ติรานา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ติรานา
เทศบาล

ธง

ตรา
ติรานาตั้งอยู่ในAlbania
ติรานา
ติรานา
ติรานาตั้งอยู่ในยุโรป
ติรานา
ติรานา
พิกัด: 41°19′44″N 19°49′04″E / 41.32889°N 19.81778°E / 41.32889; 19.81778
ประเทศ แอลเบเนีย
ภูมิภาคกลาง
เทศมณฑลติรานา
ก่อตั้งค.ศ. 1614
การปกครอง
 • ประเภทรัฐบาล
 • นายกเทศมนตรีเอรีออน เวลีอาย (พรรคสังคมนิยม)
 • ประธานสภาอัลดริน ดาลีปี
พื้นที่
 • เทศบาล1,110.03 ตร.กม. (428.58 ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง41.8 ตร.กม. (16.1 ตร.ไมล์)
ความสูง110 เมตร (360 ฟุต)
ประชากร
 • ความหนาแน่น502 คน/ตร.กม. (1,300 คน/ตร.ไมล์)
 • เทศบาล557,422[1]
 • มหานคร906,166[2]
เดมะนิมติรานัส (ชาย) ติราเนส (หญิง)
ติรอนส์ (ชาย) ติรอนเซ (หญิง) (สำเนียงท้องถิ่น)
เขตเวลาUTC+1 (เวลายุโรปกลาง)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+2 (CEST)
รหัสไปรษณีย์1001–1028, 1031
รหัสพื้นที่04
ทะเบียนรถTR
HDI (2018)0.818[3]สูงมาก · อันดับที่ 1st
เว็บไซต์เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ

ติรานา (แอลเบเนีย: Tirona) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดทั้งในแง่ของประชากรและพื้นที่ของประเทศแอลเบเนีย นครตั้งอยู่ทางตอนกลางประเทศโดยมีภูเขาดัยต์ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกและมีหุบเขาซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับทะเลเอเดรียติกทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เนื่องจากนครตั้งอยู่บนที่ราบติรานาและอยู่ใกล้กับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน นครจึงได้รับอิทธิพลของภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน ติรานาถือเป็นหนึ่งในนครที่มีฝนตกและมีแสงแดดมากที่สุดของทวีปยุโรป โดยมีชั่วโมงที่พบแสงแดดปีละ 2,544 ชั่วโมง[4][5]

ติรานาถูกจัดตั้งเป็นนครใน ค.ศ. 1614 แต่พื้นที่ของนครในปัจจุบัน มีเผ่าอิลลีเรียเข้ามาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่ยุคเหล็ก ต่อมาได้ถูกชาวโรมันยึดครองและกลายเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันภายหลังจากสงครามอิลลีเรีย แหล่งมรดกสำคัญในยุคนั้นที่ยังปรากฏในปัจจุบันคือบ้านโมเสกแห่งติรานา ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 5–6 โบสถ์พาลีโอคริสเตียนได้ถูกสร้างขึ้นบริเวณแหล่งมรดกนั้น

หลังจากที่จักรวรรดิโรมันถูกแบ่งออกเป็นตะวันออกและตะวันตกในคริสต์ศตวรรษที่ 4 จักรวรรดิไบแซนไทน์ได้เข้ามาครอบครองพื้นที่นี้และสร้างปราสาทเปเตรเลในรัชสมัยจักรพรรดิยุสตินิอานุสที่ 1 นครถูกปล่อยปะละเลยอย่างไร้ความสำคัญเป็นระยะเวลานาน จนกระทั่งในคริสต์ศตวรรษที่ 20 รัฐสภาลุชเยได้ประกาศให้ติรานาเป็นเมืองหลวงของประเทศหลังจากที่แอลเบเนียประกาศอิสรภาพใน ค.ศ. 1912

ปัจจุบัน ติรานาเป็นศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจ การเงิน การเมือง และการค้าที่สำคัญของประเทศ เนื่องจากนครตั้งอยู่ในภาคกลาง และมีการขนส่งรูปแบบต่าง ๆ ที่ทันสมัย ทั้งทางอากาศ ทางน้ำ ทางราง และทางถนน นครเป็นที่ตั้งของรัฐบาลแอลเบเนีย ซึ่งเป็นที่ทำการของประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี และรัฐสภาแอลเบเนีย นครได้รับรางวัลเมืองหลวงเยาวชนยุโรปประจำปี 2022[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Profili i bashkisë Tiranë". 11 May 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 August 2017. สืบค้นเมื่อ 8 February 2018. Popullsia: Sipas censusit të vitit 2011, në territorin e bashkisë së re Tiranë banojnë 557,422 banorë, ndërsa sipas Regjistrit Civil banojnë 757,361 banorë. Me një sipërfaqe prej 1,110.03 kilometrash katrorë, densiteti i popullsisë sipas të dhënave të Censusit është 502 banorë/ km2 ndërsa sipas Regjistrit Civil, densiteti është 682 banorë km2.
  2. "Popullsia e Shqipërisë" (PDF). instat.gov.al (ภาษาแอลเบเนีย). 1 January 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-07-06. สืบค้นเมื่อ 2020-07-04.
  3. "Subnational Human Development Index (2.1)". hdi.globaldatalab.org (ภาษาอังกฤษ). Global Data Lab.
  4. "Sunniest Cities in Europe". currentresults.com. p. 1.
  5. "European Cities With the Wettest, Rainiest Weather". currentresults.com. p. 1.
  6. "Congratulations, Tirana! Winner of the European Youth Capital for 2022". youthforum.org (ภาษาอังกฤษ). European Youth Capital. 21 November 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-06. สืบค้นเมื่อ 7 December 2019.

หนังสืออ่านเพิ่มเติม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]