มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
ตราพระราชลัญจกร
สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย
ชื่อย่อมรส. / SRU
คติพจน์สร้างปัญญา พัฒนาท้องถิ่น
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
สถาปนา15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 (19 ปี)
นายกสภาฯวิชัย ศรีขวัญ
อธิการบดีผศ.ดร.วัฒนา รัตนพรหม
รักษาราชการแทนอธิการบดี
ที่ตั้ง
เลขที่ 272 หมู่ 9 ตำบลขุนทะเล อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84100
สี████ สีฟ้า สีแดง
เว็บไซต์www.sru.ac.th

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (อังกฤษ: Suratthani Rajabhat University) เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ ตั้งอยู่ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เปิดการเรียนการสอนในระดับ ปริญญาตรี ปริญญาโท และ ปริญญาเอก เป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏอันดับกลางของประเทศ เป็นหนึ่งใน 4 มหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ของภาคใต้ และมีโครงการก่อสร้างอาคารใหม่รวมถึงเปิดคณะเพิ่มขึ้น

ประวัติ[แก้]

ในปี พ.ศ. 2516 ได้มีการจัดตั้ง "วิทยาลัยครูสุราษฎร์ธานี" โดยเปิดสอนในสาขาวิชาครุศาสตร์ หลังจากนั้น พ.ศ. 2528 ได้เพิ่มการเรียนการสอนในสาขาอื่น ๆ นอกจากครุศาสตร์ และได้รวมกับกลุ่มวิทยาลัยครูทางภาคใต้ 5 แห่ง จัดตั้ง "สหวิทยาลัยทักษิณ" โดยมีสำนักงานของสหวิทยาลัยครูอยู่ที่วิทยาลัยครูสุราษฎร์ธานี

ต่อมา ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานนาม “สถาบันราชภัฏ” แทนชื่อ "วิทยาลัยครู" มีผลให้ "วิทยาลัยครูสุราษฎร์ธานี" เปลี่ยนชื่อเป็น"สถาบันราชภัฏสุราษฎร์ธานี" และยกฐานะเป็น "มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี" ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา และเคยมีโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยภาคใต้ตอนบน โดยเป็นการยุบรวมมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานีเข้าด้วยกัน แต่ก็มีการยกเลิกโครงการไป

สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย[แก้]

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานนาม “ราชภัฏ” ซึ่งหมายความว่าปราชญ์ของพระราชาและพระราชทานตราพระราชลัญจกรประจำพระองค์ให้สถาบันราชภัฏได้อัญเชิญมาเป็นตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย มีลักษณะเป็นวงรีสองวงซ้อนกัน โดยวงรีวงนอกเป็นเส้นเดี่ยว ส่วนวงรีวงในเป็นเส้นคู่ ภายใต้วงรีด้านในมีตราพระราชลัญจกรประจำพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นรูปพระที่นั่งอัฐทิศประกอบด้วยวงจักร กลางวงจักรมีอักขระเป็นอุหรือเลข ๙ รอบวงจักรมีรัศมีเปล่งออกโดยรอบ เหนือจักรเป็นรูปเศวตฉัตรเจ็ดชั้น ตั้งอยู่บนพระที่นั่งอัฐทิศ แปลความหมายว่าทรงมีพระบรม เดชานุภาพในแผ่นดิน ระหว่างวงรีทั้งสองด้านบนเป็นอักษรภาษาไทยมีรูปทรงอักษรเป็นแบบล้านนาและอักษรขอมว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ด้านล่างเป็นอักษรภาษาอังกฤษ รูปทรงเป็นแบบอักษรโรมัน แบบ Gothic หรือตัวอักษรแบบ Old English ความว่า Suratthani Rajabhat University ความหมายของชุดอักษรไทยและอังกฤษดังกล่าวแทนค่าถึงความรู้สึกในการสื่อสารร่วมสมัยและแสดงความสูงส่งแห่งสถาบันพระมหากษัตริย์ สีของตราประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมี 5 สี โดยมีความหมาย ดังนี้

สีน้ำเงิน แทนค่าสถาบันพระมหากษัตริย์ผู้ให้กำเนิด และพระราชทานนาม “มหาวิทยาลัยราชภัฏ”

สีเขียว แทนค่าแหล่งที่ตั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏซึ่งอยู่ในแหล่งธรรมชาติและมีสภาพแวดล้อมที่สวยงาม

สีทอง แทนค่าความเจริญรุ่งเรืองทางภูมิปัญญา

สีส้ม แทนค่าความรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ก้าวไกลในมหาวิทยาลัยราชภัฏ

สีขาว แทนค่าความคิดอันบริสุทธิ์ของนักปราชญ์แห่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

คณะ[แก้]

ไฟล์:หอประชุมวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.jpg
หอประชุมวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

คณะครุศาสตร์[แก้]

หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.)[แก้]

สาขาวิชาประถมศึกษา จิตวิทยา และการแนะแนว

สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์

สาขาวิชาคณิตศาสตร์

สาขาวิชาภาษาไทย

สาขาวิชาภาษาอังกฤษ

สาขาวิชาสังคมศึกษา

สาขาวิชาศิลปศึกษา

สาขาวิชาคอมพิวเตอร์

สาขาวิชาเคมี

สาขาวิชาฟิสิกส์

สาขาวิชาชีววิทยา

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์[แก้]

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)[แก้]

  • สาขาวิชาการจัดการทางวัฒนธรรม
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ
  • สาขาวิชาภาษาไทยธุรกิจ
  • สาขาวิชาภาษาไทย (สำหรับนักศึกษาจีน)
  • สาขาวิชาภาษาจีน (สำหรับนักศึกษาไทย)
  • สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์
  • สาขาวิชาการพัฒนาชุมชนและองค์กร

หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (ศป.บ.)[แก้]

  • สาขาวิชาดนตรีสากล
    • แขนงโยธวาทิต
    • แขนงดนตรีสมัยนิยม
  • สาขาวิชาจิตกรรม

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รป.บ.)[แก้]

  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต (ร.บ.)[แก้]

  • สาขาวิชาการเมืองการปกครอง

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี[แก้]

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)[แก้]

  • สาขาวิชาฟิสิกส์
  • สาขาวิชาชีววิทยา
  • สาขาวิทยาศาสตร์การอาหาร
  • สาขาวิชาเคมี
  • สาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดียและแอนิเมชัน
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน
  • สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
  • สาขาวิชาพืชศาสตร์
  • สาขาวิชาสัตวศาสตร์
  • สาขาวิชาการจัดการภัยพิบัต
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม
  • สาขาวิชาไฟฟ้าอุตสาหกรรม
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม (หลักสูตรเทียบ)
  • สาขาวิชาไฟฟ้าอุตสาหกรรม (หลักสูตรเทียบ)

คณะวิทยาการจัดการ[แก้]

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.)[แก้]

  • สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร
  • สาขาวิชาการตลาด
  • สาขาวิชาการตลาด 3+1 (เรียน 3 ปี ฝึกงาน 1 ปี)
  • สาขาวิชาการจัดการทั่วไป
  • สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์
  • สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
  • สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์
  • สาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีก
  • สาขาวิชาธุรกิจการเกษตร
  • สาขาวิชาการจัดการธุรกิจอาหาร

หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต (ศ.บ.)[แก้]

  • สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์

หลักสูตรบัณชีบัณฑิต (บช.บ.)[แก้]

  • สาขาวิชาบัญชี

หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต (นศ.บ.)[แก้]

  • สาขาวิชานิเทศศาสตร์
    • แขนงวิชานิเทศศาสตร์ประชาสัมพันธ์
    • แขนงวิชานิเทศศาสตร์การสื่อสารมวลชน

คณะนิติศาสตร์[แก้]

หลักสูตรนิติศาสตร์บัณฑิต (น.บ.)[แก้]

  • สาขาวิชานิติศาสตร์
  • สาขาวิชานิติศาสตร์ (ภาคบัณฑิต)

คณะพยาบาลศาสตร์[แก้]

หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (พย.บ.)[แก้]

  • สาขาพยาบาลศาสตร์

วิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว[แก้]

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.)[แก้]

  • สาขาการจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและการบริการระหว่างประเทศ
    • แขนงวิชาการจัดการโรงแรม

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)[แก้]

  • สาขาธุรกิจการบิน
  • สาขาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

บัณทิตวิทยาลัย[แก้]

หลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต[แก้]

  • สาขาวิชาภาวะผู้นำการจัดการศึกษา

หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต[แก้]

  • สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
  • สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
  • สาขาคณิตศาสตร์ศึกษา
  • สาขาการสอนภาษาอังกฤษเพื่อวิชาการและงานอาชีพ
  • สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต[แก้]

  • สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
  • สาขาการจัดการชุมชนท้องถิ่น

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต[แก้]

  • สาขาวิชาบริหารธุรกิจ

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต[แก้]

  • สาขาสิ่งแวดล้อมศึกษา

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต[แก้]

  • สาขารัฐประศาสนศาสตร์

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต[แก้]

  • สาขาสาธารณสุขศาสตร์

หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต[แก้]

  • สาขาวิชาการเมืองการปกครอง

หลักสูตรประกาศนียบัตร (ป.บัณฑิตวิชาชีพครู)[แก้]

  • สาขาวิชาชีพครู (สำหรับผู้ที่ไม่ได้จบวุฒิครูในปริญญาตรีสาขาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ แต่ต้องเป็นครูอัตราจ้างสอนในสถานศึกษาเท่านั้น)

วิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว[แก้]

วิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นคณะที่ 6 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เมื่อเดือนเมษายน 2548 ดำเนินการจัดการเรียนการสอน สำหรับนักศึกษาภาคปกติและนักศึกษา ภาค กศ.บท. เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาให้กับประชาชนในท้องถิ่น ทั้งในมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี วิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยวอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว แขนงธุรกิจการบิน ให้แก่พนักงานของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ที่กรุงเทพมหานคร ตามข้อตกลงโครงการความร่วมมือทางวิชาการและเทคโนโลยีระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี กับ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) อีกด้วย

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต[แก้]

  • สาขาวิชาธุรกิจการบิน 4 ปี
  • สาขาการท่องเที่ยวและการโรงแรม 4 ปี

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต[แก้]

  • สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและการบริการระหว่างประเทศ 4 ปี
    • แขนงการจัดการโรงแรม

หน่วยงาน[แก้]

  • สภามหาวิทยาลัย
  • สำนักงานอธิการบดี
  • สำนักจัดการทรัพย์สิน
  • สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน
  • สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
  • สำนักงานกิจการภายนอก
  • สถาบันวิจัยและพัฒนา
  • สำนักประกันคุณภาพการศึกษา
  • โครงการจัดตั้งศูนย์อาเซียนและพัฒนา

ศูนย์[แก้]

  • ศูนย์คอมพิวเตอร์และสารสนเทศ
  • ศูนย์ภาษา
  • หอสมุดกลาง
  • ศูนย์วิทยาศาสตร์
  • ศูนย์เอกสารตำรา
  • ศูนย์วิทยสนเทศ AIC
  • ศูนย์สหกิจศึกษา
  • ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • ศูนย์เครือข่าย สมศ. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

ฝ่าย/กอง[แก้]

  • กองแผนงาน
  • กองกลาง
  • กองการเจ้าหน้าที่
  • กองคลัง
  • งานพัสดุ
  • กองพัฒนานักศึกษา
  • กองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น
  • กองตรวจสอบภายใน
  • ฝ่ายสื่อสารองค์กร

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]