รามเกียรติ์
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |

รามเกียรติ์ เป็นวรรณกรรมที่มีเค้าโครงมาจากเรื่องรามายณะซึ่งเป็นนิทานที่แพร่หลายอยู่ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียใต้ ต่อมาอารยธรรมอินเดียได้แพร่สู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะพ่อค้าชาวอินเดียได้นำวัฒนธรรมและศาสนามาด้วย ทำให้รามายณะแพร่หลายไปทั่วภูมิภาค กลายเป็นนิทานที่รู้จักกันเป็นอย่างดี และได้ปรับเปลี่ยนเนื้อหาให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมของประเทศนั้นจนกลายเป็นวรรณคดีประจำชาติไป ดังปรากฏในหลายชาติ เช่น ไทย ลาว พม่า กัมพูชา มาเลเซีย อินโดนีเซีย ล้วนมีวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์เป็นวรรณคดีประจำชาติทั้งสิ้น
“รามเกียรติ์” มีเค้าจากวรรณคดีอินเดียคือมหากาพย์รามายณะที่ ฤๅษีวาลมีกิ ชาวอินเดีย แต่งขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต เมื่อประมาณ 2,400 ปีเศษ เชื่อว่าน่าจะเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ จากอิทธิพลของลัทธิพราหมณ์ฮินดู
รามเกียรติ์ในประเทศไทย[แก้]
สำหรับเรื่องรามเกียรติ์ของไทยนั้น มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ในสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทรงพระราชนิพนธ์สำหรับให้ละครหลวงเล่น ปัจจุบันมีอยู่ไม่ครบ ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 1 ได้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเพื่อรวบรวมเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งมีมาแต่เดิมให้ครบถ้วนสมบูรณ์ตั้งแต่ต้นจนจบ
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ เพื่อให้ละครหลวงเล่น โดยได้ทรงเลือกมาเป็นตอนๆ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ โดยใช้ฉบับของอินเดีย (รามายณะ) มาพระราชนิพนธ์ ใช้ชื่อว่า "บ่อเกิดรามเกียรติ์"
ตัวละครหลัก[แก้]
ตัวละครหลักที่ปรากฏในเรื่อง มีดังนี้
ฝ่ายพระราม
|
ฝ่ายทศกัณฐ์ และพันธมิตร
|
ดูเพิ่ม[แก้]
อ้างอิง[แก้]
หนังสืออ่านเพิ่ม[แก้]
- Thai Ramayana (abridged) as written by King Rama I, ISBN 974-7390-18-3
- The story of Ramakian - From the Mural Paintings along the Galleries of the Temple of the Emerald Buddha, ISBN 974-7588-35-8
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
วิกิพจนานุกรม มีความหมายของคำว่า รามเกียรติ์ |
- เนื้อเรื่องตอน หนุมานเข้ากรุงลงกา เก็บถาวร 2009-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน แปลเป็นภาษาอังกฤษโดย Dr. Theodora H. Bofman (อังกฤษ)
- ดู รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์ หากท่านต้องการทราบถึงตัวละครในรามเกียรติ์