องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Small Flag of the United Nations ZP.svg
องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก
Flag of the World Meteorological Organization.svg
ธง
WMO logo.gif
ตราสัญลักษณ์
ประเภททบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ
รัสพจน์ดับเบิลยูเอ็มโอ
หัวหน้าเยอรมนี แกร์ฮาร์ท อาดรีอาน (ประธาน)
ตั้งแต่ ค.ศ. 2019
ฟินแลนด์ เป็ตเตรี ตาลัส (เลขาธิการ)[1]
ตั้งแต่ ค.ศ. 2016
จัดตั้ง23 มีนาคม 1950; 72 ปีก่อน (1950-03-23)
สำนักงานเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
เว็บไซต์WMO.int
ต้นสังกัดคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ

องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (อังกฤษ: World Meteorological Organization; ย่อ WMO) เป็นองค์การระหว่างรัฐบาลซึ่งมีรัฐและดินแดนสมาชิกจำนวนหนึ่งร้อยเก้าสิบเอ็ดราย จัดตั้งขึ้นเป็นทบวงการชำนัญพิเศษขององค์การสหประชาชาติเมื่อ ค.ศ. 1950 สืบต่อจากองค์การอุตุนิยมวิทยาระหว่างประเทศ (International Meteorological Organization) ที่จัดตั้งเมื่อ ค.ศ. 1873 มีหน้าที่ด้านอุตุนิยมวิทยา อุทกวิทยาเชิงปฏิบัติการ และภูมิศาสตร์กายภาพแขนงที่เกี่ยวข้อง มีสำนักงานใหญ่อยู่ ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และเป็นสมาชิกกลุ่มพัฒนาสหประชาชาติ (United Nations Development Group) ด้วย[2]

ปัจจุบัน Gerhard Adrian[3] เป็นประธานาธิบดีและ ชาวฟินน์ Petteri Taalas[4] เป็นเลขาธิการของ WMO.

คณะกรรมการไต้ฝุ่น[แก้]

คณะกรรมการไต้ฝุ่นของคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก/องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก
ESCAP/WMO Typhoon Committee
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้งพ.ศ. 2511
หน่วยงานก่อนหน้า
  • คณะผู้เชี่ยวชาญไต้ฝุ่น
สำนักงานใหญ่เลขที่ 5 ถนนโอตูบรู เกาะโคโลอาน
มาเก๊า มาเก๊า ประเทศจีน[5]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • หยู จีซิน, เลขาธิการ
เว็บไซต์เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ

คณะกรรมการไต้ฝุ่นของคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก/องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (อังกฤษ: ESCAP/WMO Typhoon Committee) เป็นคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาลของประเทศที่เป็นสมาชิกคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก ซึ่งได้รับผลกระทบจากพายุไต้ฝุ่น ร่วมกับองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก โดยเพื่อสนับสนุนและประสานงานเพื่อลดความเสียหายจากพายุไต้ฝุ่นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก[6]

มีการประชุมเฉพาะกิจขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2511 เพื่อดำเนินร่างข้อบังคับคณะกรรมการไต้ฝุ่นที่กรุงเทพมหานคร และมีผู้แทนรัฐบาลจากประเทศไทย ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศเวียดนามใต้ และฮ่องกงเข้าร่วม รวมถึงมีผู้แทนจากสหรัฐและสหภาพโซเวียตเข้าร่วมในฐานะผู้สังเกตการณ์ ซึ่งนำไปสู่การจัดประชุมปฐมฤกษ์ของคณะกรรมการไต้ฝุ่นในเดือนธันวาคมปีเดียวกันในที่สุด[7]

พันธกิจของคณะกรรมการไต้ฝุ่นคือ เพื่อบูรณาการและยกระดับภูมิภาค (ด้านอุตุนิยมวิทยา อุทกวิทยา และการป้องกันและการเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติ) ของกิจกรรมของสมาชิกภายใต้ขอบข่ายงานในระบบสากล เพื่อลดการสูญเสียชีวิต และย่อผลกระทบทางสังคม เศรษฐกิจ และสภาพแวดล้อมจากภัยพิบัติอันเกี่ยวเนื่องจากพายุไต้ฝุ่น ส่วนวิสัยทัศน์ของคณะกรรมการไต้ฝุ่นคือ คณะกรรมการไต้ฝุ่น (TC) ของคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก/องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก เป็นหน่วยงานระหว่างรัฐบาลที่ดีที่สุดในโลก เป็นองค์การระดับภูมิภาคเพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตประชากรของรัฐสมาชิก ผ่านความร่วมมือแบบบูรณาการเพื่อลดผลกระทบและความเสี่ยงจากภัยพิบัติอันเกี่ยวเนื่องจากพายุไต้ฝุ่น[8]

อ้างอิง[แก้]

  1. https://public.wmo.int/en/about-us/secretariat retrieved on 16.06.2019
  2. "UNDG Members". United Nations Development Group. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-11. สืบค้นเมื่อ 7 August 2013.
  3. https://public.wmo.int/en/about-us/governance ดึงข้อมูลเมื่อ 21.06.2019
  4. https://public.wmo.int/en/about-us/secretariat ดึงข้อมูลเมื่อ 21.06.2019
  5. http://www.typhooncommittee.org/contact-us/
  6. "STATUTES OF THE COMMITTEE". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 November 2018. สืบค้นเมื่อ 29 November 2018.
  7. "THE COMMITTEE CHRONOLOGY – 1964-1968". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 November 2018. สืบค้นเมื่อ 29 November 2018.
  8. "MISSION & VISION". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 November 2018. สืบค้นเมื่อ 29 November 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]