มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์

พิกัด: 13°49′23″N 100°27′33″E / 13.82293°N 100.45929°E / 13.82293; 100.45929
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์
ชื่อย่อมรพ. / RPU
คติพจน์สถาบันแห่งการเรียนรู้ยุคใหม่ คุณภาพ คุณธรรม นำหน้าสูสากล
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
สถาปนา20 เมษายน พ.ศ. 2549 (17 ปี)
นายกสภาฯศาสตราจารย์ ไชยยศ เหมะรัชตะ
อธิการบดีดร .อณาวุฒิ ชูทรัพย์
ผู้ศึกษา3,373 คน (2566)[1]
ที่อยู่
เลขที่ 9 หมู่ 1 ถนนนครอินทร์
,
ตำบลบางขนุน
, ,
11130
,
ประเทศไทย
วิทยาเขตมหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ นพวงศ์
เลขที่ 22/9 หมู่ 3 แยกนพวงศ์ ตำบลหน้าไม้ อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี
มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ภูเก็ต
เลขที่ 224/9 ถนนเทพกระษัตรี-โกมารภัจจ์ ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต 83000
เพลงเพชรราชพฤกษ์
ต้นไม้ราชพฤกษ์
สี  เหลือง
  เงิน
เว็บไซต์www.rpu.ac.th

มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ (อังกฤษ: Rajapruk University) เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาสถาบันที่ 9 ของสถาบันในเครือตั้งตรงจิตร ที่เกิดจากปณิธานของ ดร.กมล ชูทรัพย์ ผู้ก่อตั้งสถาบันในเครือตั้งตรงจิตร และ ดร.วิภาพรรณ ชูทรัพย์ ประธานคณะกรรมการ บริหารสถาบัน ในเครือตั้งตรงจิตร จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2549[2] เปิดสอนในระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท และระดับปริญญาเอก

ประวัติ[แก้]

มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ จัดตั้งขึ้นเป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชน เมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2549 และได้ก่อสร้างอาคารเรียนหลังแรกเป็นอาคาร 5 ชั้น โดยใช้ชื่อว่า "อาคารเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี" ประกอบไปด้วยห้องเรียน ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ศูนย์การเรียนรู้การค้นคว้าและวิจัย (Learning and Research Center) สำนักงานอธิการบดี ฯลฯ และในปีการศึกษา 2552 มหาวิทยาลัยได้เปิดอาคาร ดร.กมล ชูทรัพย์ ซึ่งเป็นอาคารเรียน 8 ชั้น เพื่อรองรับนิสิต คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว คณะนิเทศศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ อีกทั้งได้จัดสร้างศูนย์ค้นคว้าและนวัตกรรมการเรียนรู้ (สำนักหอสมุด) เพื่อให้บริการแก่นิสิต คณาจารย์ และบุคลากรของมหาวิทยาลัย

ต่อมาในปี พ.ศ. 2557 ได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนประเภทจากวิทยาลัยเป็น "มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์" ตั้งแต่วันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2557[3]

สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย[แก้]

ตราประจำมหาวิทยาลัย[แก้]

1. วงกลม หมายถึง องค์ความรู้ที่เกิดปัญญาในการพัฒนาทักษะวิชาชีพซึ่งเป็นพลวัตรสร้างสรรค์คุณค่าต่อสังคมและประเทศชาติอย่างไม่หยุดยั้ง

2. รูปหนังสือแฉกมีความหมายได้ 3 ประการ คือ

- หนังสือเปรียบเหมือนสรรพวิชาต่าง ๆ

- แสงสว่างเจิดจ้าเปรียบเหมือนการพัฒนาปัญญาอย่างต่อเนื่อง

- กิ่งก้านของต้นราชพฤกษ์เปรียบเสมือนความเป็นมงคลความดีงาม ความมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี

3. รูปหมวกปริญญา หมายถึง ความเป็นสถาบัน

4. รูปเทียน หมายถึง แสงสว่างเจิดจ้าจากการได้รับความรู้จากมหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ทำให้ชีวิตเจิดจรัสดังแสงเทียนที่สว่างไสว

สรุปความหมายรวม “ความสว่างเจิดจ้าในสรรพวิชาต่างๆ ที่พัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งและจรรโลงไว้ซึ่ง คุณธรรมประจำตน”

ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย[แก้]

ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย คือ ต้นราชพฤกษ์หรือต้นคูน เป็นไม้ประจำชาติไทย โดยชื่อมีความหมายว่าเป็นราชาแห่งต้นไม้ เป็นไม้ยืนต้น มีความอดทนสูง เหมาะที่จะปลูกทั่วไปในทุกภูมิภาคของประเทศ ออกดอกประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน เป็นไม้มงคลแสดงถึงความมีคุณธรรม ความสงบ ความเจริญรุ่งเรือง

สรุปความหมายรวม ความสว่างเจิดจ้าในสรรพวิชาต่างๆ ที่พัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งและจรรโลงไว้ซึ่งคุณธรรมประจำตน

สีประจำมหาวิทยาลัย[แก้]

สีเหลือง หมายถึง ความมีคุณธรรม จริยธรรม

สีเงิน หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง

คณะที่เปิดสอนปัจจุบันมหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ เปิดสอนนิสิตในระดับปริญญาตรี จำนวน 5 คณะ 10 สาขาวิชา คือ[แก้]

  1. คณะบริหารธุรกิจ ประกอบด้วย 5 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาการตลาดดิจิทัล สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ สาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน และสาขาวิชาการจัดการธุรกิจยุคดิจิทัล
  2. คณะบัญชี ประกอบด้วย สาขาวิชาการบัญชี
  3. คณะนิเทศศาสตร์ ประกอบด้วย สาขาวิชาคอนเทนต์การโฆษณาและการประชาสัมพันธ์
  4. คณะสาธารณสุขศาสตร์ ประกอบด้วย สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
  5. คณะเทคโนโลยีดิจิทัล ประกอบด้วย 2 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อธุรกิจ

และเปิดสอนนิสิตในระดับสูงกว่าปริญญาตรี จำนวน 5 หลักสูตร คือ

  1. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การบริหารธุรกิจ)
  2. หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา)
  3. หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต
  4. หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต)
  5. หลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา)

ทั้งนี้ ในปัจจุบันมหาวิทยาลัยราชพฤกษ์จัดการเรียนการสอนแบ่งเป็น 3 แห่ง ได้แก่

  1. มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ นนทบุรี เปิดสอนนิสิตระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท และระดับปริญญาเอก
  2. มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ นพวงศ์ เปิดสอนเฉพาะนิสิตระดับปริญญาตรี
  3. มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ภูเก็ต เปิดสอนเฉพาะนิสิตระดับปริญญาตรี

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

เว็บไซต์มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์

13°49′23″N 100°27′33″E / 13.82293°N 100.45929°E / 13.82293; 100.45929