วงเวียนใหญ่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
แผนที่
ผู้ออกแบบศิลป พีระศรี
ประเภทอนุสาวรีย์
เริ่มก่อสร้างพ.ศ. 2496
สร้างเสร็จ17 เมษายน พ.ศ. 2497
การเปิด28 ธันวาคม พ.ศ. 2497
อุทิศแด่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
วงเวียน ทางแยก
ภาพถ่ายจากด้านบนของวงเวียนใหญ่ เมื่อ พ.ศ. 2560
ชื่ออักษรไทยวงเวียนใหญ่
ชื่ออักษรโรมันWongwian Yai
รหัสทางแยกN109
ที่ตั้งแขวงบางยี่เรือ เขตธนบุรี
กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°43′34″N 100°29′37″E / 13.725977°N 100.493569°E / 13.725977; 100.493569พิกัดภูมิศาสตร์: 13°43′34″N 100°29′37″E / 13.725977°N 100.493569°E / 13.725977; 100.493569
ทิศทางการจราจร
ถนนประชาธิปก
» แยกบ้านแขก
ถนนลาดหญ้า
» แยกลาดหญ้า-ท่าดินแดง
ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน
» แยกตากสิน
ถนนอินทรพิทักษ์
» แยกบางยี่เรือ

วงเวียนใหญ่ เป็นวงเวียนที่ถนนประชาธิปก ถนนลาดหญ้า ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน และถนนอินทรพิทักษ์มาบรรจบกันในพื้นที่เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร เป็นที่ตั้งของพระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี บริเวณใกล้เคียงเป็นที่ตั้งของสถานีรถไฟวงเวียนใหญ่ ซึ่งเป็นสถานีต้นทางของทางรถไฟสายแม่กลอง (วงเวียนใหญ่-มหาชัย)

ประวัติ[แก้]

ภาพถ่ายวงเวียนใหญ่ ปรากฏในนิตยสารเมื่อปี 2497

พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2496 ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ออกแบบและควบคุมการหล่อโดยศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ศิลปินผู้ปั้นคือนายแสวง สงฆ์มั่งมี เป็นพระบรมรูปทรงเครื่องกษัตริย์ ประทับบนหลังม้า ทรงพระมาลา เบี่ยงหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้สู่จันทรบุรี พระหัตถ์ขวา ทรง พระแสงดาบชูออกไปเหนือพระเศียร พระหัตถ์ซ้ายทรงบังเหียน ท่านำพลรุกไล่ข้าศึก

โดยที่พระบรมราชานุสาวรีย์แห่งนี้ ทางรัฐบาลได้ให้ประชาชนออกเงินบริจาคสร้าง และเปิดโอกาสให้ได้ออกเสียงเลือกแบบด้วย ซึ่งเสียงส่วนใหญ่เลือกแบบในปัจจุบันนี้

ทางราชการได้ประกอบพระราชพิธีเปิดและถวายบังคมพระบรมราชาอนุสาวรีย์ ครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2497 และในวันที่ 28 ธันวาคม ปีเดียวกัน จึงมีรัฐพิธีเปิดเป็นทางการอีกครั้งหนึ่ง โดยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเสด็จพระราชดำเนินทรงวางพวงมาลา ถวายราชสักการะ

เนื่องจากในวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2310 เป็นวันที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงกอบกู้เอกราชชาติไทยกลับคืนหลังจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงธนบุรี ทางราชการจึงกำหนดให้วันที่ 28 ธันวาคม ของทุกปีเป็นวันถวายบังคมพระบรมราชาอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี จะมีพิธีบวงสรวงดวงพระวิญญาณของพระองค์ ที่พระบรมราชานุสาวรีย์ วงเวียนใหญ่

ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2548 กรุงเทพมหานครได้ปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์วงเวียนใหญ่ให้แลดูสวยงามขึ้น มีการติดตั้งไฟส่องพระบรมราชานุสาวรีย์ในเวลากลางคืน และมีอุโมงค์คนเดินจากทางเท้าเข้าไปถึงวงเวียนและตัวพระบรมราชานุสาวรีย์ได้ แล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551

จุดเชื่อมต่อการเดินทาง[แก้]

การเดินทางโดยรถโดยสารสาธารณะสู่วงเวียนใหญ่

บริการ สถานี/ป้ายหยุดรถ สายทาง
รถโดยสารประจำทาง ประชาธิปก 3  4  7  7ก  21  37  82  85  208  529 
ลาดหญ้า 3  20  43  84  89  105  111  4-21 (120) 
สถานีรถไฟวงเวียนใหญ่ 20  21  37  82  85  4-21 (120)  529 
บางยี่เรือ 4  7  7ก  9  42  43  84  84ก  89  111  208 
รถไฟชานเมือง สถานีรถไฟวงเวียนใหญ่ สายแม่กลอง

วงเวียนใหญ่ (สถานีวงเวียนใหญ่)[แก้]

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ[แก้]

  • Handicapped/disabled access เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์
สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
20 (1) เรือข้ามฟาก พระสมุทรเจดีย์ เรือข้ามฟาก ท่าดินแดง 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ)

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

ขสมก.
21 (1) วัดคู่สร้าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) 3.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ)

37 (1) แจงร้อน มหานาค 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ)

82 (1) เรือข้ามฟาก ท่าน้ำพระประแดง สนามหลวง 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ วงเวียนใหญ่