พระมหากษัตริย์ฮังการี
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
พระมหากษัตริย์อัครทูต แห่งราชอาณาจักรฮังการี | |
---|---|
ราชาธิปไตยในอดีต | |
Royal coat of arms of the Kingdom of Hungary (1915-1918; angels).svg | |
ตราแผ่นดิน | |
![]() | |
พระเจ้ากาโรยที่ 4 | |
| |
ปฐมกษัตริย์ | พระเจ้าอิชต์วานที่ 1 แห่งฮังการี |
องค์สุดท้าย | พระเจ้ากาโรยที่ 4 แห่งฮังการี |
อิสริยยศ | ฮิสมาเจสตี |
สถานพำนัก | ปราสาทบูดา |
เริ่มระบอบ | 25 ธันวาคม ค.ศ. 1000 |
สิ้นสุดระบอบ | 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 |
ผู้อ้างสิทธิ์ | คาร์ล ฟอน ฮับส์บูร์ก |
พระมหากษัตริย์ฮังการี เป็นพระอิสริยยศของพระประมุขแห่งราชอาณาจักรฮังการีที่ใช้ระหว่างปี ค.ศ. 1000 (หรือ ค.ศ. 1001) ถึง ค.ศ. 1918 ต่อมาในปี ค.ศ. 1758 สมเด็จพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 13 ได้ประทานพระราชสมัญญา "พระมหากษัตริย์อัครทูต" แก่พระเจ้าอิชต์วานที่ 1 แห่งฮังการี นับแต่นั้นมาพระมหากษัตริย์ฮังการีทุกพระองค์ก็ใช้คำนี้เป็นพระอิสริยยศ จึงเรียกว่า "พระมหากษัตริย์อัครทูตแห่งฮังการี" มาจนถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี ค.ศ. 1918[1]
การสถาปนา[แก้]
ก่อน ค.ศ. 1000 ฮังการียังไม่ได้รับการยอมรับเป็นราชอาณาจักร ผู้ปกครองฮังการีมีพระอิสริยยศเป็น "เจ้าฟ้าเอกแห่งชาวฮังการี" จนกระทั่งเจ้าฟ้าเอกอิชต์วานได้รับราชาภิเษกเป็นพระเจ้าอิชต์วานที่ 1 โดยความยินยอมจากจักรพรรดิออทโทที่ 3 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และได้สวมมงกุฎที่สมเด็จพระสันตะปาปาซิลเวสเตอร์ที่ 2 ทรงส่งมาให้ นับแต่นั้นมาพระประมุขของฮังการีก็มีพระอิสริยยศเป็นพระมหากษัตริย์
อ้างอิง[แก้]
- เชิงอรรถ
- ↑ สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่ : ยุโรป เล่ม 4 อักษร H-K, หน้า 162
- บรรณานุกรม
- ราชบัณฑิตยสถาน. สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่ : ยุโรป เล่ม 4 อักษร H-K. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2546. 444 หน้า. ISBN 947-8123-71-5
![]() |
บทความเกี่ยวกับประเทศฮังการีนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ โครงการวิกิประเทศฮังการี |