เจ้าหญิงรัญฮิลด์แห่งนอร์เวย์
เจ้าหญิงรัญฮิลด์แห่งนอร์เวย์ | |
---|---|
![]() | |
พระนามเต็ม | รัญฮิลด์ อเล็กซันดรา |
พระอิสริยยศ | เจ้าหญิงแห่งนอร์เวย์ |
ฐานันดรศักดิ์ | เฮอร์ไฮนิส |
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์-ซอนเดอร์บวร์ก-กลึคสบวร์ก |
ข้อมูลส่วนพระองค์ | |
ประสูติ | 9 มิถุนายน พ.ศ. 2473 กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ |
สิ้นพระชนม์ | 16 กันยายน พ.ศ. 2555 (82 ปี) รีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล |
พระราชบิดา | สมเด็จพระราชาธิบดีโอลาฟที่ 5 แห่งนอร์เวย์ |
พระราชมารดา | เจ้าหญิงมาร์ธาแห่งสวีเดน |
พระสวามี | แอร์ลิง ลอเรนต์ซัน (ค.ศ. 1953-2012) |
พระบุตร | โฮกุ้น ลอเรนต์ซัน อิงเงอร์บอร์ก ลอเรนต์ซัน รัญฮิลด์ ลอเรนต์ซัน |
เจ้าหญิงรัญฮิลด์ อเล็กซันดราแห่งนอร์เวย์ (ประสูติ 9 มิถุนายน ค.ศ. 1930 ณ พระราชวังหลวง กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ - สิ้นพระชนม์ 16 กันยายน ค.ศ. 2012 ณ รีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล) พระราชธิดาองค์แรกในสมเด็จพระราชาธิบดีโอลาฟที่ 5 แห่งนอร์เวย์ กับเจ้าหญิงมาร์ธาแห่งสวีเดน[1] เป็นพระเชษฐภคินีในเจ้าหญิงอัสตริดแห่งนอร์เวย์ และสมเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5 แห่งนอร์เวย์
เสกสมรส[แก้]
เจ้าหญิงรัญฮิลด์ได้เสกสมรสกับนายเอิร์ลลิง สเวน ลอเรนต์เซน เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1953 ที่โบสถ์อัสแกร์ ต่อมาพระองค์ต้องสละพระอิสริยยศระดับ Her Royal Highness และมีพระยศเป็น เจ้าหญิงแห่งนอร์เวย์, นางลอเรนต์เซน[2] หลังจากการเสกสมรสพระองค์ได้เสด็จไปประทับยังนครรีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล ตราบจนสิ้นพระชนม์[2] ทรงมีโอรส-ธิดาทั้งหมด 3 คน ได้แก่
- นายโฮกุน ลอเรนต์เซน (เกิด 23 สิงหาคม ค.ศ. 1954)
- นางอิงเงบอร์ก ริเบย์โร (เกิด 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1957)
- นางรัญฮิลด์ ลอง (เกิด 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1968)
พระองค์ต่อสาธารณชน[แก้]
พระองค์ได้ประทานสัมภาษณ์รณรงค์ให้ประชาชนหยุดวิพากษ์วิจารณ์ เจ้าหญิงมาร์ธา ลุยเซอ และมกุฎราชกุมารโฮกุน มักนุส ผู้เป็นพระภาติยะของพระองค์เกี่ยวกับการเลือกคู่ครองของทั้งสองพระองค์ ที่ออกอากาศทางช่อง TV 2 ซึ่งเป็นช่องโทรทัศน์ที่ออกกาศภายในประเทศนอร์เวย์เองในปี ค.ศ. 2004[3]
พระองค์ทรงมีความเห็นส่วนพระองค์ว่า การเสกสมรสของพระบรมวงศานุวงศ์ในรุ่นปัจจุบันอาจสร้างข้อถกเถียงแก่สถาบันพระมหากษัตริย์แห่งนอร์เวย์ได้ ทั้งยังทรงปรารถนาว่า พระองค์จะสิ้นพระชนม์ไปเสีย ก่อนที่มกุฎราชกุมารีเมตเต-มาริตจะขึ้นเป็นราชินี[3]
มีความพยายามของพระสวามีในเจ้าหญิง ที่จะให้ TV 2 แก้ไขเกี่ยวถ้อยคำในพระดำรัสอันเสียดสีของเจ้าหญิงออกซึ่งก็ไม่เป็นผล[3]
สิ้นพระชนม์[แก้]
เจ้าหญิงรัญฮิลด์แห่งนอร์เวย์ สิ้นพระชนม์ในที่ประทับในนครรีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล เมื่อวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 2012[4] หลังจากทรงพระประชวรเป็นระยะเวลานาน สิริพระชนมายุได้ 82 พรรษา[5] ซึ่งพระศพถูกฝังลง ณ โบสถ์ในเมืองอัสแกร์ ประเทศนอร์เวย์[6] โดยมีผู้ร่วมงานคือ มกุฎราชกุมารโฮกุ้น, มกุฎราชกุมารีเมตเต-มาริต, เจ้าหญิงอัสตริด พระขนิษฐา และเจ้าหญิงมาร์ธา ทั้งนี้มกุฎราชกุมารีวิกตอเรียแห่งสวีเดน ได้เสด็จพระราชดำเนิน มาเป็นตัวแทนของราชวงศ์สวีเดนในงานปลงพระศพครั้งนี้ด้วย[7]
พระเกียรติยศ[แก้]
พระอิสริยยศ[แก้]
- เฮอร์รอยัลไฮนิส เจ้าหญิงรัญฮิลด์แห่งนอร์เวย์ (9 มิถุนายน พ.ศ. 2473 - 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1953)
- เฮอร์ไฮนิส เจ้าหญิงรัญฮิลด์แห่งนอร์เวย์, นางลอเรนต์เซน (15 พฤษภาคม ค.ศ. 1953 - 16 กันยายน ค.ศ. 2012)
สถานที่ตามพระนาม[แก้]
- ชายฝั่งเจ้าหญิงรัญฮิลด์ ในดินแดนการอ้างสิทธิ์ของนอร์เวย์ในทวีปแอนตาร์กติกา
- เรือเอ็ม.เอส. เจ้าหญิงรัญฮิลด์ ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น เรือเอ็ม.เอส.บาฮามาส์เซเลเบรชัน[8]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Kongehuset.no - Her Highness Princess Ragnhild
- ↑ 2.0 2.1 Kongehuset.no - Biography Her Highness Princess Ragnhild
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Here's what Princess Ragnhild said
- ↑ "Prinsesse Ragnhild er død" (ภาษานอร์เวย์). The Royal House of Norway. 16 September 2012. สืบค้นเมื่อ 16 September 2012.
- ↑ http://www.vg.no/rampelys/artikkel.php?artid=10045713
- ↑ Kongehuset
- ↑ Kongehuset - Funeral service for Princess Ragnhild
- ↑ Asklander, Micke. "M/S Prinsesse Ragnhild (1981)". Fakta om Fartyg (ภาษาสวีเดน). คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2012-08-02. สืบค้นเมื่อ 2008-09-03.