรดารัฐเยอรมัน
  • หน่วยทหารโปแลนด์
  • หน่วยทหารอิตาลี
  • ชาวเซแกย์
  • ชาวยิวฮังการี
  • ชาวเยอรมันเชื้อสายฮังการี
  • ชาวสโลวีนเชื้อสายฮังการี
  • ชาวสโลวักฝักใฝ่ฮังการี
  • ชาวโรมาเนียฝักใฝ่ฮังการี
  • ชาวเซิร์บฝักใฝ่ฮังการี
  • ชาวรูซึนฝักใฝ่ฮังการี
  • ชาวแซกซันซิพเซอร์
  • ชาวโครแอตจากเวสเทิร์นฮังการีและ Muraköz
  • ชาว Šokac และ Bunjevac
  • ชาวบัลแกเรียบานัต
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
กำลัง
170,000 นาย จากจักรวรรดิออสเตรีย
และ 200,000 นาย จากจักรวรรดิรัสเซีย[2]
ช่วงต้น ค.ศ. 1849: 170,000 นาย[3]

การปฏิวัติฮังการี ค.ศ. 1848[a] เป็นหนึ่งในบรรดาการปฏิวัติที่เกิดขึ้นในยุโรปเมื่อ ค.ศ. 1848 ซึ่งมีความเกี่ยวโยงอย่างใกล้ชิดกับเหตุการณ์ปฏิวัติ ค.ศ. 1848 ในพื้นที่ฮาพส์บวร์คอื่น ๆ แม้ว่าผลลัพธ์ของเหตุการณ์จะล้มเหลว แต่การปฏิวัติครั้งนี้นับเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ฮังการีสมัยใหม่ และยังได้สร้างรากฐานของเอกลักษณ์ประจำชาติฮังการีสมัยใหม่ด้วย โดยในวันที่ 15 มีนาคม ของทุกปี ได้รับการกำหนดเป็นวันหยุดประจำชาติของประเทศ เนื่องในโอกาสครบรอบการปฏิวัติ

ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1848 ฮังการีเป็นประเทศลำดับที่สามในยุโรปภาคพื้นทวีป (หลังจากฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1791 และเบลเยียมใน ค.ศ. 1831) ที่ตรากฎหมายการเลือกตั้งรัฐสภาแบบประชาธิปไตย โดยกฎหมายสิทธิออกเสียงเลือกตั้งฉบับใหม่ (มาตรา 5 ค.ศ. 1848) ได้เปลี่ยนระบบรัฐสภาศักดินาแบบเก่าเป็นระบบรัฐสภาผู้แทนประชาธิปไตย ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ให้สิทธิการลงคะแนนเสียงอย่างกว้างขวางที่สุดในยุโรปเวลานั้น[4] อีกทั้งกฎหมายเดือนเมษายนยังได้ลบล้างอภิสิทธิ์ทั้งหมดของขุนนางฮังการีไปอย่างสิ้นเชิง[5]

จุดเปลี่ยนสำคัญของเหตุการณ์เกิดขึ้นหลังจากจักรพรรดิฟรันทซ์ โยเซ็ฟที่ 1 แห่งออสเตรียพระองค์ใหม่ทรงเพิกถอนกฎหมายเดือนเมษายน (ให้สัตยาบันโดยจักพรรดิแฟร์ดีนันท์ที่ 1) โดยพลการ ซึ่งพระองค์ปราศจากพระราชอำนาจตามกฎหมายที่ทรงกระทำเช่นนั้น กระกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญทำให้ความขัดแย้งระหว่างพระองค์กับรัฐสภาฮังการีทวีความรุนแรงขึ้นอย่างไม่อาจกลับคืน จากการประกาศรัฐธรรมนูญเดือนมีนาคมที่บีบบังคับฉบับใหม่ของออสเตรีย การระงับกฎหมายเดือนเมษายน และการส่งทหารเข้าปะทะกับราชอาณาจักรฮังการี เป็นเหตุให้รัฐบาลสันตินิยมของลอโยช บ็อจจาญีสิ้นสุดลง และผู้สนับสนุนลอโยช โกชุต (ซึ่งต้องการความเป็นเอกราชโดยสมบูรณ์ของฮังการี) ได้รับอำนาจในรัฐสภาอย่างกะทันหัน การแทรกแซงทางทหารของออสเตรียในราชอาณาจักรฮังการีส่งผลให้เกิดความรู้สึกต่อต้านราชวงศ์ฮาพส์บวร์คอย่างแข็งขันในหมู่ชาวฮังการี และสถานการณ์ภายในฮังการีกลับกลายเป็นสงครามเพื่อเอกราชโดยสมบูรณ์จากจักรวรรดิออสเตรีย ประมาณ 40% ของพลทหารในกองทัพอาสาสมัครฮังการีประกอบด้วยชนกลุ่มน้อยในประเทศ[6] เมื่อพิจารณาจากเสนาธิการทหารฮังการีแล้ว ประมาณครึ่งหนึ่งของนายทหารและนายพลของกองทัพโฮนเวดฮังการี (ฮังการี: Magyar Királyi Honvédség) ล้วนเป็นชาวต่างชาติ ส่วนนายทหารชำนาญการที่มีชาติพันธุ์ฮังการีในกองทัพหลวงฮาพส์บวร์คมีจำนวนมากเทียบเท่ากับกองทัพปฏิวัติฮังการี[7]

ในด้านการทูตและนโยบายระหว่างประเทศในระหว่างการปฏิวัติ ฝ่ายเสรีนิยมฮังการี (เช่นเดียวกันกับฝ่ายปฏิวัติเสรีนิยมในยุโรปอื่น ๆ เมื่อ ค.ศ. 1848) ได้รับแรงบันดาลใจหลักมาจากการพิจารณาถึงอุดมการณ์ โดยพวกเขาสนับสนุนประเทศและกองกำลังที่สอดคล้องกับมาตรฐานทางศีลธรรมและการเมืองใหม่ของพวกเขา อีกทั้งพวกเขายังเชื่อว่ารัฐบาลและขบวนการทางการเมืองที่ยึดหลักเสรีนิยมสมัยใหม่เหมือนกันควรสร้างพันธมิตรต่อต้าน "ระบบเจ้าขุนมูลนาย" ของระบอบราชาธิปไตย ซึ่งมุมมองในลักษณะนี้มีความคล้ายคลึงกับลัทธิอยู่ร่วมกันระหว่างประเทศแบบเสรีนิยม (liberal internationalism) สมัยใหม่[8]

หลังจากความพ่ายแพ้อย่างร้ายแรงของออสเตรียอยู่หลายครั้งใน ค.ศ. 1849 จักรวรรดิออสเตรียเข้าใกล้ขอบเขตของการล่มสลาย จักรพรรดิฟรันทซ์ โยเซ็ฟที่ 1 พระองค์ใหม่จึงทรงขอความช่วยเหลือจากรัสเซียในนามของพันธมิตรอันศักดิ์สิทธิ์[9] จักรพรรดินีโคไลที่ 1 พระราชทานกำลังทหารอันแข็งแกร่ง 200,000 นาย พร้อมด้วยกองกำลังเสริม 80,000 นาย ซึ่งท้ายที่สุดกองทัพรัสเซีย-ออสเตรียสามารถพิชิตกองกำลังของฮังการีได้สำเร็จ ราชวงศ์ฮาพส์บวร์คกลับมามีอำนาจอีกครั้ง และมีการประกาศใช้กฎอัยการศึกในฮังการี[10]

ดูเพิ่ม[แก้]

เชิงอรรถ[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. ในฮังการียังเป็นที่รู้จักกันในชื่อ การปฏิวัติพลเรือนและสงครามประกาศอิสรภาพฮังการี ค.ศ. 1848–1849 (ฮังการี: 1848–49-es polgári forradalom és szabadságharc)

อ้างอิง[แก้]

  1. Rosonczy: OROSZ GYORSSEGÉLY BÉCSNEK 1849 TAVASZÁN (PhD dissertation 2015)
  2. Zachary C Shirkey: Joining the Fray: Outside Military Intervention in Civil Wars Military Strategy and Operational Art – pp. 1944– ISBN 978-1-4094-7091-5 [1] เก็บถาวร 2014-12-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. A Global Chronology of Conflict: From the Ancient World to the Modern Middle ..., by Spencer C. Tucker, 2009 p. 1188
  4. prof. András Gerő (2014): Nationalities and the Hungarian Parliament (1867–1918) Link:[2] เก็บถาวร 2019-04-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  5. Chris Thornhill (2011). A Sociology of Constitutions.Constitutions and State Legitimacy in Historical-Sociological Perspective. Cambridge University Press. p. 245. ISBN 978-1-139-49580-6.
  6. "Bona Gábor: A szabadságharc honvédsége Link
  7. Isser Woloch (1996). Revolution and the Meanings of Freedom in the Nineteenth Century. Stanford University Press. p. 309. ISBN 978-0-8047-2748-8.
  8. "Hungary's Place in Europe: Liberal–Conservative Foreign Policy Disputes in the Reform Era". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 July 2023. สืบค้นเมื่อ 30 July 2023.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  9. Eric Roman: Austria-Hungary & the Successor States: A Reference Guide from the Renaissance to the Present: p. 67, Publisher: Infobase Publishing, 2003 ISBN 978-0-8160-7469-3
  10. The Making of the West: Volume C, Lynn Hunt, pp. 683–684

หนังสืออ่านเพิ่ม[แก้]

  • Barany, George. "The awakening of Magyar nationalism before 1848." Austrian History Yearbook 2 (1966) pp: 19–50.
  • Cavendish, Richard. "Declaration of Hungary's Independence: April 14th, 1849." History Today 49#4 (1999) pp: 50–51
  • Deák, István. Lawful Revolution: Louis Kossuth and the Hungarians 1848–1849 (Phoenix, 2001)
  • Deme, László. "The Society for Equality in the Hungarian Revolution of 1848." Slavic Review (1972): 71–88. in JSTOR
  • Gángó, Gábor. "1848–1849 in Hungary," Hungarian Studies (2001) 15#1 pp 39–47. online
  • Horváth, Eugene. "Russia and the Hungarian Revolution (1848–9)." Slavonic and East European Review 12.36 (1934): 628–645. online
  • Judah, Tim (1997). The Serbs: History, Myth & the Destruction of Yugoslavia. New Haven, CT: Yale. ISBN 978-0-300-08507-5.
  • Kosáry, Domokos G. The press during the Hungarian revolution of 1848–1849 (East European Monographs, 1986).
  • Nobili, Johann. Hungary 1848: The Winter Campaign. Edited and translated Christopher Pringle. Warwick, UK: Helion & Company Ltd., 2021.
  • Lincoln, W.B. "Russia and the European Revolutions of 1848" History Today (Jan 1973), Vol. 23 Issue 1, pp 53–59 online.
  • Marx, Karl; Engels, Friedrich. "Articles from the Neue Rheinische Zeitung: March 6—May 19, 1849". Collected Works. Vol. 9. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-02-09 – โดยทาง Marxists.
  • Szilassy, Sandor. "America and the Hungarian Revolution of 1848–49." Slavonic and East European Review (1966): 180–196. in JSTOR

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]