โอลิมปิกฤดูหนาว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว
Winter Olympic Games
ตราวงแหวนโอลิมปิก
ชื่อย่อOlympiad
คำขวัญCitius, Altius, Fortius
เร็วขึ้น, สูงขึ้น, แกร่งขึ้น
ก่อตั้งครั้งที่ 1 ที่ชาโมนิกซ์
ฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
จัดขึ้นทุก4 ปี
ครั้งล่าสุดครั้งที่ 24 ที่ปักกิ่ง
จีน จีน
วัตถุประสงค์กีฬาฤดูหนาวสำหรับนานาชาติ
สำนักงานใหญ่คณะกรรมการโอลิมปิกสากล
สวิตเซอร์แลนด์ โลซาน, สวิตเซอร์แลนด์
ประธานเยอรมนี โทมัส บัค
เว็บไซต์คณะกรรมการโอลิมปิกสากล

โอลิมปิกฤดูหนาว (อังกฤษ: Winter Olympic Games) เป็นการแข่งขันระดับโอลิมปิกด้านกีฬาฤดูหนาวที่จัดขึ้นทุก 4 ปี ลักษณะของกีฬาฤดูหนาวจะจัดขึ้นในภูมิประเทศที่เป็นน้ำแข็งหรือหิมะ เช่นสเกตน้ำแข็งและสกี โดยคณะกรรมการโอลิมปิกของชาติต่าง ๆ (NOCs) บางประเทศนั้นจะเป็นคณะเดียวกันกับโอลิมปิกฤดูร้อนที่จะเป็นผู้ส่งนักกีฬาเข้าแข่งขันกับนักกีฬาของชาติอื่น เพื่อชิงเหรียญทอง เหรียญเงิน และเหรียญทองแดง

สำหรับจำนวนประเทศที่มีส่วนร่วมในกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวน้อยกว่าโอลิมปิกฤดูร้อน ด้วยเหตุผลชัดเจนของสภาพภูมิประเทศ และประเทศส่วนใหญ่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร ซึ่งไม่มีโอกาสที่จะเข้าถึงการฝึกกีฬาฤดูหนาวนั่นเอง ทั้งนี้ การแข่งขันครั้งแรก จัดขึ้นที่เมืองชาโมนิคซ์ ประเทศฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. 2467 (ค.ศ. 1924) ส่วนการแข่งขันครั้งล่าสุด จัดขึ้นที่เมืองปักกิ่ง ประเทศจีน ใน พ.ศ. 2565 (ค.ศ. 2022)

สรุปเหรียญโอลิมปิกตลอดกาล[แก้]

   อดีตประเทศ
No. ประเทศ เหรียญทอง เหรียญเงิน เหรียญทองแดง รวม เข้าร่วม
1 ประเทศนอร์เวย์ นอร์เวย์ (NOR) 148 133 124 405 24
2 สหรัฐ สหรัฐ (USA) 113 122 95 330 24
3 ประเทศเยอรมนี เยอรมนี (GER) 102 98 65 267 13
4 สหภาพโซเวียต สหภาพโซเวียต (URS) 78 57 59 194 9
5 ประเทศแคนาดา แคนาดา (CAN) 77 72 80 229 24
6 ประเทศออสเตรีย ออสเตรีย (AUT) 71 88 91 250 24
7 ประเทศสวีเดน สวีเดน (SWE) 65 61 60 166 24
8 ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ (SUI) 63 47 57 167 24
9 ประเทศเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ (NED) 53 49 45 147 22
10 ประเทศรัสเซีย รัสเซีย (RUS) 47 39 35 121 6
11 ประเทศฟินแลนด์ ฟินแลนด์ (FIN) 45 65 65 175 24
12 ประเทศอิตาลี อิตาลี (ITA) 42 43 55 141 24
13 ประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส (FRA) 41 47 55 138 24
14 สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี เยอรมนีตะวันออก (GDR) 39 36 35 110 6
15 ประเทศเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ (KOR) 32 30 16 78 19
16 ประเทศจีน จีน (CHN) 22 32 23 77 19
17 ประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น (JPN) 17 28 31 76 23
18 สหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร (GBR) 12 5 17 34 24
19 สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เยอรมนีตะวันตก (FRG) 11 15 13 39 6
20 ประเทศเช็กเกีย เช็กเกีย (CZE) 10 11 12 33 7

เจ้าเหรียญทองแบ่งตามปี[แก้]

รายชื่อเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูหนาว[แก้]

แผนที่แสดงประเทศที่เคยเป็นเจ้าภาพ โดยสีเขียวหมายถึงประเทศที่เคยเป็นเจ้าภาพหนึ่งครั้ง และสีน้ำเงินคือประเทศที่เคยเป็นเจ้าภาพสองครั้งหรือมากกว่า
ครั้งที่ ปี เจ้าภาพ เปิดโดย วันที่ ชาติที่เข้าร่วม ผู้เข้าแข่งขัน ชนิดกีฬา เหรียญ
ทั้งหมด ชาย หญิง
I 1924 ฝรั่งเศส ชามอนี, ฝรั่งเศส ปลัดกระทรวงกัสตง วีดัล 25 มกราคม – 5 กุมภาพันธ์ 16 258 247 11 6 16
II 1928 สวิตเซอร์แลนด์ ซังคท์โมริทซ์, สวิตเซอร์แลนด์ ประธานาธิบดีเอ็ดมันด์ ชูเทส 11 – 19 กุมภาพันธ์ 25 464 438 26 4 14
III 1932 สหรัฐ เลกแพลซิด, สหรัฐ ผู้ว่าการมลรัฐแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ 4 – 15 กุมภาพันธ์ 17 252 231 21 4 14
IV 1936 นาซีเยอรมนี การ์มิช-พาร์เทินเคียร์เชิน, เยอรมนี นายกรัฐมนตรีอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ 6 – 16 กุมภาพันธ์ 28 646 566 80 4 17
- 1940 กำหนดให้จัดที่เมืองซัปโปะโระ ประเทศญี่ปุ่น แต่ถูกยกเลิกเพราะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2
- 1944 กำหนดให้จัดที่เมืองกอร์ตีนาดัมเปซโซ ประเทศอิตาลี แต่ถูกยกเลิกเพราะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2
V 1948 สวิตเซอร์แลนด์ ซังคท์โมริทซ์, สวิตเซอร์แลนด์ ประธานาธิบดีเอ็นริโค เชลีโอ 30 มกราคม – 8 กุมภาพันธ์ 28 669 592 77 4 22
VI 1952 นอร์เวย์ ออสโล, นอร์เวย์ เจ้าหญิงรัญฮิลด์ 14 – 25 กุมภาพันธ์ 30 694 585 109 4 22
VII 1956 อิตาลี กอร์ตีนาดัมเปซโซ, อิตาลี ประธานาธิบดีจิโอวานี กรองกี 26 มกราคม – 5 กุมภาพันธ์ 32 821 687 134 4 24
VIII 1960 สหรัฐ สคอว์วัลเลย์, สหรัฐ รองประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน 18 – 28 กุมภาพันธ์ 30 665 521 144 4 27
IX 1964 ออสเตรีย อินส์บรุค, ออสเตรีย ประธานาธิบดีอดอล์ฟ ชาร์ฟ 29 มกราคม – 9 กุมภาพันธ์ 36 1091 892 199 6 34
X 1968 ฝรั่งเศส เกรอนอบล์, ฝรั่งเศส ประธานาธิบดีชาร์ล เดอ โกล 6 – 18 กุมภาพันธ์ 37 1158 947 211 6 35
XI 1972 ญี่ปุ่น ซัปโปะโระ, ญี่ปุ่น สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะ 3 – 13 กุมภาพันธ์ 35 1006 801 205 6 35
XII 1976 ออสเตรีย อินส์บรุค, ออสเตรีย ประธานาธิบดีรูด็อล์ฟ เคียร์ชชเลเกอร์ 4 – 15 กุมภาพันธ์ 37 1123 892 231 6 37
XIII 1980 สหรัฐ เลกแพลซิด, สหรัฐ รองประธานาธิบดีวอลเตอร์ มอนเดล 13 – 24 กุมภาพันธ์ 37 1072 840 232 6 38
XIV 1984 สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย ซาราเยโว, ยูโกสลาเวีย ประธานาธิบดีมิกา สปิลจัก 8 – 19 กุมภาพันธ์ 49 1272 998 274 6 39
XV 1988 แคนาดา แคลกะรี, แคนาดา ผู้สำเร็จราชการชอน โซฟว์ 13 – 28 กุมภาพันธ์ 57 1423 1122 301 6 46
XVI 1992 ฝรั่งเศส อาลแบร์วีล, ฝรั่งเศส ประธานาธิบดีฟรองซัวส์ มิตแตร์รองด์ 8 – 23 กุมภาพันธ์ 64 1801 1313 488 7 57
XVII 1994 นอร์เวย์ ลิลเลฮัมเมร์, นอร์เวย์ สมเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5 12 – 27 กุมภาพันธ์ 67 1737 1215 522 6 61
XVIII 1998 ญี่ปุ่น นางาโนะ, ญี่ปุ่น สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ 7 – 22 กุมภาพันธ์ 72 2176 1389 787 7 68
XIX 2002 สหรัฐ ซอลต์เลกซิตี, สหรัฐ ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช 8 – 24 กุมภาพันธ์ 77 2399 1513 886 7 78
XX 2006 อิตาลี ตูริน, อิตาลี ประธานาธิบดีคาร์โล อาเซกลิโอ ชัมปี 10 – 26 กุมภาพันธ์ 80 2508 1548 960 7 84
XXI 2010 แคนาดา แวนคูเวอร์, แคนาดา ผู้สำเร็จราชการมีชาแอล ชอง 12 – 28 กุมภาพันธ์ 82 2566 1522 1044 7 86
XXII 2014 รัสเซีย โซชี, รัสเซีย ประธานาธิบดีวลาดีมีร์ ปูติน 7 – 23 กุมภาพันธ์ 88 2873 1714 1159 7 98
XXIII 2018 เกาหลีใต้ พย็องชัง, เกาหลีใต้ ประธานาธิบดีมุน แจ-อิน 9 – 25 กุมภาพันธ์ 92 2922 1680 1242 7 98
XXIV 2022 จีน ปักกิ่ง, จีน ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง 4 – 20 กุมภาพันธ์
XXV 2026 อิตาลี มิลาน และกอร์ตีนาดัมเปซโซ, อิตาลี ประธานาธิบดีแห่งอิตาลี 6 – 22 กุมภาพันธ์ ยังไม่เกิดขึ้น

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]