ข้ามไปเนื้อหา

ทีมรวมเยอรมนีในโอลิมปิก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ทีมรวมเยอรมนี (อังกฤษ: Unified Team of Germany; เยอรมัน: Gesamtdeutsche Mannschaft) ร่วมแข่งขันในโอลิมปิกฤดูร้อนและฤดูหนาวในปี พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956) พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) และ พ.ศ. 2507 (ค.ศ. 1964) ด้วยการเป็นทีมร่วมกันของนักกีฬาจาก สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Federal Republic of Germany; “เยอรมนีตะวันตก”) และ สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี (German Democratic Republic; “เยอรมนีตะวันออก”) ในปี พ.ศ. 2499 ทีมนี้ยังประกอบด้วย คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติชุดที่สามคือ คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งซาร์ลันท์ (Saarland Olympic Committee) ซึ่งจัดส่งทีมเฉพาะกิจในปี พ.ศ. 2495 (ค.ศ. 1952) แต่ในปี พ.ศ. 2499 นั้นกำลังอยู่ในกระบวนการควบรวมกับ คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติเยอรมนี ซึ่งขั้นตอนดังกล่าวเสร็จสมบูรณ์ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) โดยหลังจากซาร์ลันท์เข้ารวมแล้ว จึงใช้รหัส FRG ร่วมกับเยอรมนีตะวันตก

ประวัติ

[แก้]

เมื่อปี พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) เยอรมนีตะวันออกใช้โคลงภาษาเยอรมัน "Ode to Joy" (เยอรมัน: Ode an die Freude) ของฟรีดิช ชิลเลอร์ เป็นเนื้อร้องประกอบกับซิมโฟนีหมายเลข 9 ของเบโทเฟน เพื่อบรรเลงแก่นักกีฬาชาวเยอรมันผู้ชนะเลิศโดยอนุโลม ต่อมาในปี พ.ศ. 2502 เยอรมนีตะวันออกเปลี่ยนแปลงธงชาติเป็นสามสีคือ สีดำ สีแดง และสีทอง ดังนั้นจึงตกลงกันโดยอนุโลม ให้เพิ่มวงแหวนโอลิมปิกสีขาวลงบนกึ่งกลางธง เพื่อใช้เป็นธงสำหรับเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาของเยอรมนี ธงนี้ใช้งานระหว่างปี พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) ถึงปี พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968)

ต่อมาเริ่มใช้ธงชาติแยกกัน ตั้งแต่การแข่งขันที่นครมิวนิกในปี พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) สำหรับชื่อย่อ EUA ไอโอซีเป็นผู้กำหนดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) สำหรับใช้ในการอ้างอิงถึงฐานข้อมูลเหรียญรางวัล[1] เพื่อป้องกันความซ้ำซ้อนของรหัส ที่แต่ละประเทศต่างกำหนดรหัสย่อขึ้นเอง โดยเป็นอักษรย่อของชื่อทีมรวมเยอรมนีในภาษาฝรั่งเศสคือ “Équipe Unifiée d'Allemagne” ก่อนจะเปลี่ยนมาใช้รหัส FRG สำหรับเยอรมนีตะวันตก และ GDR สำหรับเยอรมนีตะวันออก[2] จากนั้นเมื่อปี พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) เยอรมนีตะวันตกเข้ารวมประเทศกับเยอรมนีตะวันตก โดยใช้ชื่อสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และรหัสเดียวว่า GER ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990)

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "27,794 Olympic Medallists". คณะกรรมการโอลิมปิกสากล. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. Mallon, Bill; Ove Karlsson (May 2547). "IOC and OCOG Abbreviations for NOCs" (PDF). Journal of Olympic History. 12 (2): 25–28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-08-08. สืบค้นเมื่อ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2551. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)