สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน
ชื่อย่อสรพ. / LIFE
คติพจน์สร้างสรรค์ปัญญา ความรู้คู่การปฏิบัติ
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
สถาปนา31 สิงหาคม พ.ศ. 2553 (13 ปี)
นายกสภาฯนายเอ็นนู ซื่อสุวรรณ
อธิการบดีดร.ศักดิ์พงศ์ หอมหวล
ผู้ศึกษา1,050 คน (2566)[1]
ที่ตั้ง
เลขที่ 13/2 หมู่ 1 ตำบลบางคนที อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม
สี██ สีเขียวอมฟ้า
เว็บไซต์https://www.life.ac.th

สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน หรือ มหาวิทยาลัยชีวิต[2] (อังกฤษ: Learning Institute For Everyone - LIFE) เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย มีสำนักงานสถาบันตั้งอยู่ที่ 13/2 หมู่ 1 ตำบลบางคนที อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม[3] ได้รับอนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553[4] เปิดสอนในระดับปริญญาตรี และระดับปริญญาโท ปัจจุบันสถาบันได้เปิดศูนย์การเรียนรู้เพื่อปวงชนในทุกภาคกว่า 30 จังหวัด

ประวัติ[แก้]

สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน เริ่มต้นดำเนินการจากการที่มูลนิธิสถาบันส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ได้พัฒนาหลักสูตรสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ภายใต้ชื่อ "โครงการมหาวิทยาลัยชีวิต" และจัดการเรียนการสอนร่วมกับมหาวิทยาลัยรามคำแหง และมหาวิทยาลัยราชภัฏหลายแห่ง จนกระทั่งได้จัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาเปิดดำเนินการเอง ในปี พ.ศ. 2553

สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน ได้จัดให้มีการประสาทปริญญาบัตรให้แก่ผู้สำเร็จการศึกษา โดยมีศาสตราจารย์ เกษม วัฒนชัย องคมนตรี เป็นประธาน[5]

สัญลักษณ์ของสถาบัน[แก้]

ตราสัญลักษณ์[แก้]

ตราสัญลักษณ์ประจำสถาบันฯ คือ รูปคนหันหน้าเข้าหากัน หมายถึง ความสมานฉันท์ ความเป็นชุมชน ประชาสังคม ความร่วมมือ ตั้งแต่ระดับครอบครัวถึงระดับชาติ เพื่อให้เกิดชุมชนและสังคมเรียนรู้ และ รูปวงกลมรอบคน หมายถึง ความเป็นหนึ่ง เอกภาพ การบูรณาการวิชาความรู้

ต้นไม้ประจำสถาบัน[แก้]

กล้วยเทพนม หมายถึง เอกภาพ ความอ่อนน้อมถ่อมตน ความเรียบง่าย และคุณประโยชน์สูงยิ่ง เนื่องจากกล้วยเป็นพืชที่มีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของมนุษย์เป็นอย่างมาก

สีประจำสถาบัน[แก้]

สีประจำสถาบันฯ คือ สีเขียวอมฟ้า แสดงถึงการผสมผสานกลมกลืนระหว่างสีเขียว สื่อถึงชีวิต และสีฟ้า สื่อถึง จักรวาล

สถานที่จัดการเรียนการสอน[แก้]

สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน เปิดทำการเรียนการสอน โดยเปิดเป็นศูนย์การเรียนรู้เพื่อปวงชน (ศรป.)

ศูนย์เรียนรู้ของชุมชนเครือข่ายมหาวิทยาลัยชีวิต / ศูนย์เรียนรู้ประกอบการชุมชน (ศรช.) ในจังหวัดต่างๆ ได้แก่

สาขาวิชา[แก้]

สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน เปิดทำการสอนในระดับปริญญาตรี และระดับปริญญาโท คือ

  • ระดับปริญญาตรี คณะศิลปศาสตร์ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
    • สาขาวิชาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
    • สาขาวิชาการจัดการสุขภาพชุมชน
    • สาขาวิชาการจัดการการเกษตรยั่งยืน
    • สาขาวิชาการพัฒนาชีวิตและชุมชนแบบบูรณาการ
    • สาขาวิชาการพัฒนาชีวิตและประกอบการชุมชน
  • ระดับปริญญาโท บัณฑิตศึกษา หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
    • สาขาวิชาการสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
    • สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพชุมชน
    • สาขาวิชาการพัฒนาท้องถิ่นแบบบูรณาการ

อ้างอิง[แก้]

  1. สถิติอุดมศึกษา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  2. มหาวิทยาลัยชีวิตทางเลือกของผู้มีใจรักการศึกษา แต่ทุนน้อย เน้นผู้เรียนเป็นตัวตั้ง สู่การมีทักษะชีวิตที่พึ่งตนเองได้
  3. มหาวิทยาลัยชีวิต ทางเลือกของชีวิต
  4. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การจัดตั้งสถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชนราชกิจจานุบเกษา เล่ม 127 ตอนพิเศษ 121ง วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2553
  5. "สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน จัดพิธีประสาทปริญญาบัตร ประจำปีการศึกษา 2560-2561". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-04. สืบค้นเมื่อ 2022-09-04.