กลุ่มภาษาคอเคซัสใต้
กลุ่มภาษาคอเคซัสใต้ | |
---|---|
ქართველური | |
ภูมิภาค: | คอเคซัสใต้ฝั่งตะวันตก, อานาโตเลียตะวันออกเฉียงเหนือ |
การจําแนก ทางภาษาศาสตร์: | หนึ่งในตระกูลของภาษาแรกของโลก |
ภาษาดั้งเดิม: | Proto-Kartvelian |
กลุ่มย่อย: | |
ISO 639-5: | ccs |
กลอตโตลอก: | kart1248[1] |
กลุ่มภาษาคาร์ตวีเลียน (อังกฤษ: Kartvelian languages; จอร์เจีย: ქართველური ენები, อักษรโรมัน: kartveluri enebi; มีอีกชื่อว่า คอเคซัสใต้ (South Caucasian)[2]) เป็นภาษาที่มีผู้พูดส่วนใหญ่อยู่ในจอร์เจีย มีบางส่วนอยู่ในตุรกี อิหร่าน รัสเซีย และอิสราเอล[3] ผู้พูดกลุ่มภาษานี้มีราว 5.2 ล้านคนทั่วโลก เป็นกลุ่มภาษาที่มีประวัติความเป็นมาเก่าแก่กลุ่มหนึ่ง มีจุดกำเนิดย้อนหลังไปถึง 5,457 ปีก่อนพุทธศักราช [4]กลุ่มภาษานี้ไม่มีความสัมพันธ์อย่างชัดเจนกับกลุ่มภาษาใดๆ [5] หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรก (จารึกอับบา อันโตนี เขียนด้วยอักษรจอร์เจียโบราณในยุคราชวงศ์จอร์เจีย ใกล้เบธเลเฮ็ม) มีอายุราว พ.ศ. 938[6][7]
การจัดจำแนก
[แก้]กลุ่มภาษาคาร์ตวีเลียนแบ่งออกเป็นสี่ภาษาที่มีความใกล้ชิดกัน:
- สวาน (ლუშნუ ნინ, lušnu nin) มีผู้พูดเป็นภาษาแม่ประมาณ 35,000–40,000 คนในประเทศจอร์เจีย ส่วนใหญ่อยู่บริเวณภูเขาทางตะวันตกเฉียงเหนือของSvanetiและKodori Gorgeในอับคาเซีย
- จอร์เจีย-ซาน (มีอีกชื่อว่า คาร์โต-ซาน)
- จอร์เจีย (ქართული ენა, kartuli ena) มีผู้พูดเป็นภาษาแม่ประมาณ 4 ล้านคน ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศจอร์เจีย
- ยิวจอร์เจีย (ყივრული ენა, kivruli ena) มีผู้พูดราว 85,000 คน สถานะของมันยังคงเป็นที่โต้แย้งในหมู่วิชาการ[8]
- ซาน (มีอีกชื่อว่า โคลเชียน)
- มิงเกรเลีย (მარგალური ნინა, margaluri nina) มีผู้พูดเป็นภาษาแม่ 500,000 คนใน พ.ศ. 2532 ส่วนใหญ่อยู่ในภูมิภาคตะวันตกของจอร์เจีย เช่นซาเมเกรโลและอับคาเซีย (เฉพาะอำเภอกาลี) จำนวนผู้พูดมีผลจากสงครามในคริสต์ทศวรรษ 1990 ซึ่งทำให้เกิดการอพยพของผู้มีเชื้อสายจอร์เจีย ส่วนใหญ่เป็นชาวมิงเกรเลีย ถึงกระนั้น ชาวจอร์เจียในอับฮาเซีย (ส่วนใหญ่เป็นมิงเกรเลีย) มีจำนวน 18% ของประชากร ในอำเภอกาลีมรจำนวน 98.2%[9] อพยพชาวเมเกรเลียจากอับฮาเซียปัจจุบันอยู่ในทบิลีซีและซุกดีดี
- ลาซ (ლაზური ნენა, lazuri nena) มีผู้พูดเป็นภาษาแม่ 22,000 คนใน 2523 ส่วนใหญ่อยู่รอบ ๆ ทะเลดำในตุรกีตะวันออกเฉียงเหนือ และราว 2,000 คนอยู่ที่อาจารา ประเทศจอร์เจีย[ต้องการอ้างอิง]
- จอร์เจีย (ქართული ენა, kartuli ena) มีผู้พูดเป็นภาษาแม่ประมาณ 4 ล้านคน ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศจอร์เจีย
กลุ่มย่อยของภาษาเหล่านี้มีความสัมพันธ์กัน ในกรณีของภาษาเมเกรเลียและภาษาลาซ บางครั้งรวมกันเป็นภาษาซาน เชื่อกันว่าภาษาในกลุ่มนี้แยกตัวออกจากภาษาคาร์ทเวเลียดั้งเดิม ซึ่งน่าจะเคยใช้พูดในจอร์เจียและทางเหนือของตุรกีตั้งแต่เมื่อราว 2,457 – 1,457 ปีก่อนพุทธศักราช เมื่อดูจากระดับของความเปลี่ยนแปลง คาดว่าภาษาสวานเป็นภาษาที่แยกตัวออกมาเมื่อ ราว 1,457 ปีก่อนพุทธศักราชหรือก่อนหน้านี้ ในขณะที่ภาษาเมเกรเลียและภาษาลาซแยกตัวออกจากภาษาจอร์เจียในอีก 1,000 ปีต่อมา จากนั้นอีกราว 500 ปี ภาษาเมเกรเลียและภาษาลาซจึงแยกออกจากกัน
ภาษายิวจอร์เจียถือว่าเป็นสำเนียงของภาษาจอร์เจีย ซึ่งมีคำยืมจากภาษาฮีบรูและภาษาอราเมอิกเป็นจำนวนมาก
การเชื่อมต่อระดับสูง
[แก้]ไม่มีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มภาษาอื่นแม้แต่กับกลุ่มภาษาคอเคซัสเหนือ นักภาษาศาสตร์บางคนจัดให้อยู่ในตระกูลภาษานอสตราติกแต่การยอมรับความสัมพันธ์ระหว่างภาษาตระกูลนี้กับกลุ่มภาษาคอเคซัสใต้ยังเป็นที่โต้แย้งกันอยู่ เนื่องจากภาษาในกลุ่มนี้มีความสัมพันธ์กับภาษาบาสก์โดยฌพาะระบบการกจึงมีนักภาษาศาสตร์บางท่านกล่าวว่าภาษาทั้งสองนี้อาจมีบรรพบุรุษร่วมกัน
อย่างไรก็ตาม พบความใกล้เคียงทางสัทวิทยาที่เกิดจากการติดต่อกับภาษาในบริเวณใกล้เคียง เช่นการยืมคำระหว่างกันได้มาก รวมทั้งได้รับอิทธิพลทางไวยากรณ์ระหว่างกันด้วย
สถานะทางสังคมและวัฒนธรรม
[แก้]ภาษาจอร์เจียเป็นภาษาราชการของจอร์เจีย มีผู้ใช้ 90% ของประชากรทั้งหมดและยังเป็นภาษาเขียนหลักและภาษาทางธุรกิจด้วย เขียนด้วยอักษรจอร์เจียที่มีประวัติย้อนหลังไปถึง พ.ศ. 1043
ภาษาเมเกรเลียเขียนด้วยอักษรจอร์เจียตั้งแต่ พ.ศ. 2407 โดยเฉพาะในช่วงจาก พ.ศ. 2473 – 2480 และหลังจาก พ.ศ. 2532 ภาษาลาซเริ่มมีการใช้เป็นภาษาเขียนตั้งแต่ช่วง พ.ศ. 2470 – 2480 และปัจจุบันในตุรกีเขียนด้วยอักษรละติน ผู้พูดภาษาลาซในปัจจุบันลดน้อยลงโดยหันไปใช้ภาษาตุรกีแทน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Nordhoff, Sebastian; Hammarström, Harald; Forkel, Robert; Haspelmath, Martin, บ.ก. (2013). "Kartvelian". Glottolog 2.2. Leipzig: Max Planck Institute for Evolutionary Anthropology.
- ↑ Boeder (2002), p. 3
- ↑ Ethnologue entry about the Kartvelian language family
- ↑ The Geography of Ethnic Violence: Identity, Interests, Monica Duffy Toft, pp 91-93
- ↑ Language in Danger, Andrew Dalby, p 38
- ↑ A Guide to the World's Languages: Classification, Merritt Ruhlen, p 72
- ↑ The Georgians, David Marshal Lang, p 154
- ↑ Judeo-Georgian at Glottolog
- ↑ "Государственный комитет Республики Абхазия по статистике". ugsra.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-28. สืบค้นเมื่อ 2021-12-05.
ข้อมูลทั่วไป
[แก้]- Boeder, W. (1979). "Ergative syntax and morphology in language change: the South Caucasian languages". ใน Plank, F. (บ.ก.). Ergativity: towards a theory of grammatical relations. Orlando: Academic Press. pp. 435–480.
- Boeder, W. (2002). "Speech and thought representation in the Kartvelian (South Caucasian) languages". ใน Güldemann, T.; von Roncador, M. (บ.ก.). Reported Discourse. A Meeting-Ground of Different Linguistic Domains. Typological Studies in Language, vol. 52. Amsterdam/Philadelphia: Benjamins. pp. 3–48.
- Boeder, W. (2005). "The South Caucasian languages", Lingua, vol. 115, iss. 1–2 (Jan.-Feb.), pp. 5–89
- Dalby, A. (2002). Language in Danger; The Loss of Linguistic Diversity and the Threat to Our Future. Columbia University Press.
- Deeters, Gerhard (1930). Das kharthwelische Verbum: vergleichende Darstellung des Verbalbaus der südkaukasischen Sprachen. Leipzig: Markert und Petters.
- Delshad, F. (2010). Georgica et Irano-Semitica (ภาษาเยอรมัน). Wiesbaden.
- Fähnrich, H. (2002). Kartwelische Wortschatzstudien. Jena: Friedrich-Schiller-Universität.
- Fähnrich, H. & Sardzhveladze, Z. (2000). Etymological Dictionary of the Kartvelian Languages (ภาษาจอร์เจีย). Tbilisi.
- Gamkrelidze, Th. (Jan.–Mar. 1966) "A Typology of Common Kartvelian", Language, vol. 42, no. 1, pp. 69–83
- Gamkrelidze, Th. & Ivanov, V. (1995). Indo-European and the Indo-Europeans: A Reconstruction and Historical Analysis of a Proto-Language and a Proto-Culture. 2 vols. Berlin / New York: Mouton de Gruyter.
- Harris, Alice C. (1985). Diachronic syntax: the Kartvelian case. Academic Press.
- Hewitt, B.G. (1995). Georgian: A Structural Reference Grammar. John Benjamins Publishing. ISBN 978-90-272-3802-3.
- Kajaia, O. (2001). Megrelian-Georgian dictionary (ภาษาจอร์เจีย). Vol. 1. Tbilisi.
- Kartozia, G. (2005). The Laz language and its place in the system of Kartvelian languages (ภาษาจอร์เจีย). Tbilisi.
- Klimov, G. (1964). Etymological Dictionary of the Kartvelian Languages (ภาษารัสเซีย). Moscow.
- Klimov, G. (1994). Einführung in die kaukasische Sprachwissenschaft. Hamburg: Buske.
- Klimov, G. (1998). Etymological Dictionary of the Kartvelian Languages. Berlin: Mouton de Gruyter.
- Klimov, G. (1998). Languages of the World: Caucasian languages (ภาษารัสเซีย). Moscow: Academia.
- Lang, D.M. (1966). The Georgians. New York: Praeger.
- Ruhlen, M. (1987). A Guide to the World's Languages, Vol. 1: Classification. Stanford, CA: Stanford University Press.
- Tuite, K. (1998). Kartvelian Morphosyntax. Number agreement and morphosyntactic orientation in the South Caucasian languages. Studies in Caucasian Linguistics, 12. Munich: LINCOM Europa.
แหล่งข่อมูลอื่น
[แก้]- Lazuri Nena – The Language of the Laz by Silvia Kutscher.
- The Arnold Chikobava Institute of Linguistics, Georgian Academy of Sciences เก็บถาวร 2004-02-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Arthur Holmer, The Iberian-Caucasian Connection in a Typological Perspective
- The rise and fall and revival of the Ibero-Caucasian hypothesis by Kevin Tuite (Université de Montréal).