ประเทศตูวาลูในโอลิมปิก

นี่คือบทความคุณภาพ คลิกเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประเทศตูวาลู
ในโอลิมปิก
รหัสประเทศTUV
เอ็นโอซีสมาคมกีฬาและคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติตูวาลู
เว็บไซต์www.oceaniasport.com/tuvalu
เหรียญ
ทอง
0
เงิน
0
ทองแดง
0
รวม
0
การเข้าร่วมในกีฬาฤดูร้อน

ประเทศตูวาลูเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในส่วนของโอลิมปิกฤดูร้อน โดยยังไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาว

สถานะคณะกรรมโอลิมปิกแห่งชาติของสมาคมกีฬาและคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติตูวาลูได้รับการยอมรับเมื่อเดือนกรกฎาคม 2007[1] ตูวาลูเข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ที่ปักกิ่ง ประเทศจีนเป็นครั้งแรก โดยส่งนักกีฬายกน้ำหนักจำนวน 1 คน และส่งนักกีฬากรีฑาจำนวน 2 คน ในการแข่งขันวิ่ง 100 เมตรชายและหญิง[2] นักกีฬาตูวาลูยังไม่สามารถผ่านรอบแรกของการแข่งขันได้

คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ[แก้]

สมาคมกีฬาและคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติตูวาลู (Tuvalu Association of Sports and National Olympic Committee, หรือ TASNOC) ก่อตั้งขึ้นในปี 2004 โดยใช้ชื่อว่า "สมาคมกีฬาตูวาลู" (Tuvalu Association of Sports) จากนั้นได้เปลี่ยนชื่อเป็น TASNOC และได้รับการยอมรับจาก IOC ในฐานะคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ (NOC) เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2007[3][4] โรเบิร์ต เลาปูลาเป็นผู้บริหารจัดการสมาคมกีฬาตูวาลูและนำตูวาลูสมัครเข้าเป็นสมาชิกของโอลิมปิก ด้วยการประสานงานของคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติโอเชียเนีย[5] TASNOC มีหน้าที่บริหารจัดการนักกีฬาที่จะเข้าร่วมการแข่งขันทั้งในรายการกีฬาเครือจักรภพและโอลิมปิก ที่ผ่านมาคณะกรรมการมีเลขาธิการรวมทั้งสิ้น 3 คน โดยมีอีซาลา ที. อีซาลาเป็นเลขาธิการคนปัจจุบัน และเอเซเลอาโลฟา อาปีเนลูเป็นประธาน[6]

การเข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิก[แก้]

ตราสัญลักษณ์ของ TASNOC
เอตีโมนี ตีมัวนีระหว่างเข้าร่วมขบวนพาเหรดในการแข่งขันโอลิมปิก 2016

โอลิมปิกฤดูร้อน 2008[แก้]

ประเทศตูวาลูส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 จำนวน 3 คน แบ่งเป็น นักกีฬากรีฑา 2 คน และนักกีฬายกน้ำหนัก 1 คน นักกรีฑา 2 คน คือ โอกีลานี ตีนีเลาและอาเซนาเต มาโนอาสร้างสถิติระดับชาติในการวิ่ง 100 เมตร ที่เวลา 11.48 และ 14.05 ตามลำดับ[7][8] อย่างไรก็ตามนักกีฬาทั้งคู่ไม่สามารถผ่านการแข่งขันรอบแรกได้[9] ส่วนโลโงนา เอเซาจบการแข่งขันเป็นอันดับที่ 21 ในการแข่งขันยกน้ำหนัก 69 กิโลกรัมชาย[10]

โอลิมปิกฤดูร้อน 2012[แก้]

นักกีฬาตูวาลูจำนวน 3 คน เข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 ตูเอา ลาปัว ลาปัวจบการแข่งขันเป็นอันดับสูงที่สุดในนักกีฬาตูวาลูที่อันดับ 12 ในการแข่งขันยกน้ำหนัก 62 กิโลกรัมชาย ด้วยคะแนนรวม 243[11] ขณะที่ตาเวเวเล โนอาและอาเซนาเต มาโนอา ไม่ผ่านการแข่งขันรอบแรกในการแข่งขันวิ่ง 100 เมตร ทว่ามาโนอาได้สร้างสถิติระดับชาติในการแข่งขันวิ่ง 100 เมตรหญิง[12]

โอลิมปิกฤดูร้อน 2016[แก้]

มีนักกีฬาตูวาลูคนเดียวเท่านั้นที่เข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 และเป็นประเทศเดียวที่ส่งนักกีฬาเข้าแข่งขันเพียง 1 คน[13] เอตีโมนี ตีมัวนีเข้าร่วมการแข่งขันวิ่ง 100 เมตร จบการแข่งขันเป็นอันดับที่ 7 ของรอบ ไม่ผ่านเข้าสู่รอบต่อไป[14]

โอลิมปิกฤดูร้อน 2020[แก้]

ตูวาลูส่งผู้แทนเข้าร่วมการแข่งขันกรีฑาจำนวน 2 ราย ได้แก่ การาโล ไมบูกา ในรายการวิ่ง 100 เมตรชาย[15] และมาตีเอ สแตนลีย์ ในรายการวิ่ง 100 เมตรหญิง[16]

สรุปเหรียญรางวัล[แก้]

ประเทศตูวาลูไม่เคยได้รับเหรียญรางวัลโอลิมปิก

ปีการแข่งขัน นักกีฬา ทอง เงิน ทองแดง รวม อันดับ
จีน ปักกิ่ง 2008 3 0 0 0 0
สหราชอาณาจักร ลอนดอน 2012 3 0 0 0 0
บราซิล รีโอเดจาเนโร 2016 1 0 0 0 0
ญี่ปุ่น โตเกียว 2020 2 0 0 0 0
ฝรั่งเศส ปารีส 2024
การแข่งขันในอนาคต
สหรัฐ ลอสแอนเจลิส 2028
ออสเตรเลีย บริสเบน 2032
รวม 0 0 0 0 -

ผู้ถือธง[แก้]

ผู้ถือธงเป็นผู้อัญเชิญธงประจำชาติของประเทศนั้น ๆ ในพิธีเปิดและปิดการแข่งขันโอลิมปิก ผู้ถือธงคนแรกของตูวาลูคือโลโงนา เอเซา นักกีฬายกน้ำหนักในปี 2008

โอลิมปิกฤดูร้อน
การแข่งขัน ผู้ถือธง ชนิกกีฬา เชิงอรรถ
จีน ปักกิ่ง 2008 โลโงนา เอเซา ยกน้ำหนัก [17]
สหราชอาณาจักร ลอนดอน 2012 ตูเอา ลาปัว ลาปัว (พิธีเปิด)
อาเซนาเต มาโนอา (พิธีปิด)
ยกน้ำหนัก
กรีฑา
[17][18]
บราซิล รีโอเดจาเนโร 2016 เอตีโมนี ตีมัวนี กรีฑา [19]
ญี่ปุ่น โตเกียว 2020 การาโล ไมบูกา และ มาตีเอ สแตนลีย์ กรีฑา [20]

อ้างอิง[แก้]

  1. Lalua, Silafaga (9 กรกฎาคม 2007). "Tuvalu in the IOC". Tuvalu-News.TV. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 ตุลาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2012.
  2. "Tuvalu Olympic Athletes Finish Competition Proudly". www.tuvaluislands.com. 16 สิงหาคม 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2017.
  3. Lalua, Silafaga (9 July 2007). "Tuvalu in the IOC". Tuvalu-News.TV. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 October 2012. สืบค้นเมื่อ 3 October 2017.
  4. "Tuvalu - National Olympic Committee (NOC)". International Olympic Committee (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 December 2011.
  5. Semi, Diana; Lalua, Silafaga (2 November 2006). "400 grand needed for TAS". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 October 2012. สืบค้นเมื่อ 5 October 2017.
  6. Malaki, Semi (9 มีนาคม 2015). "Three women to contest for the General Election" (PDF). Fenui News. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 4 ตุลาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2017.
  7. Sotiriadou, Popi; Bosscher, Veerle De (2013). Managing High Performance Sport (ภาษาอังกฤษ). Routledge. p. 39. ISBN 9780415671958. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 ตุลาคม 2017.
  8. Mitchell, Kevin (24 August 2008). "Games for all as Britain shines". theGuardian. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 August 2008. สืบค้นเมื่อ 7 October 2017.
  9. "Tuvalu Olympic Athletes Finish Competition Proudly". 16 สิงหาคม 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2017.
  10. "Logona Esau". Sports-reference.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 ธันวาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2012.
  11. "London 2012 62kg featherweight men - Olympic Weightlifting". International Olympic Committee (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 มีนาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2017.
  12. "Women's 100 metres". london2012.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 พฤษภาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2017.
  13. Stewart, Megan (28 กรกฎาคม 2016). "Table for one? Meet the 10 smallest delegations at Rio 2016". Rio 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 September 2016. สืบค้นเมื่อ 11 February 2017.
  14. "Men's 100 metres - Standings". Rio2016.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 August 2016. สืบค้นเมื่อ 27 August 2016.
  15. "Karalo Hepoiteloto Maibuca". Tokyo 2020. 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-15. สืบค้นเมื่อ 28 July 2021.
  16. "Matie Stanley". Tokyo 2020. 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-02. สืบค้นเมื่อ 28 July 2021.
  17. 17.0 17.1 "Tuvalu at the Olympics". Sports Reference LLC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 มิถุนายน 2016. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2017.
  18. "London 2012 Closing Ceremony - Flag Bearers" (PDF). Olympic.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 15 August 2016. สืบค้นเมื่อ 7 March 2015.
  19. Maese, Rick; Soong, Kelyn (13 สิงหาคม 2016). "Only one country sent a single athlete to Rio: 'Right now he's an ambassador'". Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 สิงหาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2017.
  20. "Athletics flag bearers help to light up Olympic Opening Ceremony in Tokyo | FEATURES | World Athletics". www.worldathletics.org. สืบค้นเมื่อ 2021-07-24.