ข้ามไปเนื้อหา

ประเทศมองโกเลียในโอลิมปิก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประเทศมองโกเลีย
ในโอลิมปิก
รหัสไอโอซีMGL
เอ็นโอซีคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติมองโกเลีย
เว็บไซต์www.olympic.mn (ในภาษามองโกเลีย)
เหรียญ
อันดับ 89
ทอง
2
เงิน
12
ทองแดง
17
รวม
31
การเข้าร่วมในกีฬาฤดูร้อน
การเข้าร่วมในกีฬาฤดูหนาว

ประเทศมองโกเลีย เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งแรกในปี ค.ศ. 1964 และได้ส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนทั้งหมดยกเว้นหนึ่งครั้งตั้งแต่นั้นมา โดยเป็นส่วนหนึ่งของการคว่ำบาตรโอลิมปิกฤดูร้อน 1984 ที่นำโดยสหภาพโซเวียต[1] มองโกเลียได้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวตั้งแต่ปี ค.ศ. 1964 โดยขาดเพียงการแข่งขันกีฬาฤดูหนาว ค.ศ. 1976 เท่านั้น

นักกีฬาชาวมองโกเลียได้รับเหรียญรางวัลทั้งหมด 30 เหรียญจากการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน มวยปล้ำฟรีสไตล์ มวยสากล ยิงปืน และยูโด ก่อนโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 มองโกเลียได้รับเหรียญเงินและเหรียญทองแดงมากกว่าประเทศอื่น มองโกเลียได้เหรียญทองเป็นครั้งแรกจากกีฬายูโด โดยที่ ไนดังกิอิน ทุฟชินบายาร์ ชนะในประเภทฮาล์ฟเฮฟวี่เวทชาย นักกีฬาระดับนานาชาติที่ประสบความสำเร็จคนแรกจากมองโกเลียคือนักมวยปล้ำ จิกจิดิอิน มึนค์บัต สิถิติของเขาได้แก่ ในปี ค.ศ. 1967 เขาได้รับเหรียญทองแดงในการแข่งขันชิงแชมป์โลก ปีถัดไปเขาได้รับเหรียญเงินในโอลิมปิกฤดูร้อน (ชนะ - 4, เสมอ - 2, แพ้ - 0)

คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติมองโกเลียก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1956 และได้รับการยอมรับจากคณะกรรมการโอลิมปิกสากลเมื่อปี ค.ศ. 1962

สรุปเหรียญรางวัล

[แก้]

โอลิมปิกฤดูร้อน

[แก้]
ปีการแข่งขัน นักกีฬา ทอง เงิน ทองแดง รวม อันดับ
ประเทศญี่ปุ่น 1964 โตเกียว 21 0 0 0 0 -
ประเทศเม็กซิโก 1968 เม็กซิโกซิตี 16 0 1 3 4 34
ประเทศเยอรมนีตะวันตก 1972 มิวนิก 29 0 1 0 1 33
ประเทศแคนาดา 1976 มอนทรีออล 33 0 1 0 1 34
สหภาพโซเวียต 1980 มอสโก 43 0 2 2 4 27
สหรัฐอเมริกา 1984 ลอสแอนเจลิส ไม่ได้เข้าร่วม
ประเทศเกาหลีใต้ 1988 โซล 13 0 0 1 1 46
ประเทศสเปน 1992 บาร์เซโลนา 33 0 0 2 2 52
สหรัฐอเมริกา 1996 แอตแลนตา 16 0 0 1 1 72
ประเทศออสเตรเลีย 2000 ซิดนีย์ 20 0 0 0 0 -
ประเทศกรีซ 2004 เอเธนส์ 20 0 0 1 1 71
ประเทศจีน 2008 ปักกิ่ง 29 2 2 0 4 31
สหราชอาณาจักร 2012 ลอนดอน 29 0 2 3 5 56
ประเทศบราซิล 2016 รีโอเดจาเนโร 43 0 1 1 2 67
ประเทศญี่ปุ่น 2020 โตเกียว 43 0 1 3 4 71
ประเทศฝรั่งเศส 2024 ปารีส 32 0 1 0 1 74
สหรัฐอเมริกา 2028 ลอสแอนเจลิส อนาคต
ประเทศออสเตรเลีย 2032 บริสเบน
รวม 2 11 17 30 89

โอลิมปิกฤดูหนาว

[แก้]
ปีการแข่งขัน นักกีฬา ทอง เงิน ทองแดง รวม อันดับ
ประเทศออสเตรีย 1964 อินส์บรุค 13 0 0 0 0 -
ประเทศฝรั่งเศส 1968 เกรอนอบล์ 7 0 0 0 0 -
ประเทศญี่ปุ่น 1972 ซัปโปโระ 4 0 0 0 0 -
ประเทศออสเตรีย 1976 อินส์บรุค ไม่ได้เข้าร่วม
สหรัฐอเมริกา 1980 เลกแพลซิด 3 0 0 0 0 -
สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย 1984 ซาราเยโว 4 0 0 0 0 -
ประเทศแคนาดา 1988 แคลกะรี 3 0 0 0 0 -
ประเทศฝรั่งเศส 1992 อัลแบร์วิล 4 0 0 0 0 -
ประเทศนอร์เวย์ 1994 ลิลเลอฮาเมอร์ 1 0 0 0 0 -
ประเทศญี่ปุ่น 1998 นางาโนะ 3 0 0 0 0 -
สหรัฐอเมริกา 2002 ซอลต์เลกซิตี 4 0 0 0 0 -
ประเทศอิตาลี 2006 ตูริน 2 0 0 0 0 -
ประเทศแคนาดา 2010 แวนคูเวอร์ 2 0 0 0 0 -
ประเทศรัสเซีย 2014 โซชี 2 0 0 0 0 -
ประเทศเกาหลีใต้ 2018 พย็องชัง 2 0 0 0 0 -
ประเทศจีน 2022 ปักกิ่ง 2 0 0 0 0 -
ประเทศอิตาลี 2026 มิลาน/กอร์ตีนา อนาคต
รวม 0 0 0 0 -


อ้างอิง

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]