สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถาบันการอาชีวศึกษา
กรุงเทพมหานคร
ชื่อย่อสอก. / IVEB.
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาในกำกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
สถาปนา2557
อธิการบดีดร.ชมพูนุช บัวบังศร
อธิการบดีดร.ชมพูนุช บัวบังศร
นายกสภารศ.ดร.จีรเดช อู่สวัสดิ์
ที่ตั้ง
ศูนย์กลางเทคนิคราชสิทธาราม
19 ซอยเอกชัย 116 ถนนเอกชัย
แขวงบางบอนเหนือ เขตบางบอน
กรุงเทพมหานคร 10150
วิทยาเขต
สี   สีเลือดหมู สีเขียว
เว็บไซต์www.iveb.ac.th

สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร (อังกฤษ: Institute of Vocational Education: Bangkok) เป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เกิดจากการรวมตัวกันของกาญจนภิเษกวิทยาลัย ช่างทองหลวง วิทยาลัยเทคนิค วิทยาลัยพณิชยการ และวิทยาลัยอาชีวศึกษาในกลุ่มกรุงเทพมหานคร เพื่อทำหน้าที่ผลิตปัญญาชน คนอาชีวศึกษาสู่ตลาดแรงงานซึ่งในปัจจุบันถือว่ามีความต้องการสูง และเพิ่มอัตรากำลังคนอาชีวศึกษาให้ได้รับการศึกษาขั้นสูง โดยเปิดทำการสอนในระดับปริญญาตรี (สายปฏิบัติการ) ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) โดยมีศูนย์กลางตั้งอยู่ภายในวิทยาลัยเทคนิคราชสิทธาราม เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร

ดอกไม้ประจำสถาบัน[แก้]

ต้นสาละอินเดีย เป็นไม้ยืนต้น ลำต้นตรงงาม เป็นไม้เนื้อแข็งหมู่เดียวกับไม้เต็ง รัง และยาง นิยมนำมาทำเสาศาลาวัดโบราณ เป็นต้นไม้มงคลในพระพุทธศาสนา เมื่อคราวพระพุทธองค์ประสูตรและปรินิพพาน มีความเชื่อแต่โบราณว่า สาละเป็น ไม้นำโชค การปลูกสาละจะเป็นสิริมงคลแก่สถานที่ และบุคลากร เป็นที่ตั้งแห่งศรัทธรา สีของดอกสาละอินเดีย กลีบดอกด้านในมีสีแดง กลีบดอกด้านนอกมีสีเขียวอ่อนประกายสีทอง มีกลิ่นหอมอบอวล เปรียบเหมือนชื่อเสียงของสถาบันที่ขจรขจายไปทั่ว[1]

ตราสัญลักษณ์ประจำสถาบัน[แก้]

เป็น วงกลมสองชั้น วงกลมชั้นในพื้นหลังเป็นสีแดงเลือดหมู ประกอบด้วยดวงตราเสมาธรรมจักร และลายกนกหางหงส์ ด้านซ้ายและขวา ด้านล่างเสมาธรรมจักร จารึกอักษร ทุ.ส.นิ.ม. เป็นสีเหลืองทอง วงกลมชั้นนอกพื้นหลังเป็นสีขาว มีอักษรสีแดงเลือดหมู ด้านบนมีข้อความชื่อสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร ด้านล่างมีข้อความชื่อสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ระหว่างชื่อดังกล่าวคั่นด้วยดอกสาละ

สีประจำสถาบัน[แก้]

สีแดงเลือดหมู (Brown red) และสีเขียว (Grass green) เป็นสีที่แสดงถึง พลังอำนาจที่ส่งเสริมให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองและเติบโตอย่างต่อเนื่อง

  •   สีเลือดหมู หมายถึง ความสดชื่น กระปรี้กระเปร่า มีอำนาจสนับสนุนส่งเสริม ทำลายล้างสิ่งไม่ดี เสริมโชคลาภ รักษาระดับความเจริญรุ่งเรืองคงที่ และก้าวหน้าต่อเนื่อง และเป็นสีของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
  •   สีเขียว หมายถึง ตัวแทนของการเจริญเติบโต และความเจริญรุ่งเรือง การปรับเปลี่ยนอย่างต่อเนื่องและยังแสดงถึงความร่มเย็น เป็นสีประจำของกรุงเทพมหานคร

หน่วยงานในสังกัด[แก้]

หน่วยงาน[แก้]

  • สำนักงานผู้อำนวยการสถาบัน
  • สำนักพัฒนายุทธศาสตร์และและความร่วมมืออาชีวศึกษา
  • สำนักพัฒนาวิชาการและมาตรฐานทางการศึกษา
  • ศูนย์วิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา
  • อาชีวศึกษาบัณฑิต

วิทยาเขต[แก้]

หลักสูตร[แก้]

สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร เปิดสอนหลักสูตร 3 ระดับ โดยเปิดสอนทุกระดับในวิทยาเขต โดยมีหลักสูตรรวมทั้งหมดดังนี้

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ[แก้]

  1. ประเภทวิชาอุตสาหกรรม                                          
  2. ประเภทวิชาศิลปกรรม
  3. ประเภทวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร        
  4. ประเภทวิชาคหกรรม
  5. ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ                                          
  6. ประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว    

หลักสูตรประกาศนียบีตรวิชาชีพชั้นสูง[แก้]

  • ประเภทวิชาอุตสาหกรรม                                          
  • ประเภทวิชาศิลปกรรม
  • ประเภทวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร        
  • ประเภทวิชาคหกรรม
  • ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ                                          
  • ประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว    

หลักสูตรปริญญาตรี[แก้]

  • หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.)

 พิธีพระราชทานปริญญาบัตร[แก้]

งานพิธีพระราชทานปริญญาบัตรให้แก่สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร

รุ่นที่ 1 ปี 2560 [2]นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นพ้นที่พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตรให้แก่ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สายเทคโนโลยี จากสถาบันการอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ทั้ง 23 แห่ง ในวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2560 ซึ่งจะจัดขึ้น ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 วิทยาลัยการอาชีวศึกษาปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี โดยผู้ที่จะเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร เป็นผู้สำเร็จการศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2557 ถึง ปีการศึกษา 2559 รวมเป็นจำนวน 3,200 คน โดยแบ่งเป็นปีการศึกษา 2557 จำนวน 508 คน, ปีการศึกษา 2558 จำนวน 987 คน และปีการศึกษา 2559 จำนวน 1,705 คน และผลสำเร็จในครั้งนี้ เกิดขึ้นจากแผนยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาด้านวิชาชีพของอาชีวศึกษา ให้ดำเนินการจัดการศึกษาต่อเนื่องได้ถึงระดับปริญญาตรี โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา ปี พ.ศ. 2551 ให้สถาบันการอาชีวศึกษาเป็นสถาบันอุดมศึกษาด้านวิชาชีพและเทคโนโลยี มีเป้าหมายหลักในการผลิตและพัฒนากำลังคนให้เป็นผู้สร้างสรรค์นวัตกรรม เป็นบัณฑิตนักเทคโนโลยีสายปฏิบัติการ ที่สอดคล้องกับความต้องการของกำลังคนของประเทศ

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร
ประจำปี ผู้เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ สถานที่ หมายเหตุ
พ.ศ. 2560

(4 สิงหาคม พ.ศ. 2560)

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อาคารเฉลิมพระเกียรติในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 วิทยาลัยการอาชีวศึกษาปทุมธานี สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง ๑ เสด็จแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตรให้แก่ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี"สายเทคโนโลยี" จากสถาบันการอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ทั้ง 23 แห่ง

สังคมดำรงอยู่ได้ด้วยการกระทำประโยชน์เกื้อกูลกัน และทุกคนที่อยู่ร่วมกันย่อมเป็นทั้งผู้รับและผู้ให้ประโยชน์ บัณฑิตในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคม และเป็นบุคคลที่สังคมยอมรับในความรู้ความสารมารถ จึงควรประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นประโยชน์แก่สังคมทุกเมื่อ

— พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2550

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-08. สืบค้นเมื่อ 2017-05-13.
  2. "http://www.vec.go.th/%". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-21. สืบค้นเมื่อ 2017-05-13. {{cite web}}: แหล่งข้อมูลอื่นใน |title= (help)