สาธารณรัฐฮังการีที่ 1

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาธารณรัฐประชาชนฮังการี
(1918-1919)
Magyar Népköztársaság

สาธารณรัฐฮังการี
(1919–1920)
Magyar Köztársaság

1918–1920
เพลงชาติHimnusz
"เพลงสดุดี"
ดินแดนของสาธารณรัฐในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1918
ดินแดนของสาธารณรัฐในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1918
สถานะรัฐตกค้างที่ได้รับการยอมรับอย่างไม่สมบูรณ์
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
บูดาเปสต์
พิกัดภูมิศาสตร์: 47°29′N 19°02′E / 47.483°N 19.033°E / 47.483; 19.033
ภาษาราชการฮังการี
ภาษาถิ่น
เยอรมัน, สโลวัก, โครเอเชีย, โรมาเนีย
เดมะนิมฮังการี
การปกครองรัฐเดี่ยว สาธารณรัฐประชาชน
ประธานาธิบดี 
• 16 พฤศจิกายน 1918
มิฮาย กาโรยี
• 21 มีนาคม 1919
ว่าง[a]
• 1 สิงหาคม 1919
จูลอ ไพเดิล[b]
• 7 สิงหาคม 1919
อาร์ชดยุกโจเซฟ เอากุสท์[c]
• 23 สิงหาคม 1919
อิชต์วาน ฟรีดริช[d]
• 24 พฤศจิกายน 1919
กาโรย ฮูสซาร์[e]
นายกรัฐมนตรี 
• 31 ตุลาคม 1918
มิฮาย กาโรยี
• 11 มกราคม 1919
เดแน็ช เบริงคีย์
• 21 มีนาคม 1919
ว่าง
• 1 สิงหาคม 1919
จูลอ ไพเดิล
• 7 สิงหาคม 1919
อิชต์วาน ฟรีดริช
• 24 พฤศจิกายน 1919
กาโรย ฮูสซาร์
สภานิติบัญญัติ
ยุคประวัติศาสตร์ระหว่างสงคราม
31 ตุลาคม 1918
• ประกาศจัดตั้ง
16 พฤศจิกายน 1918
21 มีนาคม 1919
• ฟื้นฟูสาธารณรัฐอีกครั้ง
1 สิงหาคม 1919
• เปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐฮังการี
8 สิงหาคม 1919
• การยอมรับทางการทูต
25 พฤศจิกายน 1919
25-26 มกราคม 1920
29 กุมภาพันธ์ 1920
พื้นที่
• รวม
282,870 ตารางกิโลเมตร (109,220 ตารางไมล์)[f]
ประชากร
• 1920
7,980,143
สกุลเงิน
ก่อนหน้า
ถัดไป
จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
ราชอาณาจักรฮังการี
สาธารณรัฐโซเวียตฮังการี
สาธารณรัฐโซเวียตฮังการี
ราชอาณาจักรฮังการี

สาธารณรัฐฮังการีที่ 1 (ฮังการี: Első Magyar Köztársaság)[1] หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐประชาชนฮังการี (ฮังการี: Magyar Népköztársaság)[g] เป็นสาธารณรัฐที่มีอยู่เป็นเวลาสั้น ๆ ในภูมิภาคยุโรปตะวันออก มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศฮังการี ประเทศโรมาเนีย[h] และประเทศสโลวาเกียในปัจจุบัน และดำรงอยู่ระหว่างวันที่ 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 ถึงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1920 สาธารณรัฐก่อตั้งขึ้นหลังความพ่ายแพ้ของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเมื่อ ค.ศ. 1918 และคงสถานะเป็นสาธารณรัฐจนถึงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1920 เนื่องจากการฟื้นฟูระบอบราชาธิปไตยฮังการี จึงทำให้ประเทศฮังการีในเวลาต่อมาถูกเปลี่ยนผ่านเป็นราชอาณาจักร ในช่วงปลายเดือนมีนาคม ค.ศ. 1919 สาธารณรัฐประชาชนได้หยุดชะงักลงอันเป็นผลมาจากการสถาปนาระบอบคอมมิวนิสต์และการจัดตั้งสาธารณรัฐโซเวียตฮังการีขึ้นโดยรัฐบาลผสมประชาธิปไตย–สังคมนิยม ซึ่งดำรงอยู่เพียง 133 วัน กระทั่งมีการฟื้นฟูระบอบสาธารณรัฐประชาชนขึ้นมาอีกครั้งเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1919 อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 6 สิงหาคม รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนก็ถูกโค่นล้มโดยกลุ่มต่อต้านการปฏิวัติฝ่ายขวา ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากโรมาเนีย

ในช่วงเริ่มแรก สาธารณรัฐประชาชนฮังการีอยู่ภายใต้ผู้นำคือ มิฮาย กาโรยี ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีชั่วคราวของฮังการี โดยในระยะเวลานี้เองที่ประเทศต้องสูญเสียดินแดนเป็นจำนวนมากให้แก่ประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งคิดเป็นพื้นที่ประมาณ 325,411 ตารางกิโลเมตร จากความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาทางการเมืองและเศรษฐกิจของรัฐบาล นำไปสู่ความไม่พอใจของประชาชนและการก่อตัวขึ้นของระบอบคอมมิวนิสต์ ซึ่งทำให้ในเวลาต่อมารัฐบาลได้ถูกโค่นล้มโดยพรรคคอมมิวนิสต์ฮังการีและประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐโซเวียตขึ้น โดยดำเนินการปกครองตามแบบอย่างของคอมมิวนิสต์รัสเซีย แต่เนื่องจากความขัดแย้งทางการทหารกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างโรมาเนีย ทำให้สาธารณรัฐโซเวียตที่มีอายุสั้นล่มสลายลง หลังจากนั้นรัฐบาลประชาธิปไตยสังคมนิยมได้เข้ามามีอำนาจ จึงถือเป็นการฟื้นฟูระบอบสาธารณรัฐประชาชนขึ้นอีกครั้ง โดยในช่วงนี้รัฐบาลได้ทำการยกเลิกมาตรการทั้งหมดที่ผ่านโดยรัฐบาลคอมมิวนิสต์ อย่างไรก็ตาม ในอีกไม่กี่วันต่อมารัฐบาลได้ถูกโค่นล้มโดยกลุ่มต่อต้านการปฏิวัติฝ่ายขวาที่นำโดย อิชต์วาน ฟรีดริช ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสาธารณชนอย่างกว้างขวาง

ในช่วงของรัฐบาลฝ่ายขวา ชาวฮังการีต่างได้รับแรงกดดันอย่างหนักจากฝ่ายสัมพันธมิตร เนื่องจากต้องการให้ประชากรชาวฮังการีอพยพถอยกลับไปตามแนวแบ่งเขตที่กำหนดไว้หลังสงคราม เพื่อให้เป็นไปตามข้อตกลงจากการประชุมสันติภาพปารีส ซึ่งเป็นหนึ่งในความพยายามของฝ่ายสัมพันธมิตรในการสถาปนารัฐชาติใหม่ท่ามกลางพลเมืองที่ไม่ใช่ชาวฮังการี ประเทศที่ได้รับผลประโยชน์หลักจากการสูญเสียดินแดนในครั้งนี้ ได้แก่ ราชอาณาจักรโรมาเนีย ราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน สาธารณรัฐออสเตรีย และสาธารณรัฐเชโกสโลวัก ต่อมามีการทำสนธิสัญญาทรียานงโดยจะได้ลงนามในภายหลัง

ประวัติศาสตร์[แก้]

รัฐบาลกาโรยี (1918-1919)[แก้]

มิฮาย กาโรยี กล่าวปราศรัยกับมวลชนบริเวณบันไดหน้ารัฐสภาฮังการี ภายหลังการประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918

สาธารณรัฐประชาชนฮังการีก่อตั้งขึ้นภายหลังจากการปฏิวัติเบญจมาศ ที่เกิดขึ้นในกรุงบูดาเปสต์ เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 1918 ในวันนั้น พระเจ้าคาร์ลที่ 4 ทรงแต่งตั้งผู้นำคณะปฏิวัติ มิฮาย กาโรยี เป็นนายกรัฐมนตรีฮังการี การกระทำแรกของเขาคือ การยุติสถานะรัฐร่วมประมุขระหว่างออสเตรียและฮังการีอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พระเจ้าคาร์ลได้ออกแถลงการยุติบทบาททางการเมืองของฮังการี ในเวลาต่อมาไม่กี่วัน รัฐบาลเฉพาะกาลได้ประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐประชาชนฮังการีอย่างเป็นทางการ[2] โดยมีกาโรยีเป็นทั้งนายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีชั่วคราว เหตุการณ์นี้ถือเป็นการสิ้นสุดการปกครอง 400 ปีโดยราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค

กองทัพพิทักษ์ปิตุภูมิฮังการียังมีทหารมากกว่า 1,400,000 นาย[12][13] เมื่อกาโรยีได้เป็นนายกรัฐมนตรีของฮังการี จึงยอมรับข้อเรียกร้องของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา วูดโรว์ วิลสัน โดยสั่งให้กองทัพฮังการีปลดอาวุธเพียงฝ่ายเดียว ภายใต้การกำกับดูแลของ เบลอ ลินแดร์ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสงคราม) เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918[14][15] เนื่องจากการปลดอาวุธอย่างเต็มรูปแบบ ประเทศฮังการีในช่วงเวลานี้จึงมีความเปราะบางเป็นพิเศษ ทำให้การยึดครองฮังการีสำหรับกองทัพแห่งราชอาณาจักรโรมาเนีย กองทัพฝรั่งเศสกับราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย และกองทัพเชโกสโลวาเกียเป็นไปอย่างง่ายดาย

ความล้มเหลวจากมาตรการของรัฐบาลกาโรยีได้สร้างความไม่พอใจให้แก่ผู้คนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเหล่าไตรภาคีได้เริ่มแบ่งส่วนดินแดนส่วนใหญ่ของราชอาณาจักรฮังการีเดิม ให้กับราชอาณาจักรโรมาเนีย, ราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน, และสาธารณรัฐเชโกสโลวักที่หนึ่ง รัฐบาลใหม่และฝ่ายผู้สนับสนุนรัฐบาลได้มุ่งความหวังที่จะรักษาบูรณภาพแห่งดินแดนของฮังการีไว้ โดยการละทิ้งบางส่วนของซิสเลอธาเนียและเยอรมนี การรักษาสันติภาพที่แยกขาดจากกัน และการใช้ประโยชน์จากความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดของกาโรยีที่มีต่อสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 กาโรยีได้แต่งตั้ง โอซการ์ ยาซิ ให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงชนกลุ่มน้อยแห่งชาติฮังการี ยาซิได้เสนอให้การลงประชามติตามระบอบประชาธิปไตยเกี่ยวกับพรมแดนที่มีข้อพิพาทสำหรับชนกลุ่มน้อย อย่างไรก็ตาม ผู้นำทางการเมืองของชนกลุ่มน้อยเหล่านี้ได้ปฏิเสธแนวคิดเรื่องการลงประชามติตามระบอบประชาธิปไตยโดยทันทีในการประชุมสันติภาพปารีส[16] หลังจากฮังการีประกาศปลดอาวุธทั้งหมด ผู้นำทางการเมืองของเชโกสโลวาเกีย, เซอร์เบีย, และโรมาเนียได้เลือกที่จะโจมตีฮังการีแทนการลงประชามติตามระบอบประชาธิปไตยเกี่ยวกับพื้นที่พิพาท[17]

เหตุการณ์ทางการทหารและการเมืองแปรเปลี่ยนอย่างรวดเร็วและรุนแรงหลังจากการปลดอาวุธของฮังการี

  • เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 กองทัพเซอร์เบียด้วยความช่วยเหลือจากกองทัพฝรั่งเศสข้ามพรมแดนมาทางทิศใต้
  • เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน กองทัพเชโกสโลวักข้ามพรมแดนมาทางทิศเหนือ
  • เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน กองทัพโรมาเนียข้ามพรมแดนมาทางทิศตะวันออก

ฝ่ายไตรภาคีถือว่าฮังการีเป็นส่วนหนึ่งของการปกครองแบบควบคู่ (Dual Monarchy) ในจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีที่พ่ายแพ้ และความหวังของชาวฮังการีได้ถูกทำลาย เนื่องด้วยมีการมอบบันทึกทางการทูตที่ต่อเนื่องกัน โดยทั้งหมดต่างเรียกร้องการมอบดินแดนเพิ่มให้แก่กลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 1919 เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำกรุงบูดาเปสต์ได้มีการมอบบันทึกทางการทูตให้แก่กาโรยี ซึ่งเป็นการระบุถึงพรมแดนครั้งสุดท้ายของฮังการีภายหลังสงคราม ซึ่งไม่อาจเป็นที่ยอมรับได้ของชาวฮังการี[18] กาโรยีและนายกรัฐมนตรี เดแน็ช เบริงคีย์ จึงตกอยู่ในสถานการณ์ที่ลำบาก พวกเขารู้ดีว่าหากยอมรับบันทึกทางการทูตของฝรั่งเศสฉบับนี้ จะเป็นอันตรายต่อบูรณภาพแห่งดินแดนฮังการี แต่พวกเขาก็ไม่สามารถตอบปฏิเสธได้ ในท้ายที่สุดเบริงคีย์จึงประกาศลาออก

กาโรยีชี้แจงต่อคณะรัฐมนตรีว่า มีเพียงพรรคประชาธิปไตยสังคมนิยมฮังการีเท่านั้นที่สามารถจัดตั้งรัฐบาลใหม่ได้ โดยที่เขาไม่รู้เลยว่า พรรคประชาธิปไตยสังคมนิยมได้มีการร่วมมือกับพรรคคอมมิวนิสต์ฮังการีแล้ว โดยทางฝ่ายนั้นได้ให้คำมั่นสัญญาว่าโซเวียตรัสเซียจะช่วยเหลือฮังการีในการทวงคืนดินแดนดังเดิมคืน ถึงแม้ว่ากลุ่มประชาธิปไตยสังคมนิยมจะครองคะแนนเสียงข้างมากในพรรคสังคมนิยมฮังการีที่เพิ่งรวมตัวกัน แต่กลุ่มคอมมิวนิสต์นำโดย เบลอ กุน ได้เข้าควบคุมประเทศ และสถาปนาสาธารณรัฐโซเวียตฮังการีขึ้น เมื่อวันที่ 21 มีนาคม ค.ศ. 1919

รัฐบาลชั่วคราว (1919-1920)[แก้]

ธงชาติสาธารณรัฐฮังการีในช่วงของรัฐบาลชั่วคราว ค.ศ. 1919-1920

ภายหลังการล่มสลายของสาธารณรัฐโซเวียต เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 1919 รัฐบาลประชาธิปไตยสังคมนิยมหรือที่เรียกว่า "รัฐบาลสหภาพแรงงาน" ได้เข้ามามีอำนาจ โดยอยู่ภายใต้การนำของ จูลอ ไพเดิล[19] ได้มีการออกพระราชกฤษฎีกาเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ให้คืนรูปแบบการปกครองและชื่อทางการของรัฐกลับเป็น "สาธารณรัฐประชาชน"[5] ในช่วงระยะเวลาอันสั้น รัฐบาลของไพเดิลได้พยายามยกเลิกพระราชกฤษฎีกาที่ผ่านโดยกลุ่มคอมมิวนิสต์[20]

เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม อิชต์วาน ฟรีดริช ผู้นำแห่งสันนิบาตพันธมิตรทำเนียบขาวฝ่ายขวา (กลุ่มปรปักษ์ปฏิวัติฝ่ายขวา) ได้ทำการโค่นล้มอำนาจของรัฐบาลไพเดิล[21] และทำการรัฐประหารโดยปราศจากการนองเลือด ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกองทัพหลวงโรมาเนีย[6] การรัฐประหารครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวางภายในฮังการี[22] วันต่อมา อาร์ชดยุกโจเซฟ เอากุสท์ ได้ประกาศตนเองเป็นผู้สำเร็จราชการแห่งฮังการี (เขาดำรงตำแหน่งจนถึงวันที่ 23 สิงหาคม เมื่อเขาถูกบีบบังคับให้ลาออกจากตำแหน่ง)[23] และแต่งตั้งฟรีดริชเป็นนายกรัฐมนตรี และสืบทอดตำแหน่งต่อโดย กาโรยี ฮูสซาร์ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน ซึ่งได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีชั่วคราวจนกระทั่งการฟื้นฟูราชาธิปไตยในอีกไม่กี่เดือนต่อมา

พลเรือเอก มิกโลช โฮร์ตี เข้าสู่กรุงบูดาเปสต์ ในฐานะผู้บัญชาการกองทัพแห่งชาติ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 1919 โดยเขาได้รับการต้อนรับจากเจ้าหน้าที่ประจำเมืองด้านหน้า โฮแต็ล แกลเลรท์

รัฐบาลเผด็จการที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์ ซึ่งประกอบไปด้วยนายทหารที่เข้าสู่กรุงบูดาเปสต์ในเดือนพฤศจิกายน และได้รับการสนับสนุนจากชาวโรมาเนีย[6] ได้ก่อให้เกิด "ความน่าสะพรึงกลัวขาว" ขึ้น ซึ่งนำไปสู่การถูกจองจำ, การทรมาน, และประหารชีวิตโดยปราศจากการพิจารณาคดีของผู้คนมากมายที่ถูกกว่าหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์, นักสังคมนิยม, ชาวยิว, ปัญญาชนฝ่ายซ้าย, ผู้สนับสนุนระบอบกาโรยีและกุน และคนอื่น ๆ ที่ถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามต่อระบอบการเมืองแบบดั้งเดิมของฮังการี[6] มีการคาดการณ์ว่าจำนวนในการประหารชีวิตอยู่ที่ 5,000 ครั้ง นอกจากนี้ ยังมีผู้ถูกจำคุกประมาณ 75,000 คน[6][21] โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อชาวฮังการีฝ่ายขวาและกองทัพโรมาเนียมุ่งหมายกวาดล้างชาวยิว[6] ในท้ายที่สุด ความน่าสะพรึงกลัวขาวนี้ได้บีบให้ประชาชนประมาณ 100,000 คน ต้องออกนอกประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักสังคมนิยม, ปัญญาชน, และชาวยิวชนชั้นกลาง[6]

ในปี 1920 และ 1921 ได้เกิดความโกลาหลภายในประเทศฮังการี[6] ความน่าสะพรึงกลัวขาวยังคงกระทำต่อชาวยิวและฝ่ายซ้ายอย่างต่อเนื่อง การว่างงานและอัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น และผู้ลี้ภัยชาวฮังการีที่ขาดแคลนเงินจำนวนมากได้หลั่งไหลข้ามพรมแดนจากประเทศเพื่อนบ้านและสร้างภาระให้กับเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ ซึ่งรัฐบาลให้การช่วยเหลือแก่ประชากรเพียงเล็กน้อยเท่านั้น[6] ในเดือนมกราคม 1920 ชาวฮังการีทั้งชายและหญิงได้รับสิทธิ์ในการเลือกตั้งครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองของประเทศ และผู้ที่ได้เสียงข้างมากส่วนใหญ่ในรัฐสภาเป็นฝ่ายต่อต้านการปฏิวัติ[6] มีสองพรรคการเมืองหลักที่ได้ก่อตั้งขึ้นในช่วงเวลานี้ ได้แก่ พรรคสหภาพคริสเตียนแห่งชาติและพรรคเกษตรกรรายย่อยและกรรมกรเกษตรกรรมแห่งชาติ ซึ่งสนับสนุนการปฏิรูปที่ดิน[6] เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 1920[24] รัฐสภาได้ฟื้นฟูระบอบราชาธิปไตยฮังการี อันเป็นการสิ้นสุดระบอบสาธารณรัฐ และในเดือนมีนาคม ได้มีการประกาศยกเลิกสัญญาการประนีประนอม ค.ศ. 1867[6] รัฐสภาได้เลื่อนการเลือกตั้งพระมหากษัตริย์ออกไป จนกว่าปัญหาความวุ่นวายในประเทศจะสงบลง จึงทำให้อดีตพลเรือเอกของกองทัพออสเตรีย-ฮังการี มิกโลช โฮร์ตี ได้รับตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์[6] จนถึงปี 1944

ดูเพิ่ม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. ซานโดร์ กอร์บอยี ได้รับการพิจารณาเป็นประมุขแห่งรัฐคนใหม่ ในฐานะประธานสภาบริหารกลางแห่งโซเวียตฮังการี
  2. รักษาการแทนในฐานะนายกรัฐมนตรี
  3. ในฐานะผู้สำเร็จราชการ
  4. ประมุขแห่งรัฐในฐานะนายกรัฐมนตรี
  5. ประมุขแห่งรัฐในฐานะนายกรัฐมนตรี
  6. ในปี 1918 Tarsoly 1995, pp. 595–597.
  7. "สาธารณรัฐประชาชนฮังการี" ได้รับการยอมรับว่าเป็นชื่ออย่างเป็นทางการของประเทศ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918[2][3][4] และใช้ชื่อนี้เรื่อยมาจนกระทั่งการโค่นล้มรัฐบาลของเดแน็ช เบริงคีย์ เมื่อวันที่ 21 มีนาคม ค.ศ. 1919 ภายหลังจากการล่มสลายของสาธารณรัฐโซเวียตฮังการี รัฐบาลของจูลอ ไพเดิลได้เปลี่ยนกลับมาใช้ชื่อดังเดิม เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1919[5][6] ต่อมารัฐบาลของอิชต์วาน ฟรีดริชได้เปลี่ยนชื่อรัฐใหม่เป็น "สาธารณรัฐฮังการี" เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม[7][8][9] อย่างไรก็ตาม ในบางครั้งยังมีการใช้ชื่อ "สาธารณรัฐประชาชนฮังการี" โดยปรากฏในพระราชกฤษฎีกาที่ออกโดยรัฐบาลบางฉบับในช่วงเวลานี้[10][11]
  8. ทรานซิลเวเนีย

อ้างอิง[แก้]

  1. Lambert, S. (19 เมษายน 2014). "The First Hungarian Republic". The Orange Files. สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2019.
  2. 2.0 2.1 1918. évi néphatározat (ภาษาฮังการี) – โดยทาง Wikisource.
  3. Pölöskei, F.; และคณะ (1995). Magyarország története, 1918–1990 (ภาษาฮังการี). Budapest: Korona Kiadó. p. 17. ISBN 963-8153-55-5.
  4. Minisztertanácsi jegyzőkönyvek: 1918. november 16 (ภาษาฮังการี). DigitArchiv. p. 4.
  5. 5.0 5.1 A Magyar Népköztársaság Kormányának 1. számu rendelete Magyarország államformája tárgyában (ภาษาฮังการี) – โดยทาง Wikisource.
  6. 6.00 6.01 6.02 6.03 6.04 6.05 6.06 6.07 6.08 6.09 6.10 6.11 6.12 Pölöskei, F.; และคณะ (1995). Magyarország története, 1918–1990 (ภาษาฮังการี). Budapest: Korona Kiadó. pp. 32–33. ISBN 963-8153-55-5.
  7. A Magyar Köztársaság miniszterelnökének 1. számu rendelete a sajtótermékekről (ภาษาฮังการี) – โดยทาง Wikisource.
  8. 4072/1919. M. E. számú rendelet (ภาษาฮังการี) – โดยทาง Wikisource.
  9. Raffay, E. (1990). Trianon titkai, avagy hogyan bántak el országunkkal (ภาษาฮังการี). Budapest: Tornado Damenia. p. 125. ISBN 963-02-7639-9.
  10. 3923/1919. M. E. számú rendelet (ภาษาฮังการี) – โดยทาง Wikisource.
  11. 70762/1919. K. M. számú rendelet (ภาษาฮังการี) – โดยทาง Wikisource.
  12. Martin Kitchen (2014). Europe Between the Wars. Routledge. p. 190. ISBN 9781317867531.
  13. Ignác Romsics (2002). Dismantling of Historic Hungary: The Peace Treaty of Trianon, 1920 Issue 3 of CHSP Hungarian authors series East European monographs. Social Science Monographs. p. 62. ISBN 9780880335058.
  14. Dixon J. C. Defeat and Disarmament, Allied Diplomacy and Politics of Military Affairs in Austria, 1918–1922. Associated University Presses 1986. p. 34.
  15. Sharp A. The Versailles Settlement: Peacemaking after the First World War, 1919–1923[ลิงก์เสีย]. Palgrave Macmillan 2008. p. 156. ISBN 9781137069689.
  16. Adrian Severin; Sabin Gherman; Ildiko Lipcsey (2006). Romania and Transylvania in the 20th Century. Corvinus Publications. p. 24. ISBN 9781882785155.
  17. Bardo Fassbender; Anne Peters; Simone Peter; Daniel Högger (2012). The Oxford Handbook of the History of International Law. Oxford University Press. p. 41. ISBN 9780199599752.
  18. Romsics, Ignác (2004). Magyarország története a XX. században (ภาษาฮังการี). Budapest: Osiris Kiadó. p. 123. ISBN 963-389-590-1.
  19. Romsics, I. (2004). Magyarország története a XX. században (ภาษาฮังการี). Budapest: Osiris Kiadó. p. 132. ISBN 963-389-590-1.
  20. Minisztertanácsi jegyzőkönyvek: 1919. augusztus 3 (ภาษาฮังการี). DigitArchiv. p. 6.
  21. 21.0 21.1 "Hungary Between The Wars". A History of Modern Hungary: 1867-1994.
  22. S. Balogh, Eva (Spring 1977). "Power Struggle in Hungary: Analysis in Post-war Domestic Politics August-November 1919" (PDF). Canadian-American Review of Hungarian Studies. 4 (1): 6.
  23. "Die amtliche Meldung über den Rücktritt" (ภาษาเยอรมัน). Neue Freie Presse, Morgenblatt. 1919-08-24. p. 2.
  24. Dr. Térfy, Gyula, บ.ก. (1921). "1920. évi I. törvénycikk az alkotmányosság helyreállításáról és az állami főhatalom gyakorlásának ideiglenes rendezéséről.". Magyar törvénytár (Corpus Juris Hungarici): 1920. évi törvénycikkek (ภาษาฮังการี). Budapest: Révai Testvérek Irodalmi Intézet Részvénytársaság. p. 3.

บรรณานุกรม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]