ภาษาลาฮู
ภาษาลาฮู/มูเซอ | |
---|---|
Ladhof | |
ประเทศที่มีการพูด | มณฑลยูนนาน, ประเทศจีน; ไทย; ลาว; พม่า |
ชาติพันธุ์ | ชาวลาฮู |
จำนวนผู้พูด | 600,000 (2007–2012)[1] |
ตระกูลภาษา | |
ระบบการเขียน | อักษรละติน |
สถานภาพทางการ | |
ภาษาทางการ | เขตปกครองตนเองลานชังลาฮู, มณฑลยูนนาน |
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | มีหลากหลาย: lhu — Lahu lhi — Lahu Shi lkc — [[Kucong]] |
ภาษาลาฮู (Lahu, Ladhof [lɑ˥˧xo˩]) หรือภาษาลาหู่ หรือ ภาษามูเซออยู่ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า สาขาพม่า-โลโล สาขาย่อยโลโล มีผู้พูดทั้งหมด 577,178 คน พบในจีน 411,476 คน (พ.ศ. 2533) ในเขตปกครองตัวเองลานชาง ลาฮู ทางตะวันตกเฉียงใต้ของยูนนาน เป็นภาษาที่มีผู้พูดมากในจีน ชนบางกลุ่มใช้ภาษาลาฮูเป็นภาษาที่สอง ส่วนใหญ่เข้าใจภาษาจีน บางส่วนใช้ภาษาไทลื้อ ภาษาอาข่า ภาษาบลัง ภาษาว้า หรือภาษายิเป็นภาษาที่สอง พบในลาว 8,702 คน (พ.ศ. 2538) ในบ่อแก้ว พบในพม่า 125,000 คน (พ.ศ. 2536) ในรัฐฉาน พบในไทย 32,000 คน (พ.ศ. 2544) ในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำปาง ตาก มีหลายสำเนียงคือ ภาษามูเซอดำ มูเซอแดง มูเซอดำเบเล มูเซอเหลืองบาเกียว มูเซอเหลืองบ้านลาน ชาวมูเซอไม่นิยมเรียนภาษาอื่น ในคณะที่คนพูดภาษาอื่นหลายเผ่าเรียนภาษามูเซอ ทำให้ภาษามูเซอเป็นภาษากลางในเขตภูเขาของจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย พบในเวียดนาม 6,874 คน (พ.ศ. 2542) ตามแนวชายแดนลาวทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือ
ระบบการเขียน[แก้]
เดิมไม่มีระบบการเขียนจนมิชชันนารีชาวตะวันตกพัฒนาระบบการเขียนด้วยอักษรโรมันในจีน มีการตีพิมพ์หนังสือพิมพ์ด้วยภาษาลาฮู
ลักษณะ[แก้]
เรียงประโยคแบบประธาน-กรรม-กริยา ไม่มีเสียงตัวสะกด พยัญชนะมี 28เสียง สระเดี่ยวมี 9 เสียง วรรณยุกต์มี 7 เสียง มีคำยืมจากภาษาไทลื้อและภาษาอาข่า
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Lahu ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
Lahu Shi ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
Kucong ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
ข้อมูล[แก้]
- สุริยา รัตนกุล นานาภาษาในเอเชียอาคเนย์ ภาค 1: ภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติกและตระกูลจีน-ทิเบต กทม. สถาบันวิจัยภาษาเพื่อกาพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล 2531
- โสฬส ศิริไสย์. สารานุกรมกลุ่มชาติพันธ์: ลาฮู. กทม. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาชนบท.2542
- Bradley, David (1979). Lahu dialects. Oriental monograph series #23. Canberra: Faculty of Asian Studies, Australian National University. OCLC 6303582.
- Matisoff, James A. (2006). English-Lahu Lexicon. Berkeley, California: University of California Press. ISBN 0-520-09855-2.
- Phạm Huy (1997). Một phần chân dung: dân tộc La Hủ (nhật ký điền dã). Lai Châu: Sở văn hóa thông tin Lai Châu.
- Reh, Louis (August 2005). "Silenced Minorities". The Irrawaddy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-01-27. สืบค้นเมื่อ 2006-12-29.
อ่านเพิ่ม[แก้]
- Lee, Hyun-bok (2000). "라후어의 언어학적 연구 (A Linguistic Study of Lahu)". The Journal of Humanities. Seoul National University. 44. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-07. สืบค้นเมื่อ 2006-12-28.
- Shi, Feng; Liu, Jing-rong (2006). "拉祜语的元音格局 (The Vowel Pattern of the Lahu Language)". Yunnan Nationalities University Journal (2). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2006-12-27.
- Wang, Zhenghua (2004). "拉祜语共时音变研究 (On the Synchronic Phonetic Change of the Lahu Language)". Yunnan Nationalities University Journal (1). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2006-12-27.