สถาบัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สถาบัน หมายถึง สิ่งซึ่งคนในส่วนรวม คือ สังคม จัดตั้งให้มีขึ้นเพราะเห็นประโยชน์ว่ามีความต้องการ และจำเป็นแก่วิถีชีวิตของตน เช่น สถาบันครอบครัว สถาบันศาสนา สถาบันการศึกษา สถาบันการเมือง

ความหมายทางสังคมวิทยาและสังคมศาสตร์[แก้]

สถาบันในทางการเมืองนั้น ได้มีการพูดถึงโดยนักสังคมวิทยา (sociologist) มาตั้งแต่ในช่วงศริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยสร้างทฤษฎีเกี่ยวกับพัฒนาการทางสังคมที่ประยุกต์มาจากทฤษฎีวิวัฒนาการ โดยมองว่าสังคมมนุษย์นั้นพัฒนาการจากสังคมที่มีความซับซ้อนทางสถาบันน้อย ไปสู่สังคมที่มีความซับซ้อนทางสถาบันที่มากขึ้น ซึ่งหากยึดตามทฤษฎีของนักสังคมวิทยาดังกล่าวก็พอจะประยุกต์กล่าวได้ว่าพัฒนาการของสถาบันทางการเมืองนั้นเกี่ยวพันกับระบบโครงสร้างทางสังคม และความเป็นสถาบันทางสังคม[1]

ในทางสังคมศาสตร์นั้น สถาบันคือรูปแบบของการบริหารจัดการในเรื่องใด ๆ ที่ถูกจัดตั้งขึ้นในลักษณะที่มีความเป็นทางการ สถาบันทางสังคมสามารถแบ่งแยกหยาบ ๆ ได้เป็น 4 ลักษณะ คือ[2]

  • เป็นสถาบันที่เกี่ยวกับอำนาจทางการเมือง (political power institution) คือสถาบันทางการเมือง ได้แก่ รัฐบาล และพรรคการเมือง
  • เป็นสถาบันที่การผลิตและการจัดสรรสินค้าและบริการทั้งในระดับปัจเจกบุคคล และระดับสาธารณะ (economic institution) คือสถาบันทางเศรษฐกิจ ได้แก่ องค์กรต่าง ๆ การทั้งของภาครัฐ และเอกชน
  • เป็นสถาบันในทางสังคม-วัฒนธรรม (socio-cultural institution) ที่คอยจัดระบบระเบียบในทางความเชื่อ, ค่านิยม, ความต้องการผลประโยชน์ และการแสดงออกในทางสังคม ได้แก่ องค์กรในทางศาสนา, กลุ่มผลประโยชน์, สมาคมต่าง ๆ ที่ทำงานในภาคสังคมและวัฒนธรรม
  • เป็นสถาบันทางเครือญาติ (kinship institution) ได้แก่ ครอบครัว, วงศาคณาญาติ รวมถึงสมาคมเครือญาติ

อ้างอิง[แก้]

  1. พิสิษฐิกุล แก้วงาม. มโนทัศน์ที่สำคัญในวิชาการพัฒนาการเมือง. มหาสารคาม : หลักสูตรสาขาวิชารัฐศาสตร์ วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม, 2553.
  2. Damien Kingsbury. Political Development. New York : Routledge, 2007, p. 10

แม่แบบ:โครงสังคม