มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ชื่อเดิมโรงเรียนราชวิทยาลัย
ชื่อย่อมบส. / BSRU
คติพจน์มุ่งมั่น ทุ่มเทให้เป็นเลิศของประเทศ และเป็นมหาวิทยาลัยคุณภาพสากลชั้นนำ
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
สถาปนา14 มิถุนายน พ.ศ. 2547 (19 ปี)
นายกสภาฯศาสตราจารย์ ดร.ชาติชาย ณ เชียงใหม่
อธิการบดีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ลินดา เกณฑ์มา[1]
ที่ตั้ง
ส่วนกลาง
1061 ซอยอิสรภาพ 15 ถนนอิสรภาพ แขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร 10600
ศูนย์การศึกษาอู่ทองทวาราวดี
95 หมู่ 1 ซอยเทศบาล 2/4 ตำบลสระยายโสม อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี 72220
สี████ สีม่วง สีขาว
เว็บไซต์www.bsru.ac.th

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (อังกฤษ: Bansomdejchaopraya Rajabhat University; อักษรย่อ: มบส. – BSRU) เป็นมหาวิทยาลัยในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ ตั้งอยู่ในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2439 เดิมมีชื่อว่า โรงเรียนราชวิทยาลัย

ประวัติ[แก้]

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชดำริที่จะจัดตั้งโรงเรียนแบบ Public school ของสหราชอาณาจักร โดยโปรดให้จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินการเรื่องนี้โดยมี เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) เสนาบดีกระทรวงธรรมการเป็นประธาน ทางที่ประชุมเห็นว่าจวนของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุญนาค) ซึ่งพระยาสีหราชเดโชชัย หลานปู่ของสมเด็จเจ้าพระยาฯได้น้อมเกล้าฯ ถวายไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2433 เป็นที่กว้างขวางใหญ่โต จึงเห็นสมควรให้จัดตั้งเป็นโรงเรียน ให้ชื่อว่า “โรงเรียนราชวิทยาลัย” แต่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า “โรงเรียนฟากขะโน้น” หรือ “โรงเรียนบ้านสมเด็จเจ้าพระยา” โดยได้เปิดเรียนตั้งแต่ วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2439 โดยมีนาย เอ ซี คาร์เตอร์ เป็นอาจารย์ใหญ่

ครั้นต่อมา การศึกษาขยายตัวขึ้นเป็นลำดับ ทำให้สถานที่คับแคบลง โรงเรียนราชวิทยาลัยจึงย้ายไปอยู่ที่ตำบลไผ่สิงโต เขตปทุมวัน ข้างวังสระปทุมวัน ทำให้จวนของสมเด็จเจ้าพระยาฯ ก็ว่างลง ซึ่งในขณะนั้นเองการศึกษาระหว่างหัวเมืองกับกรุงเทพมหานคร มีความเหลื่อมล้ำกันมาก เนื่องจากคุณภาพของครูที่แตกต่างกัน กระทรวงธรรมการจึงได้จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูขึ้นที่จวนของสมเด็จเจ้าพระยาฯ เรียกว่า “โรงเรียนฝึกหัดครูฝั่งตะวันตก” สำหรับผลิตครูที่มีคุณภาพเพื่อให้ทำการสอนในหัวเมือง โดยเริ่มเปิดสอนเมื่อ วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2446 โดยมีหลวงบำเน็จวรญาณ เป็นอาจารย์ใหญ่ จนในปี พ.ศ. 2458 จึงได้ใช้ชื่อเรียกว่า "โรงเรียนมัธยมบ้านสมเด็จเจ้าพระยา"

ในปี พ.ศ. 2501 ได้ยกฐานะเป็นวิทยาครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อ "สถาบันราชภัฏ" เป็นชื่อสถาบันการศึกษาในกรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ แทนชื่อ "วิทยาลัยครู" วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยาจึงได้รับพระราชทาน นามใหม่ว่า "สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา" และจากพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538 สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาสามารถจัดการศึกษาในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอกในสาขาวิชาต่าง ๆ ได้นับได้ว่า สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เป็นสถาบันที่มีเกียรติประวัติดีงามมาโดยตลอด และเป็นความภาคภูมิใจของนักศึกษาทุกคนที่ได้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันแห่งนี้ [2]

อธิการบดี [3][แก้]

ลำดับ ปี อธิการบดี
1 2558-ปัจจุบัน ผศ.ดร.ลินดา เกณฑ์มา
2 2555-2556 รศ.ดร.พลสิทธิ์ หนูชูชัย
3 2546-2555 รศ.ดร.สุพล วุฒิเสน
4 2536-2546 รศ.สันต์ ธรรมบำรุง

คณะครุศาสตร์[แก้]

คณะครุศาสตร์ ตึก 30 อาคารพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค)

หลักสูตร[แก้]

หลักสูตรศิลปศาตรบัณฑิต (ศศ.บ. 4 ปี)

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา
  • สาขาวิชาการวัดประเมินและวิจัยทางการศึกษา

หลักสูตรครุศาตรบัณฑิต (ค.บ. 4 ปี)

  • สาขาวิชาพลศึกษา
  • สาขาวิชาศิลปศึกษา
  • สาขาวิชาการประถมศึกษา
  • สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สาขาจิตวิทยาและการแนะแนว

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์[แก้]

สำนักงานคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ อาคารพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค) ตึก 27 ชั้น 3-4
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (หลังใหม่) อาคารเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค)

หลักสูตร[แก้]

หลักสูตรศิลปศาตรบัณฑิต (ศศ.บ. 4 ปี)

  • สาขาวิชาภาษาจีน
  • สาขาวิชาภาษาไทย
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
  • สาขาวิชาอาเซียนศึกษา
  • สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
  • สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมเอเชียตะวันออก (ภาษาเกาหลีและญี่ปุ่น)

หลักสูตรศิลปกรรมศาตรบัณฑิต (ศป.บ. 4 ปี)

  • สาขาวิชาครีเอทีฟกราฟิก
  • สาขาวิชานาฎยศาสตร์การแสดง

หลักสูตรนิติศาตรบัณฑิต (น.บ. 4 ปี)

  • สาขาวิชานิติศาสตร์

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รป.บ. 4 ปี)

  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ. 4 ปี)

  • สาขาวิชาภาษาไทย
  • สาขาวิชาสังคมศึกษา
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
  • สาขาวิชานาฎยศิลป์ศึกษา

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี[แก้]

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตึก 9 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ์

หลักสูตร[แก้]

หลักสูตรวิทยาศาตรบัณฑิต (วท.บ. 4 ปี)

  • สาขาวิชาเคมีผลิตภัณฑ์
  • สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีอัจฉริยะ
    • แขนงวิชาหุ่นยนต์และอุปกรณ์อัจฉริยะ
    • แขนงวิชาเทคโนโลยีและระบบอัตโนมัติทางการแพทย์
  • สาขาวิชาอุตสาหกรรมชีวภาพ
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร
  • สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
  • สาขาวิชาแอนิเมชั่น เกม และดิจิทัลมีเดีย
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและวิทยาการข้อมูล
  • สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ. 4 ปี)

  • สาขาวิชาชีววิทยาศึกษา
  • สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา
  • สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา

หลักสูตรสาธารณสุขศาตรบัณฑิต (ส.บ. 4 ปี)

  • สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์

หลักสูตรการแพทย์แผนไทยบัณฑิต (พท.บ. 4 ปี)

  • สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย

คณะวิทยาการจัดการ[แก้]

คณะวิทยาการจัดการ ตึก 7 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา

หลักสูตร[แก้]

หลักสูตรนิเทศศาตรบัณฑิต (นศ.บ. 4 ปี)

  • สาขาวิชาภาพยนตร์
  • สาขาวิชาการสื่อสารดิจิทัลคอนเทนต์
  • สาขาวิชาบรอดคาสติงและสื่อสตรีมมิง
  • สาขาวิชาการสื่อสารการตลาดและธุรกิจบันเทิง

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ. 4 ปี)

  • สาขาวิชาธุรกิจดิจิทัล
  • สาขาวิชาการเป็นผู้ประกอบการ
  • สาขาวิชาการตลาดดิจิทัลเชิงสร้างสรรค์
  • สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
  • สาขาวิชาการจัดการธุรกิจและทรัพยากรมนุษย์
  • สาขาวิชาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ (หลักสูตรนานาชาติ)

หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (บช.บ. 4 ปี)

  • สาขาวิชาการบัญชี

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ. 4 ปี)

  • สาขาวิชานวัตกรรมการท่องเที่ยว

หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต (ศ.บ. 4 ปี)

  • สาขาวิชานวัตกรรมทางเศรษฐกิจ การเงิน และการลงทุน

คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม[แก้]

สำนักงานคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม อาคารสมเด็จพุฒาจารย์ (นวม) ตึก 24 ชั้น M

หลักสูตร[แก้]

หลักสูตรวิศวกรรมศาตรบัณฑิต (วศ.บ. 4 ปี)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงาน
  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและระบบควบคุมอัตโนมัติ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการและการจัดการโซ่อุปทาน

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ. 4 ปี)

  • สาขาวิชาการออกแบบระบบโลจิสติกส์
  • สาขาวิชาการประกอบและบริการอาหาร
  • สาขาวิชาออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์

หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต (อส.บ. 4 ปี)

  • สาขาวิชาออโตเมชัน
  • สาขาวิชาการจัดการวิศวกรรมการผลิตและโลจิสติกส์
    • แขนงวิชาการจัดการคลังสินค้า
    • แขนงวิชาการจัดการดิจิทัลโลจิสติกส์
    • แขนงวิชาการจัดการผลิตและคุณภาพ

หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต (ค.อ.บ. 4 ปี)

  • สาขาวิชาอุตสาหกรรมศิลป์

วิทยาลัยการดนตรี[แก้]

สำนักงานวิทยาลัยการดนตรี อาคารพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค) ตึก 27 ชั้น 13-14

หลักสูตร[แก้]

หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต (ดศ.บ. 4 ปี)

  • สาขาวิชาดนตรีตะวันตก แบ่งออกเป็น 8 กลุ่มวิชา
    • การประพันธ์เพลง
    • ดนตรีคลาสสิค
    • ดนตรีโยธวาฑิต
    • ดนตรีแจ๊ส
    • เทคโนโลยีดนตรี
    • ดนตรีสมัยนิยม
    • ดนตรีวิทยา
    • การสอนดนตรี
  • สาขาวิชาดนตรีไทย

หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ. 4 ปี)

  • สาขาวิชาดนตรีไทยศึกษา
  • สาขาวิชาดนตรีตะวันตกศึกษา

หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ. 4 ปี)

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตดนตรี

บัณฑิตวิทยาลัย[แก้]

สำนักงานบัณฑิตวิทยาลัย อาคารสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) ตึก 11 ชั้น 5

หลักสูตร[แก้]

หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต

    • ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู

ระดับปริญญาโท

  • หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.)
    • สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
    • สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
    • สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการศึกษาและภาวะผู้นำ
    • สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์
    • สาขาวิชาการสอนภาษาจีน
    • สาขาวิชาการสอนภาษาไทย
    • สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษในฐานะสาขาวิชาภาษาสากล
    • สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา
    • สาขาวิชาดนตรีศึกษา
  • หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
    • สาขาวิชาการจัดการภาครัฐสมัยใหม่
  • หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (ศป.ม.)
    • สาขาวิชาทัศนศิลป์
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
    • สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา
    • สาขาวิชาเภสัชกรรมไทย
    • สาขาวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
  • หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.)
    • สาขาวิชาบริหารธุรกิจ (หลักสูตรนานาชาติ)
  • ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
    • สาขาวิชาภาษาไทย

ระดับปริญญาเอก

  • หลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต (ปร.ด.)
    • สาขาวิชาการบริหารเทคโนโลยีและนวัตกรรม
    • สาขาวิชาบริหารการศึกษา
    • สาขาวิชาเภสัชกรรมไทย
    • สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
    • สาขาวิชาดนตรีศึกษา

ศูนย์การศึกษาอู่ทองทวาราวดี ตำบลสระยายโสม อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี[แก้]

มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ศูนย์การศึกษาอู่ทองทวารวดี

ศูนย์การศึกษาอู่ทองทวาราวดี ตำบลสระยายโสม อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ตั้งอยู่ที่ 95 หมู่ 1 ตำบลสระยายโสม อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี บนเนื้อที่ 162.93 ไร่

อาคารเรียนศิลปอาชา บ้านสมเด็จฯ ศูนย์การศึกษาอู่ทองทวารวดี
อาคารหอพักสุริยมณฑล บ้านสมเด็จฯ ศูนย์การศึกษาอู่ทองทวารวดี

หลักสูตร[แก้]

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รป.บ. 4 ปี) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

  • สาขารัฐประศาสนศาสตร์

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ. 4 ปี) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี'

  • สาขานวัตกรรมการจัดการเกษตรและซัพพลายเชน

หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย[แก้]

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้แบ่งส่วนราชการตามกฎกระทรวงจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๘ และประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา พ.ศ. 2549 ประกอบด้วย

  • สำนักงานอธิการบดี
    • กองกลาง
    • กองนโยบายและแผน
    • กองบริหารงานบุคคล
    • กองคลัง
    • กองอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม
  • สถาบันวิจัยและพัฒนา
  • สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
  • สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน
  • สำนักคอมพิวเตอร์

โรงเรียนสาธิต[แก้]

โรงเรียนสาธิต ประกอบด้วย 3 หน่วยงานย่อย ศูนย์สาธิตการศึกษาปฐมวัย โรงเรียนประถมสาธิต และโรงเรียนมัธยมสาธิต มีหน้าที่จัดการเรียนรู้ขั้นพื้นฐาน และเป็นแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพ


โรงเรียนสาธิตปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
สาธิตปฐมวัย บ้านสมเด็จเจ้าพระยา


โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (ประถม)
ประถมสาธิต บ้านสมเด็จเจ้าพระยา


โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (มัธยม)
มัธยมสาธิต บ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]